มือใหม่ใช้งานบัตรเครดิต ต้องรู้อะไรบ้าง ใบแจ้งยอดบัตรเครดิตสำคัญอย่างไร
การใช้บัตรเครดิต มีทั้งข้อดีและข้อเสีย สำหรับใครที่กำลังสนใจทำบัตรเครดิตใบแรก หรือเพิ่งเริ่มใช้งานบัตรเครดิต อาจจะกำลังกังวลว่าจะเป็นการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็น หรือกังวลว่าจะไม่สามารถจ่ายบิลได้ครบตามจำนวน เมื่อใบแจ้งยอดบัตรเครดิตมาถึง มีหลากหลายความกังวล และหลากหลายคำถามที่อาจเกิดกับผู้เริ่มต้นใช้งานบัตรเครดิต
แต่การใช้งานบัตรเครดิตที่ถูกวิธี จะเกิดผลดีมากกว่าผลเสีย ทั้งยังช่วยให้หมดความกังวลกับยอดใช้จ่ายที่แจ้งมาผ่านใบแจ้งยอดบัตรเครดิตอีกด้วย ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ให้สามารถซื้อสิ่งของที่ต้องการได้ก่อน แม้ในช่วงที่เงินเดือนยังไม่ออก ได้สิทธิประโยชน์มากมายตามเงื่อนไขของบัตรเครดิตนั้น ๆ เช่น สะสมคะแนนบัตรเครดิต แลกรับส่วนลด ของรางวัล หรือรับเครดิตเงินคืน เป็นต้น ทั้งยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้น้อยลง ในกรณีที่ค่าสินค้าในเดือนนั้นค่อนข้างสูง ก็สามารถใช้การผ่อน 0% แบ่งยอดชำระเป็นหลายเดือน หรือหลายปีได้ และในปัจจุบัน ก็ยังสามารถเลือกได้ว่าจะให้ใบแจ้งยอดบัตรเครดิต ส่งผ่านช่องทางออนไลน์ แอปพลิเคชัน อีเมล หรือส่งเป็นเอกสารทางไปรษณีย์ โดยสามารถเปลี่ยนช่องทางรับใบแจ้งยอดบัตรเครดิตได้ด้วยตนเองผ่านทางแอปพลิเคชันของบัตรเครดิตนั้น ๆ
รอบบิลบัตรเครดิต คืออะไร มือใหม่ต้องรู้?
รอบบิลบัตรเครดิต และวันสรุปยอดบัตรเครดิต เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญไม่แพ้ข้อมูลในใบแจ้งยอดบัตรเครดิต เพราะจะทำให้เราวางแผนการใช้จ่าย และการชำระเงินได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดของการใช้บัตรเครดิต ก็คือ ก่อนรูดทุกครั้ง จะต้องมั่นใจว่ามีเงินสดไปชำระเมื่อใบแจ้งยอดบัตรเครดิตมาถึง หรือเมื่อหมดรอบบิลบัตรเครดิต
ทีนี้มาดูกันว่า รอบบิลบัตรเครดิต คืออะไร
รอบบิลบัตรเครดิต คือ รอบการใช้จ่ายประจำเดือน ที่จะนำไปคิดเป็นยอดใช้จ่ายของเดือนนั้น ๆ ประจำรอบบิลในใบแจ้งยอดบัตรเครดิต เช่น บัตรเครดิตตัดรอบบิลทุกวันที่ 23 ของเดือน ก็จะคิดยอดใช้จ่ายในรอบบิลนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 ของเดือนนี้ ไปจนถึงวันที่ 23 ของเดือนถัดไป เป็นต้น
วันสรุปยอดบัตรเครดิต คืออะไร สำคัญอย่างไร?
วันสรุปยอดบัตรเครดิต คือ วันที่ธนาคารสรุปยอดการใช้บัตรเครดิต หลังตัดรอบบิลประจำเดือนนั้น ๆ และจะแจ้งรายการใช้จ่ายส่งมายังผู้ใช้งานผ่านใบแจ้งยอดบัตรเครดิต โดยวันสรุปยอดบัตรเครดิต นับเป็นวันสรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมดในเดือนนั้น ๆ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกจ่ายเต็มจำนวนตามยอดเรียกเก็บ หรือเลือกจ่ายขั้นต่ำในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตก็ได้เช่นกัน แต่หากจ่ายขั้นต่ำ จะต้องเสียดอกเบี้ยตามเรทที่ธนาคารกำหนด
เช็กรอบบิลบัตรเครดิต พร้อมทริคการใช้งานให้คุ้มค่า ตัดรอบการจ่ายได้ช้าที่สุด
เมื่อทราบแล้วว่ารอบบิล และวันสรุปยอดบัตรเครดิต ในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตคืออะไร ก็จะสามารถวางแผนการใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่า เพื่อให้ยอดเงินที่เราใช้จ่าย ถูกเรียกเก็บได้ช้าที่สุด ตัวอย่างเช่น หากรอบบิลถูกตัดทุกวันที่ 23 ของเดือน แนะนำให้รูดใช้จ่ายในวันที่ 24 หรือช้ากว่า เพื่อยืดระยะเวลาการคิดยอดบิลเป็นรอบถัดไปแทน ซึ่งนอกจากวันสรุปยอดบัตรเครดิตแล้ว วันครบกำหนดชำระ ก็เป็นอีกหนึ่งวันที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเป็นวันสุดท้ายที่จะสามารถจ่ายยอดในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตได้ เมื่ออิงจากตัวอย่างก่อนหน้า หากวันตัดรอบบิลเป็นวันที่ 23 เดือนกันยายน และผู้ใช้งานรูดบัตรในวันที่ 24 กันยายน โดยมีวันครบกำหนดชำระเป็นวันที่ 9 ตุลาคม นั่นหมายความว่า ยอดเงินที่รูดในวันที่ 24 กันยายน จะถูกเลื่อนไปจ่ายในรอบบิลถัดไป ซึ่งก็คือ วันครบกำหนดชำระในวันที่ 9 พฤศจิกายน นั่นเอง หมายความว่า เราจะมีเวลาหาเงินมาจ่ายยอดที่รูดไปเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เดือน
ซึ่งวิธีการดังกล่าว จะช่วยลดภาระการจ่ายยอดบิลในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตในเดือนนั้น ๆ ไปได้ อีกทั้งจุดนี้ยังนับเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีบัตรเครดิตหลายใบ ให้สามารถเลือกบัตรใบที่เพิ่งมีการตัดรอบบิลไป มารูดใช้จ่าย แทนการใช้บัตรที่ยังอยู่ในรอบบิลนี้
รายการรอเรียกเก็บ บัตรเครดิต คืออะไร?
รายการรอเรียกเก็บ บัตรเครดิต คือ รายการรอบันทึก หลังจากทำรายการเสร็จเรียบร้อย โดยต้องรอร้านค้าวางบิลเรียกเก็บ ซึ่งจะมีระยะเวลาการรอประมาณ 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการวางบิลของแต่ละร้านค้า หากร้านค้ายังไม่เรียกเก็บในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตรอบนั้น ก็จะเป็นการเรียกเก็บในรอบบิลถัดไป
วิธีการอ่านใบแจ้งยอดบัตรเครดิต
สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้งานบัตรเครดิต อาจจะมีข้อสงสัยในเรื่องการอ่านใบแจ้งยอดบัตรเครดิต วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาไปดูกันว่า วิธีการอ่านใบแจ้งยอดบัตรเครดิต ทำได้อย่างไรบ้าง
ก่อนอื่น มาเริ่มดูกันก่อนว่าในใบแจ้งยอดบัตรเครดิต ประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนไหนบ้าง
- ชื่อ ที่อยู่
- หมายเลขบัตร
- วงเงินบัตรเครดิตที่ได้รับอนุมัติ
- วงเงินบัตรเครดิตใช้ไปทั้งสิ้น
- วงเงินคงเหลือ คือ วงเงินบัตรเครดิตทั้งหมดที่ได้รับอนุมัติ ลบด้วยยอดใช้จ่ายประจำเดือนนั้น ๆ
- เงินคืนสำหรับรอบบัญชีนี้
- วันที่สรุปยอด คือ วันสิ้นสุดรอบบิลบัตรเครดิต และวันที่ออกใบแจ้งยอดบัตรเครดิตประจำเดือน
- ยอดเงินรวมที่ต้องชำระ คือ ยอดรวมการใช้บัตรในรอบบัญชีนี้ รวมกับรอบบัญชีก่อนหน้า (หากมียอดค้างชำระ) รวมกับดอกเบี้ย ละค่าธรรมเนียม รวมกับค่างวดของสินเชื่อผ่อนชำระ
- ยอดชำระขั้นต่ำ
- วันครบกำหนดชำระ หากชำระภายในวันที่กำหนดในใบแจ้งยอดบัตรเครดิต จะไม่มีค่าธรรมเนียมการติดตามทวงถามหนี้
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดการใช้บัตรในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตในงวดปัจจุบันอีกด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย
- ยอดเรียกเก็บมาจากเดือนก่อน ที่ระบุในใบแจ้งยอดบัตรเครดิต
- วันที่และยอดเงินที่บริษัทได้รับจากรอบบัญชีที่แล้ว
- ยอดรวมการชำระเงินในรอบบัญชีที่ผ่านมา
- หมายเลขสมาชิกที่ใช้บริการบัตรเครดิตในรอบบัญชีนี้
- รายละเอียดการซื้อสินค้าและหักชำระรายเดือน
- ยอดรวมรายการซื้อสินค้า และหักชำระรายเดือนทั้งหมด
- รายการสินเชื่อผ่อนชำระ
- ยอดสินเชื่อคงเหลือของรายการผ่อนชำระ
- งวดที่เรียกเก็บ และจำนวนงวดทั้งหมด
- ยอดผ่อนชำระงวดนี้
- ยอดรวมรายการสินเชื่อผ่อนชำระรายเดือนทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม ตลอดจนคะแนนสะสมต่าง ๆ ภายในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตที่ผู้ใช้งานจะต้องตรวจสอบ โดยข้อมูลในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตของแต่ละธนาคาร อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตจะต้องมีข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา และหากผู้ใช้งานบัตรเครดิตมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ศูนย์บริการบัตรเครดิตของแต่ละธนาคาร ซึ่งปัจจุบันก็มีหลากหลายช่องทางให้เลือก ทั้งทางโทรศัพท์ โซเชียลมีเดีย (ออนไลน์) หรือติดต่อด้วยตนเองผ่านทางธนาคารสาขา
เมื่อทราบข้อมูลส่วนต่าง ๆ ในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตกันไปแล้ว สำหรับใครที่กำลังมองหาบัตรเครดิตที่จะมาช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้เงิน พร้อมทั้งสิทธิประโยชน์มากมาย อยากให้ลองพิจารณาบัตรเครดิต กรุงศรี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายมากกว่า 20 รายการ และมอบสิทธิประโยชน์แตกต่างกันไป
เปลี่ยนช่องทางการรับใบแจ้งยอดบัตรเครดิต ทำได้อย่างไรบ้าง?
ด้วยความสะดวกของ Mobile Banking ในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ใช้งานบัตรเครดิต สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงช่องทางการรับใบแจ้งยอดบัตรเครดิตด้วยตนเองผ่านทางแอปพลิเคชัน เพิ่มความสะดวกสบาย และลดระยะเวลาการดำเนินการ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อที่สาขาเพื่อเปลี่ยนแปลงช่องทางการรับใบแจ้งยอดบัตรเครดิตด้วยตนเอง
นอกจากจะช่วยเรื่องความสะดวกสบายแล้ว ยังลดความเสี่ยงในเรื่องของเอกสารสูญหาย ตกหล่น ลดการสัมผัสได้ด้วย ที่สำคัญยังช่วยให้ผู้ใช้งานรับใบแจ้งยอดบัตรเครดิตได้อย่างรวดเร็ว และเลือกชำระได้อย่างง่ายดายผ่านหลากหลายช่องทาง
จ่ายบัตรเครดิตแล้ว ใช้ต่อเลยได้ไหม ต้องรอวงเงินคืนหรือเปล่า
เมื่อจ่ายบัตรเครดิตตามยอดเงินที่เรียกเก็บในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตเรียบร้อยแล้ว สามารถใช้งานต่อได้เลย เพียงแต่ต้องใช้ในวงเงินที่ใช้ไปในใบแจ้งยอดบัตรเครดิตรอบปัจจุบัน จะได้คืนในระยะเวลากี่วันก็ขึ้นอยู่กับช่องทางที่ผู้ถือบัตรเลือกชำระ เพราะแต่ละสถาบันการเงินก็มีช่องทางชำระเงินคืน และระยะเวลาส่งยอดเงินคืนเข้าบัตรเครดิตไม่เหมือนกัน จึงทำให้วงเงินยังไม่ถูกโอนเข้าบัญชีทันทีหลังชำระเงินตามจำนวนที่ระบุในใบแจ้งยอดบัตรเครดิต ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2-3 วันทำการ และในระหว่างที่รอวงเงินคืนเข้ามาในบัตร จะสามารถรูดบัตร ซื้อของได้ตามปกติ ภายใต้วงเงินคงเหลือเท่านั้น
หลังจากได้ทำความเข้าใจเรื่องบัตรเครดิต ใบแจ้งยอดบัตรเครดิต วันครบกำหนดชำระ ยอดเรียกเก็บ และยอดชำระกันไปพอสมควรแล้ว คงทำให้หลายคนที่กำลังคิดอยากจะมีบัตรเครดิต มีแนวทางในการเลือกบัตรที่เหมาะกับตนเองกันได้บ้าง แรบบิท แคร์ ขอแนะนำให้เลือกบัตรที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของตน เข่น หากชอบท่องเที่ยว แนะนำให้เลือกบัตรที่มีส่วนลดแพ็กเกจท่องเที่ยว หรือมีส่วนลดค่าจองโรงแรม แต่หากชอบช็อปปิ้ง แนะนำให้เลือกบัตรที่ให้คะแนนคูณสองทุกยอดซื้อ หรือสำหรับผู้ใช้รถ อาจเลือกบัตรที่ให้เงินคืน (Cashback) ทุกครั้งที่ใช้งานปั๊มน้ำมัน เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ลืมศึกษาเรื่องค่าธรรมเนียมบัตร โปรโมชั่น และอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้สามารถวางแผนการใช้จ่ายได้เหมาะสมในแต่ละเดือนก่อนที่ใบแจ้งยอดบัตรเครดิตจะมาถึง
ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
ซิตี้ แคชแบ็ก
Citibank / Mastercard
- เครดิตเงินคืน 10% ที่รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน
- เครดิตเงินคืน 5% 7-Eleven, Grab, Watsons
- เครดิตเงินคืน 1% สำหรับยอดใช้จ่ายอื่นๆ
- เครดิตเงินคืน 1% ที่ปั๊ม Shell ทุกสาขา
- รับเครดิตเงินคืน 2,000 บาท สำหรับการสมัครบัตรเครดิตซิตี้ แคชแบ็ก ผ่านทางออนไลน์
เคทีซี วีซ่า แพลตทินั่ม
KTC / VISA
- ทุก 25 บาท ที่ใช้จ่ายผ่านบัตรฯ รับ 1 คะแนน KTC FOREVER
- ผ่อนชำระสินค้า/บริการด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% สูงสุด 10 เดือน
- ใช้จ่ายสบายเพียงผูกบัตรและแตะจ่ายผ่าน Google pay
- ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีตลอดชีพ
บัตรเครดิตซิตี้ แกร็บ
ซิตี้แบงก์ / VISA
- รับคะแนนสะสมซิตี้ รีวอร์ด X10 ทุกการใช้จ่าย 25 บาทบนบริการ Grab
- รับคะแนนสะสมซิตี้ รีวอร์ด X3 ในหมวดร้านอาหารและค่าสมาชิกบริการออนไลน์รายเดือน และช้อปปิ้งออนไลน์
- รับส่วนลดการเดินทาง 15% เมื่อใช้บริการ Grab
- รับส่วนลดค่าส่ง GrabFood และ GrabMart
- รับเครดิตเงินคืน 1,000 บาท
- รับส่วนลด Grab มูลค่า 2,400 บาท
บัตรเครดิต เคทีซี อโกด้า แพลทินัม มาสเตอร์การ์ด
กรุงไทย / Mastercard
- สิทธิพิเศษที่มากกว่า สเปเชียลอัพเกรด เป็นสมาชิก AgodaVIP Platinum
- รับเพิ่ม KTC FOREVER โบนัส 250 คะแนน
- ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีตลอดชีพ
- 800 KTC FOREVER = 100 บาท AgodaCash
บัตรเครดิตซิตี้ ลาซาด้า
ซิตี้แบงก์ / Mastercard
- รับคะแนนสะสมซิตี้ 10 เท่า ทุกการใช้จ่ายบนลาซาด้า
- รับคะแนนสะสมซิตี้ 3 เท่า ในหมวดหมู่แฟชั่น สุขภาพ และท่องเที่ยว
- รับส่วนลดเพิ่ม 10% ทุกหมวดหมู่สินค้า เมื่อใช้จ่ายบน Lazada
- รับส่วนลด 5% เมื่อซื้อสินค้า LazMall ที่ร่วมรายการ
- รับส่วนลดพิเศษก่อนใครในทุกเมกาแคมเปญ
- รับโค้ดส่วนลดลาซาด้า มูลค่า 1,000 บาท + บัตรกำนัล Starbucks มูลค่า 200 บาท
บัตรเครดิตซิตี้ รีวอร์ด
ซิตี้แบงก์ / Mastercard
- X5 คะแนน ใช้จ่าย Rabbit Line Pay, Lazada, Shopee, e-wallet* และเลือกเปลี่ยน point เป็นเงินคืนได้เลยทันทีที่รูด
- X5 คะแนน ใช้จ่าย หมวดร้านอาหาร ท่องเที่ยว ใช้จ่ายด้วยสกุลเงินต่างประเทศ
- X5 คะแนน ใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ อาทิ Netflix, Spotify, Apple Music
- รับเครดิตเงินคืน 2,000 บาท สำหรับการสมัครบัตรเครดิตซิตี้ รีวอร์ด ผ่านทางออนไลน์
บัตรเครดิต ยูโอบี เลดี้ แพลตทินัม
ธนาคารยูโอบี / Mastercard
- รับคะแนนสะสม 10 บาท = 1 คะแนน
- แลกรับเครดิตเงินคืน 15% เพียงใช้คะแนนสะสมเท่ายอดซื้อที่ EVEANDBOY, Cental&Zen, The mall, Paragon, Emporium, EmQuartier, Blueport และ Robinson
- แลกรับเครดิตเงินคืน 15% เมื่อใช้คะแนนสะสม ยูโอบี รีวอร์ด พลัส เท่ากับยอดใช้จ่ายในหมวดร้านอาหาร
- รับเครดิตเงินคืน 3% เมื่อชำระค่าเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทุก 800 บาท/เซลล์สลิป
บัตรเครดิต ยูโอบี โยโล่ แพลตทินั่ม
ธนาคารยูโอบี / VISA
- รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% เมื่อใช้จ่ายที่รถไฟฟ้า BTS MRT 7-11, All Online by 7-Eleven ร้านบูทส์ ร้านวัตสัน ร้านมัตสึโมโตะ คิโยชิ เบอร์เกอร์ คิง, Shopee, Grab และ Atome
- แบ่งชำระ 0% นาน 3 เดือน เมื่อมียอดใช้จ่ายในหมวดท่องเที่ยวและออนไลน์
- 1 ฟรี 1 เมื่อซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในเครือ SF
- เครดิตเงินคืน 3% เมื่อชำระค่าเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทุก 800 บาท/เซลล์สลิป เฉพาะสถานีที่ร่วมรายการ
บัตรเครดิตไทเทเนียม โรงพยาบาลรามาธิปดี
ธนาคารกรุงเทพ / Mastercard
- รับเงินคืนสูงสุด 2% ทุกรอบบัญชี
- บริจาคสมทบ 0.2% ทุกยอดใช้จ่าย
- ให้แก่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
- เอกสิทธิ์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี
บัตรเครดิต แอร์เอเชีย
ธนาคารกรุงเทพ / Mastercard
- บริการเลือกที่นั่ง Hot Seat ฟรี
- บริการฝากสัมภาระใต้ท้องเครื่อง ฟรี
- บริการเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นบนเครื่อง ฟรี
- รูดช้อปรับคะแนน BIG Points สูงสุด 3 เท่า
- แบ่งชำระสบายๆ 0% หรือ 0.79% นานสูงสุดถึง 10 เดือน
บัตรเครดิตซิตี้ ซิมพลิซิตี้
ซิตี้แบงก์ / Mastercard
- ค่าธรรมเนียม การกดเงินสดเพียง 1%
- สิทธิพิเศษ ณ ร้านค้าชั้นนำในเดือนเกิด
- เครดิตเงินคืน 1% ที่ปั๊ม Shell ทุกสาขา
- ฟรีค่าธรรมเนียม การชำระยอดบัตรเครดิต
เคทีซี แคชแบ็ค แพลตทินัม
KTC / Mastercard
- รับเงินคืนสูงสุด 0.8% ทุกครั้งที่ใช้จ่าย
- ผ่อน 0% 10 เดือน
- ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีตลอดชีพ
- ประกันอุบัติเหตุการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ เมื่อใช้บัตรฯ ชำระค่าโดยสาร
บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ชิลล์
ธนาคารทหารไทยธนชาต / VISA
- ผ่อน 0% 3 เดือน
- ฟรีค่าธรรมเนียมทุกการกดเงินสด 3%
- ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี
- รับดอกเบี้ยพิเศษ 3 รอบบัญชีแรก
บัตรเครดิต เคทีซี บางจาก แพลตทินั่ม
กรุงไทย / Mastercard
- 25 บาท = 1 คะแนน
- รับส่วนลด 1% ที่ปั๊มบางจาก
- ผ่อนชำระสินค้า/บริการด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% สูงสุด 10 เดือน
- ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีตลอดชีพ
บัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัม
ธนาคารกรุงเทพ / VISA
- รับคะแนนสะสมทุกการใช้จ่าย 25 บาท รับคะแนนสะสม 1 คะแนน ทั้งในและต่างประเทศ
- สะสมไมล์เดินทางคะแนนสะสมสามารถแลกเป็นไมล์เดินทางจากสายการบินชั้นนำ