Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Oct 23, 2023

Quantitative คืออะไร นำไปใช้กับการลงทุนได้อย่างไร

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า ในปัจจุบัน Data Analyst หรือนักวิเคราะห์ข้อมูล กำลังเป็นอาชีพที่มาแรงและมีความต้องการในตลาดเป็นจำนวนมาก เนื่องจากข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสามารถนำไปต่อยอดด้วยการวิเคราะห์ ประเมิน หรือทำการทำนายล่วงหน้าได้ทั้งสิ้น ก่อนอื่นเลยเราจึงต้องมาทำความรู้จักกับชนิดของข้อมูลกันก่อน ซึ่ง Quantitative ก็เป็นหนึ่งในประเภทของข้อมูลที่จะถูกนำมาวิเคราะห์ ส่วน Quantitative คืออะไร และนำไปใช้อะไรได้บ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้เลย

Quantitative คืออะไร?

Quantitative คือ การพูดถึงในเชิง ‘ปริมาณ’ ส่วนใหญ่แล้วจะพูดถึงในแง่ของการบ่งบอกลักษณะของข้อมูล โดยข้อมูลที่นับว่าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือ Quantitative data จะเป็นข้อมูลที่สามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจน สามารถบอกปริมาณมากน้อยได้ ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง อุณหภูมิ จำนวนประชากร เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อในเชิงสถิติได้ และยังสามารถนำมาจัดทำเพื่อเสนอแผนภาพข้อมูลเช่น แผนภูมิแท่ง กราฟเส้น ได้อีกด้วย

ประเภทของ Quantitative data?

เพื่อเข้าใจภาพรวมของ Quantitative แล้ว ทีนี้เรามาดู Quantitative data ดันดีกว่า โดยจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ Discrete data และ Continuous data

• Discrete data

คือข้อมูลในรูปแบบของตัวเลขที่เป็นจำนวนนับหรือจำนวนเต็ม เป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง หรือไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอื่น และไม่สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก ยกตัวอย่างเช่น จำนวนก๋วยเตี๋ยวที่ขายได้ต่อวัน เท่ากับ 30 ชาม ซึ่งเราจะไม่รายงานเป็น 30.5 ชาม เป็นต้น


• Continuous data

คือข้อมูลที่มีความต่อเนื่อง และค่าที่วัดได้จะไม่มีความจำเพาะทำให้สามารถแยกย่อยออกมาเป็นข้อมูลที่เป็นจุดทศนิยมได้ โดยข้อมูลประเภทนี้จะทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาได้ ซึ่งการนำเสนอข้อมูล เวลาสร้างกราฟ จะเป็นแบบจุด หรือ Scatter จนต่อเนื่องกันเป็นเส้นกราฟ ข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Continuous data เช่น น้ำหนักของเราใน 30 วัน หากเราเก็บข้อมูลทุกวัน ก็จะเห็นแนวโน้มได้ว่าน้ำหนักเรานั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร

วิเคราะห์ข้อมูลการลงทุนด้วย Quantitative analysis ได้อย่างไร?

Quantitative analysis หรือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้เริ่มต้นขึ้นในยุคที่คอมพิวเตอร์กำลังเฟื่องฟู ซึ่งทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากสามารถเสร็จได้ภายในเวลาอันสั้น ด้วยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และสถิติ การวัดผล และการทำวิจัยเพื่อเข้าใจพฤติกรรมเชิงปริมาณ ซึ่งหากมองในแง่ของการเงินและการลงทุนแล้ว Quantitative analysis จะเน้นไปที่การใช้คณิตศาสตร์และสถิติเข้ามาช่วยเพื่อประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ชนิดต่างๆ โดยข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์เชิงปริมาณก็ยกตัวอย่างเช่น ปัจจัยพื้นฐานของสินทรัพย์ ข้อมูลสถิติต่างๆ เงินเฟ้อ ข้อมูลทางเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งตัวเลข GDP เป็นต้น

Quantitative Trading คืออะไร และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร?

Quantitative trading คือ กลยุทธ์ในการเทรดหุ้น หรือการลงทุนโดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเข้ามาช่วย โดย Quantitative Analyst หรือนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า ‘Quant’ ซึ่งจะเป็นการใช้ระบบอัลกอริธึมและโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ ทั้งโมเดลคณิตศาสตร์แบบง่ายและแบบยาก เพื่อระบุผลประโยชน์สำหรับโอกาสในการลงทุนนั้นๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการค้นคว้าและวิจัย โดยศึกษาข้อมูลในอดีตเพื่อคาดการณ์โอกาสเกิดผลกำไรจากการลงทุน ซึ่งมักจะใช้ข้อมูลราคาและปริมาณการเทรดในการสร้างโมเดลสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อดีของการลงทุนโดยใช้ Quantitative คือ จะช่วยในการตัดสินใจลงทุนโดยอ้างอิงกับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ ปราศจากผลอันเนื่องมาจากอารมณ์ หรือความรู้สึก จึงเป็นการลดข้อผิดพลาดในการตัดสินใจ ส่วนข้อเสียของการใช้ Quantitative คือ เนื่องจากหลายๆ ครั้งการสร้างโมเดลในการวิเคราะห์ จำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลในอดีต ซึ่งนับจากอดีตจนถถึงปัจจุบัน ตลาดหรือทิศทางเศรษฐกิจอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้โมเดลการวิเคราะห์ที่สร้างขึ้น มีความแม่นยำน้อยลง ทำให้ผลจากการวิเคราะห์คลาดเคลื่อนได้

เราคงจะเข้าใจ Quantitative คืออะไร และเห็นภาพรวมว่า Quantitative data น่าจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ ธุรกิจ หรือแม้กระทั่งการประยุกต์ใช้กับการลงทุน หากใครที่กำลังสนใจศึกษาการวิเคราะห์มูลสำหรับการลงทุน ก็อย่าลืมศึกษา Quantitative trading เพิ่มเติม เผื่อจะได้นำไปใช้คาดการณ์การลงทุนได้

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

สินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรีสินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรี

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 14.99% ปี, 6-12 เดือน พนักงาน 5 ปี+
  • ดอกเบี้ย 17.99% ปี, 6-12 เดือน ธุรกิจ 10 ปี+
  • ผ่อน 60 เดือน แสนละ 2,2XX บาท
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน บาท หรือ 5 เท่าของรายได้
  • สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองจากบริษัท
  • พนักงาน 20,000 บาท/เดือน, เจ้าของกิจการ 200,000 บาท
สินเชื่อส่วนบุคคล ทีทีบี แคชทูโกทีทีบี แคชทูโก

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 17%/ปี, 14%/ปี เมื่อใช้ ttb all free
  • วงเงินถึง 2 ล้าน หรือ 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 72 เดือน สบาย ไม่มีค้ำ
  • รวบหนี้สูงสุด 4 รายการ ดอกเบี้ยลด
  • เงินเดือน 20,000 บาท/เดือน อายุงาน 4 เดือน
  • ดำเนินธุรกิจ 2 ปี รายได้ 30,000 บาท
สินเชื่อส่วนบุคคลไทยเครดิตไทยเครดิต

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยเริ่มที่ 9.99% ต่อปี
  • อนุมัติวงเงิน 2 ล้าน
  • ชำระขั้นต่ำ 3% หรือ 500 บาท
  • อายุ 20-60 ปี สัญชาติไทย
  • รวมหนี้บัตรและเงินสด
  • ไม่ต้องใช้คนค้ำ
สินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสพรอมิส

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป อนุมัติสูงสุด 5 เท่า
  • สูงสุด 5 เท่าของรายได้ หรือ 300,000 บาท
  • ดอกเบี้ย 15-25%, ค่าธรรมเนียม 0-10% ต่อปี
  • อนุมัติไว 1 ชั่วโมง หากเอกสารครบ
  • สมัครง่าย รายได้เริ่มต้น 8,000 บาท
  • ชำระขั้นต่ำ 3% ของยอดคงเหลือ หรือ 300 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา