กองทุน SSF กับ RMF ต่างกันอย่างไร?
ในการดำรงชีวิตของคนเรานั้น ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องมีการวางแผนชีวิตเอาไว้รองรับตัวเองในอนาคต นอกจากจะต้องมีการวางแผนในเรื่องของการทำงาน ในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่ในเรื่องของการลงทุนหรือการเก็บออมต่าง ๆ กองทุน SSF และกองทุน RMF ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญสำหรับคนที่อยากจะลงทุนไว้เพื่อการเก็บออม และเพื่อการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปได้ในพร้อม ๆ กัน
ซึ่งในแต่ละกองทุนนั้นก็จะมีให้เราได้เลือกอยู่มากมายตามความชอบของแต่ละคน โดยที่เราสามารถซื้อได้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่เราสนใจ และที่สำคัญคือเราจะต้องมีการวางแผนในเรื่องของการลงทุนให้ถี่ถ้วนก่อน เพราะทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ดังนั้นเราจะต้องประเมินให้ได้ว่าเรานั้นสามารถรับความเสี่ยงได้อยู่ที่ระดับไหน และหลังจากนั้นจึงค่อยตัดสินใจเลือกลงทุนกับกองทุนในตัวที่เรานั้นจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเหมาะสม
กองทุน SSF คืออะไร?
กองทุน SSF หรือ Super Saving Fund คือกองทุนรวมที่ไว้ใช้สำหรับการเก็บออมเงินในระยะยาว เพื่อเป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษี ซึ่งกองทุน SSF นี้มาแทนกองทุน LTF ที่หมดอายุไปเมื่อปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ส่วนกองทุน SSF เริ่มจัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2563
กองทุน SSF นั้นมีเงื่อนไขเบื้องต้นในการลงทุนไว้ว่าอย่างไรบ้าง?
- สำหรับกองทุน SSF นั้นจะสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ภายในปี พ.ศ. 2563 - 2567 เท่านั้น
- จะต้องมีการถือหน่วยลงทุนหุ้นนับตั้งแต่วันแรกที่ซื้อมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี
- สำหรับกองทุน SSF นั้นจะไม่ต้องซื้อทุกปี และจะไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ
- สามารถลงทุนในหลักทรัพย์อะไรก็ได้ เช่น ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ เป็นต้น
- สำหรับกองทุน SSF นั้นจะสามารถซื้อหน่วยลงทุนสำหรับไว้ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ที่จะต้องเสียภาษี และจะต้องไม่เกิน 200,000 บาท โดยที่เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนการออมต่าง ๆ แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุน SSF มีเงื่อนไขในการถือครองไว้อย่างไรบ้าง?
- ต้องมีการถือหน่วยลงทุนหุ้นไว้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับตั้งแต่วันแรกที่มีการซื้อหน่วยลงทุนหุ้น
- กองทุน SSF จะขายไม่ได้จนกว่าจะถือครบ 10 ปีขึ้นไป เว้นแต่จะเกิดทุพพลภาพหรือเสียชีวิตก่อน
- สำหรับคำถามที่ว่ากองทุน SSF ถอนได้ไหม คำตอบคือถ้ามีการขายกองทุน SSF ก่อนครบ 10 ปี ก็จะต้องมีการคืนสิทธิ์ยกเว้นภาษีที่เคยได้ใช้ลดหย่อนไปตั้งแต่ตอนที่ซื้อครั้งแรกพร้อมกับเงินเพิ่ม และจะต้องมีการเสียภาษีกำไรที่ได้รับไปจากการขายกองทุน SSF ด้วย
- กองทุน SSF สามารถที่จะเปลี่ยนไปถือกองทุน SSF กองอื่นแทนกองเดิมได้ โดยที่ไม่ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด
กองทุน RMF คืออะไร?
กองทุน RMF หรือ Retirement Mutual Fund นั้นจะเป็นกองทุนรวมสำหรับการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมสำหรับการออมเพื่อเอาไว้ใช้จ่ายเมื่อตอนที่เราเกษียณแล้ว โดยรายละเอียดของกองทุน RMF นั้นจะคล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเอกชนและกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการ
แล้วกองทุน RMF นั้นมีเงื่อนไขเบื้องต้นในการลงทุนไว้ว่าอย่างไรบ้าง?
- จะต้องมีการถือหน่วยลงทุนนับตั้งแต่วันแรกที่ซื้อมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และจะสามารถขายได้เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- สำหรับกองทุน RMF นั้นจะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยจะต้องซื้อปีเว้นปี และไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ
- สามารถลงทุนในหลักทรัพย์อะไรก็ได้ เช่น ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ เป็นต้น
- สำหรับกองทุน RMF นั้นจะสามารถซื้อหน่วยลงทุนสำหรับไว้ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ที่จะต้องเสียภาษี ซึ่งจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมต่าง ๆ แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุน RMF มีเงื่อนไขในการถือครองไว้อย่างไรบ้าง?
- กองทุน RMF ขายได้เมื่อไหร่ คำตอบคือสามารถขายคืนได้ทั้งแบบเป็นก้อน (บำเหน็จ) หรือทยอยขายคืน (บำนาญ) ก็ได้เช่นกัน
- กองทุน RMF สามารถสับเปลี่ยนกับกองทุน RMF ได้เหมือนกัน
- การสับเปลี่ยนกองทุน RMF นั้นจะไม่นับว่าเป็นการซื้อกองทุน RMF ใหม่
การผิดเงื่อนไขของกองทุน SSF และกองทุน RMF
กองทุน SSF
- ในกรณีที่มีการซื้อสิทธิเกิน ให้นำกำไรที่ได้จากการขายคืนมารวมเป็นเงินได้เพื่อทำการเสียภาษี
- ในกรณีที่มีการขายคืนก่อนกำหนด ไม่ว่าจะมีการนำไปลดหย่อนภาษีแล้วหรือว่ายังไม่ได้นำไปลดหย่อนภาษี ก็ควรที่จะขายคืนไป
กองทุน RMF
- ในกรณีที่มีการซื้อสิทธิเกิน ให้นำกำไรที่ได้จากการขายคืนมารวมเป็นเงินได้เพื่อทำการเสียภาษี
- ในกรณีที่เว้นการซื้อเกิน 1 ปีติดต่อกัน จะต้องคืนภาษีย้อนหลัง 5 ปี นับจากวันที่ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีจากกองทุน RMF
กองทุน SSF กับ RMF ต่างกันอย่างไร?
กองทุน SSF | กองทุน RMF |
กองทุน SSF เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี และลงทุนในระยะยาวมากกว่า 10 ปีขึ้นไป | กองทุน RMF เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี และออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ |
ไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน และไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี | ไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน แต่จะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรือปีเว้นปี |
กองทุน SSF สามารถลงทุนได้ตลอดทั้งปี | กองทุน RMF สามารถลงทุนได้ตลอดทั้งปี |
กองทุน SSF สามารถลงทุนได้ทุกหลักทรัพย์ | กองทุน RMF สามารถลงทุนได้ทุกหลักทรัพย์ |
สามารถหักภาษีได้ปีต่อปี ในช่วง พ.ศ. 2563 - 2567 | สามารถลดหย่อนได้ในทุกปีที่เราลงทุน |
มีระยะเวลาในการถือครองอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป นับตั้งแต่วันแรกที่ซื้อ | มีระยะเวลาในการถือครองอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป และจะสามารถขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ |
สามารถใช้สิทธิกองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี โดยที่ไม่เกิน 200,000 บาท | สามารถใช้สิทธิกองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี โดยที่ไม่เกิน 500,000 บาท |
กองทุน SSF มีให้เลือกทั้งแบบปันผลและไม่ปันผล | กองทุน RMF ไม่มีปันผล |
กองทุน SSF เหมาะกับใคร?
สำหรับกองทุน SSF นั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินได้สุทธิมากกว่า 150,000 บาท ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี หรือเป็นคนที่มีฐานภาษีสูง เพราะต้องการที่จะให้เงินลงทุนนั้นเติบโตในไประยะยาวโดยที่ไม่เสียโอกาส จึงต้องการที่จะลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุน และต้องการที่จะลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจากตัวเลือกอื่น ๆ ไปด้วย เพื่อกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นจึงไม่เหมาะสำหรับใครที่รู้สึกว่าสภาพคล่องทางการเงินไม่ดี ฐานภาษีไม่สูง หรือรู้สึกว่าการลงทุนมันมีความเสี่ยง
กองทุน RMF เหมาะกับใคร?
ส่วนกองทุน RMF นั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินเพื่อไว้ใช้ในวัยเกษียณ เช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือลูกจ้างที่นายจ้างไม่มีความพร้อมที่จะจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ให้ เพราะว่าไม่มีสวัสดิการที่จะรองรับการออมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ และนอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับข้าราชการที่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณอยู่แล้ว แต่ยังต้องการที่จะออมเพิ่มเติมก็สามารถที่จะทำได้เช่นเดียวกัน ส่วนในเรื่องของกองทุน RMF กองไหนดีที่ควรเลือกซื้อ ก็ให้พิจารณาดูที่ความเหมาะสมตามเงื่อนไขข้างต้นว่าตนเองนั้นเหมาะกับกองทุนชนิดนี้ไหม
อยากเริ่มต้นลงทุน ควรจะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี?
สำหรับมือใหม่หัดลงทุนก็จะแนะนำว่าให้เริ่มต้นเรียนรู้เรื่องการลงทุนให้ดีก่อน อีกทั้งยังควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ จับต้องได้ อย่างเช่นการเริ่มต้นลงทุนในกองทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ RHB Securities เพราะเราจะได้รับความสะดวกสบายโดยที่ไม่ต้องติดตามตลาด ด้วยการทยอยซื้อแบบ DCA ที่เริ่มต้นลงทุนเพียงแค่ 500 บาท หรือสามารถเลือกอ่านบทวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญได้เลยทันที โดยสามารถที่จะเปิดบัญชีลงทุนด้วยตนเองได้ง่าย ๆ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายให้กับตนเองได้อีกด้วย
ควรเลือกซื้อกองทุนประเภทลดหย่อนภาษีแบบไหนดี?
สิ่งสำคัญที่สุดคือจะต้องเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง เพราะทั้งกองทุน SSF และกองทุน RMF ต่างก็มีประโยชน์ในแง่ของการลงทุนและใช้ลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงควรศึกษาและพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนทุกครั้ง เพื่อเป้าหมายการลงทุนของตนเองในอนาคต แต่ถ้าหากว่าใครที่ไม่ถนัดจะลงทุนด้วยตัวเอง ก็อาจมีการเลือกเปิดบัญชีลงทุนในกองทุนรวมกับบริษัทหลักทรัพย์ RHB Securities ก็ได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้ผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญนั้นได้ช่วยบริหารและจัดการการลงทุนให้เลย ดังนั้นไม่ว่าจะเจอกับสถานการณ์เศรษฐกิจแบบไหน คุณก็สามารถอุ่นใจได้ทันที
สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ