รถแต่ง ทำประกันได้ไหม?
สำหรับใครที่เป็นคนไทยหัวใจสายเรสซิ่ง ชื่นชอบทั้งรถยนต์แต่งและรถกระบะแต่งแล้วมีคำถามว่ารถแต่ง ทำประกันได้ไหม? เราขอบอกให้อุ่นใจเลยว่าคุณสามารถทำประกันให้รถแต่งสวยของคุณได้นะ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่กำหนดคือต้องแต่งอย่างถูกกฎหมาย และต้องแจ้งให้บริษัทประกันทราบว่ามีอุปกรณ์ชิ้นส่วนไหนที่แต่งเพิ่มเติมมาจากโรงงานดั้งเดิมบ้าง ซึ่งบริษัทประกันภัยจะขยายความคุ้มครองให้อุปกรณ์ตกแต่งของคุณด้วย หากเกิดอุบัติเหตุแล้วอุปกรณ์ตกแต่งเสียหายก็จะได้รับค่าซ่อมในวงเงินที่กรมธรรม์กำหนด แต่ทั้งนี้ต้องแลกมาด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่ม สรุปแล้วรถแต่ง ทำประกันได้แน่นอน
ทั้งนี้หากคุณนำรถไปแต่งแต่ไม่ได้แจ้งบริษัทประกันไว้ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาเมื่อไหร่ทางบริษัทประกันภัยก็ยังคงได้ความคุ้มครองรถยนต์แต่งของคุณเช่นกัน แต่จะคุ้มครองในส่วนดั้งเดิมที่ออกมาจากโรงงาน ส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่คุณตกแต่งเพิ่ม จะไม่ได้รับความคุ้มครองนั่นเอง ดังนั้นหากมีรถแต่ง ทำประกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าจะได้อุ่นใจไปอีกขั้นจากอุบัติเหตุ
มีบริษัทประกันภัยเจ้าไหนมีแผนประกันคุ้มครองอะไหล่แต่งบ้าง?
ต้องบอกว่าแทบทุกบริษัทประกันภัยเลยที่มีนโยบายให้รถแต่ง ทำประกันได้ เพียงแค่คุณแจ้งให้บริษัทที่คุณทำประกันว่ามีอุปกรณ์รถยนต์แต่งในส่วนไหนบ้าง ทางบริษัทก็จะรับทำประกันคุ้มครองอะไหล่แต่งให้ หรือถ้าจะให้ชัวร์และรวดเร็ว ลองใช้บริการเปรียบเทียบแผนประกันภัยรถยนต์กับแรบบิท แคร์ เพราะเราเป็นโบรกเกอร์ประกันภัยที่รวบรวมแผนประกันรถแต่งและประกันคุ้มครองอะไหล่แต่งไว้ให้คุณมากมาย เปรียบเทียบราคาประกันรถยนต์แต่ง รถกระบะแต่งได้ง่าย เสร็จภายใน 30 วินาที มีรถแต่ง ทำประกันผ่านเราเลยคุ้มค่าราคาไม่แพงแน่นอน
รถยนต์แต่งแบบไหน ที่บริษัทประกันภัยรับทำ?
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่ารถแต่ง ทำประกันได้แน่นอน แต่ต้องถูกต้องถามหลักกฎหมายคือ
- ห้ามรถยนต์แต่งต่อเติมหรือดัดแปลงป้ายทะเบียน เช่น ใส่กรอบสวย แต่งขาดให้ใหญ่และยาวขึ้น เป็นต้น
- ห้ามแต่งสัญญาณไฟเลี้ยวและไฟเบรกจนสีไฟเพี้ยนไปจากมาตรฐาน เช่น เปลี่ยนสีไฟเบรกเป็นสีฟ้า เปลี่ยนสีไฟหน้าเป็นสีแดง เป็นต้น
- ห้ามแต่งสีรถบางส่วนหรือทั้งคันจากสีดั้งเดิม โดยไม่แจ้งขนส่งทางบก
- ห้ามแต่งท่อเสียงดังเดิน 100 เดซิเบล
- ห้ามรถยนต์แต่งโหลดรถต่ำกว่า 50 เซนติเมตร นับจากพื้นดิน หรือสูงเกินกว่า 175 เซนติเมตร นับจากพื้นดิน
รถแต่ง ทำประกันแล้วต้องจ่ายเบี้ยเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน?
คำตอบคือขึ้นกับดุลยพินิจของบริษัทประกันภัย หากคุณมีอุปกรณ์ตกแต่งมากก็มีแนวโน้มจะต้องจ่ายเบี้ยเพิ่มเติมมากขึ้น เพราะทางบริษัทจะต้องออกความคุ้มครองให้ครอบคลุมกับอุปกรณ์รถยนต์แต่งทั้งหมด สำหรับใครที่ทำประกันไปก่อนนำรถยนต์ไปแต่ง คุณสามารถเพิ่มประกันคุ้มครองอะไหล่แต่งได้ โดยให้ไปแจ้งกับบริษัทประกันภัยที่ทำ พร้อมเตรียมหลักฐานคือใบเสร็จอุปกรณ์ตกแต่งรถ พร้อมรูปถ่ายอุปกรณ์แต่งไปให้เพิ่มเติม จากนั้นบริษัทประกันภัยจะคำนวณเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มมาให้ หากคุณโอเคกับข้อเสนอก็ให้จ่ายเบี้ยประกันเพิ่มเติม แล้วทางบริษัทประกันภัยก็จะออกสลักหลังในกรมธรรม์ให้กับผู้เอาประกันภัยสำหรับการคุ้มครองอุปกรณ์รถยนต์แต่งนั่นเอง
โดยส่วนมากแล้วบริษัทจะให้ความคุ้มครองอุปกรณ์ตกแต่งรถในวงเงินชิ้นละประมาณ 20,000 บาท แม้ว่าคุณแต่งรถชิ้นใดชิ้นหนึ่งมาเป็นแสนแต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุและอุปกรณ์แต่งเสียหายขึ้นมาก็จะคุ้มครองในวงเงินที่กำหนดเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น รถกระบะแต่งของคุณแต่งล้อแม็กซ์มาราคา 50,000 บาท คุณจะเคลมค่าซ่อมได้เต็มที่แค่ 20,000 เป็นต้น
ตัวอย่างอุปกรณ์รถแต่ง ทำประกันได้ ให้ความคุ้มครอง
ยกตัวอย่างอุปกรณ์ตกแต่งที่คนทั่วไปนิยมแต่งกันและยังสามารถทำประกันภัยได้ดังนี้
1. แต่งล้อรถ
ตรงส่วนของล้อรถยนต์ สามารถแต่งได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นล้อแม็กซ์ ยางรถยนต์ สีเบรก ซึ่งการเลือกอุปกรณ์แต่งรถในส่วนของการเลือกยางรถยนต์ จะต้องคำนึงถึงขนาดที่ถูกกฎหมาย ล้อรถด้านท้ายจะยื่นออกมาจากตัวถังรถได้ไม่เกิน 15 เซนติเมตร ขอบยางด้านนอกสุดห้ามยื่นออกมาเกินตัวถังรถ และต้องไม่ทำให้ขีดความสามารถในการรับน้ำหนักของยางน้อยไปกว่าเดิม มาตรวัดความเร็วของรถมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10% ส่วนล้อแม็กซ์และสีของเบรก ก็เลือกให้เข้ากับดีไซน์ของรถคุณได้เลย ส่วนค่าใช้จ่ายในการแต่งล้อรถหากเลือกยกเครื่องทั้งหมดก็จะอยู่ที่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น นอกจากนี้หากทำอย่างถูกกฎหมายแล้วล้อรถแต่ง ทำประกันได้ด้วย มีความคุ้มครองตามวงเงินที่กรรมธรรม์กำหนด
2. แต่งรถด้วยคาร์บอนไฟเบอร์
รถหลายคันหันมาแต่งรถด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ นอกจากจะเป็นวัสดุอุปกรณ์แต่งรถที่ให้คุณได้มากกว่าความสวย คาร์บอนไฟเบอร์ยังช่วยให้รถมีน้ำหนักลดลงถึง 10 % เมื่อน้ำหนักของรถยนต์ลดลงก็จะทำให้รถประหยัดน้ำมันได้เพิ่ม 4-5% แต่ประโยชน์ของคาร์บอนไฟเบอร์ยังไม่หมดแค่นั้น ส่วนมากเรามักจะแต่งรถในส่วนของฝากระโปรงหน้าให้เป็นฝากระโปรงที่ทำจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ จะช่วยต้านทานการชนได้ดีกว่าฝากระโปรงวัสดุอื่น ๆ สามารถดูดซับแรงกระแทกได้ดีถึง 50 % ช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นในห้องโดยสารได้ ซึ่งข้อควรระวังในการแต่งรถด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ หากแต่งรถด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ที่เป็นสีเดียวกับตัวรถ ก็จะไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเรียกว่าเป็นอุปกรณ์รถแต่ง ทำประกันได้ ส่วนราคาอะไหล่คาร์บอนไฟเบอร์จะอยู่ที่หลักพันปลาย ๆ ไปจนถึงหมื่นต้น ๆ
3. แต่งท่อรถยนต์
ใครที่อยากให้รถดูเท่และดุดันขึ้น ให้มาดูการแต่งท่อรถยนต์ เพราะจะทำให้รถของคุณดูเป็นรถซิ่งโดยใช้งบอยู่ที่แค่หลักร้อยไปจนถึงหลักพันเท่านั้น ให้อารมณ์เหมือนขับรถแข่งในสนาม ซึ่งการแต่งท่อไอเสียรถคุณจะต้องแจ้งทางบริษัทประกันด้วย เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองของประกันภัย แต่ต้องพึงระวังว่าห้ามให้ท่อดังเกินกว่า 90 เดซิเบล ไม่เช่นนั้นประกันจะไม่ให้ความคุ้มครอง
4. เปลี่ยนเบาะรถยนต์
ดูการแต่งรถภายนอกไปแล้ว มาดูในส่วนของห้องโดยสารกันบ้าง ส่วนมากในห้องโดยสารมักจะเปลี่ยนเบาะรถยนต์กัน เปลี่ยนจากเบาะเดิมที่มากับรถให้เหมือนรถแข่งมากขึ้น ส่วนบางคนอาจเอารถไปถอดเบาะหลังออก แล้วติดโรลบาร์แทน อันนี้จะไม่สามารถทำได้ เพราะการถอดเบาะออกจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อุปกรณ์ที่อยู่ในห้องโดยสารจะต้องอยู่อย่างครบถ้วน ส่วนการเปลี่ยนเบาะให้มีที่รัดเข็มขัดนิรภัย 4 จุดแบบรถแข่งจะไม่ถือว่าผิดกฎหมาย ตราบใดที่คุณยังคาดเข็มขัดครบถ้วนทุกจุด งบในการเปลี่ยนเบาะจะอยู่ที่หลักพันปลาย ๆ ไปจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับวัสดุของเบาะ แต่ถ้าอยากประหยัดงบไม่อยากเปลี่ยนเบาะ ให้เลือกเป็นการใช้ผ้าหุ้มเบาะแทนก็จะช่วยประหยัดงบได้ขึ้นมาแค่หลักร้อย-หลักพันเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รถแต่ง ทำประกันได้อื่น ๆ เช่น การแต่งตัวถังรถยนต์ การเพิ่มสปอยเลอร์, การติดฟีล์มกระจกรถยนต์, การติดกระจังหน้ารถยนต์เพิ่มเติม, การติดตั้งหลังคาบรรทุกของ, การติดตั้งแก๊ส, การติดสติกเกอร์รถ, การติดสเกิร์ตรถยนต์ และการติดตั้งเครื่อง เป็นต้น ส่วนเรื่องการเบิกเคลมอุปกรณ์ตกแต่งนั้น หากรถยนต์แต่งหรือรถกระบะแต่งแสนรักของคุณเกิดอุบัติเหตุขั้นมา คุณสามารถทำรถยนต์ไปซ่อมอู่ในเครือหรือซ่อมศูนย์ได้ตามปกติ เมื่อรถยนต์ซ่อมเสร็จแล้วก็ให้นำใบเสร็จมาทำเรื่องเบิกเคลมค่าซ่อมกับทางบริษัทประกันภัยได้เลย
รถแต่ง ทำประกันชั้นไหนดี?
รถยนต์แต่งสามารถเลือกทำประกันรถยนต์ได้ทุกชั้นแต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราก็ขอแนะนำให้คุณทำประกันชั้น 1 เนื่องจากอุปกรณ์และอะไหล่แต่งรถยนต์ส่วนมากมีราคาแพง รวมถึงผู้แต่งเองก็คงรักและหวงแหนอุปกรณ์ที่ตนเก็บเงินแต่งมาแบบสุด ๆ หากของที่แต่งมาได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือถูกขโมยไปย่อมสะเทือนทั้งเงินในกระเป๋าและสภาพจิตใจเป็นแน่ ดังนั้นการทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองครบจากการเกิดอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี อุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี อุปกรณ์ตกแต่งหาย รถไฟไหม้ น้ำท่วม ย่อมดีกับรถยนต์แต่งที่สุดนั่นเอง
การแต่งรถยนต์เสร็จทุกครั้งคุณควรแจ้งรายละเอียดอุปกรณ์ตกแต่งให้บริษัทประกันทราบทันที เพื่อให้บริษัทประกันคิดเบี้ยประกันเพิ่มเติมและออกสลักหลังเพิ่มความคุ้มครองไปยังอุปกรณ์ตกแต่งที่เราทำมา แม้ว่าเบี้ยประกันจะเพิ่มขึ้นแต่เราก็แนะนำให้คุณแจ้งบริษัทประกันไว้เพราะถ้าไม่แจ้งและเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา คุณจะไม่ได้เงินค่าซ่อมในส่วนอุปกรณ์ตกแต่ง (แต่อุปกรณ์เดิมที่ออกมาจากโรงงานยังคุ้มครองอยู่) และต้องจำไว้ว่าอุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ จะมีวงเงินคุ้มครองอยู่ หากเกิดวงเงินคุ้มครองคุณก็ต้องจ่ายค่าซ่อมเองในส่วนที่เหลือ
สุดท้ายแล้วหากคุณยังไม่แน่ใจว่ารถแต่ง ทำประกันแบบไหนดี ลองติดต่อมาหาเราแรบบิท แคร์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเราจะให้คำปรึกษาพร้อมแนะนำประกันที่เหมาะสมสำหรับรถยนต์แต่งให้คุณเอง
อุปกรณ์รถแต่ง ทำประกันไว้ หากเกิดอุบัติเหตุจะสามารถเคลมได้หรือไม่?
สามารถเคลมได้ตามวงเงินที่กรมธรรม์ระบุไว้ ซึ่งการทำประกันภัยรถแต่งนั้น เจ้าของรถจะต้องแจ้งบริษัทประกันภัยให้ทราบก่อนว่านำรถไปตกแต่งในส่วนใดมา โดนบริษัทประกันจะพิจารณาว่าอุปกรณ์รถที่คุณแต่งมานั้นเข้าเงื่อนไขคุ้มครองอุปกรณ์รถแต่งหรือไม่ หากเข้าเงื่อนไขทางประกันก็จะออกความคุ้มครองเพิ่มเติมให้ แต่ก็จะมีการจำกัดวงเงินคุ้มครองเช่นกัน ทั้งนี้ต้องระวังว่าอุปกรณ์การแต่งรถนั้นจะต้องเป็นการตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงามและสมรรถภาพของยานยนต์เท่านั้น แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งที่ใช้แข่งขันทำความเร็วหรือมีแนวโน้มผิดกฏหมาย ประกันก็จะไม่ให้ความคุ้มครองเลย เช่น การดัดแปลงเครื่องยนต์ให้แรงขึ้น, การโหลดรถต่ำกว่า 40 ซ.ม., การดัดแปลงสีของไฟสัญญาณรถ, การแต่งป้ายทะเบียน เป็นต้น
ดัดแปลงสภาพรถแบบไหนบ้างที่ต้องขออนุญาต
การแก้ไขดัดแปลงสภาพรถที่ต้องแจ้งขออนุญาตต่อนายทะเบียน หมายถึงการเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่ได้จดทะเบียนไว้ ดังนี้
- เปลี่ยนเครื่องยนต์
- เปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง
- ดัดแปลงตัวถังรถ
- ดัดแปลงระบบรองรับน้ำหนักและระบบกันสะเทือน (เช่น เสริมแหนบ โหลดเตี้ย ยกสูง เปลี่ยนถุงลมเป็นสปริง หรือสปริงเป็นถุงลม)
- ติดตั้งโครงหลังคาหรือโครงเหล็กด้านข้างรถ
- ฝาปิดด้านท้ายติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงเพื่อยกสิ่งของ
- ดัดแปลงระบบบังคับเลี้ยวหรือระบบขับเคลื่อน
- เปลี่ยนสีรถ
หากมีการแก้ไขดัดแปลงตามรายการข้างต้น จำเป็นต้องแจ้งขออนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
ดัดแปลงสภาพรถแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องขออนุญาต
การดัดแปลงสภาพรถที่ไม่ต้องแจ้งขออนุญาตหมายถึงการติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ไม่ส่งผลให้สภาพรถเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ หากขนาดและตำแหน่งของการติดตั้งเหมาะสม และมีความแข็งแรงปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของผู้อื่น เช่น
- แร็คหลังคา
- โรลบาร์
- กันชน
- สปอยเลอร์
- พื้นรองกระบะ
ดัดแปลงสภาพรถ ปรับเท่าไร ถ้าไม่ขออนุญาต
การดัดแปลงสภาพรถโดยไม่ขออนุญาต อาจถูกปรับตามกฎหมายจราจรหรือข้อบังคับของแต่ละประเทศ ในกรณีของประเทศไทย หากมีการดัดแปลงสภาพรถโดยไม่แจ้งขออนุญาต มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522
แจ้งดัดแปลงตัวรถยนต์ ต้องทำอย่างไรบ้าง
การแจ้งขออนุญาตดัดแปลงสภาพรถยนต์สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ ขออนุญาตก่อนการดัดแปลงสภาพรถ ในกรณีที่การดัดแปลงกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย เช่น โครงแชสซีส์ ตัวถัง ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกันสะเทือน และช่วงล้อ และขออนุญาตหลังจากการดัดแปลงสภาพรถ โดยทั้งสองแบบมีขั้นตอนการดำเนินการแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนตรวจสภาพรถและส่วนของงานทะเบียน ดังนี้:
1. ขออนุญาตก่อนการดัดแปลงสภาพรถ
ส่วนตรวจสภาพรถ:
1. เตรียมเอกสารที่จำเป็นได้แก่:
- บัตรประจำตัวประชาชน
- เล่มทะเบียนรถยนต์ (สมุดคู่มือจดทะเบียน)
- แผนผังหรือรายละเอียดการดัดแปลงสภาพรถ
2. นำรถเข้าตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.):
เจ้าหน้าที่จะตรวจสภาพรถเบื้องต้นเพื่อประเมินว่าการดัดแปลงสภาพที่จะทำมีความเหมาะสมและปลอดภัย
ส่วนของงานทะเบียน:
3. ยื่นคำขอที่สำนักงานขนส่ง:
นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นคำขอแจ้งการดัดแปลงที่สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนอยู่
4. รอการอนุมัติ:
รอการพิจารณาและอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ หากไม่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงแข็งแรงจะให้ยื่นขออนุญาตใช้รถ โดยจะมีการตรวจสอบเอกสารและตรวจสภาพรถอีกครั้ง เพื่อยื่นขอแก้ไขรายละเอียดในการจดทะเบียน (ลงเล่ม) ในส่วนของงานทะเบียนต่อไป
2. ขออนุญาตหลังการดัดแปลงสภาพรถ
ส่วนตรวจสภาพรถ:
1. เตรียมเอกสารที่จำเป็น:
- บัตรประจำตัวประชาชน
- เล่มทะเบียนรถยนต์ (สมุดคู่มือจดทะเบียน)
- เอกสารหลักฐานการดัดแปลง (เช่น ใบเสร็จหรือใบรับรองจากศูนย์บริการที่ทำการดัดแปลง)
2. นำรถเข้าตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.):
เจ้าหน้าที่จะตรวจสภาพรถเพื่อรับรองว่าการดัดแปลงที่ทำแล้วมีความเหมาะสมและปลอดภัย หากผ่านการตรวจสอบจะทำการบันทึกข้อมูลการตรวจสภาพรถ เพื่อยื่นขอแก้ไขรายละเอียดในการจดทะเบียน (ลงเล่ม) ในส่วนของงานทะเบียนต่อไป แต่ถ้าหากไม่ผ่านการตรวจสอบจะมีการแจ้งข้อบกพร่องและคืนเรื่อง
ส่วนของงานทะเบียน:
3. ยื่นคำขอที่สำนักงานขนส่ง:
นำรถและเอกสารทั้งหมดไปยื่นคำขอแจ้งการดัดแปลงที่สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนอยู่
4. จ่ายค่าธรรมเนียม:
ชำระค่าธรรมเนียมการแจ้งดัดแปลงตามที่กำหนด
5. รับใบรับรองการดัดแปลง:
หลังจากตรวจสอบและยืนยันการดัดแปลงเรียบร้อยแล้ว จะได้รับใบรับรองการดัดแปลงจากสำนักงานขนส่ง
แจ้งดัดแปลงสภาพรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
การแจ้งดัดแปลงสภาพรถหรือการขออนุญาตใช้รถที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ต้องยื่นใบคำขอแก้ไขรายการในทะเบียนรถพร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้:
- บัตรประชาชนของเจ้าของรถ
- ในกรณีเป็นนิติบุคคล ต้องใช้หนังสือรับรองนิติบุคคล เอกสารประจำตัวของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม หนังสือมอบอำนาจ และเอกสารประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- เล่มทะเบียนตัวจริง
- รายละเอียดการแก้ไขเพิ่มเติมหรือดัดแปลง
- หลักฐานการได้มาของชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่นำมาเปลี่ยนและเอกสารอื่น ๆ เช่น ใบรับรองการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ ใบเสร็จรับเงินค่าเครื่องยนต์ อุปกรณ์ต่าง ๆ และใบเสร็จรับเงินค่าทำสีและค่าดัดแปลงรถ
รถแต่ง รถดัดแปลง คืออะไร มีกี่ประเภท
รถแต่งคือรถยนต์ที่ผ่านการปรับแต่งหรือดัดแปลงจากรูปแบบเดิมที่ออกมาจากโรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่หรือปรับเปลี่ยนลักษณะภายนอกและภายในให้สวยงามหรือโดดเด่นขึ้น การแต่งรถนั้นมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการและความชอบของเจ้าของรถ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้เป็น:
- รถแต่งเครื่องยนต์ (Performance Tuning) : เน้นการปรับปรุงเครื่องยนต์ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น เช่น การเปลี่ยนกรองอากาศ ท่อไอเสีย ระบบระบายความร้อน หรือการติดตั้งเทอร์โบชาร์จ
- รถแต่งช่วงล่าง (Suspension Tuning) : ปรับปรุงระบบช่วงล่างให้ขับขี่ได้ดีขึ้นและควบคุมได้ง่าย เช่น การเปลี่ยนโช้คอัพ สปริง และเบรก
- รถแต่งภายนอก (Exterior Tuning) : เปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของรถให้สวยงามและโดดเด่น เช่น การติดสเกิร์ต สปอยเลอร์ กันชน หรือการหุ้มฟิล์ม
- รถแต่งภายใน (Interior Tuning) : ปรับปรุงลักษณะภายในรถให้สวยงามและมีความสะดวกสบายมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนเบาะ แผงคอนโซล หรือการติดตั้งเครื่องเสียง
- รถแต่งเพื่อการแข่ง (Racing Tuning) : ปรับปรุงรถเพื่อใช้ในการแข่งขันรถยนต์ ซึ่งรวมถึงการแต่งเครื่องยนต์ ช่วงล่าง และการลดน้ำหนักรถเพื่อให้มีความเร็วและความคล่องตัวสูงสุด
ทุกประเภทของการแต่งรถนั้นมีจุดประสงค์และวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการและสไตล์ของเจ้าของรถ
ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนลักษณะรถประมาณเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนลักษณะรถหรือแต่งรถนั้นจะแตกต่างกันไปตามประเภทของการแต่งและความซับซ้อนของการปรับแต่ง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้:
1. การปรับแต่งเครื่องยนต์ (Performance Tuning)
ค่าใช้จ่ายสามารถเริ่มต้นตั้งแต่หลักพันถึงหลักแสนบาท ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยน เช่น การเปลี่ยนกรองอากาศ (ประมาณ 2,000-10,000 บาท) หรือการติดตั้งเทอร์โบชาร์จ (ประมาณ 50,000-200,000 บาท)
2. การปรับแต่งช่วงล่าง (Suspension Tuning)
ค่าใช้จ่ายสำหรับการเปลี่ยนโช้คอัพและสปริงอาจอยู่ที่ประมาณ 10,000-50,000 บาท ในขณะที่การเปลี่ยนระบบเบรกอาจมีราคาประมาณ 20,000-100,000 บาท
3. การปรับแต่งภายนอก (Exterior Tuning)
การติดตั้งสเกิร์ต สปอยเลอร์ หรือกันชนใหม่อาจมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 5,000-30,000 บาท ส่วนการหุ้มฟิล์มหรือการทำสีใหม่อาจมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพและวัสดุที่ใช้
4. การปรับแต่งภายใน (Interior Tuning)
การเปลี่ยนเบาะหรือหุ้มหนังใหม่อาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000-50,000 บาท การติดตั้งเครื่องเสียงหรือระบบความบันเทิงใหม่อาจมีราคาตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท
5. การปรับแต่งเพื่อการแข่ง (Racing Tuning)
ค่าใช้จ่ายจะสูงมากขึ้น เนื่องจากต้องมีการปรับปรุงทั้งระบบ เช่น การลดน้ำหนักรถ การติดตั้งระบบความปลอดภัย ซึ่งค่าใช้จ่ายอาจอยู่ที่หลักแสนถึงหลักล้านบาท
การแต่งรถนั้นมีค่าใช้จ่ายที่หลากหลายตามประเภทและระดับความซับซ้อนของการปรับแต่ง ดังนั้นควรวางแผนและศึกษาข้อมูลให้ดีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการและงบประมาณของคุณ
รถแต่ง รถดัดแปลง ต่อทะเบียนได้หรือไม่
การแต่งรถหรือดัดแปลงรถสามารถทำได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของกรมการขนส่งทางบก เพื่อให้รถที่แต่งหรือดัดแปลงสามารถต่อทะเบียนได้อย่างถูกต้อง ดังนี้:
- การแต่งเครื่องยนต์ : หากมีการดัดแปลงเครื่องยนต์ เช่น การเพิ่มขนาดหรือเปลี่ยนประเภทเครื่องยนต์ จำเป็นต้องแจ้งและขออนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก การเปลี่ยนเครื่องยนต์โดยไม่แจ้งอาจทำให้ไม่สามารถต่อทะเบียนได้
- การเปลี่ยนแปลงช่วงล่าง : การปรับเปลี่ยนช่วงล่าง เช่น การเปลี่ยนโช้คอัพหรือสปริง หากไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักของรถ ก็สามารถทำได้ แต่ควรตรวจสอบกับกรมการขนส่งทางบกว่าต้องขออนุญาตเพิ่มเติมหรือไม่
- การแต่งภายนอก : การติดตั้งสเกิร์ต สปอยเลอร์ หรือการหุ้มฟิล์ม ไม่ต้องขออนุญาตหากไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักของรถ แต่หากการแต่งทำให้รถมีขนาดใหญ่หรือหนักขึ้น อาจต้องขออนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
- การแต่งภายใน : การปรับปรุงภายในรถ เช่น การเปลี่ยนเบาะหรือการติดตั้งเครื่องเสียง ไม่ต้องขออนุญาต หากไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักของรถ
- การดัดแปลงเพื่อการแข่ง : การดัดแปลงเพื่อใช้ในการแข่งขัน เช่น การติดตั้งกรอบเหล็กนิรภัย ต้องขออนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักของรถ
หากมีการดัดแปลงใดๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้แจ้งต่อกรมการขนส่งทางบก อาจทำให้ไม่สามารถต่อทะเบียนได้ หรืออาจถูกปรับหากพบว่าไม่เป็นไปตามข้อบังคับ ดังนั้น การตรวจสอบและปฏิบัติตามกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญในการแต่งรถและการดัดแปลงรถ
ความคุ้มครองประกันรถยนต์
ตารางความคุ้มครอง | ผลประโยชน์ | ||||
ประกันรถยนต์ ชั้น 1 | ประกันรถยนต์ ชั้น 2+ | ประกันรถยนต์ ชั้น 2 | ประกันรถยนต์ ชั้น 3+ | ประกันรถยนต์ ชั้น 3 | |
คู่กรณี | |||||
บุคคล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
ทรัพย์สินของคู่กรณี | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
รถของผู้เอาประกันภัย | |||||
การชนแบบมีคู่กรณี | ✔️ | ✔️ | ❌ | ✔️ | ❌ |
การชนแบบไม่มีคู่กรณี | ✔️ | ❌ | ❌ | ❌ | ❌ |
ไฟไหม้ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ |
รถหาย | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ |
ภัยธรรมชาติ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ✔️ | ❌ |
ช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ | ❌ |
ความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุส่วนบุคคล | |||||
อุบัติเหตุส่วนบุคคล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
การรักษาพยาบาล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
การประกันตัวผู้ขับขี่ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
หมายเหตุ
- ความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติ สำหรับประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+ ขึ้นอยู่กับแพคเกจประกันรถยนต์ของบริษัทนั้น ๆ
- ให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง จำกัดเฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคล อายุรถไม่เกิน 15 ปี เท่านั้น