Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

ประกันซ่อมอู่ ซ่อมห้างคืออะไร?

ประกันซ่อมอู่คืออะไร?

ประกันซ่อมอู่ ซ่อมห้าง คือ ตัวเลือกสถานที่เข้ารับบริการซ่อมบำรุงหรือเคลมประกันเมื่อรถยนต์เสียหายโดยประกันภัยรถยนต์ซ่อมอู่ คือ การนำรถเข้าซ่อมกับอู่รถยนต์ทั่วไป สามารถเลือกเคลมซ่อมอู่ได้กับประกันรถยนต์ทุกชั้น เลือกใช้บริการได้ทั้งอู่ซ่อมรถยนต์ในเครือบริษัทประกันที่ได้รับรองมาตรฐาน มีบริษัทประกันเป็นผู้ควบคุมดูแล และจัดการการซ่อมเคลมให้เป็นไปตามกำหนด หรืออู่ซ่อมรถยนต์ที่ไม่อยู่ในเครือบริษัทประกัน เช่น อู่ซ่อมรถยนต์ทั่วไป หรืออู่ซ่อมรถใกล้บ้านที่รู้จักกันเป็นส่วนตัว

หากผู้ทำประกันที่เลือกทำประกันรถยนต์แบบสมัครใจ และเลือกประเภทการซ่อมแบบซ่อมอู่ สามารถนำรถยนต์เข้าเคลมซ่อมได้ที่อู่ในเครือบริษัทประกันได้ทันที และเมื่อซ่อมเสร็จแล้วไม่ต้องเสียเงิน หรือสำรองจ่ายค่าบริการล่วงหน้าไปก่อน

ในขณะที่หากทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภทการซ่อมแบบซ่อมอู่ แต่เลือกนำรถเข้ารับบริการกับอู่ซ่อมรถใกล้บ้านที่ไม่ได้อยู่ในเครือบริษัทประกัน จะต้องสำรองจ่ายค่าซ่อมไปก่อน และนำมาเบิกคืนภายหลังกับบริษัทประกัน เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้เรื่องรถยนต์ในระดับหนึ่ง

ข้อดีของประกันซ่อมอู่

คือ ค่าเบี้ยประกันรถที่ต้องจ่ายถูกกว่าค่าเบี้ยประกันซ่อมห้าง สามารถต่อรองราคาค่าบริการได้สะดวกกว่า ในกรณีเลือกใช้บริการกับอู่ซ่อมรถนอกเครือบริษัทประกัน มีอู่ซ่อมรถให้เลือกใช้บริการได้มากมายตามสะดวก ทั้งอู่ซ่อมรถมาตรฐาน หรืออู่ซ่อมรถที่ไว้ใจใกล้บ้าน รวมถึงระยะเวลาในการซ่อมไม่นานเท่าซ่อมห้าง

ข้อเสียของประกันซ่อมอู่

คือ อะไหล่ที่นำมาใช้ซ่อมอาจเป็นอะไหล่เทียบเท่า หรืออะไหล่เก่า ไม่ใช่อะไหล่แท้เหมือนกับการนำรถเข้ารับบริการแบบซ่อมศูนย์ (ซ่อมห้าง) รวมถึงอาจเจอปัญหาบริการหลังการซ่อมที่ไม่มีรับประกันปัญหาหลังการซ่อม หรือปัญหาค่าแรงที่ไม่เป็นมาตรฐาน ปัญหาโกงค่าแรง หรือแม้กระทั่งการซ่อมที่ไม่เรียบร้ออยเท่ากับการเข้ารับบริการการซ่อมจากศูนย์บริการ

ประกันซ่อมห้างคืออะไร?

ประกันรถยนต์ซ่อมห้าง คือ การนำรถเข้ารับบริการการซ่อมบำรุง หรือเคลมประกันความเสียหายที่ศูนย์บริการรถยนต์อย่างเป็นทางการของรถรุ่น หรือยี่ห้อนั้นๆ (Dealer) โดยไม่จำเป็นต้องนำรถเข้ารับบริการ ณ สาขาของศูนย์บริการที่ซื้อรถก็ได้ โดยสาเหตุที่เรียก “ซ่อมศูนย์” เป็น “ซ่อมห้าง” เนื่องจากศูนย์บริการรถยนต์ทั่วไปมักจะจดทะเบียนธุรกิจประเภทนิติบุคคล ประเภท “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” จึงทำให้ประกันซ่อมศูนย์ มักถูกเรียกในชื่อประกันซ่อมห้างด้วยเช่นกัน

ข้อดีของประกันซ่อมห้างหรือซ่อมศูนย์ คือ จะได้รับบริการซ่อมด้วยอะไหล่แท้ตามมาตรฐานของศูนย์บริการ รถยนต์แต่ละยี่ห้อ มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมให้คำแนะนำ และแยกกันทำงานซ่อมบำรุงอย่างชัดเจนรวมถึงมีการรับประกันหลังการซ่อมตามระยะประกัน ทำให้มั่นใจได้ว่าได้รับบริการการซ่อมที่เป็นมาตรฐาน

ข้อเสียของประกันซ่อมห้างหรือซ่อมศูนย์ คือ ราคาเบี้ยประกันรถยนต์แบบซ่อมห้างจะสูงกว่าเบี้ยประกันรถยนต์แบบซ่อมอู่ เนื่องจากเป็นการให้บริการซ่อมบำรุงหรือเคลมประกันรถยนต์เสียหายกับศูนย์บริการรถยนต์โดยตรง ทำให้มีค่าแรงและค่าซ่อมที่สูงกว่า รวมถึงอาจต้องรอคิวในการซ่อมนาน และอาจมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์โดยไม่จำเป็น

ประกันชั้น 1 ซ่อมห้างได้ไหม? ต้องซ่อมอู่ ซ่อมห้าง?

ประกันชั้น 1 ภาคสมัครใจ สามารถทำประกันได้ทั้งแบบซ่อมศูนย์ (ซ่อมห้าง) ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทประกันทั่วไปจะรับทำประกันรถยนต์แบบซ่อมศูนย์หรือซ่อมห้างให้กับรถอายุสูงสุดที่ 5 ปีเท่านั้น หากต้องการต่อประกันรถยนต์แบบซ่อมห้างสำหรับรถยนต์ในปีที่ 6 จะต้องยื่นคำขอให้บริษัทประกันพิจารณาอนุโลมอีกครั้ง โดยจะพิจารณาจากความต่อเนื่องในการทำประกันกับบริษัทประกันภัยเดิม ประวัติการขับขี่ ประวัติการเคลม หรือรุ่นรถ

หากได้รับพิจารณาอนุมัติการต่อประกันรถยนต์ชั้น 1 แบบซ่อมห้างต่อเนื่องในปีที่ 6 จะได้รับพิจารณาเบี้ยประกันใหม่ที่สูงขึ้นจากเดิม ในขณะที่หากไม่ได้รับพิจารณาต่ออายุ อาจใช้บริการจากบริษัทประกันรายอื่นๆ ที่อนุโลมรับประกันแบบซ่อมอู่หรือซ่อมศูนย์ให้ หรือเลือกทำประกันแบบมีค่าเสียหายส่วนแรกแทนได้

ประกันซ่อมอู่ ซ่อมห้างเข้าศูนย์ได้ไหม?

กรณีทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ซ่อมอู่ แต่ต้องการนำรถเข้ารับการเคลมซ่อม ณ ศูนย์บริการ เนื่องจากไม่มั่นใจหรือไม่เชื่อมั่นการบริการของอู่ที่บริษัทประกันจัดเตรียมไว้ให้ สามารถนำรถเข้ารับบริการ ณ ศูนย์บริการที่สะดวกได้ โดยต้องรับผิดชอบค่าส่วนต่างเอง และควรต้องแจ้งบริษัทประกันให้รับทราบก่อน เพื่อประเมินราคา (คุมราคา) ก่อนเริ่มการซ่อม

สามารถเข้ารับบริการเคลมซ่อมศูนย์ได้โดยศูนย์บริการที่จะเข้าซ่อม ซึ่งอาจให้บริการซ่อมเองหรือส่งต่อให้ศูนย์ในเครือของตนเอง และเจ้าของรถต้องเป็นผู้จ่ายส่วนต่างค่าบริการเอง ตั้งแต่ 30-40% ตัวอย่างเช่น ค่าบริการซ่อมอู่นอกเครือข่ายอยู่ที่ 20,000 บาท ค่าบริการซ่อมห้างอยู่ที่ 26,000-28,000 บาท

ทั้งนี้ บริการเคลมซ่อมศูนย์โดยศูนย์บริการ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1) เข้ารับบริการจากศูนย์ฯ และรับบริการซ่อมแต่เพียงอย่างเดียว โดยเจ้าของรถต้องติดต่อเคลมประกันเอง หรือ 2) เข้ารับบริการจากศูนย์ฯ โดยศูนย์ฯ เป็นผู้ประสานงานกับบริษัทประกัน และเจ้าของรถจ่ายเฉพาะค่าส่วนต่าง

ประกันชั้น 1 ซ่อมไม่ได้ทุกศูนย์จริงหรือไม่?

แม้ว่าเลือกใช้ประกันซ่อมศูนย์ แต่ในบางครั้งอาจเจอปัญหาไม่สามารถนำรถยนต์เสียหายเข้าซ่อมจากศูนย์บริการอย่างเป็นทางการของรถยนต์ได้ แม้ว่าจะเป็นศูนย์บริการอย่างเป็นทางการขนาดใหญ่ มีความน่าเชื่อถือ ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากการที่ศูนย์ซ่อมดังกล่าวยังไม่เคยได้รับการติดต่อประสานงานหรือได้รับข้อเสนอ/ข้อตกลงให้ความร่วมมือกับบริษัทประกันมาก่อน หรืออยู่ในระหว่างตกลงค่าแรง ค่าบริการ หรือรายละเอียดอื่นๆ ที่ยังไม่ลงตัว

ทำให้ผู้ทำประกันที่ใช้รถยี่ห้อนั้นๆ ไม่สามารถนำรถเข้ารับบริการซ่อมบำรุงได้ทันที หากต้องการนำรถยนต์เสียหายเข้ารับบริการกับศูนย์บริการซ่อมที่ไม่ได้อยู่ในเครือของบริษัทประกัน สามารถทำได้โดยต้องติดต่อประสานงานกับศูนย์บริการนอกเครือข่ายประกันก่อนเข้าใช้บริการ เพื่อตกลงรายละเอียดในการซ่อม ค่าซ่อมและค่าบริการเบื้องต้นก่อน จากนั้นรอการอนุมัติการซ่อมจากบริษัทประกัน โดยต้องสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายไปก่อน และนำใบเสร็จเบิกกับบริษัทประกันภายหลัง

หากไม่ต้องการสำรองจ่ายค่าบริการก่อน หรือไม่ต้องการรอการเบิกจ่ายเงินคืนจากบริษัทประกันที่อาจล่าช้า อาจเลือกเข้ารับบริการซ่อมจากศูนย์บริการถยนต์ในเครือบริษัทประกันแทนได้ ดังนั้นจึงควรต้องตรวจสอบรายละเอียดการเข้ารับบริการซ่อมกับอู่ซ่อมรถ หรือศูนย์บริการถยนต์ใกล้บ้านจากบริษัทประกันก่อนเข้ารับบริการทุกครั้ง

อย่างไรก็ตาม บริษัทประกันภัยจะประสานงานกับศูนย์บริการหรือศูนย์ซ่อมทุกยี่ห้อรถยนต์อยู่แล้ว แต่อาจตกหล่น ไม่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย หรืออยู่ในระหว่างเจรจาตกลง หรืออาจติดขัดล่าช้าด้วยเงื่อนไขต่างๆ

เอารถเข้าอู่เคลมประกันได้หรือไม่?

ต้องบอกว่าหลังจากที่เราในฐานะเจ้าของรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ ได้เอกสารใบเคลมที่บริษัทประกันออกให้เรียบร้อยแล้ว ก็เป็นเสมือนใบเบิกทางในการเคลมแล้วล่ะ ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่การเอารถเข้าอู่ ก็สามารถเคลมประกันได้อยู่แล้ว หากเป็นไปตามเงื่อนไขข้อตกลง เพียงแต่หลังจากที่ได้ใบแจ้งเคลมมาแล้วนั้น เราจะไม่สามารถเอารถของเราเข้าเคลมที่อู่ซ่อมหรือศูนย์ซ่อมได้ทันทีทันใด เพราะจะต้องมีการนัดคิวล่วงหน้ากับอู่หรือศูนย์กันเสียก่อน รวมทั้งยังต้องเช็คกับอู่หรือศูนย์ซ่อมด้วยว่าสามารถเข้าเคลมประกันที่นี่ได้หรือไม่ ถ้าทางอู่มีการแจ้งรับเคลมและมีการนัดคิวกันเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำรถยนต์ของคุณเข้าอู่ซ่อม เพื่อดูรายการความเสียหายเพื่อประเมินราคาเสนอกับบริษัทประกันเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมต่อไป

นอกเหนือจากการตรวจสภาพรถยนต์แล้ว อย่าลืมเอกสารประจำรถและชุดเครื่องมือประจำรถอย่างเช่น แม่แรง ประแจ สายพ่วงแบตเตอรี่ หรือยางอะไหล่ เพราะในยามฉุกเฉิน สิ่งเหล่านี้เองก็จำเป็นสำหรับการช่วยแก้ปัญหารถเบื้องต้นได้ แต่ที่จำเป็นและขาดไม่ได้ยิ่งไปกว่านั้น คือความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ โดยเฉพาะประกันรถยนต์ชั้น 1 จาก แรบบิท แคร์ ที่การันตีความคุ้มค่าพร้อมความดูแลที่มากกว่า ให้คุณอุ่นใจตลอดการเดินทางด้วยบริการความช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้คุณไปถึงจุดหมายอย่างปลอดภัยสำหรับการเดินทางไกลนี้

ซ่อมอู่ซ่อมห้าง คืออะไร

“ซ่อมอู่” และ “ซ่อมห้าง” เป็นสองตัวเลือกในการซ่อมรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ โดยทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันดังนี้

1. ซ่อมอู่

การซ่อมอู่ หมายถึง การนำรถยนต์ไปซ่อมที่อู่ซ่อมรถทั่วไป ซึ่งอาจจะเป็นอู่ที่มีความเชี่ยวชาญในยี่ห้อหรือรุ่นของรถยนต์ที่ต้องการซ่อม หรืออู่ในเครือของบริษัทประกันภัย

ประเภทของบริการซ่อมอู่

การให้บริการซ่อมอู่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ซึ่งแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในแง่ของการรับประกันและความสะดวกสบายสำหรับผู้เอาประกันภัย ดังนี้

1.1 อู่ในเครือบริษัทประกัน

อู่ในเครือหมายถึงอู่ซ่อมรถที่เป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันภัยและได้รับการรับรองให้เข้าร่วมในเครือข่ายของบริษัทนั้น ๆ เมื่อผู้เอาประกันภัยนำรถไปซ่อมที่อู่ในเครือ บริษัทประกันภัยจะจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมโดยตรงกับอู่

ข้อดีของการซ่อมอู่ในเครือ
  • ความสะดวกสบาย: ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องสำรองจ่ายค่าซ่อมเอง เพราะบริษัทประกันภัยจะจ่ายตรงกับอู่
  • มาตรฐานการซ่อม: บริษัทประกันภัยมักจะคัดเลือกอู่ในเครือโดยพิจารณาจากมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการ ซึ่งทำให้มั่นใจได้ในระดับหนึ่งเกี่ยวกับคุณภาพการซ่อม
  • การรับประกัน: อู่ในเครือมักมีการรับประกันการซ่อมในระยะเวลาหนึ่งหลังจากการซ่อมแซมเสร็จสิ้น

ข้อเสียของการซ่อมอู่ในเครือ
  • ทางเลือกจำกัด: ผู้เอาประกันภัยอาจมีทางเลือกในการเลือกอู่ซ่อมรถที่จำกัดตามเครือข่ายของบริษัทประกันภัย

1.2 อู่นอกเครือบริษัทประกัน

อู่นอกเครือ หมายถึง อู่ซ่อมรถที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรหรืออยู่ในเครือข่ายของบริษัทประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกอู่ซ่อมที่ตนเองพึงพอใจได้ ไม่ว่าจะเป็นอู่ที่คุ้นเคยหรือมีชื่อเสียงในพื้นที่

ข้อดีของการซ่อมอู่นอกเครือ
  • ทางเลือกที่หลากหลาย: ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกอู่ซ่อมที่ตนเองเชื่อมั่นหรือรู้สึกพึงพอใจได้โดยไม่จำกัดเฉพาะอู่ในเครือของบริษัทประกันภัย

ข้อเสียของการซ่อมอู่นอกเครือ
  • ต้องสำรองจ่าย: ผู้เอาประกันภัยอาจต้องสำรองจ่ายค่าซ่อมไปก่อน จากนั้นจึงนำใบเสร็จมาเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย ซึ่งอาจใช้เวลาในการคืนเงิน
  • ความเสี่ยงเรื่องคุณภาพ: เนื่องจากไม่ได้อยู่ในเครือข่ายของบริษัทประกันภัย อู่นอกเครืออาจมีมาตรฐานการซ่อมที่แตกต่างกันไป ทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของอู่เอง
  • การรับประกัน: อู่นอกเครืออาจไม่มีการรับประกันการซ่อมเหมือนกับอู่ในเครือ ขึ้นอยู่กับนโยบายของอู่แต่ละแห่ง

การเลือกใช้บริการอู่ในเครือหรืออู่นอกเครือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับความสะดวกสบาย ความมั่นใจในคุณภาพการซ่อม และนโยบายของบริษัทประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้เลือกไว้ หากต้องการความสะดวกสบายและไม่ต้องการสำรองจ่าย อู่ในเครืออาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม แต่หากต้องการเลือกอู่ที่คุ้นเคยหรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อู่นอกเครือก็เป็นตัวเลือกที่ดี แต่ต้องพร้อมสำรองจ่ายและตรวจสอบคุณภาพการซ่อมด้วยตัวเอง

2. ซ่อมห้าง

การซ่อมห้างหมายถึงการนำรถยนต์ไปซ่อมที่ศูนย์บริการที่ได้รับอนุญาตจากผู้ผลิตหรือจำหน่ายรถยนต์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าศูนย์บริการของยี่ห้อรถยนต์นั้นๆ

การเลือกซ่อมอู่ VS ซ่อมห้าง อันไหนดี

การตัดสินใจเลือกซ่อมอู่หรือซ่อมห้างขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความต้องการของผู้เอาประกันภัย งบประมาณ ความใกล้เคียง และความสำคัญต่อคุณภาพของการซ่อม หากต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ซีเรียสเรื่องชิ้นส่วนแท้ การเลือกซ่อมอู่อาจเป็นทางเลือกที่ดี แต่หากต้องการความมั่นใจในคุณภาพการซ่อมและชิ้นส่วนแท้ ซ่อมห้างอาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า

ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ มักจะมีการระบุว่าผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซ่อมอู่หรือซ่อมห้างได้ตามความต้องการ ซึ่งควรตรวจสอบและทำความเข้าใจเงื่อนไขในกรมธรรม์ก่อนที่จะตัดสินใจ

ข้อดีของการซ่อมอู่

  • ราคามักจะถูกกว่าการซ่อมห้าง เนื่องจากค่าแรงและค่าซ่อมแซมที่ต่ำกว่า
  • ในบางพื้นที่ อู่ซ่อมอาจมีความใกล้เคียงกับผู้เอาประกันภัยมากกว่า ทำให้สะดวกในการนำรถเข้าซ่อม
  • การซ่อมอู่อาจใช้เวลาเร็วกว่าการซ่อมห้างในบางกรณี

ข้อเสียของการซ่อมอู่

  • คุณภาพการซ่อมอาจมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับมาตรฐานและความเชี่ยวชาญของอู่แต่ละแห่ง
  • บางครั้งอาจไม่ได้ใช้ชิ้นส่วนแท้ (ชิ้นส่วน OEM) ในการซ่อม อาจใช้ชิ้นส่วนที่มีคุณภาพรองลงมา

ข้อดีของการซ่อมศูนย์

  • ได้รับการซ่อมแซมโดยช่างที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และผ่านการฝึกอบรมจากผู้ผลิตรถยนต์โดยตรง
  • การซ่อมห้างมักจะใช้ชิ้นส่วนแท้จากผู้ผลิต ซึ่งมีคุณภาพสูงและเข้ากันได้ดีกับรถยนต์
  • มาตรฐานการซ่อมและการรับประกันการซ่อมมักจะสูงกว่าซ่อมอู่

ข้อเสียของการซ่อมศูนย์

  • ราคาค่าซ่อมและค่าแรงมักจะสูงกว่าการซ่อมอู่
  • ระยะเวลาในการซ่อมอาจนานกว่า เนื่องจากต้องทำตามขั้นตอนและมาตรฐานของศูนย์บริการ

ซ่อมห้างกับซ่อมศูนย์ ต่างกันอย่างไร

"ซ่อมห้าง" และ "ซ่อมศูนย์" เป็นสองคำที่มีความหมายเหมือนกันในเชิงการรับประกัน ซึ่งหมายถึง การนำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์บริการของยี่ห้อรถนั้น ๆ โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นศูนย์ที่เราออกรถมาเสมอไป อย่างไรก็ตาม ในเชิงการรับบริการซ่อมรถยนต์ที่เกิดความเสียหายจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของสถานที่และลักษณะการให้บริการเพียงเล็กน้อย ดังนี้

1. ซ่อมห้าง (Authorized Dealer)

การซ่อมห้าง หมายถึง การนำรถไปซ่อมที่ศูนย์บริการที่ได้รับอนุญาตจากผู้ผลิตหรือจำหน่ายรถยนต์ ซึ่งมักจะเป็นศูนย์บริการของตัวแทนจำหน่าย (Dealer) ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ คำว่า "ซ่อมห้าง" เกิดขึ้นเพราะศูนย์บริการเหล่านี้มักจะจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดนั่นเอง

ลักษณะการบริการซ่อมห้าง

  • มาตรฐานสูง: ซ่อมห้างให้บริการโดยช่างที่ได้รับการฝึกอบรมจากผู้ผลิตและใช้ชิ้นส่วนแท้ (OEM parts) ซึ่งมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการซ่อม ทำให้คุณภาพการซ่อมเชื่อถือได้ ใช้ชิ้นส่วนแท้ และมีการรับประกันงานซ่อม
  • การรับประกัน: ศูนย์บริการของตัวแทนจำหน่ายมักมีการรับประกันการซ่อมแซม ซึ่งอาจครอบคลุมการซ่อมบางส่วนหรือทั้งหมด
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าอู่ทั่วไป: เนื่องจากใช้ชิ้นส่วนแท้และมีมาตรฐานการให้บริการที่สูงกว่า ราคาค่าซ่อมแซมที่ซ่อมห้างมักจะสูงกว่าการซ่อมตามอู่รถยนต์ทั่วไป และอาจต้องใช้เวลานานกว่าจะได้รับบริการเนื่องจากมีการซ่อมที่ละเอียดและเป็นมาตรฐาน

2. ซ่อมศูนย์ (Manufacturer Service Center)

การซ่อมศูนย์หมายถึงการนำรถไปซ่อมที่ศูนย์บริการที่ดำเนินการโดยผู้ผลิตรถยนต์โดยตรง ศูนย์บริการเหล่านี้เป็นที่ตั้งอย่างเป็นทางการของบริษัทผู้ผลิตในประเทศนั้นๆ

ลักษณะการบริการซ่อมศูนย์

  • การดูแลโดยตรงจากผู้ผลิต: ซ่อมศูนย์มักได้รับการบริการที่มีมาตรฐานเดียวกับที่โรงงานผู้ผลิตกำหนด เนื่องจากเป็นศูนย์ที่ผู้ผลิตเป็นผู้ดำเนินการเอง
  • ใช้ชิ้นส่วนแท้: ซ่อมศูนย์จะใช้ชิ้นส่วนแท้ที่ผลิตโดยผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งมั่นใจได้ในเรื่องความเข้ากันและคุณภาพ
  • การอัพเดตซอฟต์แวร์: ในกรณีที่รถยนต์ต้องการการอัพเดตซอฟต์แวร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์บริการของผู้ผลิตจะมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับงานนี้
  • ค่าใช้จ่ายสูง: เช่นเดียวกับการซ่อมห้างของตัวแทนจำหน่าย การซ่อมศูนย์มีค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบกับการซ่อมอู่รถยนต์ทั่วไป และอาจมีเวลารอคิวที่นานขึ้นในบางกรณี

วิธีดูกรมธรรม์ว่า ซ่อมห้าง ซ่อมอู่ ดูยังไง

วิธีดูกรมธรรม์ว่าซ่อมอู่หรือซ่อมห้าง สามารถตรวจสอบว่ากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์เป็นแบบ "ซ่อมห้าง" หรือ "ซ่อมอู่" สามารถทำได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนดังนี้

  1. ตรวจสอบเอกสารกรมธรรม์
    เปิดดูเอกสารกรมธรรม์ที่คุณได้รับจากบริษัทประกันภัย โดยปกติแล้วข้อมูลเกี่ยวกับประเภทการซ่อมจะระบุอยู่ในหน้าหลักของกรมธรรม์ จากนั้นมองหาคำว่า "ซ่อมศูนย์" หรือ "ซ่อมห้าง" ซึ่งหมายถึงการซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิตรถยนต์นั้นๆ หากในกรมธรรม์มีระบุว่า "ซ่อมอู่" หรือ "อู่ในเครือ" นั่นหมายถึงการซ่อมที่อู่ทั่วไปที่อยู่ในเครือข่ายของบริษัทประกันภัย

  2. ตรวจสอบกับตัวแทนหรือบริษัทประกันภัย
    หากไม่พบข้อมูลชัดเจนในเอกสารกรมธรรม์ คุณสามารถติดต่อไปยังตัวแทนประกันภัยหรือบริษัทประกันภัยโดยตรงเพื่อสอบถามรายละเอียด

  3. ตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์
    หากบริษัทประกันภัยมีระบบออนไลน์ คุณอาจสามารถล็อกอินเข้าไปในระบบนั้นเพื่อเช็คข้อมูลกรมธรรม์และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้

  4. คำอธิบายในการซื้อประกัน
    หากเป็นการซื้อประกันใหม่ ในกระบวนการซื้อหรือการแจ้งเงื่อนไข ตัวแทนหรือผู้ขายประกันจะต้องอธิบายประเภทการซ่อมให้คุณทราบตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • ถ้าคุณต้องการซ่อมรถที่ศูนย์บริการของผู้ผลิตรถยนต์ ควรเลือกกรมธรรม์แบบ "ซ่อมห้าง" หรือ "ซ่อมศูนย์" เพื่อให้ได้รับบริการซ่อมที่ใช้ชิ้นส่วนแท้และมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากผู้ผลิต
  • กรมธรรม์แบบ "ซ่อมอู่" มักจะมีราคาเบี้ยประกันที่ต่ำกว่า แต่ก็ยังเป็นทางเลือกที่ดี หากคุณมีอู่ที่คุณไว้ใจและต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย

การรู้ว่ากรมธรรม์ของคุณเป็นแบบใดจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมั่นใจและรับบริการที่ตรงตามความต้องการของคุณ

ประกันซ่อมอู่ แต่อยากซ่อมห้าง ทำได้ไหม

การมีประกันแบบ "ซ่อมอู่" แต่ต้องการซ่อมห้างหรือศูนย์บริการของผู้ผลิตนั้นสามารถทำได้ในบางกรณี แต่มีข้อจำกัดและเงื่อนไขบางประการ

1. การซ่อมที่ศูนย์บริการโดยจ่ายส่วนต่าง

คุณสามารถนำรถไปซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิตได้ แต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนต่างเอง เพราะบริษัทประกันจะจ่ายให้ตามวงเงินที่ครอบคลุมในกรณีซ่อมอู่เท่านั้น ส่วนที่เกินจากนั้นคุณต้องจ่ายเอง ดังนั้น ก่อนนำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์ ควรสอบถามศูนย์บริการหรือบริษัทประกันภัยถึงค่าใช้จ่ายที่คุณจะต้องรับผิดชอบ เพื่อประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมด

2. ขอปรับเปลี่ยนกรมธรรม์

ในบางกรณี คุณสามารถติดต่อบริษัทประกันภัยเพื่อขอเปลี่ยนกรมธรรม์จาก "ซ่อมอู่" เป็น "ซ่อมห้าง" ได้ โดยคุณอาจต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันเพิ่ม แต่การปรับเปลี่ยนดังกล่าวอาจขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและระยะเวลาที่เหลือของกรมธรรม์ ซึ่งการปรับเปลี่ยนประเภทการซ่อมลักษณะนี้มักทำได้ง่ายกว่าในกรณีที่กรมธรรม์เพิ่งเริ่มต้นหรือต่ออายุใหม่

3. ตรวจสอบเงื่อนไขในกรมธรรม์

บางบริษัทประกันอาจมีข้อกำหนดพิเศษที่ยอมให้คุณนำรถเข้าซ่อมศูนย์ได้ในบางสถานการณ์ เช่น ในกรณีที่ไม่มีอู่ในเครือใกล้เคียงหรืออู่ในเครือไม่สามารถให้บริการได้ตามมาตรฐาน ดังนั้น ควรตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขในกรมธรรม์ของคุณ หรือสอบถามโดยตรงกับบริษัทประกันภัย

4. ติดต่อศูนย์บริการก่อนเข้าซ่อม

ก่อนนำรถเข้าศูนย์บริการ ควรติดต่อสอบถามศูนย์บริการว่าพวกเขายินดีรับซ่อมรถภายใต้ประกันแบบ "ซ่อมอู่" หรือไม่ และหากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม คุณต้องจ่ายเท่าใด

จะเห็นได้ว่า ในบางกรณีคุณสามารถนำรถไปซ่อมห้างได้ แม้ประกันของคุณจะเป็นแบบ "ซ่อมอู่" แต่คุณอาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนต่างเอง หรือหากต้องการเปลี่ยนเป็น "ซ่อมห้าง" อย่างถาวร ควรติดต่อบริษัทประกันเพื่อปรับเปลี่ยนกรมธรรม์และสำรวจค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา