Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

รถเฉี่ยว มีวิธีการรับมืออย่างไร ประกันคุ้มครองไหม?

อุบัติเหตุทางรถยนต์สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในทุก ๆ สถานที่ และสามารถเกิดขึ้นได้กับรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอุบัติเหตุบนท้องถนนจะมีทั้งแบบรุนแรง และไม่รุนแรง เช่น รถเฉี่ยว สีถลอก หรือการที่รถเฉี่ยวกันปกติ ซึ่งหากคุณเป็นฝ่ายถูก แน่นอนว่าอาจมีความกังวลเรื่องคู่กรณีหนี หรือประกันไม่รับเคลม วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลมาให้คุณแล้ว ว่ารถเฉี่ยว มีกี่ประเภท ประกันคุ้มครองไหม สามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง แล้วจะสามารถรับมืออย่างไรหากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ไปดูกันเลย!!

รถเฉี่ยว มีวิธีการรับมือหรือข้อควรปฏิบัติอย่างไร?

1. จอดรถเข้าไหล่ทางและพยายามตั้งสติ

หากรถเฉี่ยว หรือมีการเฉี่ยวชนกับรถคันอื่นบนท้องถนน ในขั้นตอนแรกคือการหยุดรถ และรีบขับรถไปจอดไว้ที่ข้างทางที่ปลอดภัย และอย่าลืมเปิดไฟฉุกเฉินให้สัญญาณกับรถคันอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย

2. ตรวจสอบที่เกิดเหตุและให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่

เมื่อรถเฉี่ยว สีถลอก ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด ให้ควบคุมสติ และระงับอารมณ์ และควรคิดก่อนพูดในทุก ๆ ครั้งเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกัน ให้ต่างฝ่ายต่างโทรเรียกประกัน และรอเจ้าหน้าที่มาถึง จึงทำการแจ้งข้อมูล เช่น จุดเกิดเหตุ ชื่อ-สกุล ทะเบียนเลขรถ เป็นต้น ระหว่างรออย่าลืมที่จะถ่ายรูปรอยเสียหาย และจุดที่เกิดรถเฉี่ยวไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาและจ่ายเคลมของบริษัทประกัน แต่สิ่งที่ไม่ควรทำ คือยึดใบขับขี่ของฝ่ายคู่กรณี เพราะอาจทำให้คุณโดนข้อหาลักทรัพย์ได้

3. แจ้งตำรวจ

ถึงแม้จะเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยเพียงแค่รถเฉี่ยว แต่หลังเกิดเหตุอย่าลืมไปแจ้งตำรวจด้วยแม้ฝ่ายคู่กรณีจะยอมรับแล้วว่าตัวเองผิด เพราะหากคุณดำเนินการแจ้งความภายหลัง เจ้าหน้าที่อาจสรุปว่าคุณเป็นฝ่ายหลบหนี ทำให้คุณกลายเป็นฝ่ายผิดทุกกรณี นอกจากนี้ อย่าหลงเชื่อคู่กรณีเด็ดขาด ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำหนังสือยืนยันเหตุการณ์ไว้เป็นหลักฐาน โดยต้องมีการเซ็นต์ลายมือชื่อของทั้งสองฝ่าย

4. ตกลงเงื่อนไขการจ่ายค่าเสียหาย

หากทั้งสองฝ่ายมีประกันรถยนต์ ควรเรียกเจ้าหน้าที่มาตกลงกัน ณ สถานที่เกิดเหตุทันที เพื่อรับการพิจารณาการชดใช้ค่าเสียหายหรือการจ่ายเคลมจากเจ้าหน้าที่ประกัน ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ นอกจากนี้ อย่าพยายามหลงเชื่อคู่กรณี หากอีกฝ่ายบอกว่าให้ยอมความ และคุณก็บาดเจ็บเพียงเล็กน้อย เพราะจะทำให้คุณเสียโอกาสในการเรียกร้องค่าเสียหาย

รถเฉี่ยว มีกี่ประเภท แล้วข้อกฎหมายว่าอย่างไรบ้าง?

อุบัติเหตุรถเฉี่ยว สีถลอก หรือการขับรถเฉี่ยวชน หลายคนอาจคิดว่าเล็ก ๆ แต่แท้จริงแล้วมีหลักกฎหมายรองรับไว้อยู่แล้ว เพราะการขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเกิดการบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหาย เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งอยู่แล้ว ดังนั้นไปทำความรู้จักกันดีกว่า ว่ารถเฉี่ยวมีกี่ประเภท แล้วกฎหมายว่าอย่างไรบ้าง

1. รถเฉี่ยวกันแบบธรรมดา

ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43 (4) และมาตรา 157 กล่าวว่า การขับขี่โดยประมาท ส่งผลให้ต้องระวางโทษปรับ 400 ถึง 1,000 บาท โดยในกรณีอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนกันแบบธรรมดา และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ถือว่าเป็นการขับขี่โดยประมาทและหวาดเสียว และก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

2. รถเฉี่ยวหรือชนกันแบบมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย

อุบัติเหตุทางรถยนต์หรือบนท้องถนน หากมีกรณีเฉี่ยวกันและมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 กล่าวว่า เป็นการขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับอันตรายทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ ซึ่งโทษที่กฎหมายอาญากำหนด คือ โทษจำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. รถเฉี่ยวหรือชนกันแบบมีผู้บาดเจ็บสาหัส

เรามักพบเห็นกันบ่อยครั้งในกรณีรถเฉี่ยวชน จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส พิการ หรือสูญเสียอวัยวะ หรือจำเป็นต้องได้รับการรักษาตัวหรือพักฟื้นมากกว่า 20 วัน เหล่านี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 นับเป็นความผิดฐานขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัส ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. รถเฉี่ยวหรือชนกันจนมีผู้เสียชีวิต

หากขับรถเฉี่ยวหรือชนจนคู่กรณีถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จะถือเป็นความผิดโทษฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขับรถเฉี่ยวชน ในกรณีเป็นฝ่ายผิด ต้องรับผิดชอบอย่างไร?

การที่ขับรถเฉี่ยวรถคันอื่น ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตหรือทรัพย์สิน แน่นอนว่าต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ในคดีรถเฉี่ยวเราต้องมาพิจารณากันก่อนว่าการขับรถเฉี่ยวคู่กรณีนั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรือประสงค์จงใจในการขับชนเพื่อให้อีกฝ่ายเกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

ผู้กระทำผิด หรือผู้ที่ขับรถเฉี่ยว จะต้องได้รับโทษในทั้งทางแพ่งและทางอาญา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ :

1. ความผิดทางอาญา

สำหรับโทษในการทำผิดคดีขับรถเฉี่ยวชน ทางกฎหมายอาญามีอยู่หลายมาตรา ขึ้นอยู่กับสาเหตุในการขับชน ครอบคลุมทั้งการประมาทเลินเล่อและจงใจ ซึ่งโทษที่ได้รับจะแตกต่างกันไป ตามความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนี้

  • หากคุณจงใจขับรถเฉี่ยว หรือตั้งใจชน เป็นเหตุให้อีกฝ่ายเสียชีวิต คุณจะมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ซึ่งต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
  • หากคุณขับรถเฉี่ยว เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แต่เกิดจากการประมาทเลินเล่อ เช่น เมาแล้วขับ หรือขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท โทษจะเบากว่าเจตนาขับชน อย่างไรก็ตามโทษจะเบาลงหากอุบัติเหตุครั้งนี้ ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย เพียงแค่บาดเจ็บด้านกายหรือจิตใจ เช่น จากการถูกเฉี่ยวแล้วมีแผล เลือดออก
  • หากขับรถเฉี่ยว แล้วคู่กรณีเป็นอันตรายสาหัสหรือร้ายแรง เช่น ร่างกายพิการ หรือต้องสูญเสียอวัยวะต่างๆจนไม่สามารถกลับมามีร่างกายสภาพเดิม และสูญเสียความสามารถในการกลับมาประกอบอาชีพได้อย่างเดิม จะมีความผิดตามมาตรา 297 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และ มาตรา 300 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท

2. ความผิดทางแพ่ง

ในกรณีขับรถเฉี่ยวชน เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของฝ่ายคู่กรณีเสียหาย ก็เข้าความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 358 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ซึ่งทางกฎหมายไม่ได้มีการบัญญัติความผิดฐานประมาทจึงก่อให้เกิดความเสียทรัพย์ ดังนั้น คู่กรณีหรือผู้เสียหายอาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งได้เช่นกัน

ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ต้องชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่ง ดังต่อไปนี้

  • ค่าปลงศพ ในกรณีที่ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต
  • ค่าขาดไร้อุปการะ
  • ค่าการงานที่ต้องทำให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน
  • ค่ารักษาพยาบาลบาดแผลจากถูกรถชน
  • ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ ในกรณีที่ผู้เสียหายพิการ หรือสูญเสียอวัยวะจนขาดความสามารถในการประกอบอาชีพเพื่อหารายได้

จะเห็นได้ว่า เมื่อขับรถเฉี่ยว แล้วเป็นฝ่ายผิด เราต้องรับผิดชอบอะไรหลายอย่างเลย บางครั้งอาจทำให้เราต้องมีคดีติดตัวไปตลอด ดังนั้นในการขับรถทุกครั้ง ควรมีสติและปฎิบัติตามกฎหมายจราจรเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

รถเฉี่ยว ถ้าเป็นฝ่ายถูก เรียกร้องค่าขาดประโยชน์ได้ไหม?

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ เงินชดเชยจากอุบัติเหตุรถเฉี่ยว ซึ่งหากเราเป็นฝ่ายถูก เราสามารถเรียกร้องจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้ ในทางกฎหมายถือว่า เป็นค่าเดินทางให้กับฝ่ายผู้เสียหาย ที่จะนำไว้ใช้จ่ายในระหว่างที่รถเข้าศูนย์ซ่อม ซึ่งปกติแล้วผู้ที่จ่ายจะเป็นบริษัทประกันของฝ่ายผิด แต่ถ้าหากคู่กรณีไม่มีประกันรถยนต์ ก็สามารถเรียกร้องจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้โดยตรง

รถเฉี่ยว ประกันคุ้มครองไหม?

สำหรับอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะรถเฉี่ยว รถชน ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน หรือไม่ตั้งใจตระเตรียมไว้ก่อน เหล่านี้ประกันรถยนต์ให้ความคุ้มครอง สามารถเคลมได้ แต่ถ้าหากตั้งใจเฉี่ยวจนชน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจสรุปมาแล้วว่า เจตนาชน เช่น ปาดหน้าคันอื่น ขัดแซงด้วยความโกรธแค้น หรือตั้งใจชนเพื่อเอาเงินประกัน กรณีเหล่านี้ไม่สามารถเคลมได้

กรณีชนแล้วหนี ประกันคุ้มครองอย่างไร?

สำหรับการขับรถเฉี่ยว หรือชนแล้วหนี พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 กำหนดให้ผู้ขับรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของบุคคลนั้นหรือไม่ จำเป็นต้องหยุดรถพร้อมให้ความช่วยเหลือตามสมควร แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่และแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุก 3 เดือน ปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตาม หากคุณโดนชนแล้วหนี ไม่ต้องกังวลไป เพราะหากรถเฉี่ยว และคุณมีประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็สบายใจหายห่วง เพราะจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันอย่างแน่นอน เพราะครอบคลุมการชนทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีหรือไม่มีคู่กรณีก็ตาม ดังนั้นคุณสามารถนำรถเข้าไปเคลมประกันได้เลย

โดนมอเตอร์ไซค์เฉี่ยว รถยนต์ รับมืออย่างไร?

หากโดนรถมอเตอร์ไซค์เฉี่ยวชน ความเสียหายหรือความรุนแรง อาจไม่มากเท่ารถยนต์ชนกัน ดังนั้น หากรถเฉี่ยวควรตั้งสติก่อนเป็นอันดับแรก อย่างพึ่งตระหนกตกใจกลัวไป หลังจากนั้นให้ตรวจสอบดูว่ามอเตอร์ไซค์ล้มหรือบาดเจ็บตรงไหนไม่ หลังจากนั้นจึงทำการถ่ายหลักฐานการชนและโทรเรียกประกัน เพื่อแจ้งข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ แต่อย่าลืมจดจำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์คันนั้นเอาไว้ เพราะมีโอกาสสูงที่คู่กรณีจะขับหลบหนีไป

เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมด เกี่ยวกับอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างรถเฉี่ยว ดังนั้นใครที่พบเจอเหตุการณ์เหล่านี้สามารถปฎิบัติตามคำแนะนำในบทความนี้ได้เลย และควรมีสติทุกครั้งในการขับขี่ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่น อย่าลังเลที่จะซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 กับ แรบบิท แคร์ ติดตัวเอาไว้ เพิ่มความอุ่นใจตลอดการขับขี่ เรามีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชั่วโมง มีรถให้เช่าระหว่างซ่อม และบริการเสริมต่าง ๆ อีกมากมาย สนใจโทรเลย 1438

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา