Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

ทางร่วมทางแยก คืออะไร? ใครต้องไปก่อน? เกิดอุบัติเหตุประกันคุ้มครองไหม?

การขับขี่รถยนต์นั้น ความปลอดภัยและความระมัดระวังในการขับขี่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการใช้รถใช้ถนนร่วมกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะการขับขี่บนทางร่วมทางแยก ที่จำเป็นจะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง แรบบิท แคร์ มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนบนทางร่วมทางแยกที่ถูกต้องตามกฎจราจร ทางร่วมทางแยก ให้คุณสามารถปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัย ไปดูกันเลย

ทำความรู้จักทางร่วมทางแยก คืออะไร?

ตามกฎหมายประเทศไทย ทางร่วมทางแยก หมายถึงส่วนที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ถนนสามารถแบ่งทางได้และตัดสินใจเลือกเส้นทางที่ต้องการเข้าไปต่ออย่างปลอดภัย ในทางปฏิบัติแล้ว ทางร่วมทางแยกบ่งบอกถึงจุดที่ถนนหลายเส้นพบกันและผู้ขับขี่ต้องตัดสินใจเลือกเส้นทางที่จะเข้าไปต่ออย่างปลอดภัย การตัดสินใจนี้อาจมีการใช้สัญญาณไฟจราจร แผ่นป้ายบอกทาง หรือเครื่องหมายจราจรอื่น ๆ เพื่อช่วยแจ้งให้ผู้ขับขี่ทราบถึงทางเลือกและสิ่งที่ควรทราบเพื่อให้การจราจรเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย

ตามกฎหมายทางร่วมทางแยก การขับขี่รถผ่านทางร่วมทางแยกใครไปก่อน?

แน่นอนว่าเมื่อเจอทางร่วมทางแยกบนท้องถนน ผู้ขับขี่ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎจราจร ทางร่วมทางแยก ให้ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ โดยสามารถขับขี่เมื่อถึงทางร่วมทางแยกตามกรณีดังต่อไปนี้

  • เมื่อผู้ขับขี่ถึงทางแยกให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดต่อไปนี้
  1. หากมีรถคันอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถทางแยกนั้นผ่านไปก่อน
  2. หากถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน ให้ผู้ขับขี่ให้รถทางด้านซ้ายผ่านไปก่อน ยกเว้นในทางแยกที่มีทางเดินรถทางเอกตัดผ่าน ให้ผู้ขับขี่ที่ขับรถในทางเอกมีสิทธิ์ในการขับผ่านไปก่อน

  • ในกรณีที่มีวงเวียนติดตั้งสัญญาณจราจร ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้น ๆ
  1. หากไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ผู้ขับขี่ที่มาถึงวงเวียนต้องให้สิทธิ์แก่ผู้ขับขี่ที่อยู่ในวงเวียนทางด้านขวาผ่านไปก่อน
  2. ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรเห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร อาจใช้สัญญาณจราจรอื่น ในกรณีดังนี้ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้

  • เมื่อผู้ขับขี่ขับรถออกจากทางบุคคลหรือทางเดินรถในบริเวณอาคาร ต้องการขับรถผ่านหรือเลี้ยวเข้าสู่ทางเดินรถที่ตัดผ่าน ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถเพื่อให้รถที่กำลังผ่านทางหรือรถที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ในทางเดินรถผ่านไปก่อน และเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงสามารถขับต่อไปได้

กล่าวโดยสรุปคือ ทางร่วมทางแยกเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อหรือตัดกันระหว่างทางหลักและทางย่อย หากคุณขับรถบนทางเอกและพบว่ามีรถอีกคันกำลังเข้ามาในทางเดียวกัน คุณสามารถขับตรงไปก่อนโดยไม่ต้องรอ แต่หากคุณมาจากทางโท คุณจะต้องหยุดรถให้รถทางเอกขับผ่านไปก่อนเสมอ พอมั่นใจว่าไม่มีรถใกล้เคียงในทางหลัก จึงสามารถขับต่อไปได้ สำหรับรถยนต์ที่ขับบนทางเอก หากต้องการเลี้ยวขวาเข้าซอย คุณควรรอให้รถในเลนตรงข้ามขับผ่านไปก่อนก่อนที่จะเลี้ยวเข้าทางโท อย่าขับข้ามเลนเพื่อเข้าทางโททันที อย่างไรก็ตาม รถบนเลนตรงข้ามก็ต้องชะลอให้รถบนทางเอกขับตรงหรือเลี้ยวเข้าทางโทก่อน จึงสามารถขับต่อไปได้

รู้หรือไม่กฎจราจร ทางร่วมทางแยก ห้ามกลับรถ?

ในประเทศไทยมีกฎจราจร ทางร่วมทางแยกที่ห้ามกลับรถในทางร่วมทางแยกที่ไม่มีสัญญาณจราจรระบุว่าสามารถกลับรถได้ เพราะฉะนั้นจึงมีคนที่ไม่รู้ส่วนใหญ่ที่มักกลับรถในทางร่วมทางแยกเนื่องจากไม่มีสัญญาณจราจรที่ระบุว่าห้ามกลับรถ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 53 ระบุไว้ว่าห้ามผู้ขับขี่กลับรถในทางร่วมทางแยกเว้นแต่จะมีสัญญาณจราจรที่อนุญาตให้กลับรถในบริเวณดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังห้ามเลี้ยวรถหรือกลับรถในทางเดินรถที่มีสัญญาณจราจรห้ามเลี้ยวหรือห้ามกลับรถ รวมทั้งห้ามกลับรถในระยะ 100 เมตรจากทางราบเชิงสะพาน เนื่องจากถ้ามีการกลับรถในทางร่วมทางแยกอาจเกิดอุบัติเหตุได้ และถ้าทางแยกเป็นจุดคับขันก็จะทำให้การจราจรติดขัด ดังนั้นหากทราบข้อมูลนี้ควรปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุ เพราะการกลับรถในทางแยกถือเป็นสิ่งที่อันตรายมาก

หากเกิดอุบัติเหตุจากการทำผิดกฎหมายทางร่วมทางแยก จะมีผลในการเคลมประกันรถยนต์หรือไม่?

ต้องอธิบายแบบนี้ว่าโดยทั่วไปแล้วทางร่วมทางแยกมักจะเป็นบริเวณที่มีการเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ผู้ขับขี่ควรระมัดระวังและคาดการณ์เกี่ยวกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเพราะมีการเลี้ยวเข้า-ออกอยู่เสมอ ซึ่งแม้ว่าคุณจะมีใบขับขี่ถูกต้องและมีประกันรถยนต์ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร ทางร่วมทางแยก บริษัทประกันภัยก็มีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย และทางกรมการขนส่งก็มีสิทธิ์ยกเลิกใบอนุญาตขับขี่ หากทำผิดกฎจราจรและเจ้าหน้าที่ประเมินแล้วว่าผู้ขับขี่ไม่มีความสามารถในการใช้รถและอาจเกิดความเสี่ยงกับผู้ร่วมทางได้ สามารถแบ่งเป็นกรณีได้ ดังนี้

  • กรณีเมื่อรถถูกชนขณะที่กำลังเลี้ยว : ในกรณีเกิดอุบัติเหตุเมื่อผู้ขับขี่อยู่บริเวณทางร่วมทางแยกกำลังเลี้ยวรถและถูกชนด้วยรถที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ไม่ว่าจะด้านซ้ายหรือด้านขวาของรถคุณ ทั้ง 2 กรณีนี้จะถือว่ารถที่กำลังเลี้ยวอยู่เป็นฝ่ายผิด เนื่องจากไม่ได้หยุดให้รถทางตรงผ่านไปก่อนตามสิทธิ์ในการใช้ทาง หากคุณเป็นเจ้าของรถที่กำลังเลี้ยวมีประกันภัยรถยนต์ จะถือเป็นฝ่ายผิดและบริษัทประกันจะต้องชดเชยให้กับรถทางตรง

  • กรณีเมื่อรถชนและมาถึงทางแยกพร้อมกัน : หากมีรถ 2 คันมาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน รถที่อยู่ทางซ้ายจะมีสิทธิ์ใช้ทางก่อนเสมอ อีกกรณีคือหากเป็นรถทางตรงทั้ง 2 ฝ่าย หากมีฝ่ายใดเลี้ยวจะต้องหยุดให้รถทางตรงผ่านไปก่อน เพราะรถทางตรงอยู่บนทางของตนเองมีสิทธิ์ใช้ทางมากกว่ารถที่กำลังจะเลี้ยวเข้ามาร่วมทาง ดังนั้นหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นบริษัทประกันภัยจะต้องชดเชยรถทางตรงตามเหตุการณ์เช่นเดียวกับกรณีรถถูกชนขณะกำลังเลี้ยวเสมอ

  • กรณีเมื่อรถชนและมาถึงทิศตรงข้ามกัน : กรณีที่รถ 2 คัน วิ่งมาจากทิศทางตรงข้ามกันและต้องการเลี้ยวไปทิศทางเดียวกัน หากเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน รถคันที่กำลังเลี้ยวข้ามถนนจะเป็นฝ่ายถูก ดังนั้น บริษัทประกันภัยจะต้องชดเชยรถที่กำลังเลี้ยวข้ามเลน

กล่าวโดยสรุปก็คือ เมื่อเกิดความเสียหายหรืออุบัติเหตุโดยทำผิดกฎหมายทางร่วมทางแยก การเคลมประกันรถยนต์จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันรถยนต์ที่คุณได้ทำการซื้อประกัน รวมถึงสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เงื่อนไขเหล่านี้จะระบุถึงความคุ้มครองและข้อยกเว้นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายในการขับขี่ หากการเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายทางร่วมทางแยก บริษัทประกันภัยอาจลดความคุ้มครองหรือปฏิเสธความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปตามกรมธรรม์และบริษัทประกันภัย

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา