เรื่องน่ารู้ กับ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
การเตรียมตัวเกษียณจากอาชีพไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว การตระเตรียมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้ดี โดยเฉาพะอย่างยิ่งกับการวางแผนเกษียฯด้วยกองทุนต่าง ๆ อย่าง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่จะช่วยให้ชีวิตที่สุขสบายของคุณในบั้นปลายชีวิตไม่ใช่แค่ฝัน
ว่าแต่ กบข. และ กอช. คืออะไร และ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ทำไมถึงน่าสนใจ? แล้วแตกต่างจากประกันสังคมที่เรารู้จักกันทั่วไปอย่างไร? ว่าแล้วก็ตาม แรบบิท แคร์ ไปทำความเข้าใจกันดีกว่า!
รู้จักกับ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) คืออะไร?
สำหรับมนุษย์เงินเดือน อาจจะเคยคุ้นเคยกับประกันสังคมมาเป็นอย่างดี แต่สำหรับข้าราชการ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระอื่น ๆ หากจะออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณจะมีระบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะมีกองทุนหลัก ๆ ดังนี้
รู้จักกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
กบข. คือ ประกันสังคมฉบับของข้าราชการนั่นเอง โดยนายจ้างช่วยสบทบทุน นำเงินสะสมในกองทุนนี้มาลดหย่อนภาษีได้ โดยระบบนี้จะนับเป็นการออมเกษีณภาคบังคับของผู้ทำงานเป็นข้าราชการ
เนื่องจาก กบข. เป็นระบบที่ออกแบบมาสำหรับข้าราชการ และมีแผนการลงทุนที่เยอะกว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนอื่น ๆ โดยได้ทั้ง เงินออมจากการออมเงินเดือนในแต่ละเดือน, เงินสมทบที่ทางรัฐบาลช่วยเหลือเพิ่มเติม แถมยังได้กำไรจากการที่ทางกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) นำเงินออมไปลงทุนสะสมไว้อีก ทำให้การันตีได้ถึงผลตอบแทนในเรื่องเงินหลังเกษียณอายุ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อีก อย่าง ลดหย่อนภาษีได้ รวมถึงได้สิทธิพิเศษจิปาถะอื่น ๆ ด้วยเหตุผลพวกนี้ทำให้ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นกองทุนออมที่น่าสนใจไม่แพ้กองทุนอื่น ๆ สำหรับคนที่ประกอบอาชีพข้าราชการ โดยเฉพาะผู้ที่วางแผนจะทำงานข้าราชการอย่างน้อย 10 ปี หรือทำอาชีพนี้ยาวจนเกษียณ
รู้จักกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
กอช. คือ หน่วยงานของภาครัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมของสมาชิกตามชื่อเลย ถูกนับว่าเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่คล้ายกับกองทุนเงินชราภาพจากประกันสังคม และเป็นกองทุนที่การันตีเงินบำนาญให้แก่สมาชิกที่มีการออมตามเงื่อนไข มีจุดเด่นที่ให้ผู้ทำสามารถออมเงินได้ตั้งแต่อายุน้อยจนกระทั่งวัยเกษียณ
นอกจากนี้ การเป็นสมาชิก กอช. ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีก ว่า ผู้ทำจะต้องมีสัญชาติไทย, มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี, จะไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่น ที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง และต้องไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐ หรือเอกชน เช่น นักเรียน, เกษตรกร, ค้าขาย, บุคคลรับจ้างทั่วไป เป็นต้น
สรุปแล้ว ทั้ง กบช. และ กอช. คือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง
รายละเอียดและลักษณะการลงทุนใน กบข. และ กอช. ลงทุนอย่างไรบ้าง?
สำหรับรายละเอียด และ การลงทุนทั้งของ กบข. และ กอช. จะแตกต่างกัน ดังนี้
รายละเอียดการลงทุน กบข.
หลัก ๆ คือเราไม่ต้องซื้อกองทุนเหมือนการซื้อกองทุนทั่วไป แต่เป็นกองทุนออมเงินที่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งตัวเจ้าหน้าที่ข้าราชการจะต้องทำการออมเงินเดือน หรือฝากเงินส่วนหนึ่งในแต่ละเดือนเข้ากองทุน และจะมีรัฐบาลจะทำการสนับสนุนเงินออมส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเพิ่มผลตอบแทนในกองทุน กบข.
โดยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จะเป็นผู้บริหารเงินออมส่วนนี้ในการลงทุนเพื่อเพิ่มค่าตอบแทนภายใต้ความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ และจะช่วยเหลือข้าราชการที่เป็นสมาชิกในกองทุนวางแผนการเกษียณอายุราชการ
ส่วนรายละเอียดทั่วไปของ กบข. จะเหมือนกับประกันสังคม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่รายละเอียดที่ควรรู้ และไม่เหมือนกับที่อื่น ๆ จะมี 3 ข้อดังนี้
- ข้าราชการจะต้องออมเงินอย่างน้อย 3% ของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 15% โดยเลือกเปอร์เซนต์ในการออมได้อย่างอิสระ ขึ้นอยู่กับการบริหารเงินของตนเอง
- ทางรัฐบาลจะช่วยออมเงินสมทบให้ด้วยเงินมูลค่าไม่เกิน 3% ของฐานเงินเดือนข้าราชการท่านนั้น ๆ
- นอกจากการออมเงิน และการช่วยเหลือจากนายจ้าง (รัฐบาล) จะมีการสมทบด้วยเงินชดเชยเพิ่มอีก 2% โดยเงื่อนไขที่จะได้เงินตรงนี้คือจะต้องเกษียณอายุราชการ และเลือกรับเงินบำนาญเท่านั้น
รายละเอียดการลงทุน กอช.
เบื้องต้น ทาง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จะไม่บังคับจำนวนเงินในการออม ทำให้เราสามารถเลือกออมได้ตามความสมัครใจ ซึ่งจำนวนเงินที่ กอช.จ่ายจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินทั้งหมดที่สมาชิกออมไว้กับกองทุน
แต่ทาง กอช. จะมีเงื่อนไขว่า ออมขั้นต่ำเริ่มต้น 50 บาท/เดือน และสูงสุด 1,800 บาท/เดือน หรือ 30,000 บาท/ปี หากเดือนไหนไม่สะดวกออม ก็ยังสามารถคงสิทธิ์การเป็นสมาชิกไว้ได้ และเมื่อครบกำหนดอายุ 60 ปี สำหรับเกษียณ ทาง กอช. ก็จะจ่ายเงินให้แก่สมาชิกในรูปแบบของเงินบำนาญ แบบแบ่งจ่ายเป็นเงินเกษียณรายเดือนเท่านั้น
ส่วนการคำนวณการจ่ายเงินคืนนั้น หากนำเงินออมของสมาชิก + เงินสมทบของรัฐบาล + ดอกผลจากเงินส่วนที่ 1 และ 2 ถ้ารวมกันแล้ว ไม่น้อยกว่า 600 บาท/เดือน สมาชิกก็จะได้รับเงินคืนเป็นประจำทุกเดือน ตามผลลัพธ์ที่คำนวณได้ เรียกว่า ‘บำนาญตลอดชีพ’
แต่หากน้อยกว่า 600 บาทต่อเดือน สมาชิกก็จะได้รับเงินคืนเดือนละ 600 บาท/เดือน จนเงินในบัญชีหมดลง กอช. ถึงจะหยุดจ่ายเงิน เรียกว่า ‘เงินดำรงชีพ’ แทน
สิทธิประโยชน์ของ กอช. และ กบข. คืออะไร
สำหรับสิทธิประโยชน์ของทั้ง กบข. และ กอช. จะแตกต่างกันออกไป สามารถจำแนกความแตกต่างได้ ดังนี้
สิทธิประโยชน์ของ กบข.
เมื่อเข้ารับราชการ และเข้าร่วมเป็นสมาชิก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ นานา นอกเหนือจากการได้ออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณอายุ ดังนี้
- สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับเงินออมใน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)สะสมไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
- สิทธิพิเศษต่างๆ หรือส่วนลดต่างๆ แล้วแต่แคมเปญที่จัดในช่วงนั้น เช่นส่วนลดตั๋วเครื่องบินสายการบินในประเทศ, ส่วนลดบัตรโดยสารรถเมล์สุดพิเศษ, สิทธิพิเศษในการสมัครประกันและ Voucher พิเศษในการช็อปปิ้ง เป็นต้น
- ได้รับเงินพร้อมผลกำไร เมื่อสิ้นสุดสภาพสมาชิก หรือเกษียณราชการ ทั้งในส่วนของเงินบำเหน็จหรือบำนาญ และเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
สิทธิประโยชน์ของ กอช.
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) คือ ไม่เพียงแค่เป็นการออมเงินเท่านั้น แต่จะมีการนำเงินออมไปลงทุนในเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ หรือตราสารทุน ที่จัดว่ามีความเสี่ยงต่ำ นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐฯด้วยการ ให้เงินสมทบตามอายุของสมาชิกในขณะที่ส่งเงินออมตามเกณฑ์จากข้อมูลของเว็บไซต์ กอช. ดังนี้
ช่วงอายุ 15-30 ปี ทางรัฐฯสมทบให้ 50% ของเงินออมแต่ละครั้ง โดยรวมกันทั้งปีไม่เกิน 600 บาท (คิดเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 4%*)
ช่วงอายุ 30-50 ปี ทางรัฐฯสมทบให้ 80% ของเงินออมแต่ละครั้ง โดยรวมกันทั้งปีไม่เกิน 960 บาท (คิดเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 7%*)
ช่วงอายุ 50-60 ปี ทางรัฐฯสมทบให้ 100% ของเงินออมแต่ละครั้ง โดยรวมกันทั้งปีไม่เกิน 1,200 บาท (คิดเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 9%*)
*เงินสมทบจากภาครัฐฯจะคิดเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนโดยประมาณ
จะเห็นได้ว่า ทั้ง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เป็นหนึ่งในกองทุนที่น่าสนใจไม่แพ้การลงทุนในหุ้น กองทุน ตราสารหนี้ต่าง ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นลงทุน หรือต้องการกระจายความเสี่ยงอื่น ๆ รวมถึงการออมเงินไว้ใช้ในช่วงบั้นปลายชีวิต เพื่อชีวิตวัยเกษียณที่สดใส มีเงินใช้ไม่ลำบาก ไม่ต้องพึ่งลูกหลาน สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่
สำหรับใครที่สนใจอยากจะลงทุนเพิ่มเติม นอกจากประกันสังคม กองทุน กบข. หรือ กองทุน กอช. ทาง แรบบิท แคร์ ก็ขอแนะนำเพิ่มเติมสำหรับ ประกันชีวิตแบบบำนาญ (ประกันวัยเกษียณ) หรือ ประกันออมทรัพย์ ที่จะช่วยให้คุณเก็บออมเงินได้อยู่มากขึ้น! ด้วยแบบแผนประกันที่หลากหลาย พร้อมความคุ้มครองให้คุณได้อุ่นใจ และเบี้ยประกันที่จับต้องได้ พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่าง แคร์เอเจ้นท์ ที่พร้อมให้คำแนะนำคุณทุกขั้นตอน นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกหลากหลาย เช่น ประกันรถยนต์ หรือแม้แต่สินเชื่อที่ช่วยให้คุณเลือกลงทุนเพิ่มเติมได้ดั่งใจฝัน เช่น สินเชื่อพรอมิส, สินเชื่อ CardX SPEEDY LOAN, สินเชื่อ TTB, สินเชื่อ Line BK
ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ