รถประเภทใดบ้างตรวจสภาพรถ? รถยนต์กี่ปีต้องตรวจสภาพ?
รถที่ต้องตรวจสภาพรถหรือเช็คสภาพรถ คือ รถที่อยู่ในเกณฑ์ต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปีขึ้นไป สำหรับรถยนต์หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ โดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรกถึงวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี
ทั้งนี้ สามารถนำรถตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี โดยมีรายละเอียดรถในแต่ละประเภทที่ต้องเช็คสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ดังต่อไปนี้
รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
- รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถขนาดเล็ก
- รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ เว้นแต่รถที่ใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตรายและรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง ที่ติดตั้งถังบรรจุวัสดุอันตราย
รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
- รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก ได้แก่
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลเมตร (รย.3) ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป (ยกเว้นรถที่ได้รับความเห็นชอบการจ
- ทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล)
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (รย.12) ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก
- รถที่ภาษีขาดเกิน 1 ปี
นอกจากนั้นแล้ว รถที่ต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถ คือ รถที่ต้องการทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือต่ออายุประกัน ซึ่งรายละเอียดการเช็คสภาพรถ หรือบังคับตรวจสภาพรถยนต์ก่อนทำประกันหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันรถยนต์
ตรวจสภาพรถยนต์ต้องตรวจอะไรบ้าง?
รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีอายุจดทะเบียนเกิน 7 ปี ประเภทรถ รย.1 รย.2 และ รย.3 นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรกตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จัดอยู่ในกลุ่มรถยนต์ที่ต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถยนตืประจำปี กรณีรถยนต์ส่วนบุคคลที่ค้างชำระภาษีประจำปีเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี สามารถนำรถไปตรวจสภาพได้ที่สำนักงานขนส่ง หรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก มีรายละเอียดรายการตรวจสภาพรถยนต์ที่ต้องตรวจเมื่อต้องต่อภาษีรถประจำปีดังต่อไปนี้
1) ตรวจสภาพรถยนต์ภายในรถ
- ระบบบังคับเลี้ยว, พวงมาลัย
- มาตรวัด, ไฟสัญญาณ
- สวิทช์ควบคุมไฟสัญญาณ, แตรสัญญาณ
- อุปกรณ์ปัดและฉีดทำความสะอาดกระจกกันลมหน้า
- กระจกกันลมหน้า-หลัง
- กระจกเงาสำหรับมองหลัง
- ที่นั่งผู้ขับ, ที่นั่งผู้โดยสาร
- เข็มขัดนิรภัย
2) ตรวจสภาพรถยนต์ภายนอก
- โคมไฟพุ่งไกล, โคมไฟพุ่งต่ำ
- โคมไฟเลี้ยว
- โคมไฟหรี่, ไฟอื่นๆ
- กันชน
- กงล้อ และยาง
- บังโคลน
- โครงสร้างและตัวถัง
- สี
- ประตู
- กระจกด้านข้าง
- กระจกเงาสำหรับมองหลัง
- โคมไฟท้าย
- โคมไฟหยุด
- อุปกรณ์สะท้อนแสง
- โคมไฟถอยหลัง
- โคมไฟส่องป้ายทะเบียน
- โคมไฟแสดงความกว้าง, ความสูง, ไฟอื่นๆ
- กันชนท้าย
3) ตรวจสภาพรถยนต์ใต้ท้องรถ
- ระบบบังคับเลี้ยว, กลไกบังคับเลี้ยว
- ระบบรองรับน้ำหนัก, สปริง, แหนบ, โช๊คอัพ (เครื่องผ่อนการสั่นสะเทือน)
- เพลาล้อ, กงล้อและยาง
- อุปกรณ์ระบบห้ามล้อ
- โครงสร้างตัวถัง, โครงคัสซี
- ระบบส่งกำลัง, คลัทช์, เกียร์, เพลงกลาง, เฟืองท้าย
- ระบบไอเสีย, เครื่องระงับเสียง
- แท่นเครื่อง, ยางแท่นเครื่อง
- อุปกรณ์ขจัดมลพิษ Catalytic Converter
- ระบบเชื้อเพลิง, ท่อส่งเชื้อเพลิง, ท่อส่งก๊าซ
ตรวจสภาพรถมอเตอร์ไซค์ตรวจอะไรบ้าง? รถยนต์กี่ปีต้องตรวจสภาพ?
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลหรือ รถมอเตอร์ไซค์ จัดอยู่ในกลุ่มรถประเภท ร.ย.12 โดยรถมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรกตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มรถที่อยู่ในข่ายเข้ารับการเช็คสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ต.ร.อ) ทั้งนี้ รถมอเตอร์ไซค์ที่ค้างชำระภาษีประจำปี 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี สามารถนำรถเข้าตรวจสภาพได้ที่สำนักงานขนส่งในจังหวัดหรือในพื้นที่ หรือสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก มีรายละเอียดรายการตรวจสภาพรถมอเตอร์ไซค์ที่ต้องตรวจเมื่อต้องต่อภาษีรถประจำปีดังต่อไปนี้
1) ตรวจสภาพบนตัวรถมอเตอร์ไซค์
- การควบคุมรถ
- ถังเชื้อเพลิง
- สวิทช์ไฟต่างๆ, มาตรวัดความเร็ว
- แตรสัญญาณ
- ระบบรองรับน้ำหนัก
- ระบบบังคับเลี้ยว
- คันบังคับเลี้ยว (แฮนด์)
- แกนบังคับเลี้ยว (ลูกปืนคอบังคับเลี้ยว)
2) ตรวจสภาพด้านหน้ารถมอเตอร์ไซค์
- โคมไฟหน้า
- คันบังคับห้ามล้อ (คันเบรกมือ)
- แม่ปั๊มเบรกหน้า (กรณีเป็นเบรกน้ำมัน)
3) ตรวจสภาพยางหน้ารถมอเตอร์ไซค์
- การบังคับเลี้ยว
- ระบบรองรับน้ำหนักหน้า
- สภาพยางหน้า
- เบรกที่ล้อหน้า
- เพลาล้อ, กงล้อ
4) ตรวจสภาพด้านขวาตัวรถมอเตอร์ไซค์
- โครงสร้างและตัวถังรถ
- เบาะนั่ง
- ระบบรองรับน้ำหนักหลัง
- ห้ามล้อหลัง, คันห้ามล้อ, แม่ปั๊มเบรกหลัง, สายเบรก
- ที่พักเท้า
- ท่อไอเสีย
5) ตรวจสภาพล้อหลังรถมอเตอร์ไซค์
- เพลาล้อ, กงล้อหลัง
- อุปกรณ์, ห้ามล้อหลัง
- ยางหลัง
- ระบบรองรับหน้าหนักหลัง
6) ตรวจสภาพด้านท้ายรถมอเตอร์ไซค์
- โคมไฟท้าย
- โคมไฟหยุด
- โคมไฟส่องป้ายทะเบียน
- แผ่นสะท้อนแสง
7) ตรวจสภาพด้านซ้ายรถมอเตอร์ไซค์
- โครงสร้างและตัวถังรถ
- ท่อไอเสีย
- ที่พักเท้า
- บังโซ่, ฝาครอบโซ่
- ระบบส่งกำลัง, โซ่
- ขาตั้ง
8) ตรวจศูนย์ล้อของแนวล้อหน้าและล้อหลัง
ตรวจสภาพรถที่ไหนได้บ้าง? รถยนต์กี่ปีต้องตรวจสภาพ?
รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภทที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ต้องตรวจสภาพรถที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกหรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
รถที่สามารถเลือกตรวจสภาพได้กับหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) มีดังต่อไปนี้
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม
- รถของส่วนราชการ เช่น รถยนต์รับรองบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต รถยนต์รับคณะผู้แทนทางกงสุล รถยนต์รับรององค์การระหว่างประเทศ
รถที่ต้องนำไปตรวจสภาพหรือเช็คสภาพรถที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น ไม่สามารถตรวจสถาพรถได้ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ได้ มีดังต่อไปนี้
- รถที่ดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงสภาพให้ผิดจากที่ได้จดทะเบียนไว้เช่น เปลี่ยนสี เปลี่ยนส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนลักษณะรถ เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
- รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข หรือมีร่องรอยการแก้ไข ขูด ลบ ลบเลือนหรือตัวเลขชำรุดจนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้
- รถที่แจ้งการไม่ใช้งาน เช่น แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้
- รถที่มีเลขทะเบียนรุ่นเก่า เช่น กท-00001, กทจ-0001
- รถที่ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี
- รถที่ถูกโจรกรรมแล้วได้คืน