ค่าปรับจราจรคืออะไร ทำไมทำผิดแล้วต้องจ่าย!
ทุกวันนี้มีคนใช้ถนนหนทางกันเป็นจำนวนมากนับล้านคันต่อวัน ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดกฎหมายขึ้นมาเพื่อบังคับผู้ขับขี่ให้ทำตามกฎและสัญลักษณ์จราจร เพื่อให้ใช้ถนนร่วมกันได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งแน่นอนว่าหากใครทำผิดกฎจราจรก็ต้องมีการคาดโทษ ซึ่งก็คือค่าปรับจราจรนั่นเอง โดยที่ตำรวจจราจรจะเป็นผู้ที่ออกใบสั่งให้กับผู้ขับที่กระทำความผิด ส่วนค่าปรับนั้นจะต้องจ่ายโดยอ้างอิงกับการกระทำความผิดนั้น ๆ ยิ่งกระทำความผิดร้ายแรงหรือมีความเสี่ยงอุบัติเหตุสูง ก็มีแนวโน้มที่จะจ่ายค่าปรับจราจรมากขึ้นตามมานั่นเอง
ทั้งนี้การทำความผิดตามกฎจราจรนอกจากจะต้องเสียค่าปรับจราจรแล้ว ผู้ขับยังต้องถูกตัดแต้มตามมาด้วย หากถูกตัดแต้มมากก็จะมีผลต่อการต่อใบขับขี่ด้วยเช่นกันทางที่ดีแล้วเราขอแนะนำว่าให้คุณทำตามกฎหมายจราจรรวมถึงทำตามสัญลักษณ์จราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เสียค่าปรับจราจร (ซึ่งมีแนวโน้มแพงขึ้นทุกวัน ไม่ใช่ว่าจ่ายไป 100-200 แล้วจบเหมือนแต่ก่อนแล้ว) รวมถึงเป็นการสร้างวินัยที่ดีในการขับขี่ และการสร้างความปลอดภัยร่วมกันบนท้องถนนด้วย
อัตราค่าปรับจราจรล่าสุด ผิดแบบไหนต้องจ่ายเท่าไหร่?
เราจะมาอัปเดตอัตราค่าปรับกันให้ทราบ โดยหยิบยกตัวอย่างการกระทำความผิดที่มักพบบ่อย ๆ บนท้องถนนมาเป็นหลัก อยากรู้ว่าผิดเรื่องไหน ผิดสัญลักษณ์จราจร ต้องจ่ายค่าปรับจราจรเท่าไหร่ ติดตามได้ที่นี่
- ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถยนต์ มีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถ ทั้งคนขับและคนนั่งทุกตำแหน่ง มีค่าปรับไม่เกิน 5,000 บาท
- จอดรถยนต์/มอเตอร์ไซค์ บนทางเท้าสาธารณะ มีค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
- ขับรถยนต์/มอเตอร์ไซต์ บนทางเท้าสาธารณะ มีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ขับรถยนต์แซงคันหน้าบริเวณพื้นที่ห้ามแซง (เส้นทึบ) มีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- หยุดรถล้ำเส้นบริเวณสี่แยกไฟแดง มีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- จอดรถยนต์ทับเส้นทางม้าลาย มีค่าปรับจราจรไม่เกิน 500 บาท
- ไม่ได้ให้สัญญาณไฟขณะเปลี่ยนเลนวิ่ง มีค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
- ผ่าสัญญาณจราจร ไฟแดง/ไฟเหลือง มีค่าปรับไม่เกิน 1000 บาท
- กลับรถยนต์ในพื้นที่ห้ามกลับรถ มีค่าปรับจราจรไม่เกิน 1000 บาท
- ขับรถยนต์ในช่องทางพิเศษ เช่น ช่องทางเดินรถเฉพาะรถประจำทาง มีค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
- ฝ่าฝืนเลี้ยวซ้าย/เลี้ยวขวาตรง แยกโดยไม่มีป้ายเลี้ยวผ่านตลอดกำกับ มีค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
- หยุดรถยนต์คร่อมพื้นที่เส้นทแยงเหลือง (พื้นที่บริเวณปากซอย) มีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- หยุดรถทับเส้นทางม้าลาย มีค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
- ขับย้อนศร มีค่าปรับจราจรไม่เกิน 500 บาท
- จอดรถในที่ห้ามจอด และจอดกีดขวางทางจราจร มีค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
และนี่คือค่าปรับจราจรที่นักขับชาวไทยมักกระทำผิดบ่อย ๆ อย่าคิดว่าถ้าตำรวจไม่เห็นก็จะไม่โดนจับปรับ เพราะสมัยนี้ตามท้องถนนส่วนใหญ่มักติดกล้องกันหมดแล้ว คุณจึงมีโอกาสโดนใบสั่งส่งมาถึงบ้านโดยตรง ดังนั้นน้องแคร์ อยากแนะนำนักขับทุกคนว่า ให้กระทำตามกฎหรือสัญลักษณ์จราจรย่อมดีกว่า จะได้ไม่ต้องมา
วุ่นวายจ่ายค่าปรับให้เสียเวลา และหากในอนาคตมีการออกกฎหมายจราจรมากใหม่เราจะมาอัปเดตให้ทุกท่านทราบกันก่อนใคร
หากโดนค่าปรับจราจร เลือกไม่จ่ายได้ไหม?
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าเมื่อมีการทำผิดกฎ/สัญลักษณ์จราจร ก็ต้องมีบทลงโทษเป็นค่าปรับ โดยตำรวจจราจรจะออกใบสั่งและให้ไปเสียค่าปรับตามเวลาที่กำหนด ซึ่งเราขอบอกตั้งแต่ต้นเลยว่าหากโดนค่าปรับจราจรคุณต้องจ่ายเท่านั้น เพราะหากคุณไม่จ่ายค่าปรับจราจรผมที่ตามมาคือคุณจะถูกออกใบเตือนก่อนว่าให้รีบไปชำระค่าปรับภายใน 15 วัน หากคุณยังเพิกเฉยต่อไป การเตือนก็จะรุนแรงขึ้นเป็นการออกหมายเรียกเพื่อให้มาชี้แจงว่าทำไมไม่จ่ายค่าปรับ และถ้าคุณยังคงเพิกเฉยต่อไม่มาตามหมายเรียก 2 ครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควรคุณจะถูกหมายจับตามมา จากโทษแค่จับปรับปกติก็จะกลายเป็นโทษทางอาญาแทน นอกจากนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรก็ทำหนังสือแจ้งต่อไปยังกรมขนส่งให้ระงับการต่อภาษีรถยนต์ของเราด้วย มีแต่เสียกับเสียแบบนี้ทางที่ดีควรจ่ายค่าปรับจราจรแต่แรกย่อมดีกว่าปัญหาจะได้ไม่บานปลาย
ค่าปรับจราจรจ่ายังไง จ่ายช่องทางไหนได้บ้าง?
เมื่อทำผิดสัญลักษณ์จราจรและโดนใบสั่ง ผู้ขับขี่สามารถจ่ายค่าปรับจราจรได้ตามช่องทางดังนี้
- สถานีตำรวจใกล้บ้านคุณ
- เค้าน์เตอร์เซอร์วิสของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
- ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
- เคาน์เตอร์เซอร์วิซ ของ Seven Eleven
- ตู้บุญเติม
- ที่ทำการไปรษณีย์
- จ่ายออนไลน์ผ่านธนาคารกรุงไทย ผ่านแอปพลิเคชัน “Krungthai NEXT”
สรุปแล้วมีช่องทางจ่ายค่าปรับจราจรให้เลือกมากมาย หากทำผิดกฎจราจรและโดนใบสั่งแล้วอย่าลืมไปจ่ายค่าปรับกันด้วยนะ
สุดท้ายนี้แรบบิท แคร์ อยากขอฝากให้ทุกท่านขับขี่อย่างปลอดภัยและทำตามกฎและสัญลักษณ์จราจรอย่างเคร่งครัด จะได้ไม่โดนพี่ ๆ ตำรวจโบกจับเสียค่าปรับจราจร รวมถึงสำรวจตนเองทุกครั้งก่อนขับขี่ว่าประกันรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุหรือยัง ถ้าใกล้หมดแล้วก็อย่าลืมต่อประกันด้วยจะได้มีความคุ้มครองบนท้องถนน เลือกประกันดี ๆ ที่เหมาะสมกับคุณ เลือกใช้บริการแรบบิท แคร์ เพราะเรามีประกันภัยรถยนต์ที่เหมาะกับคุณ พร้อมบริการจัดเต็มให้คุณยิ่งกว่าใคร