Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบประกันออมทรัพย์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที  กับ  

Rabbit Care

ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Sep 18, 2023

GDP คืออะไร ? บ่งบอกอะไรบ้างเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจประเทศไทย และทั้งโลก

GDP เป็นอีกหนึ่งดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจโลกที่แทบทุกคนจะต้องรู้จักที่แทบทุกคนรู้จักความหมายกันหมด แต่ก็เป็นเรื่องที่สามารถตีความ ต่อยอดได้หลากหลายมุม ตั้งแต่ Nominal GDP หรือ GDP Per Capita ที่ใช้อธิบายเศณษฐกิจองค์รวมของประเทศทั้งประเทศไก้เลย จึงเป็นหัวข้อที่น่าเรียนรู้มาก ๆ

GDP คืออะไร ?

GDP หรือที่ย่อมาจาก Gross Domestic Product คือมูลค่าเงินรวมหรือตลาดของสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นภายในขอบเขตประเทศในช่วงเวลาที่กำหนด ในฐานะตัววัดทั่วไปของการผลิตภายในประเทศโดยรวม เป็นดั่งดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจภายในประเทศไทย กำลังในการผลิต ส่งออก และความมั่นคงของประเทศได้ในเบื้องต้นจีดีพีจึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลขที่สำคัญมาก ๆ

แม้ว่า GDP จะถูกคำนวณโดยทั่วไปในระยะเวลาประจำปี แต่บางครั้งก็คำนวณเป็นไตรมาสด้วย ตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลเผยแพร่ประเมิน จีดีพีที่คำนวณเป็นรายปีสำหรับแต่ละไตรมาสทางการเงิน และเช่นเดียวกันสำหรับปีปฏิทิน ชุดข้อมูลแต่ละชุดที่รายงานนี้รวมอยู่เป็นจำนวนจริงทำให้ข้อมูลถูกปรับเพื่อการเปลี่ยนแปลงราคาและเป็นราคาสุทธิเนื่องจากนั้น

การคำนวณ GDP สูตรมีอะไรบ้าง ?

GDP = C + I + G + (X-M)

C = Consumption หรือ Consumer Spending คือการบริโภคที่ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นมูลค่าที่เกิดจากการจับจ่ายใช้สอยทั่วไปที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
I = Investment คือ การลงทุนของภาคเอกชน หรือบริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากรัฐบาล โดยมีขอบเขตคือจะต้องเป็นการลงทุนในประเทศไทย ฉะนั้นแม้จะเป็นบริษัทต่างชาติ แต่หากเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ก็จะถูกนับรวมไว้อยู่ในจีดีพีด้วย
G = Government Spending คือ การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ อาทิ เงินเดือนของข้าราชการ และเงินลงทุนตามนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล
X-M = Net Export คือ มูลค่าการส่งออกสินค้าสุทธิ หรือมูลค่าการส่งออก (ก่อให้เกิดรายได้จากต่างประเทศ) ลบด้วยมูลค่าการนำเข้า (ก่อให้เกิดรายจ่ายจากต่างประเทศ) ซึ่งหากค่าเป็นบวก แปลว่ามีรายได้มากกว่ารายจ่าย และส่งผลดีต่อตัวเลขการเติบโตของจีดีพีในที่สุด

วิธีการอ่าน GDP เบื้องต้น

ปกติตัวเลข GDP จะมีระบุชัดเจนในรายงานเศรษฐกิจระดับมหาภาพของประเทศ โดยจีดีพีจะแบ่งออกเป็นไตรมาส หลัก ๆ จะมี 4 ไตรมาสใน 1 ปี ได้แก่ Q1 / Q2 / Q3 / Q4 แบ่งเป็นต้นเดือน กลางเดือน และปลายเดือน ซึ่งสุดท้ายจะสรุปจีดีพีรวมทั้งปีด้วย

  • หากตัวเลข GDP > 0 (ตัวเลขไม่ติดลบ) : เศรษฐกิจมีการเติบโต มีการลงทุนหรือบริโภคเพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่ประเทศมากขึ้น
  • หากตัวเลข GDP < 0 (ตัวเลขติดลบ) : เศรษฐกิจกำลังถดถอย มีการลงทุนหรือบริโภคเพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่ประเทศลดลง

รูปแบบการนำเสนอค่า GDP มีแบบไหนบ้าง ?

Nominal GDP


Nominal GDP คือค่าจีดีพีที่ได้จากการคำนวณมูลค่าของสินค้า หรือการลงทุนแบบตรงไปตรงมา โดยไม่ได้นำอัตราเงินเฟ้อ เงินฝืด หรือความแข็งตัว และอ่อนตัวของสกุลเงิน ณ ขณะนั้นเข้ามาคำนวณด้วย ฉะนั้น Nominal GDP อาจใช้เปรียบเทียบตัวเลขในระยะยาวไม่ได้ (ในช่วงหลาย ๆ ปี) เพราะอัตราเงินเฟ้อ และค่าเงิน มีผลอย่างมากกับเศรษฐกิจ จึงไม่สามารถนำตัวเลขมาเทียบกันเลข แล้ววิเคราะห์เศรษฐกิจในแต่ละปีเลยทันที แต่หากเป็น Nominal จะสามารถนำมาเทียบกันในระดับของไตรมาส เช่น ไตรมาสที่ 1 กับไตรมาสที่ 2 ณ ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงชัดเจนอย่างมีปัจจัยสำคัญ

Real GDP


Real GDP คือค่าจีดีพีที่ได้จากการนำอัตราเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่นอัตราเงินเฟ้อเงินฝืด และอัตราความแข็งค่าของสกุลเงินมาคิดคำนวณด้วย จึงเป็นตัวเลขที่จะใช้บ่อยในการคำนวณจีดีพีระยะยาว เช่นเปรียบเทียบจีดีพีของปี 2020 และปี 2023 ก็จะต้องใช้ Real GDP มาเพื่อคำนวณ ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ลดลง หรือเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

GDP Per Capita


เป็นการนำเลขจีดีพีมาหารกับจำนวนประชากรภายในประเทศ โดยสามารถใช้ Nominal GDP และ Real GDP ในการคำนวณเพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงคุณภาพความเป็นอยู่ของประชากรภายในประเทศว่าโดยร่วมแล้วการเงินที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศ หากแบ่งตามจำนวนประชากรในประเทศแล้วจะได้กันคนละเท่าไหร่ เพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปมากน้อยเท่าไหร่


GDP Growth Rate


อัตราการเติบโตของจีดีพีเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศในระหว่างปีหรือในรอบไตรมาสเพื่อวัดความเร็วในการเติบโตของเศรษฐกิจ มักจะแสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์ ตัวชี้วัดนี้เป็นที่นิยมในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเนื่องจากคิดว่าอัตราการเติบโตของ จีดีพีเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับเป้าหมายนโยบายสำคัญเช่นอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงาน

GDP และ GNP แตกต่างกันอย่างไร

GDP (Gross Domestic Product) และ GNP (Gross National Product) มีความแตกต่างที่สำคัญคือจีดีพีวัดจากรายได้ที่อยู่ในอาณาบริเวณประเทศไทย เกิดขึ้นในไทย จดทะเบียนในแผ่นดินไทย แต่ GNP เป็นรายได้ของชนชาติไทย โดยนับรวมชาวไทยที่อาศัยต่างแดน บริษัทของคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ก็จะถูกรวมอยู่ใน GNP แต่ไม่นับรวมอยู่ในจีดีพี

ฉะนั้นหากเทียบกันแล้ว หาก GDP สูงกว่า GNP อย่างมีนัยยะสำคัญ แสดงว่าประเทศอื่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเยอะมากกว่าภายในประเทศลงทุนนอกประเทศ แต่ในทางกลับกัน หาก GNP สูงกว่าจีดีพีมาก ๆ แสดงว่าทุนในประเทศอาจมีการไหลออกไปลงทุนนอกประเทศมากจนเกินไป ทางภาครัฐจึงควรพิจารณาว่าทำไมผู้คนจึงไม่อยากลงทุนในประเทศ

GDP ประเทศไทย

ภาพรวมของ GDP ในประเทศไทย หากเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในโลกแล้วอยู่ที่อันดับ 27 ด้วยมูลค่ากว่า 574.231 ล้านเหรียญ โดยถือว่าเป็นค่า จีดีพีที่เยอะ มากกว่า ออสเตรีย สิงคโปร์ แต่หากใช้ GDP Per Capita มาลองคิดดูแล้ว ไทยจะตกไปอยู่ที่อันดับที่ 90 ($7,066.19 per capita) ในขณะที่สิงคโปร์พุ่งขึ้นไปอยู่ที่อันดับ 8 เพราะประชากรประเทศไทยมีจำนวนที่เยอะกว่าสิงคโปร์หลายเท่า ทำให้ GDP แม้จะเยอะ หากแต่เทียบกับจำนวนประชากรในประเทศแล้ว ก็อาจจะไม่ได้ถือว่าเป็นตัวเลขที่เยอะเสียเท่าไหร่ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น จะสังเกตเห็นว่าตัวเลข GDP อย่างเดียว ไม่สามารถสะท้อนภาพของเศรษฐกิจทั้งประเทศได้ จะต้องมีปัจจัยของจำนวนประชากร การกระจายรายได้ด้วย

โดยภายในไตรมาสแรกของปี 2566 มีรายงานว่า เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.1 ถึง 4.1) ฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียและกลุ่มสหภาพยุโรปที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าในปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 29.5 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 164.6 ต่อปี และคาดว่ามีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 1.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 255.9 ต่อปี ส่งผลให้รายได้จากภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับด้านอุปสงค์ภายในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.1

โดยในอนาคต แนวทางการขยายธุรกิจจะคำนึงถึงเพียงการเพิ่ม GDP หรือ GNP อย่างเดียวไม่ได้ จะต้องเพ่งเล็งแนวทางการกระจายรายได้ให้เข้าถึงกลุ่มประชากรให้ได้ทั่วถึงมากขึ้น คาดการณ์ว่าการขยายของธุรกิจขนาดเล็ก อย่างเช่น SME หรือร้านค้าที่เข้ามาเป็นส่วนขยายของพ่อค้ารายใหญ่ จะทำให้กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่สามารถลืมตาอ้าปาก และทำให้ตัวเลขจีดีพี อาจจะไม่ได้ขยายขึ้นในปริมาณที่มากและรวดเร็ว แต่รายได้จะมีการกระจายไปมากขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นในสังคมไทยระยะยาวนั่นเอง นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า GNH (Gross National Happiness) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสุขของประเทศที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่เม็ดเงินเข้าออกประเทศอย่างเดียว หากแต่เป็นการคำนวณความสุขในแต่ละประเทศ ที่คำนวณยากมาก และต้องใช้หลากหลายปัจจัยร่วมคำนวณ แต่ก็เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจมวลรวมที่มั่นคง และครอบคลุมมากกว่า GDP

GDP กับนโยบายรัฐ และการเก็บออมเงิน

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า GDP ก็ยังคงมีความสำคัญมาก ๆ ในการประเมินเศรษฐกิจเชิงมหภาค ซึ่งแน่นอนว่านโยบายการเพิ่มจีดีพี ก็ยังมีความสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจเคลื่อนไปข้างหน้า โดยส่วนมากจะเป็นนโยบายที่ค่อนข้างใหญ่ ระยะยาว เช่นต่อยอดการท่องเที่ยว นำเทคโนโลยีมาช่วยในภาคการเกษตร ลดต้นทุน และต่อยอดผลิตภัณฑ์ธรรมดาให้สามารถสร้างรายได้ให้ท้องถิ่น ไปจนถึงการสร้างเขตธุรกิจใหม่ สร้าง Sandbox ที่ให้นักลงทุนทั้งในและนอกประเทศเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย

แต่ก็ไม่ใช่ว่าประชาชนทั่วไปอย่างเราจะไม่สามารถสร้างความแตกต่างให้แก่ GDP ได้เลย เพราะเรื่องของการเก็บเงินก็สำคัญต่อจีดีพี อย่างที่มองข้ามไม่ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือประเทศจีน ที่มีวัฒนธรรมการออมเงินที่แข็งแรงมาก ๆ เริ่มตั้งแต่ปี 1990 ประชากรจีนมหาศาลออมเงินเพิ่มขึ้นกว่า 30% ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีเงินคงคลังมากที่สุด อยู่ที่ 33.73 แสนล้านเหรียญ แซงประเทศอื่นไม่เห็นฝุ่น ซึ่งแน่นอนว่าหลาย ๆ ส่วนก็มาจากการส่งออก และธุรกิจที่เฟื่องฟู แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าพฤติกรรมการเก็บหอมรอมริบของจีนมีส่วนสำคัญมาก ๆ สร้างก้อนเงินสะสมมากมายมาตั้งแต่ต้นปี 1900s

ฉะนั้นจะเห็นชัดเจนเลยว่าการอดออม ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนก็เป็นสิ่งที่ดี ทั้งต่อเศรษฐกิจมวลรวม และความมั่นคงทางการเงินส่วนบุคคล แต่ปัจจุบันการออมเงินไม่ได้รับความนิยมเท่ากับแต่ก่อนแล้ว เหตุผลสำคัญเลยคือค่าตอบแทน เช่นดอกเบี้ยต่ำลง และมีช่องทางการลงทุนอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ต่อยอดได้มากกว่า


ฉะนั้นทางเลือกที่ดีในการทำให้คนสมัยใหม่ยังคงออมเงิน อาจต้องเป็นรูปแบบการออมที่ให้ผลประโยชน์มากกว่าการออมกับธนาคารธรรมดา แรบบิท แคร์ แนะนำประกันออมทรัพ หรือประกันสะสมทรัพย์ ที่ส่งเสริมนิสัยการออม ให้สิทธิ์คุ้มครองเยอะ และมีเงินก้อนมอบให้หลังจากสะสมครบตามกำหนดด้วย

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Gen Life Plus 10 GeneraliGen Life Plus 10

Generali

  • คุ้มครองยาว 20 ปี เบี้ย 10 ปี
  • เสียชีวิต 270% มีชีวิต 310%
  • การันตีเงินคืน 3% ทุกปี
  • สิทธิลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท
  • อายุ 1 เดือน ถึง 65 ปี สมัครได้
  • จ่ายเบี้ยคงที่ ไม่เพิ่มตามอายุ
  • ทุกอาชีพสมัครได้ ตอบโจทย์ทุกวัย
มันนี่ เซฟวิ่ง ไทยประกันชีวิตมันนี่ เซฟวิ่ง

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ย 6 ปี คุ้มครอง 14 ปี
  • เงินคืนระหว่างสัญญา สูงสุด 10%
  • ผลประโยชน์สูงสุด 666%
  • ออมและลดภาษี สูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • รับผลประโยชน์แบบขั้นบันได
  • เบี้ยประกัน 10-15% ของรายได้
ประกันบำนาญ 90/2 ทิพยประกันชีวิตประกันบำนาญ 90/2

ทิพยประกันชีวิต

  • รับบำนาญ สูงสุด 465%
  • จ่ายเบี้ย 2 ปี รับบำนาญ 31 ปี
  • ค่าเบี้ยเริ่มต้นต่ำ จ่าย 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี 300,000 บาท ต่อปี
  • อายุ 20-54 ปี สมัครได้
  • ชดเชยรายได้ รพ. เลือกรับบำเหน็จ
  • เบี้ยสั้น รับเงินนาน
ฟอร์ เพนชัน 85/7 เอฟดับบลิวดีฟอร์ เพนชัน 85/7

เอฟดับบลิวดี

  • วางแผนเกษียณ จ่ายเบี้ย 7 ปี คุ้มครองถึง 85 ปี
  • รับบำนาญเพิ่มตามอายุ สูงสุด 24%
  • เสียชีวิตรับเงินก้อน 110%
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท
  • สมัครได้ 20-52 ปี จ่ายเบี้ย 7 ปี
  • ทุนประกันขั้นต่ำ 50,000 บาท
  • บำนาญตั้งแต่อายุ 60 ปี ถึง 85 ปี

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา