Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

สลิปเงินเดือน ใบรับรองเงินเดือน ต่างกันอย่างไร
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Sep 04, 2023

สลิปเงินเดือน vs. ใบรับรองเงินเดือน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าจะยื่นกู้ขอสินเชื่อ หรือสมัครบัตรเครดิต ต้องใช้ใบรับรองเงินเดือน หรือสลิปเงินเดือน? สามารถใช้แทนกันได้ไหม? แต่ละแบบแสดงข้อมูลอะไรบ้าง? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจความเหมือนและต่างของเอกสารทั้งสองแบบอีกครั้ง

สลิปเงินเดือน คือ?

สลิปเงินเดือน (Pay Slip) คือ เอกสารที่นายจ้างจัดเตรียมให้กับพนักงานเพื่อใช้แสดงรายละเอียดของรายได้ที่ได้รับในรอบการจ่ายเงินค่าตอบแทนรอบนั้น ๆ รวมถึงใช้แสดงรายละเอียดรายการการหักเงิน และข้อมูลทางการเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับงวดการจ่ายเงินที่กำหนดในแต่ละรอบตามที่บริษัทหรือหน่วยงานที่พนักงานสังกัดอยู่กำหนด

ข้อมูลอะไรบ้างที่จะแสดงในสลิปเงินเดือน?

ข้อมูลที่แสดงในเอกสารเงินเดือนโดยทั่วไป จะแสดงข้อมูลทางการเงินเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับรายการเบิกจ่าย หรือรายการหักเงินค่าตอบแทนของพนักงานตามรอบการจ่ายเงินค่าตอบแทนที่บริษัทหรือหน่วยงานเป็นผู้กำหนด มีรายการดังต่อไปนี้

ข้อมูลพนักงาน

สลิปเงินเดือนจะเริ่มต้นด้วยรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวพนักงาน เช่น ชื่อ นามสกุล รหัสหรือหมายเลขพนักงาน แผนก และระยะเวลาของสลิปนั้น ๆ เช่น รายเดือน หรือรายสัปดาห์

รายได้

ส่วนแสดงรายได้ของพนักงานจะแสดงรายการรายได้และรายการหักเงินภายในงวดการจ่ายที่กำหนด ประกอบด้วย เงินเดือน เงินรายวัน หรือเงินรายได้ต่อชั่วโมงการทำงาน ตลอดจนค่าตอบแทนเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าล่วงเวลา โบนัส ค่าคอมมิชชัน หรือส่วนต่างกะ ซึ่งการจ่ายค่าตอบแทนพนักงานจะคำนวณจากรายการสรุปรายได้ข้างต้น

รายการหักเงิน

ส่วนแสดงรายการหักเงินจะเป็นส่วนแสดงรายการและจำนวนเงินที่หักจากรายได้ที่ต้องได้รับตามรอบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนรอบนั้น ๆ ตัวอย่างรายการหักเงินในสลิปเงินเดือน ได้แก่ ภาษีเงินได้ เงินสมทบประกันสังคม ประกันสุขภาพ เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Funds) เงินกู้สวัสดิการ เงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือรายการหักเงินตามความสมัครใจหรือภาคบังคับอื่น ๆ ที่ตกลงร่วมกันระหว่างพนักงานและนายจ้าง

ภาษี

ส่วนแสดงรายละเอียดของภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งหักจากรายได้ของพนักงานตามที่กรมสรรพากรกำหนด โดยพนักงานจะถูกหักเงินไว้ส่วนหนึ่งทันที ณ ตอนที่มีการจ่ายเงิน โดยผู้จ่ายเงินที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล จะต้องหักไว้ก่อนจ่ายค่าจ้างแรงงาน ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้าง เงินเดือน ไม่ว่าจะจ่ายเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน รายชั่วโมง หรือรายชิ้น และ 2) ค่าตอบแทนแรงงานอื่น ๆ เช่น เงินโบนัส ค่าล่วงเวลา เงินพิเศษอื่น ๆ

เบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการ

ส่วนแสดงรายละเอียดเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการในสลิปเงินเดือน จะมีแสดงในกรณีที่พนักงานได้เบี้ยเลี้ยงหรือผลประโยชน์ใด ๆ นอกเหนือจากค่าจ้างที่พนักงานได้รับในระหว่างงวดการจ่ายเงิน ตัวอย่างเช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื่อมสภาพของรถยนต์ส่วนตัว หรือสวัสดิการอื่น ๆ ที่นายจ้างจัดให้

ยอดการลางาน

สลิปเงินเดือนอาจมีส่วนที่แสดงยอดการลาสะสมของพนักงานแสดงด้วยอยู่เช่นกัน โดยจะแสดงรายการยอดวันลาที่ได้ใช้ไปแล้ว เช่น วันหยุดประจำปี ลาป่วย หรือลากิจธุระส่วนตัว

ยอดสุทธิ

สลิปเงินเดือนส่วนใหญ่มักจะจบท้ายด้วยรายการการจ่ายเงินสุทธิ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่พนักงานจะได้รับหลังจากการหักเงินและภาษีทั้งหมดถูกหักออกจากค่าจ้างที่ต้องได้รับในรอบจ่ายนั้น ๆ แล้ว ซึ่งเป็นจำนวนเงินสุทธิจริงที่ผู้จ่ายเงินจะฝากเข้าบัญชีธนาคารของพนักงานหรือสั่งจ่ายเป็นเช็คเงินเดือนฉบับจริงเพื่อมอบให้แก่พนักงานต่อไป

สลิปเงินเดือน ขอที่ไหน?

ในกรณีที่พนักงานเซ็นสัญญาเพื่อทำงานให้แก่นายจ้างเรียบร้อยแล้ว พนักงานมีสิทธิ์ที่จะได้รับสลิปเพื่อสรุปรายการรายได้หรือรายการหักเงินในแต่ละรอบจ่ายเงินค่าจ้าง ซึ่งมักจะได้รับภายใน1-2 วัน ก่อนหรือหลังรอบจ่ายเงินค่าจ้างตามที่กำหนด อย่างไรก็ตาม สามารถแจ้งขอรับสลิปได้จากนายจ้างหรือแผนกที่รับผิดชอบในการจัดการบัญชีเงินเดือนหรือฝ่ายบุคคล

นายจ้าง

สามารถติดต่อหัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือแผนกทรัพยากรบุคคลภายในบริษัท เพื่อสอบถามขั้นตอนการขอรับสลิปเงินเดือน หรือสอบถามถึงหน่วยงานหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำเงินเดือนโดยเฉพาะ โดยสามารถส่งอีเมลหรือส่งคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังแผนกทรัพยากรบุคคลหรือหัวหน้างานเพื่อขอสำเนาสลิป พร้อมระบุชื่อนามสกุล รหัสพนักงาน และระบุช่วงเวลาที่ต้องการใช้สลิป

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR)

แผนกทรัพยากรบุคคลมักมีหน้าที่ดูแลเรื่องการเบิกจ่ายเงินเดือน จัดทำเงินเดือนโดยเฉพาะ ดังนั้น หากต้องการขอรับสลิปเงินเดือนอาจเริ่มต้นจากการติดต่อแผนกทรัพยากรบุคคลและแจ้งว่าต้องการขอสำเนาสลิป

แผนกบัญชีเงินเดือน

แผนกบัญชีของบางบริษัท อาจได้รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลเรื่องการเบิกจ่าย และจัดทำสลิป พนักงานจึงอาจสามารถขอสลิปเงินเดือนได้จากหน่วยงานบัญชีและการเงินได้โดยตรงเช่นกัน

ระบบบัญชีเงินเดือนออนไลน์

หลายองค์กรโดยเฉพาะองค์กรที่มีพนักงานจำนวนมาก เริ่มใช้ระบบบัญชีเงินเดือนออนไลน์หรือระบบการจัดการสลิปเงินเดือนและข้อมูลการลาด้วยตัวเอง ทำให้พนักงานสามารถเลือกดาวน์โหลดหรือเข้าถึงสลิปของตนเองได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งเรื่องผ่านแผนกบุคคล หรือแผนกบัญชีการเงินแต่อย่างใด

สลิปเงินเดือน ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

สลิปเงินเดือนทำหน้าที่เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงข้อมูลรายได้เพื่อนำไปใช้ได้ในหลากหลายวัตุประสงค์ ตัวอย่างเช่น การอ้างอิงข้อมูลสำหรับใช้ยื่นภาษีเงินได้ การตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องของรายการรายได้ที่ต้องได้รับในแต่ละรอบการจ่ายค่าตอบแทน หรือหลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานกับนายจ้าง

รวมไปถึงการยื่นขอสินเชื่อ หลักฐานประกอบการเช่าที่อยู่อาศัย หรือการสมัครบัตรเครดิต เนื่องจากผู้ให้กู้ เจ้าของบ้าน หรือหน่วยงานราชการอาจต้องการหลักฐานแสดงรายได้ที่เชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสลิปต้องเก็บเป็นความลับ เนื่องจากมีรายละเอียดส่วนบุคคลและการเงินที่ละเอียดอ่อน

สลิปเงินเดือนใช้ได้ภายในกี่วัน?

อายุของเอกสารสลิปเงินเดือนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น กรณีใช้เพื่อทำธุรกรรมทั่วไป เช่น ยื่นขอสินเชื่อ หรือสมัครบัตรเครดิต ควรต้องใช้สลิปเล่าสุดเพื่อยืนยันสถานภาพการทำงานในปัจจุบัน ในขณะที่กรณีใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี อาจต้องจัดเตรียมเอกสารสลิปของทั้งปีภาษีที่ได้รับเงินเดือน รวมถึงอาจต้องเก็บเอกสารสลิปไว้เป็นหลักฐานในกรณีที่กรมสรรพากรเรียกตรวจสอบเอกสารย้อนหลัง อย่างน้อย 5 ปี

ใบรับรองเงินเดือน คือ?

ใบรับรองเงินเดือน (Salary Certificate หรือ Certificate of Employment) คือ เอกสารหลักฐานแสดงข้อมูลการรับรองการจ้างงานและรายได้จากการจ้างงานที่นายจ้างออกให้แก่พนักงานเพื่อยืนยันรายละเอียดการจ้างงานและข้อมูลเงินเดือน โดยจะประกอบไปด้วยข้อมูลชื่อสถานที่ทำงาน วันเริ่มต้นการทำงานจนถึงปัจจุบัน สถานภาพการทำงาน ชื่อตำแหน่ง และรายได้ที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในใบรับรองเงินเดือนจะไม่ได้แสดงรายรับและรายการหักโดยละเอียดเหมือนสลิปเงินเดือน

ใช้ใบรับรองเงินเดือน ทำอะไรได้บ้าง?

ใบรับรองเงินเดือนมักใช้ในหลากหลายวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น การยื่นขอสินเชื่อ การขอบัตรเครดิต การขอวีซ่า การค้ำประกัน การเซ็นสัญญาเช่า หรือการทำธุรกรรมทางการเงินที่ต้องใช้หลักฐานแสดงรายได้ รวมถึงอาจใช้เป็นหลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ควรต้องตรวจสอบกับหน่วยงานที่ร้องขอเอกสารหลักฐานทางการเงินอีกครั้งว่าต้องการใช้ใบรับรองเงินเดือนที่มีระบุข้อมูลในส่วนไหนบ้าง เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานมากที่สุด

ใบรับรองเงินเดือน ใช้ได้กี่วัน?

แม้ว่าใบรับรองเงินเดือนจะไม่มีการกำหนดอายุการรับรองเอกสาร หรือระยะเวลาที่สามารถใช้เอกสารได้อย่างชัดเจน แต่อายุของใบรับรองเงินเดือนขึ้นอยู่กับข้อกำหนดหรือดุลยพินิจของหน่วยงานที่ร้องขอเอกสาร รวมถึงควรต้องเป็นเอกสารที่มีข้อมูลใกล้เคียงปัจจุบันมากที่สุด หรือเป็นเอกสารที่เพิ่งรับการรับรองภายในเดือนล่าสุดที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบรายละเอียดการใช้งานใบรับรองเงินเดือนกับสถาบันหรือธนาคารอีกครั้ง เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้งานในการทำธุรกรรมหรือนิติกรรมมากที่สุด

แรบบิท แคร์ รวบรวมบัตรเครดิตและสินเชื่อจากทุกบริษัทชั้นนำมาให้ได้เลือกเปรียบเทียบเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ พร้อมช่วยอำนวยความสะดวกตลอดตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร พิเศษ! เมื่อสมัครสินเชื่อหรือบัตรเครดิตกับ แรบบิท แคร์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป มีสิทธิ์ได้รับของสมมนาคุณพิเศษตามเงื่อนไขการสมัครของแต่ละผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบรายละเอียดการสมัครได้แล้ววันนี้ โทรเลย 1438

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

KKP Personal LoanKKP Personal Loan

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ไม่มีความต้องการคนค้ำ
  • เงินเข้าภายใน 1 วัน หลังอนุมัติ
  • ระยะผ่อน 12-72 เดือน
  • แสนละ 80 บาท/วัน ผ่อนสบาย
  • มีเอกสารเงินเดือนและอายุงาน 4 เดือน
  • ต้องมีรายได้ 30,000 บาท/เดือน
สินเชื่อส่วนบุคคล Happy CashHappy Cash

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 9.99% พิเศษ 5 เดือน
  • สูงสุด 1.5 ล้าน
  • ผ่อน 60 เดือน ไม่มีค้ำ
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ผ่อนรวมไม่เกิน 60 ปี
  • พนักงาน 15,000 บาท+, เจ้าของกิจการ 50,000 บาท+
  • อายุงาน 6 เดือนขึ้นไป, เจ้าของกิจการ 3 ปี
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • วงเงินสูงสุด 1 ล้าน
  • อนุมัติไวสุดใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ยเบา 2.08% ต่อเดือน
  • รับวงเงินหมุนเวียน ผ่อนเริ่มต้น 200 บาท
  • รับเงินก้อนเดียว แบ่งจ่ายสูงสุด 60 เดือน
  • ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือผู้ค้ำ
สินเชื่อเงินสดนาโนฟินนิกซ์นาโนฟินนิกซ์

สินเชื่อเงินสด

  • ยืมหมื่น ดอกเบี้ยวันละ 9 บาท
  • อนุมัติไว แจ้งผลใน 5 นาที
  • รายได้หลักพันก็ยืมได้
  • วงเงินสูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครง่าย ทุกอาชีพ
  • สเตทเม้นท์ไม่ดี ไม่มีปัญหา

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา