Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

อัตราเบี้ยประกันภัยคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง?

อัตราเบี้ยประกันภัย คืออะไร?

จากข้อมูลในเว็บไซต์ของ Roojai ได้กล่าวถึงความหมายของอัตราเบี้ยประกันภัยไว้ว่า เป็นจำนวนเงินที่บุคคลหรือองค์กรจะต้องจ่ายให้กับทางบริษัทประกันภัย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับรายละเอียดของกรมธรรม์ และจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ หากมีการผิดนัดชำระเบี้ยประกันก็จะส่งผลทำให้กรมธรรม์นั้นถูกยกเลิกและไม่มีการคุ้มครองอีกต่อไป ซึ่งจะสามารถเลือกจ่ายเป็นแบบรายปีหรือจ่ายเป็นแบบรายเดือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในสัญญากรมธรรม์

อัตราเบี้ยประกันภัย มีความสำคัญอย่างไรบ้าง?

ทางบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้กำหนดค่าเบี้ยประกันให้ เมื่อผู้ทำประกันตกลงที่จะซื้อประกันภัยในการรับความคุ้มครอง ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยของแต่ละแห่งก็จะแตกต่างกันออกไป โดยจะพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง รวมไปถึงระดับความเสี่ยงในการรับประกันภัยของลูกค้าในแต่ละคนที่ไม่เท่ากันด้วย ดังนั้นทางบริษัทประกันภัยจึงจะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงเอาเอง เนื่องจากว่ามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบและดูแลการเคลมต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเบี้ยประกันภัยก็มีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ประเภทของประกันที่คุณซื้อ (ประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ) โดยจะพิจารณาจากปัจจัยด้านอายุ ประวัติการเคลม สถานที่ที่ผู้ทำประกันอาศัยอยู่ ประวัติการรักษาพยาบาล ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น

อัตราเบี้ยประกันภัย คำนวณอย่างไร?

ราคาของเบี้ยประกันนั้นจะสูงขึ้นตามความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่าง ประกันรถยนต์ ก็จะมีการกำหนดอัตราเบี้ยประกันตามอายุของผู้ขับขี่ ประเภทรถ ประวัติการขับขี่ ประวัติการเคลม และรายละเอียดในด้านของความคุ้มครอง

ปัจจัยที่ส่งผลทำให้เบี้ยประกันภัยถูกหรือแพง มีอะไรบ้าง?

1. ค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible)

เป็นค่าเสียหายที่จะสามารถใช้ระบุเป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ได้ ซึ่งจะสามารถระบุได้ตั้งแต่ 1,000 - 5,000 บาท และยังสามารถใช้เป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันได้ตามจำนวนที่ระบุอีกด้วย จึงจะเหมาะสำหรับคนที่ขับรถได้ดี ไม่ค่อยเกิดอุบัติเหตุ แต่ก็จะต้องจ่ายทุกครั้งเมื่อเป็นฝ่ายผิดหรือเคลมแบบไม่มีคู่กรณี

2. อายุของผู้ขับขี่

เนื่องจากอายุและประสบการณ์ของผู้ขับขี่นั้นจะส่งผลต่อการเลือกระบุผู้ขับขี่ลงไปในกรมธรรม์ด้วย ซึ่งจะมีเงื่อนไขในการระบุผู้ขับขี่เพื่อค่าเบี้ยประกันภัย ดังต่อไปนี้

  • สามารถระบุผู้ขับขี่ได้เฉพาะรถเก๋ง และรถกระบะ 4 ประตู
  • ได้รับส่วนลดตามช่วงอายุ โดยจะคิดส่วนลดจากคนที่มีอายุน้อยที่สุด
  • สามารถระบุได้ไม่เกิน 2 คน และจะต้องมีใบขับขี่ทั้งคู่

3. ประเภทของรถ

เนื่องจากว่ารถยนต์นั้นมีหลากหลายประเภทและหลากหลายยี่ห้อ ดังนั้นจึงจะมีผลต่อค่าเบี้ยประกันด้วยเช่นกัน หากว่าเป็นรถยนต์นำเข้าที่มีราคาสูง หรือเป็นรถยนต์ที่จะต้องสั่งประกอบ ก็ย่อมต้องการการคุ้มครองที่ครอบคลุมในกรณีต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับรถยนต์ได้ จึงมีทุนประกันรถยนต์ที่สูงขึ้น และส่งผลทำให้ค่าเบี้ยประกันรถยนต์นั้นสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นเดียวกัน

4. ประวัติการขับขี่

หากเป็นผู้ที่ขับรถดี ก็มีโอกาสได้รับส่วนลดประวัติดีได้เช่นเดียวกัน

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

เบี้ยประกันภัยพื้นฐาน : Based of Premium คืออะไร?

เบี้ยประกันภัยพื้นฐาน คือ เบี้ยประกันภัยที่กำหนดขึ้นตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดพื้นฐานของรถทั้ง 8 ประเภทรถยนต์ โดยจะสามารถแยกออกได้เป็นเบี้ยประกันภัยพื้นฐานสำหรับการประกันภัยตามกรมธรรม์ประเภท 1 กรมธรรม์ประเภท 2 และกรมธรรม์ประเภท 3 โดยเบี้ยประกันภัยที่กำหนดไว้จะเป็นเบี้ยประกันภัยพื้นฐานขั้นสูงและขั้นต่ำ ดังนั้นบริษัทประกันภัยจึงไม่สามารถใช้เบี้ยประกันภัยพื้นฐานสูงเกินกว่าเบี้ยประกันภัยพื้นฐานขั้นสูง หรือใช้เบี้ยประกันภัยพื้นฐานต่ำกว่าเบี้ยประกันภัยพื้นฐานขั้นต่ำในการคำนวณหาเบี้ยประกันภัยนั่นเอง

อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย : Loading Factor คืออะไร?

อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมตามความเสี่ยง คือ อัตราเบี้ยประกันภัยที่เป็นตัวแปรในการคำนวณเบี้ยประกันภัย ซึ่งจะคิดจากความเสี่ยงภัยในแต่ละชนิด เพื่อให้เบี้ยประกันภัยที่เรียกเก็บจากรถยนต์ในแต่ละประเภทนั้นเหมาะสมกับความเสี่ยงภัยของรถยนต์ในประเภทนั้น ๆ ที่ปรากฏตามตารางอัตราเบี้ยประกันภัยทั้ง 8 ประเภท โดยจะสามารถจำแนกได้เป็น 7 ชนิด ได้แก่

1. ลักษณะการใช้รถยนต์

  • การใช้ส่วนบุคคล สำหรับรถรหัส 110, 210 และ 610
  • การใช้เพื่อการพาณิชย์ สำหรับรถรหัส 120, 220, 320, 420, 520 และ 620
  • การใช้รับจ้างสาธารณะ สำหรับรถรหัส 230 และ 730
  • การใช้เพื่อการพาณิชย์พิเศษ สำหรับรถรหัส 340 และ 540
  • รถยนต์ป้ายแดง สำหรับรถรหัส 801
  • รถพยาบาล สำหรับรถรหัส 802
  • รถดับเพลิง สำหรับรถรหัส 803
  • รถใช้ในการเกษตร สำหรับรถรหัส 804
  • รถใช้ในการก่อสร้าง สำหรับรถรหัส 805
  • รถอื่น ๆ สำหรับรถรหัส 806

2. ขนาดรถยนต์

  • ขนาดเครื่องยนต์ สำหรับรถรหัส 110, 120, 610, 620, 730 และ 802
  • จำนวนที่นั่ง สำหรับรถรหัส 210, 220 และ 230
  • น้ำหนักบรรทุก สำหรับรถรหัส 320, 340, 420, 520, 540, 803, 804 และ 805

3. อายุผู้ขับขี่

  • อายุ 18 - 24 ปี
  • อายุ 25 - 35 ปี
  • อายุ 36 - 50 ปี
  • อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป

4. กลุ่มรถยนต์

สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม โดยอาศัยราคาอะไหล่และค่าซ่อมเป็นตัวกำหนดการแบ่งกลุ่มรถยนต์ ซึ่งจะจำแนกรายละเอียดตามยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ ส่วนในกรณีรถยนต์รุ่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในตารางกลุ่มรถยนต์ ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัยตามกลุ่มของยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งจะจำแนกตามการผลิตภายในประเทศและรถที่นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนในกรณีของรถยนต์ยี่ห้อที่ไม่ได้ระบุไว้ในตารางกลุ่มรถยนต์ ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัยตามกลุ่มรถยนต์ที่ใกล้เคียงแทน

5. อายุรถยนต์

เป็นตัวแปรความเสี่ยงภัยที่จะใช้คำนวณเบี้ยประกันภัย โดยจะพิจารณาจากอายุและการใช้งาน ซึ่งจะมีผลทำให้ความเสี่ยงภัยนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง ส่วนการนับอายุรถยนต์ให้นับจากปีที่จดทะเบียนรถยนต์ ไปจนถึงปีที่ยื่นคำขอเอาประกันภัย

6. จำนวนเงินเอาประกันภัย

เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยของตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัย ส่วนอัตราเบี้ยประกันภัยให้ใช้ตามตารางอัตราเบี้ยประกันภัยแยกตามประเภทรถยนต์ และจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ไม่ได้ระบุไว้ในตารางอัตราเบี้ยประกันภัย ให้ใช้อัตราของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่สูงกว่าแทน

7. อุปกรณ์เพิ่มพิเศษ

เป็นอุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับรถยนต์บางประเภท ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงภัยในการใช้รถนั้นเพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลทำให้ค่าสินไหมทดแทนนั้นเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครอง : Increased Limit Factor คืออะไร?

อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครอง คือ เบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้นสำหรับการเพิ่มจำนวนเงินความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่เกินกว่าจำนวนเงินจำกัดความรับผิดพื้นฐาน โดยที่การกำหนดจำนวนเงินความรับผิดสำหรับบุคคลภายนอกนั้นจะต้องเพิ่มตามขั้นที่กำหนดในตารางอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครอง ซึ่งจะสามารถเพิ่มจำนวนเงินความรับผิดต่อบุคคลภายนอกได้ 2 ความคุ้มครอง ได้แก่

  • ความรับผิดต่อความบาดเจ็บ หรือมรณะของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้โดยสารในรถคันที่เอาประกันภัย (บจ.)
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (ทส.)

ควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

ควรจะเลือกทำเป็น ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพราะถึงแม้ว่าราคาเบี้ยประกันจะแพงเป็นอันดับต้นในบรรดาประกันภัยทุกชั้น แต่ในเรื่องของความคุ้มครองที่จะได้รับนั้นก็คุ้มค่ามากที่สุด และยังช่วยทำให้ผู้ขับขี่นั้นมีความมั่นใจในการขับขี่ไปด้วย ดังนั้นจึงถือว่าคุ้มค่า คุ้มราคามากที่สุด เพราะประกันภัยชั้น 1 ถือว่าเป็นประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่รถชนรถ รถชนคน รถหาย รถไฟไหม้ หรือรถน้ำท่วม ทางประกันภัยก็จะรับเคลมให้ทั้งสิ้น

ซื้อประกันรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

นอกจากนี้ แรบบิท แคร์ ยังมีระบบเปรียบเทียบแผนประกันภัยออนไลน์ ที่จะช่วยให้คุณได้เช็กเบี้ยประกันของแต่ละบริษัทประกันภัยชั้นนำได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังใช้งานง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ก็สามารถที่จะให้รายละเอียดแผนประกันภัยที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการของคุณได้มากที่สุดอีกด้วย จึงทำให้ช่วยประหยัดเวลาไปได้มาก และนอกจากนี้ แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา