ศัพท์การลงทุนน่ารู้! Developed Market คืออะไร
สำหรับยุคที่การลงทุนกำลังมาแรง เพราะผู้คนล้วนมีการวางแผนการเงินและศึกษาเรื่องการลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกองทุนรวมที่มีการลงทุนในตลาดต่างประเทศ ค่อนข้างได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยกองทุนรวมที่มีการลงทุนในต่างประเทศก็จะมีทั้งการลงทุนใน Developed Market (DM) และ Emerging Market (EM) ว่าแต่ว่า Developed Market คืออะไร และมีความน่าสนใจอย่างไรต่อการลงทุน
Developed Market คืออะไร?
Developed Market คือ ระบบเศรษฐกิจของตลาดพัฒนาแล้ว ชื่อย่อว่า DM โดย Developed Market คือตลาดการลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งจะพิจารณาจากทั้งในแง่ของระบบเศรษฐกิจและตลาดทุนควบคู่กันไป ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เป็นต้น ส่วนมากแล้ว ตลาดนี้จะมีเสถียรภาพและสภาพคล่องสูง ส่วนใหญ่นักลงทุนที่ลงทุนในตลาดนี้จะเป็นกลุ่มของสถาบันการเงิน
แบบไหนถึงจะเรียกว่าเป็น Developed Market (DM)?
สำหรับการจำแนกว่า ตลาดแบบไหนจะเป็น Developed Market (DM) หรือ Emerging Market (EM) ตัวชี้วัดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือการบอก GDP per capita หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว โดย GDP คือตัวเลขที่ใช้เพื่อบอกภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศ ใช้แสดงถึงรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนในประเทศ และถึงแม้จะไม่มีระดับที่เป็นตัวเลขแน่นอน แต่นักเศรษฐศาสตร์พิจารณาว่า Developed Market ควรจะมี GDP per capita มากกว่า 25,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 30,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งในปี 2019 GDP per capita ของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ที่นับว่าเป็นประเทศของ Developed Market มีค่าสูงถึง 65,111 และ 39,918 ดอลล่าร์สหรัฐ ตามลำดับ ส่วนประเทศไทย มี GDP per capita ที่ 6,990 ดอลล่าร์สหรัฐเท่านั้น
หรืออีกในกรณีหนึ่งอาจจะแบ่งกลุ่มด้วยตัวชี้วัดที่มีชื่อเรียกว่า MSCI index ซึ่งเป็นการจัดทำดัชนีชี้วัดโดยบริษัท Morgan Stanley Capital International
การแยก Developed Market ออกจาก Emerging Market ในมุมมองของนักลงทุน
1. Sovereign Credit Rating
เปรียบเสมือนเป็นการจัดอันดับเครดิต ของกลุ่มประเทศต่างๆ โดยพิจารณาจากความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นโยบายของรัฐบาล GDP per capita และทิศทางของเงินเฟ้อ รวมถึงอีกหลายๆ แง่มุมของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งกลุ่ม Developed Market (DM) ล้วนผ่านเกณฑ์เหล่านี้ โดยสามารถยกตัวอย่างการจัดอันดับเครดิต เช่น สวิสเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ที่ได้ Credit rating ในระดับ AAA ซึ่งนับเป็น Prime grade หากเป็นประเทศในแถบเอเชียเช่น สิงคโปร์ที่ได้ AAA ญี่ปุ่นที่ได้ A+ จัดเป็น Upper medium grade เป็นต้น ซึ่งประเทศที่กล่าวมาล้วนเป็น Developed Market (DM) ทั้งสิ้น
2. GDP per capita
คือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวซึ่งสอดคล้องมาจากข้อ 1 อย่างที่กล่าวไปด้านบนว่า Developed Market (DM)ควรจะมี GDP per capita มากกว่า 25,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 30,000 ดอลล่าร์สหรัฐ
3. ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดหุ้น ดอกเบี้ย อันเป็นผลมาจาก Fund flows
ประเทศที่จะถูกจัดอยู่ตลาดกลุ่ม Developed Market (DM)จะต้องมีเศรษฐกิจที่มีความผันผวนต่ำ คือสามารถรองรับความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์โลกได้ เนื่องมาจากการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรองรับ ทำให้มีเครื่องมือที่สามารถป้องกันดอกเบี้ย ตลาดสินค้า และหุ้นได้ รวมถึงมีผู้ลงทุนหลายกลุ่มที่มีนโยบายและรูปแบบการลงทุนที่แตกต่างกัน
4. การพัฒนาของตลาดเงินทุน
เป็นอีกข้อที่สำคัญสำหรับนักลงทุนต่างชาติ เพราะถ้าตลาดเงินและตลาดทุนมีความแข็งแกร่งและมีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับสัดส่วนตลาดโลก จะทำให้เวลามีการเปลี่ยนแปลงซื้อขาย ตลาดจะมีความสั่นคลอนน้อย แบบนี้จัดเป็น Developed Market (DM)
5. การดำเนินนโยบายของภาครัฐ
สำหรับข้อนี้ก็คือว่าสำคัญเพราะนโยบายของรัฐบาลสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้ และจะส่งผลกระทบต่อเงินลงทุนของนักลงทุนได้เช่นกัน ซึ่งข้อนี้ Developed Market จะได้เปรียบกว่ามาก เนื่องจากมีเสถียรภาพที่มากกว่า
ตลาดการลงทุนในประเทศไหนบ้างที่นับว่าเป็น Developed Market?
จากข้อมูลดัชนีหลักทรัพย์ที่จัดทำโดย MSCI ในปี 2020 พบว่าประเทศหลักๆ ที่อยู่ในกลุ่มของ Developed Market (DM) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา เยอรมัน ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ โดยสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนมากที่สุดที่ 65.53% นอกเหนือไปจากประเทศเหล่านี้ ยังมีประเทศอื่นๆ คิดเป็น 5.96 %
ท้ายที่สุดเมื่อเรารู้ข้อมูลของ Developed Market คืออะไร วิธีเช็คว่าแบบไหนเรียกว่า Developed Market เชื่อว่าผู้อ่านได้ว่าได้ความรู้อัดแน่นกันไปเลยสำหรับนักลงทุนมือใหม่ ที่ไม่ว่าจะลงทุนประเภทไหน ก็จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับเรา และทำให้ผลตอบแทนงอกเงย
สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ