แคร์สุขภาพ

Perfectionist เมื่อความสมบูรณ์แบบ “เกินไป” เป็นผลร้ายต่อตัวเอง

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
 
 
Published: July 11,2023

Perfectionist” (เพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์) หรือคนที่หลงใหลในความสมบูรณ์แบบ ฟังดูแล้วก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าความเพอร์เฟคหรือความสมบูรณ์แบบย่อมส่งผลดีต่อสิ่งที่ทำอยู่อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ก็ตาม แต่อะไรที่มากเกินความพอดีย่อมมีผลเสียเหมือนกัน Perfectionist จึงไม่ได้มีแต่ด้านดีเพียงอย่างเดียว วันนี้น้องแคร์จะขอพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกันว่า Perfectionist คืออะไร มีผลอย่างไรกับชีวิตเราบ้าง และอีกหลากหลายเรื่องราวสำคัญเกี่ยวกับ Perfectionist ที่เพื่อน ๆ ไม่ควรพลาด

Perfectionist คืออะไร?

Perfectionist คือ คำที่นำไว้ใช้เรียกบุคคลที่แสวงหาความสมบูรณ์แบบขั้นสุดอย่างไร้ที่ติ Perfectionist มักจะปฏิเสธต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ไร้มาตราฐาน ขาดความสมบูรณ์แบบ จึงทำให้เหล่าเพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์มักจะมีความต้องการให้งานหรือผลลัพธ์ของพวกเขามีคุณภาพสูงสุด

Perfectionist จากความหมายที่กล่าวมาด้านต้นก็ดูเป็นเรื่องในเชิงบวก ใคร ๆ ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็หวังที่จะให้สิ่งที่ตัวเองทำลงไปเกิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่อะไรที่มากเกินความพอดีย่อมเกิดผลเสียที่ตามมา การเป็น Perfectionist ก็เช่นเดียวกัน  ด้วยลักษณะนิสัยที่ยึดติดกับคำว่าสมบูรณ์แบบในระดับเกินปกติ จนในบางครั้งต้องการผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบที่เกินความเป็นจริงนี้เอง ที่มักจะนำไปสู่ความเครียดและผลกระทบต่อตัวเองและคนรอบข้าง

ประเภทของ Perfectionist

จากผลการศึกษาและการสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้นักผู้เชี่ยวชาญได้ทำการแบ่งลักษณะหลัก ๆ ของคนที่เป็น Perfectionist (เพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์) ออกมาด้วยกัน 3 รูปแบบ เพื่อที่จะทำให้เราได้เข้าใจกับกลุ่มคนที่เป็น Perfectionist มากขึ้น

1. Self-oriented Perfectionism

สำหรับ Perfectionist ในกลุ่มแรกนี้เป็นเพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์ที่ตั้งมาตราฐานในเรื่องของความสมบูรณ์แบบกับตัวเองเป็นหลัก มักจะตั้งเป้าหมายของชีวิตในเรื่องต่าง ๆ ด้วยความคาดหวังที่สูง ซึ่งในประเภทนี้จะไม่ได้คาดหวังให้คนอื่นทั่วไปมีความสมบูรณ์แบบไร้ที่่ติดเหมือนกับตัวเอง

2. Other-oriented Perfectionism

ส่วน Perfectionist ประเภทนี้คือเพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์ที่คาดหวังให้ให้คนอื่น ๆ รอบตัวของตัวเองมีความสมบูรณ์แบบไร้ที่ติ ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท คนรัก หรือเพื่อนร่วมงาน โดยการเป็น Perfectionist ในรูปแบบนี้มักจะสร้างปัญหา รวมถึงสร้างความกดดันให้กับกลุ่มคนที่ถูกคาดหวังเป็นอย่างมาก

3. Socially Prescribed Perfectionism

ในส่วนของ Perfectionist ประเภทสุดท้ายก็คือชาวเพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์ที่เชื่อว่าหากตัวเองเป็นคนที่มีสมบูรณ์แบบอย่างไร้ที่ติ ตามความคาดหวังหรือมาตราฐานของสังคม จะได้รับความยอมรับจากสังคมนั่นเอง

Perfectionist อาการเป็นอย่างไร? เช็กลิสต์ว่าตัวเองเข้าข่ายหรือไม่

สำหรับใครที่สงสัยว่า Perfectionist อาการเป็นอย่างไร หรือสงสัยว่าตัวเองอยู่ในข่ายที่ชื่นชอบความสมบูรณ์แบบหรือไม่ น้องแคร์ได้ทำการรวบรวมลักษณะนิสัยต่าง ๆ ของการเป็นเพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์ซึ่งทุกคนสามารถนำเอาลิสต์นี้ไปเช็กตัวเองได้ ไปดูกันว่า Perfectionist อาการมีอะไรบ้าง

  • เป็นคนที่มีเป้าหมายชัดเจนและมีเป้าหมายในทุก ๆ เรื่องที่ทำ
  • เป้าหมายที่ตั้งมีมาตราฐานสูง จนในบางครั้งอาจสูงเกินความเป็นจริง 
  • ทำตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้อย่างไม่ลดละ ยอมทำงานหนักแบบสุดโต่ง ซึ่งถ้าไม่สามารถทำได้ตามเป้าที่วางไว้จะรู้ผิดหวังและล้มเหลวอย่างมาก
  • หากเจอความผิดพลาดหรือความล้มเหลว มักจะลดคุณค่าในตัวเอง
  • หมกมุ่นกับงานหรือสิ่งที่ทำ โดยมุ่งหวังให้ผลลัพธ์ที่ได้มีความสมบูรณ์ที่สุด
  • ชาว Perfectionist จะเข้มงวดกับตัวเองเป็นอย่างมาก
  • คนที่เป็น Perfectionist มักจะไม่เชื่อมั่นในการทำงานของผู้อื่น และจะหาจุดบกพร่องในสิ่งที่ผู้อื่นทำ
  • มักจะรู้สึกไม่สบายใจ หงุดหงิด หรืออารมณ์เสียง่าย เมื่อไม่เป็นไปดั่งใจ
  • ชอบในสิ่งที่คาดคะเนได้ล่วงหน้า

และนี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของลักษณะนิสัยรวมไปถึงอาการของคนที่เป็น Perfectionist ที่พบเห็นได้ง่ายเท่านั้น

การเป็น Perfectionist มีผลเสียอะไรบ้าง

อย่างที่เราบอกไปว่าการเป็น Perfectionist ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่แย่หรือร้ายแรงอะไรกลับกันย่อมเป็นผลดีต่อสิ่งที่ทำอยู่ เพราะชาวเพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์ที่หลงใหลในความ “เป๊ะ” หรือ “สมบูรณ์แบบ” ย่อมที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่ดีออกมาอยู่เสมอ แต่การที่เป็น Perfectionist ในแบบที่ “เกิน” ความพอดีย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดีอย่างแน่นอน ซึ่งเราได้รวบรวมผลในแง่ลบของการเป็นเพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์ไว้ ณ ที่นี่แล้ว

1. เสี่ยงกับการเป็น Perfectly Hidden Depression (PHD)

สำหรับชาว Perfectionist ที่่ต้องการผลลัพธ์แบบไร้ที่ติแน่นอนว่าต้องแบกรับความกดดันต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาไม่ว่าจะเป็นจากทั้งตัวเองและรอบข้าง ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการอย่าง Perfectly Hidden Depression หรือกลุ่มอาการซึมเศร้าจากการเสพติดความสมบูรณ์แบบนั่นเอง

2. เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา

นอกจากการเป็น Perfectionist อาจจะเสี่ยงที่จะเป็น Perfectly Hidden Depression (PHD) ได้แล้ว ยังมีหลากกลุ่มอาการที่อาจเกิดขึ้นได้หากเราหมุกมุ่นอยู่กับสมบูรณ์แบบมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นโรคนอนไม่หลับ, โรควิตกกังวล, ภาวะเครียดเรื้อรัง, พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ ไปจนถึงอาการโรคย้ำคิดย้ำทำ ( OCPD)

3. สร้างความอึดอัดให้กับคนรอบข้าง

เป็นผลกระทบจากการเป็นเพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์ที่เกิดขึ้นกับคนรอบตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นคนที่เราคาดหวังว่าจะต้องเป็นคนที่ความเพอร์เฟกต์ ซึ่งจริง ๆ แล้วคน ๆ นั้นอาจจะไม่ได้ต้องการเป็นอย่างนั้นก็ได้

หรือในกรณีเพื่อนร่วมงานที่ต้องทำงานร่วมกับเหล่า Perfectionist ที่จะต้องทำงานออกมาได้อย่างถูกต้อง ไร้ที่ติ เพื่อให้เกิดความพอใจนั่นเอง ซึ่งเหล่านี้ล้วนก็ให้เกิดความอึดอัดกับคนที่อยู่รวบตัวเพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์เป็นอย่างมาก

วิธีการแก้การเป็น Perfectionist หรือลดอาการให้น้อยลง

สำหรับการเป็น Perfectionist แน่นอนว่าย่อมเจอกับความกดดันที่มาจากทั้งตัวเองและคนรอบข้าง รวมถึงผลกระทบด้านลบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เราจึงมีแนวทางแก้การเป็น Perfectionist หรือลดอาการให้น้อยลงเพื่อให้เพื่อน ๆ ได้นับไปปรับใช้กันดู โดบแยกออกมาเป็นข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ปรับความคิดและยอมรับความโลกนี้ไม่มีอะไรที่ Perfect 100%
  • ลดแรงกดดันและให้ความเคารพตัวเอง
  • กำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้
  • ฝึกความคิดในเชิงสร้างสรรค์
  • มองหาคุณค่าแม้กับสิ่งเล็ก ๆ ในชีวิต
  • ไม่คิดลบ มองหาเรื่องบวกในแง่มุมชีวิต
  • ลดความคาดหวังกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตลง
  • นั่งสมาธิ ทบทวนความคิดกับตนเอง
  • หากิจกรรมยามว่าง หรือสิ่งที่ชอบ
  • พักผ่อนให้มาก ๆ 
  • Take Course การบำบัดอาการ Perfectionist

Perfectionist ไม่ใช้เรื่องที่แย่ถ้าอยู่ในระดับที่พอดี และไม่ทำให้คนรอบข้างเดือดร้อน เพราะว่าผลลัทพ์ที่ได้ย่อมมีความพิเศษหรือดีกว่าคนอื่นอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเป็นคน Perfectionist จนเกินไปและเริ่มส่งผลเสียต่อทั้งต่อเอง และคนรอบข้าง ลองใช้วิธีที่เราแนะนำเพื่อลดอาการหรือนิสัย Perfectionist ลง

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

โดยที่หลาย ๆ แนวทางต้องยอมรับว่าต้องใช้เงินเป็นส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมผ่อนคลายไปจนถึงเข้ารับการบำบัด เราขอแนะนำให้ชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วยบัตรเครดิตเพราะว่าจะได้รับสิทธิพิเศษหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นส่วนลดน้ำมัน ส่วนลดค่าที่พัก สะสมไมล์เดินทาง หรือว่าจะรับเป็นแคชแบ็คก็ได้ หากเพื่อ ๆ สนใจสมัครบัตรเครดิตแล้วก็สามารถมาสมัครง่าย ๆ กับเราได้ที่ แรบบิท แคร์ กันได้เลย เพราะเรามีบัตรหลากหลายรูปแบบ ที่สามารถตอบสนองได้กับทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต


 

บทความแคร์สุขภาพ

แคร์สุขภาพ

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
Nok Srihong
25/04/2024

แคร์สุขภาพ

แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
Nok Srihong
22/04/2024