Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Fixed cost_MOBILE.png
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Sep 07, 2023

3 สิ่งที่คนทำธุรกิจจะต้องรู้ “ค่าใช้จ่าย ต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร”

สิ่งสำคัญสำหรับการทำธุรกิจให้ได้กำไรนั้นก็คือการมีความรู้ในเรื่องของ “ต้นทุน” เพราะต้นทุนคือค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดเป็นสินค้าหรือบริการขึ้นมา เพราะฉะนั้นในเรื่องของการวางแผน การควบคุม และการบริหารต้นทุนให้ต่ำมากที่สุด โดยที่สินค้าหรือบริการยังสามารถนำเสนอได้ มีคุณภาพ ได้มาตรฐานที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง

ต้นทุนคงที่ คืออะไร?

ต้นทุนคงที่(Fixed Cost) คือ ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่ไม่ได้ขึ้นอยู่ หรือจะไม่ได้แปรผันไปตามปริมาณการผลิต(Quantity) โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของการบริหารมากกว่า เช่น ค่าเช่าหน้าร้าน ค่าเช่าเครื่องจักร เงินเดือนพนักงานประจำ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือดอกเบี้ยในกรณีที่มีการกู้เงินมาเพื่อลงทุนทำธุรกิจ และถึงแม้ว่าจะมีชื่อว่าต้นทุนคงที่ แต่ต้นทุนประเภทนี้ก็สามารถที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาได้เหมือนกัน เช่น ในอีก 5 ปีข้างหน้า ค่าเช่าโรงงานอาจจะเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ หรือดอกเบี้ยเงินกู้อาจจะมีอัตราที่ต่ำลง

เพราะฉะนั้นต้นทุนคงที่จึงมีคำนิยามได้ว่า เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่แปรผันตามจำนวนการผลิตในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ นั่นเอง และเราสามารถที่จะลดต้นทุนคงที่ได้ด้วยการลดค่าใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น การเช่าออฟฟิศแทนการซื้อออฟฟิศ นอกจากจะไม่ต้องมากังวลในเรื่องของการเสื่อมราคาของสินทรัพย์แล้ว เราก็จะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของการดูแลรักษาหรือซ่อมแซมอาคาร รวมไปถึงการจ้างที่ปรึกษาเป็นรายครั้งไป แทนที่จะจ้างพนักงานประจำแทนนั่นเอง

ต้นทุนคงที่ มีอะไรบ้าง?

จากที่เราทราบกันไปแล้วว่าต้นทุนคงที่นั้นจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าเราจะผลิตสินค้ามากหรือน้อยก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าเช่าหน้าร้าน ค่าเช่าอาคารสำนักงานหรือออฟฟิศ ค่าดูแลรักษาและซ่อมแซมอาคาร ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ ค่าเบี้ยประกัน หรือว่าจะเป็นค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น และนอกจากนี้ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภท นั่นก็คือ

  • ต้นทุนคงที่ระยะสั้น(Discretionary Fixed Cost) เป็นต้นทุนคงที่ที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น เช่น ค่าโฆษณา ที่ไม่ว่าจะมีการผลิตงานออกมากี่ชิ้นก็จะมีค่าใช้จ่ายเท่าเดิม หากการโฆษณาสิ้นสุดลง ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนคงที่ในส่วนนี้ก็จะหายไป
  • ต้นทุนคงที่ระยะยาว(Committed Fixed Cost) เป็นต้นทุนคงที่ที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เช่น ค่าเช่าโรงงานในระยะยาว เพราะส่วนมากการเช่าพื้นที่ในระยะยาวจะมีราคาที่ถูกกว่า หากสัญญาการเช่าสิ้นสุดลงและได้มีการต่อสัญญาใหม่ ค่าเช่าโรงงานที่เดิมตรงนี้อาจจะมีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นได้ จึงส่งผลทำให้ต้นทุนคงที่ในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นด้วย

ต้นทุนคงที่ สูตรคืออะไร?

เราสามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนคงที่ได้จากสูตรดังต่อไปนี้ คือ ต้นทุนคงที่ต่อหน่วย = ต้นทุนคงที่รวม/จำนวนการผลิตทั้งหมด ซึ่งการผลิตสินค้าในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นนั้นมันจะทำให้มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเฉลี่ยที่ลดลง เพราะว่ามีจำนวนหน่วยของสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ตัวหารต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย มันเลยทำให้มีต้นทุนคงที่ต่อหน่วยที่ลดลงตามมา และเราก็จะเรียกส่วนที่ลดลงนี้ว่า Economies of Scale หรือการประหยัดต่อขนาดนั่นเอง

เพราะฉะนั้นเราจะสามารถเห็นได้ตามบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก เพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนคงที่ต่อหน่วยลงด้วย Economies of Scale

ต้นทุนผันแปร คืออะไร?

ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือ ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นไปตามจำนวนการผลิตของสินค้าและบริการ ซึ่งต้นทุนผันแปรนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการผลิตสินค้าและบริการเท่านั้น เช่น ค่าแรงงานในการผลิต ค่าวัตถุดิบ ค่าบรรจุภัณฑ์ หรือค่าขนส่ง โดยที่ต้นทุนผันแปรนั้นจะยังมีราคาที่ขึ้นลงตามสภาวการณ์ในตลาดอีกด้วย เช่น ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้น หรือการปรับค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น

ซึ่งเจ้าของกิจการอย่างเราก็ควรที่จะวางแผนและควบคุมค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนผันแปรให้ดี นอกจากจะต้องมีการตัดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป เราก็ควรที่จะตรวจสอบและสำรวจราคากลางในตลาดอยู่เสมอ เพื่อหาข้อเสนอที่คุ้มค่า คุ้มราคา และอาจจะสามารถต่อรองราคาให้ลดลงได้เมื่อซื้อในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น โดยเราจะสามารถคำนวณหาต้นทุนผันแปรได้จากสูตรดังต่อไปนี้ คือ ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย = ต้นทุนผันแปรทั้งหมด/จำนวนการผลิต

ต้นทุนผันแปร มีอะไรบ้าง?

เช่น ค่าแรงพนักงานในฝ่ายผลิต ค่าวัตถุดิบ ค่าน้ำค่าไฟในส่วนของโรงงานผลิต ค่าขนส่ง ค่าบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ดังนั้นเราจึงจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนผันแปร เพราะถ้าเราสามารถกำหนดจุดคุ้มทุน(Break Even point) ได้นั้น เราก็จะสามารถกำหนดราคาของสินค้าและบริการให้ครอบคลุมทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและสามารถที่จะทำกำไรได้นั้นเอง

ค่าใช้จ่าย มีอะไรบ้าง?

หลายคนอาจจะคิดว่าต้นทุนและค่าใช้จ่ายนั้นคืออันเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้ง 2 อย่างนี้แตกต่างกันมาก โดยค่าใช้จ่ายจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ไม่ใช่ต้นทุนโดยตรง และเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจนั้นดำเนินไปได้ เช่น ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ค่าใช้จ่ายทั่วไปในการดำเนินธุรกิจ หรือเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้เราขายสินค้าและบริการได้ ซึ่งจะสามารถพิจารณาแบ่งค่าใช้จ่ายออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ค่าใช้จ่ายคงที่ จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกกำหนดไว้แล้ว และจะต้องมีการใช้จ่ายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ไม่สามารถผันแปรไปตามยอดขายได้ เช่น ค่าเช่า ค่าทำบัญชี ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ย เงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
  • ค่าใช้จ่ายผันแปร เป็นค่าใช้จ่ายที่จะผันแปรไปตามยอดขายของสินค้าและบริการ ขายได้มากก็จะต้องจ่ายมาก ขายได้น้อยก็จะจ่ายน้อยลงตามไปด้วย เช่น ค่าแรงของพนักงานรายวัน ค่านายหน้า ค่าน้ำค่าไฟของโรงงานผลิต หรือค่าวัตถุดิบ เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อเรามองทั้ง 2 มุม คือ ต้นทุนคงที่-ต้นทุนผันแปร และค่าใช้จ่ายคงที่-ค่าใช้จ่ายผันแปร เลยจะสามารถแบ่งแยกประเภทออกได้ดังนี้ คือ

  • ต้นทุนคงที่
  • ต้นทุนผันแปร
  • ค่าใช้จ่ายคงที่
  • ค่าใช้จ่ายผันแปร

การวางแผนการเงินที่ดี ควรมีขั้นตอนอะไรบ้าง?

การวางแผนทางการเงินจัดว่าเป็นวิธีที่ดีมากในการเตรียมความพร้อมทางการเงินในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะนอกจากจะช่วยปลูกฝังให้รู้จักเก็บออมตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ยังช่วยฝึกให้เรามีการบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างสมเหตุสมผล เพราะการวางแผนจัดการรายรับ-รายจ่ายได้อย่างเหมาะสมนั้น จะช่วยนำพาให้เรามีเงินฉุกเฉินหรือมีเงินสำรองค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมทั้งกับตนเองและครอบครัวอีกด้วย

หากเกิดเหตุฉุกเฉินอะไรขึ้นมาเราจะได้มีเงินในส่วนของตรงนี้คอยรองรับเอาไว้ ทำให้ไม่ลำบากและเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้ โดยเราสามารถที่จะวางแผนทางการเงินได้จากวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ คือ

  • ให้เราลองประเมินฐานะทางการเงินของเราเบื้องต้นก่อน ว่าเรานั้นมีความมั่งคั่งสุทธิเท่าไหร่? จากการคำนวณดังนี้ คือ ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์-หนี้สิน
  • จากนั้นให้เราตั้งเป้าหมายพร้อมกำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน อาจจะแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เราจัดการวางแผนทางการเงินได้ดีมากยิ่งขึ้น และควรจะเป็นสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงด้วย
  • ลงมือจัดทำและบริหารแผนการเงินว่าเราจะใช้จ่ายอะไรบ้าง หรือจะหารายได้เพิ่มจากตรงไหน โดยจะต้องจัดสรรช่วงเวลาให้สัมพันธ์กับรายได้ เพื่อใม่ให้ตัวเราเองเกิดความกดดันมากจนเกินไป
  • ดำเนินการตามแผนการเงินที่เราจัดทำเอาไว้อย่างมีวินัยและมุ่งมั่น
  • จากนั้นให้กลับมาย้อนดูผลงานการกระทำของเราในทุก ๆ 6 เดือน เพื่อปรับแก้ในส่วนที่เราต้องการ และเพื่อให้มีระเบียบแบบแผนมากยิ่งขึ้น

อยากเริ่มต้นทำธุรกิจแต่ไม่มีเงินทุน จะต้องขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจอย่างไรได้บ้าง?

หากมีความจำเป็นที่จะยื่นขอสินเชื่อ แนะนำว่าให้ยื่นขอสินเชื่อที่ถูกกฎหมายจะดีที่สุด แต่ถ้าหากไม่รู้ว่าจะยื่นกู้สินเชื่อธนาคารอะไรดี ทางเราขอแนะนำเป็นบริการจากทางแรบบิท แคร์ เพราะเป็นบริษัทที่มั่นคง ปลอดภัย และสามารถไว้วางใจได้ อีกทั้งยังมีบริการสุดพิเศษที่จะช่วยให้คุณเลือกกู้สินเชื่อได้ตรงตามความต้องการของคุณได้มากที่สุด รวดเร็วทันใจ ภายใน 30 วินาที

สมัครสินเชื่อออนไลน์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

หากคุณมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาต่าง ๆ นอกจากคุณจะได้รับคำปรึกษาต่าง ๆ คุณยังสามารถสอบถามรายละเอียดกับทางแรบบิท แคร์ ได้เลย จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่ธนาคารเอง อีกทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว เพราะแรบบิท แคร์ มีระบบรักษาความปลอดภัยสูง ดังนั้นจึงไว้วางใจที่จะเลือกใช้บริการของแรบบิท แคร์ ได้เลย

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์

UOB Xpress สินเชื่อส่วนบุคคลUOB Xpress

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 9.99% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน
  • รวมหนี้บัตรเครดิต ผ่อน 60 เดือน
  • รายได้ 30,000 บาท อายุงาน 4 เดือน
  • รายได้ 30,000 บาท กิจการ 3 ปี
  • อายุ 20-60 ปี รวมอายุผ่อน
สินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรีสินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรี

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 12.99% ปี, 6-12 เดือน อาชีพพิเศษ
  • ดอกเบี้ย 15.99% ปี, 6-12 เดือน เจ้าของธุรกิจพิเศษ
  • ผ่อน 60 เดือน เริ่มต้นแสนละ 2,2XX บาท/เดือน
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน หรือ 5 เท่าของรายได้
  • สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองบริษัท
  • รายได้พนักงาน 20,000 บาท, เจ้าของกิจการ 200,000 บาท
KKP Personal LoanKKP Personal Loan

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน
  • รับเงินภายใน 1 วัน หลังอนุมัติ
  • ผ่อน 12-72 เดือน
  • ผ่อนเพียง 80 บาท/วัน ต่อแสน
  • อายุงาน 4 เดือนขึ้นไป พร้อมเอกสาร
  • รายได้ขั้นต่ำ 30,000 บาท/เดือน
LINE BKLINE BK

สินเชื่อเงินสด

  • รายได้ 5,000 บาท ก็ยืมได้
  • ใช้เงินได้ทันทีหลังอนุมัติ
  • ใช้จ่ายจำเป็น ดอกเบี้ยไม่เกิน 25%
  • ทุนหมุนเวียนธุรกิจ ดอกเบี้ยสูงสุด 33%
  • อนุมัติสูงสุด 5 เท่าของรายได้
  • มีบัญชี LINE BK สมัครได้เลย

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา