Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันชีวิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Pension management.png
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Oct 10, 2023

บำเหน็จ บำนาญ จะบริหารอย่างไร?

การได้รับบำเหน็จหรือบำนาญหลังเกษียณอายุการทำงานนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะเงินจำนวนนี้จะช่วยให้เรามีรายได้ประจำหรือเงินก้อนไว้ใช้ในการลงทุนหรือใช้สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆในการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุการทำงาน อีกมุมมองหนึ่งการได้รับบำเหน็จบำนาญเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการทำงาน มีความมั่นคงหลังเกษียณ

บำเหน็จ บำนาญ คืออะไร?

บำเหน็จ หมายถึง เงินตอบแทนที่ได้จากความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจะได้รับเป็นเงินก้อน ครั้งเดียว
บำนาญ หมายถึง เงินตอบแทนที่ได้จากความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจะได้รับเป็นรายเดือน

ใครบ้างที่ได้รับสิทธิ์บำเหน็จ บำนาญ

ผู้ที่เป็นข้าราชการตามกฎหมายรับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายประเภทบุคลากร และไม่เป็นบุคคลที่ต้องห้ามได้รับสิทธิ์บำเหน็จบำนาญ หรือผู้มีสิทธิ์ได้รับสิทธิข้าราชการด้วยเหตุตามมาตรา ดังนี้

  • เหตุทดแทน (มาตรา 11) เงินที่มอบให้แก่ข้าราชการที่ทางราชการสั่งให้ออกจากราชการ เลิก ยุบ ยกเลิกตำแหน่ง มีคำสั่งให้ออกโดยไม่ได้กระทำความผิด ออกจากราชการตามบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือทหารออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
  • เหตุทุพพลภาพ (มาตรา 12) เงินที่มอบให้แก่ข้าราชการที่เกิดการเจ็บป่วยทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ทางราชการลงความเห็นว่าไม่สามารถรับราชการในตำแหน่งงานดังกล่าวต่อไปได้
  • เหตุสูงอายุ (มาตรา 13) เงินที่มอบให้แก่ข้าราชการที่อายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ หากอายุ 55 ปี สามารถแจ้งความประสงค์ลาออกจากราชการให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ออกเพื่อรับสิทธิ์ข้าราชการบำเหน็จบำนาญ
  • เหตุรับราชการนาน (มาตรา 14) เงินที่มอบให้แก่ข้าราชการที่มีอายุการทำงานครบ 30 ปี บริบูรณ์ มีสิทธิ์เลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญก็ได้
  • ข้าราชการที่มีเวลาราชการตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิ์รับบำเหน็จ
  • ข้าราชการที่มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิ์รับบำนาญ
  • ผู้มีสิทธิ์รับบำนาญสามารถขอเปลี่ยนเป็นบำเหน็จได้

การนับเวลาและการคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญ

การนับเวลา

เริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่ได้รับเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนตามมาตรา ม.23

กรณีเกษียณอายุ ทุพพลภาพ ทดแทน หรือรับราชการนาน

  • ข้าราชการที่มีเวลาราชการตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิ์รับบำเหน็จ
  • ข้าราชการที่มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิ์เลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญ
  • ข้าราชการที่มีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิ์เลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญ

กรณีลาออกจากราชการ

  • ข้าราชการที่มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี มีสิทธิ์รับบำเหน็จ
  • ข้าราชการที่มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี มีสิทธิ์รับบำเหน็จ
  • ข้าราชการที่มีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์เลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญ
  • ผู้มีสิทธิ์รับบำนาญสามารถขอเปลี่ยนเป็นบำเหน็จได้

การคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญ


1. กรณีไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. (พ.ร.บ. 2494)


  • บำเหน็จ
    วิธีคำนวณเงินบำเหน็จ = (เงินเดือนเดือนสุดท้าย x ระยะเวลาการรับราชการ ปี )
    ตัวอย่าง
    สถาพร ลาออกจากราชการ โดยได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้าย 28,000 บาท มีระยะเวลาการทำงาน 30 ปี
    28,000 x 30 = 840,000 บาท

  • บำนาญ
    วิธีคำนวณเงินบำนาญ = (เงินเดือนเดือนสุดท้าย x ระยะเวลาการรับราชการ ปี) / 50
    ตัวอย่าง
    สถาพร ลาออกจากราชการ โดยได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้าย 28,000 บาท มีระยะเวลาการทำงาน 30 ปี

    (28,000 x 30)/50 = 16,800 บาท/เดือน
    กรณีระยะเวลาการรับราชการมีเศษเกิน 6 เดือน ให้นับเป็น 1 ปี เช่น ระยะเวลาการทำงาน 30 ปี 7 เดือน ให้นับเป็น 31 ปี

2. กรณีเป็นสมาชิก กบข. (พ.ร.บ.กองทุน 2439)


  • บำเหน็จ
    วิธีคำนวณเงินบำเหน็จ = (เงินเดือนเดือนสุดท้าย x ระยะเวลาการรับราชการ)
    ตัวอย่าง
    สถาพร ลาออกจากราชการ โดยได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้าย 28,000 บาท มีระยะเวลาการทำงาน 30 ปี
    28,000 x 30 = 840,000 บาท

  • บำนาญ
    วิธีคำนวณเงินบำนาญ = (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x ระยะเวลาการรับราชการ ) / 50
    ตัวอย่าง
    สถาพร ลาออกจากราชการ โดยได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 25,000 บาท มีระยะเวลาการทำงาน 30 ปี (เงินเดือนเฉลี่ยแล้วต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนทั้งหมด)
    (25,000 x 30)/50 = 15,000 บาท/เดือน

    กรณีระยะเวลาการรับราชการมีเศษเกิน 6 เดือน ให้นำจำนวนเดือนหารด้วย 12 และเศษวันให้นำจำนวนวันหารด้วย 365 เช่น ระยะเวลาการทำงาน 30 ปี 6 เดือน 14 วัน
    30 + (6/12) + (14/365) = 30.53 ปี

บำนาญพิเศษ คืออะไร

บำนาญพิเศษ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการผู้ที่ประสบเหตุตามมาตรา ม.37 - 38 ซึ่งได้รับอันตรายเกิดทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถรับราชการต่อได้ หรือข้าราชการที่ถึงแก่ความตายโดยผู้ที่ได้ คือ ทายาท จะได้รับบำนาญประเภทพิเศษแทน

สิทธิประโยชน์ในการเลือกรับบำนาญ

  • ได้รับเงินเป็นรายเดือน ตลอดชีวิต หรือจนหมดสิทธิ์ในการรับบำนาญ
  • สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตลอดชีวิต และบุคคลอื่นๆภายในครอบครัวก็สามารถใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลฟรีเหมือนกัน เช่น บิดามารดา ภรรยา ยกเว้น บุตร สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ถึงอายุ 20 ปีเท่านั้น
  • ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ
  • รัฐบาลช่วยออกค่าเล่าเรียนบุตรจนอายุครบ 25 ปี หรือการศึกษาไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา
  • มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จตกทอด ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาเมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่กรรม
  • สามารถยื่นเรื่องขอรับพระราชทานเพลิงศพไปยังกรมได้

บำนาญพิเศษกรณีทุพพลภาพ

  • ทุพพลภาพทั่วไป ได้รับบำนาญพิเศษอัตรา 5 - 20% ใน 50% ของเงินเดือนสุดท้าย
  • ผู้ที่ปฏิบัติราชการหน้าที่ดัง ต่อไปนี้ ปฏิบัติราชการโดยอากาศยาน เรือดำน้ำ ดำน้ำ กวาดทุ่นระเบิด หรือขุด ทำลาย ประกอบวัตถุระเบิด จะได้รับบำนาญพิเศษในอัตรา 50% ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
  • หาปฏิบัติหน้าที่ตามกระทรวงกลาโหมกำหนด เช่น การรบ การสงคราม หรือปราบปรามจลาจล ได้รับบำนาญพิเศษอัตรา 30% ใน 50% ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
  • ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่และได้รับอันตรายถึงทุพพลภาพ แม้ยังไม่ได้รับสิทธิ์บำนาญปกติ เมื่อทุพพลภาพสามารถได้รับบำนาญปกติบวกกับบำนาญพิเศษได้

บำนาญพิเศษกรณีถึงแก่ความตาย

  • กรณีถึงแก่ความตายทั่วไป ได้รับบำนาญพิเศษอัตรา 50% ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
  • ผู้ที่ปฏิบัติราชการหน้าที่ดัง ต่อไปนี้ ปฏิบัติราชการโดยอากาศยาน เรือดำน้ำ ดำน้ำ กวาดทุ่นระเบิด หรือขุด ทำลาย ประกอบวัตถุระเบิด หรือปฏิบัติหน้าที่ตามกระทรวงกลาโหมกำหนด เช่น การรบ การสงคราม ปราบปรามจลาจล จะได้รับบำนาญพิเศษในอัตรา 40% ใน 50% ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย

บำเหน็จตกทอด

คือ เงินที่จ่ายให้กับทายาทเมื่อผู้ปฏิบัติข้าราชการเสียชีวิต เป็นจำนวนเงิน 30 เท่าของเงินเดือน สามารถแบ่งได้ดังนี้

  • บุตร ได้รับ 2 ส่วน
  • สามี หรือภรรยา ได้รับ 1 ส่วน
  • บิดา หรือมารดา ที่มีชีวิตอยู่ได้รับ 1 ส่วน

เทคนิคการบริหารเงินหลังเกษียณ

  • มีเงินออมอย่างน้อย 2 -6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อทำให้เรามีสภาพคล่องทางการเงินในการใช้ชีวิตประจำวัน และเงินสำรองในกรณีฉุกเฉิน
  • แบ่งเงินจำนวนหนึ่งฝากประจำ เป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและเพิ่มผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากประจำอีกด้วย เพราะการฝากเงินประจำได้อัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่าการฝากเงินแบบออมทรัพย์
  • นำเงินไปลงทุนในการซื้อธนบัตรเพื่อหวังผลตอบแทนในระยะยาว
  • การลงทุนด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำ มีโอกาสได้ผลตอบแทนและยังสามารถใช้ในการออมเงินได้อีกด้วย เช่น การซื้อสลากออมสิน สลากออมทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ หากต้องการลงทุน ควรแบ่งเงิน 15% ของเงินออมและเงินลงทุน เนื่องจากทุกการลงทุนมีความเสี่ยง

การทำประกันรูปแบบบำนาญ

หากใครที่ไม่ได้รับราชการก็สามารถวางแผนการเงินเมื่อเกษียณอายุการทำงานได้โดยการทำประกันรูปแบบบำนาญประกันประเภทนี้ทำขึ้นเพื่อให้ผู้เอาประกันได้รับการคุ้มครองเมื่อเข้าสู้วัยเกษียณอายุที่ไม่สามารถทำงานได้แล้ว โดยประกันรูปแบบนี้ต้องชำระเบี้ยประกันชีวิตเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งควรวางแผนการทำก่อนการเกษียณในระยะยาวเพื่อสะสมเงินดังกล่าวไว้ใช้ในยามเกษียณ โดยเงื่อนไขการชำระเบี้ยประกันจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่กรมธรรม์ที่เราเลือกทำ เช่น

  • ชำระเบี้ยประกันชีวิตจนกว่าจะถึงอายุเกษียณ
  • ชำระเบี้ยประกันชีวิตเป็นระยะเวลาแบบปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ย
  • ชำระเบี้ยประกันชีวิตเป็นระยะเวลาที่กำหนดกับทางประกัน เช่น 5, 10, 15, 20 ปี

เป็นอย่างไรกันบ้างหลายคนคงเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบำเหน็จและบำนาญกันแล้วใช่ไหม วางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณของตัวเองให้ดีว่าหลังจากเกษียณแล้วเราอยากทำอะไร อยากเอาเงินไปลงทุนในด้านไหนให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดจากนั้นก็วิเคราะห์กันเลยว่าเราจะเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญดีเพราะของดีของการรับเงินเกษียณอายุทั้งสองมีข้อแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับใครที่ไม่รู้จะวางแผนการเงินหลังเกษียณอย่างไรให้เรา แรบบิท แคร์ ช่วยคัดสรรแผนการเงินหลังเกษียณอายุให้กับคุณด้วยประกันชีวิตหลังเกษียณที่จะวางแผนการเงินหลังเกษียณอายุให้คุณและสิทธิพิเศษต่างๆที่คุณจะได้รับอีกมากมาย

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

 แฮปปี้มีเงินใช้แฮปปี้มีเงินใช้

ไทยประกันชีวิต

  • แฮปปี้มีเงินใช้ เบี้ย 5 ปี คุ้มครองนาน 15 ปี
  • ตลอดสัญญา เงินคืน 521%
  • 3% การันตี ทุก 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท ต่อปี
  • อายุ 1 เดือน - 65 ปี สมัครได้
  • จ่ายเบี้ยได้ รายเดือน, 3 เดือน, ปี
  • ทุกอาชีพ อายุผู้สมัคร
ประกันบำนาญ 90/2 ทิพยประกันชีวิตประกันบำนาญ 90/2

ทิพยประกันชีวิต

  • บำนาญรวม สูงสุด 465%
  • ชำระเบี้ย 2 ปี รับบำนาญ 31 ปี
  • เบี้ยเริ่มต้นเบา จ่าย 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท
  • สมัคร 20-54 ปี
  • ชดเชยรายได้ รพ. รับบำเหน็จ
  • จ่ายเบี้ยสั้น รับบำนาญนาน
ฟอร์ เพนชัน 85/7 เอฟดับบลิวดีฟอร์ เพนชัน 85/7

เอฟดับบลิวดี

  • วางแผนเกษียณ จ่ายเบี้ย 7 ปี คุ้มครองถึง 85 ปี
  • รับบำนาญเพิ่มตามอายุ สูงสุด 24%
  • เสียชีวิตรับเงินก้อน 110%
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท
  • สมัครได้ 20-52 ปี จ่ายเบี้ย 7 ปี
  • ทุนประกันขั้นต่ำ 50,000 บาท
  • บำนาญตั้งแต่อายุ 60 ปี ถึง 85 ปี
GEN Senior So Good GeneraliGEN Senior So Good

Generali

  • เบี้ยต่ำ เพียง 15 บาท/วัน
  • เบี้ยคงที่ ตลอดชีวิตถึง 90 ปี
  • รับ 450,000 บาท สูงสุด 150% คุ้มครอง
  • ชำระรายเดือน สูงสุด 12 เดือน
  • สมัครเมื่ออายุ 55-70 ปี
  • สมัครง่าย ภายใน 15 นาที
  • จ่ายรายปี รับลด 8%

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา