สงสัยไหม ทำไมต้องวัยเบญจเพส? แก้เคล็ดอย่างไรให้ร้ายเป็นดี!
สงสัยกันไหมว่า ทำไมเมื่อใกล้อายุ 25 ปี ถึงมีหลายคนทักว่าให้ระวังเรื่องวัยเบญจเพส? แล้ววัยเบญจเพสคืออะไร จำเป็นต้องเฉพาะช่วงอายุ 25 ปี จริงหรือ? มีอะไรต้องระวังบ้าง? มีวิธีแก้ร้ายให้เป็นวัยเพญจเพสที่ดีได้ไหม? ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กับ แรบบิท แคร์ กันดีกว่า!
วัยเบญจเพส คืออะไร? ทำไมถึงมีคนบอกว่ามีหลายเบญจเพส?
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก และเข้าใจให้มากขึ้น กับสิ่งที่เรียกว่า “วัยเบญจเพส” กันดีกว่า! พื้นฐานแล้ว แม้คำว่าวัยเบญจเพสมาจาก “เบญจ” ที่แปลว่าห้า และคำว่า “เพส” ที่แปลว่า 20 ทำให้โหราศาสตร์มองว่า วัย 25 ปี เป็นปีที่ยมบาลหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะคอยดูสิ่งที่เราได้ทำไว้ และสิ่งต่าง ๆ จะเข้าถึงฝ่ายโชคและเคราะห์อันแรงกล้า
ทั้งนี้ หากดวงตกเทวะก็ได้ลาภยศ หากดวงตกมนุษย์ก็ปานกลางไม่ดีไม่ร้าย หากดวงตกเดรัจฉานก็ป่วยหนัก หากดวงตกเปรตก็ถึงตาย หากดวงตกอสุรกายก็อาจพิกลพิการ หมายความว่า วัยเบญจเพสของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ถ้าไม่แย่ไปเลย ก็อาจพลิกชีวิตจากร้ายกลายเป็นดีเลยก็ได้
สรุปแล้ว ในแง่ของโหราศาสตร์ เป็นปีที่เต็มไปด้วยเคราะห์กรรมจะสำแดงผล ขึ้นอยู่กับดวงชะตาของบุคคลนั้น ๆ ว่าแต่เดิมเคยมีกรรมเก่าใดมาบ้าง
และเนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าวัยเบญจเพสจะปรากฎมาในทิศทางไหน ใครจะดวงตก หรือมีคราวเคราะห์อะไร มีจุดเปลี่ยนอะไรในชีวิตแบบไหน ทำให้ผู้เชื่อพยายามหาทางหลีกเลี่ยงเคราะห์กรรมหนักที่อาจเป็นอันตรายต่าง ๆ และพยายามระวังตัวมากเป็นพิเศษ เช่น การเกิดอุบัติเหตุ, การเจ็บป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล, ตกงาน หรือบางรายอาจร้ายแรงไปถึงเหตุการณ์สูญเสียบุคคลที่รักและมีความสำคัญในชีวิต
โดยทั่วไปแล้ว หลายคนล้วนเข้าใจว่า วัยเบญจเพส คือ ช่วงอายุวัย 25 ปี เมื่อพ้น 25 ปี ก็ถือว่ารอดเบญจเพส แต่หากพูดในหลักของโหราศาตร์สมัยใหม่ได้วิเคราะห์ไว้ว่า วัยเบญจเพสนั้นมีหลายช่วงอายุในชีวิตคนเรา ดังนี้
- ช่วงที่ 1 อายุ 12 ย่าง 13 ปี
วัยเบญจเพสช่วงแรก โดยวัยนี้ควรจะมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด มีความเชื่อว่า หากใครออกนอกลู่นอกทางในช่วงนี้ ส่วนใหญ่แล้วมักกู่ไม่กลับ
- ช่วงที่ 2 อายุ 24 ย่าง 25-26 ปี
ตามความเชื่อ ในวัยเบญจเพสช่วงที่ 2 ของชีวิต มักเป็นช่วงเวลาที่ต้องพบเจอกับเคราะห์กรรมต่าง ๆ ทั้งร้ายและดี ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิต และดวงชะตาต่อไปในอนาคต เป็นช่วงวัยเบญจเพสที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ
- ช่วงที่ 3 อายุ 36 ย่าง 37 ปี
ช่วงวัยเบญจเพสที่ 3 นี้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะได้รับผลกระทบในเรื่องของหน้าที่การงานเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องอุบัติเหตุต่าง ๆ มักไม่ค่อยเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงงาน, การโยกย้ายตำแหน่ง เป็นต้น
- ช่วงที่ 4 อายุ 48 ย่าง 49 ปี
- ช่วงที่ 5 อายุ 60 ย่าง 61 ปี
โดยช่วงที่ 3 และ ช่วงที่ 4 จะเป็นอีกช่วงวัยเบญจเพสที่มักมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของหน้าที่การงาน หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมค่อนข้างมาก เช่น การเกษียณอายุงาน หรือแม้แต่เรื่องสุขภาพ รวมไปถึงเริ่มสูญเสียบุคคลรอบตัว เป็นต้น
หมายความว่า ในทุก ๆ 12 ปี บุคคลนั้น ๆ จะเข้าสู่ช่วงวัยเบญจเพส ซึ่งช่วงชีวิตเหล่านี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทุกครั้ง โดยความเชื่อนี้ มาจากความเชื่อเรื่องธาตุประจำตัวตอนถือกำเนิด และดวงดาวต่าง ๆ ที่ส่งผลและมีอิทธิพลกับชีวิตของเรานั่นเอง
แต่หากมองในมุมกลับกัน บางคนเชื่อว่านี่คือกุศโลบายต่าง ๆ ที่ทำให้คนในแต่ละช่วงวัยระมัดระวังเรื่องต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิต เนื่องจากช่วงวัยที่ผลัดเปลี่ยน วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่มักมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อยู่เสมอ
เช่น วัย 35-36 ปี มักเป็นวัยที่เริ่มมีเรื่องการงานที่มั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้อง ชีวิตเริ่มไม่โลดโผนเท่าสมัยวัยผู้ใหญ่ช่วงแรก แต่มักจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพเนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้น และวัยที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น หากเราหมั่นสังเกต ดูแลสุขภาพตนเองให้ดี ซื้อประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่ช่วงวัย 25 ปี นอกจากจะได้เบี้ยประกันที่ถูกแล้ว ยังพร้อมสำหรับการใช้งานเมื่อต้องวนมาถึงวัยเบญจเพสใหม่ได้อีกด้วย!
แก้เคล็ดรับวัยเบญจเพสอย่างไร ให้ร้ายกลายเป็นดี?
แม้ว่าจะไม่มีอะไรรับประกันว่าในทุก ๆ ช่วงวัยเบญจเพสจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง แต่ตามตำราโหราศาสตร์ก็ได้ให้คำเตือนในเรื่องที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เบื้องต้นจะจำแนกไว้ตามวันเกิด พร้อมวิธีการแก้เคล็ด ดังนี้
คนเกิดวันอาทิตย์
ในวัยเบญจเพสของคนเกิดวันอาทิตย์ ต้องระวังเรื่องการเกิดคดีความ การถูกใส่ร้ายป้ายสี โยกย้ายการงาน เสียทรัพย์ การเงินติดขัด และระวังในรื่องของสุขภาพ แต่ช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นไป เหตุการณ์ร้าย ๆ จะเริ่มคลี่คลายและเบาบางลง
วิธีแก้เคล็ด : กราบไหว้บูชาพระพุทธชินราช หรือทำบุญกับโรงพยาบาลสงฆ์ หรือบริจาคทรัพย์ เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นหรือส่วนรวม เช่น การบริจาคให้เด็กยากไร้ การมอบทุนการศึกษา หรือการบริจาคเครื่องมือการแพทย์เพื่อโรงพยาบาลที่ขาดแคลน วิธีนี้เปรียบเสมือนการมอบชีวิตให้ผู้อื่นในทางอ้อม ทำให้ผู้ที่ทำบุญจะได้รับกุศลมหาศาล
คนเกิดวันจันทร์
ในวัยเบญจเพสของคนเกิดวันจันทร์ มักเกิดความวุ่นวายในเรื่องความรัก เรื่องกิเลสราคะ เรื่องชู้สาว ไม่ว่าจะมีคนรักแล้วหรือไม่ก็ตาม มีเกณฑ์เจอเรื่องร้าย
วิธีแก้เคล็ด : ทำบุญกรวดน้ำติดกันเป็นระยะเวลา 21 วัน เพื่อเสริมสร้างบารมีให้ผู้ทำบุญมีบุญกุศลที่สูงขึ้น แคล้วคลาดจากภัยร้าย และสิ่งไม่ดีที่คอยตามรังควาน ช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
หรือปล่อยปลาสวายจะเสริมบารมี สำหรับผู้ที่ขอโชคลาภควรเลือกแหล่งน้ำที่มีระดับความลึก และกระแสน้ำไม่แรง อย่างคลองน้ำลึก หรือจะเลือกปลูกต้นรักในวัดเสริมดวงเรื่องความรัก และควรทำบุญไหว้พระองค์ใหญ่ เช่น วัดโพธิ์ สร้างบุญกุศลด้วยการสร้างพระอุโบสถ หรือสร้างโรงพยาบาล
คนเกิดวันอังคาร
สำหรับคนที่เกิดวันอังคาร ในวัยเบญจเพสจะต้องระวังเรื่องของสุขภาพต่าง ๆ ต้องเหตุร้ายเลือดออก อาการเจ็บป่วย หรืออาจเกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นเข้ารับการผ่าตัด
วันแรงใครที่วัยครบเบญจเพสโบราณว่า
วิธีแก้เคล็ด : ทำบุญโลงศพ เพราะเป็นการทำบุญที่ได้กุศลเยอะ จะช่วยให้มีบุญรักษา ไม่เป็นอันตรายง่าย ๆ แม้จะอยู่ในช่วงวัยเบญจเพสก็ตาม หรือจะนั่งสมาธิในวันพระ ฟังเทศน์ สนทนาธรรม นอกจากนี้ยังควรบอกบุญและพบปะผู้คนเพื่อแสวงบุญ ถือเป็นโอกาสเสริมดวงทางการเงินสำหรับคนวันอังคารอีกด้วย
คนเกิดวันพุธ (ทั้งพุธกลางวันและพุธกลางคืน)
ในช่วงครึ่งปีแรก วัยเบญจเพสของคนเกิดวันพุธ (ทั้งกลางวันและกลางคืน) มักต้องเจอกับปัญหาเรื่องการทำงาน หน้าที่การงาน จะต้องตกระกำลำบาก เหน็ดเหนื่อย หรือเกิดความผิดพลาดในเรื่องของงานอยู่เสมอ
วิธีแก้เคล็ด : โดยวิธีการแก้เคล็ดของคนเกิดวันพุธ จะแยกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
- ผู้เกิดวันพุธกลางวัน ควรไหว้บูชาขอพรท้าวเวสสุวรรณ และควรทำบุญโดยการถวายหลอดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าแก่วัดหรือโรงเรียน หรือบริจาคเครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงพยาบาล
- ผู้เกิดวันพุธกลางคืน ควรกราบไหว้บูชาพระโพธิสัตว์กวนอิม หรือองค์เทพที่เป็นสตรี เพื่อช่วยเสริมเรื่องการงาน
คนเกิดวันพฤหัสบดี
สำหรับคนที่เกิดวันพฤหัสบดีในวัยเบญจเพส สิ่งที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ คือเรื่องอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงอุบัติเหตุใหญ่ ๆ ที่อาจร้ายแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล
วิธีแก้เคล็ด : ควรทำบุญกับวัดพระอารามหลวง เน้นขอพรอธิษฐานในเรื่องความสำเร็จ และความเจริญก้าวหน้าในชีวิอ หรือเลือกทำบุญด้วยการต่อชีวิตสัตว์ หรือผู้อื่น เช่น การปล่อยนก ปล่อยปลา การไถ่ชีวิตโค-กระบือ หรือการช่วยทำทานให้ผู้ยากไร้ เป็นต้น
คนเกิดวันศุกร์
ในวัยเบญจเพสของผู้ที่เกิดวันศุกร์ สิ่งที่ต้องระวังเรื่องของคดีความ การขึ้นโรง ขึ้นศาล เรื่องการใส่ร้ายป้ายสี และต้องระวังเรื่องเงินขาดมือ การเงินขัดสนด้วย
วิธีแก้เคล็ด : สักการะพระธาตุสี่มุมเมืองของทั้ง 4 ภาค หรือสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู เช่น พระแม่ลักษมี พระแม่อุมาเทวี และพระพรหม เป็นต้น
หรือเลือกทำบุญแก่ผู้พิการ เพราะจะทำให้การเงินราบรื่นไม่ติดขัด หรือทำบุญด้วยการปล่อยจำนวนสัตว์ตามเลขคู่
คนเกิดวันเสาร์
ผู้ที่เกิดวันเสาร์เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเบญจเพส ต้องระวังเรื่องชู้สาว เรื่องความรัก พลัดพรากคนรักไปอยู่แดนไกล แม้จะเป็นคนโสด ยังไม่มีคนรักก็ต้องระมัดระวัง เพราะอาจเข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องมือที่สามโดยที่ไม่ทันตั้งตัว บางรายอาจดวงตกพบเจอกับความตกต่ำที่สุดของชีวิต พบเจอเรื่องแย่ ๆ รวมถึงอุบัติเหตุที่ร้ายแรงได้
วิธีแก้เคล็ด : ขอพรพระแม่ลักษมี อธิษฐานขอทรัพย์และโชคลาภ สร้างกุศลด้วยการบริจาคเสื้อผ้าจะเสริมชะตาได้เป็นอย่างดี, เลือกทำบุญ 9 วัด หรือการสะเดาะเคราะห์ด้วยการนอนโลงศพ วิธีนี้จะช่วยต่อชะตาชีวิต และเปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดีขึ้นได้
นอกจากนี้แล้ว ยังมีเคล็ดลับการแก้เคล็ดวัยเบญจเพสพื้นฐานอื่น ๆ อีก ดังนี้
- ทำบุญสะเดาะเคราะห์เสริมดวง เชื่อว่าจะช่วยแก้ดวงตก แก้ชง เสริมดวงทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดีได้
- ไหว้ขอพรพระพรหม ช่วยให้สำเร็จเรื่องงาน เหมาะมากกับคนที่มีปัญหาเรื่องการงาน
- กราบไหว้เจ้าที่เจ้าทางประจำบ้าน จัดผลไม้ ดอกไม้ ไหว้บูชาพระบนหิ้งที่บ้านเป็นประจำ
- บริจาคเลือดทุก 3-6 เดือน เป็นการแก้เคล็ดเรื่องสุขภาพและอุบัติเหตุ
- บริจาคโลงศพ จะช่วยให้เรื่องร้าย ๆ ที่เจอ เปลี่ยนจากหนักมาป็นเบา
- บริจาคให้โรงพยาบาลหรือมูลนิธิเกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ เชื่อกันว่าจะช่วยเสริมในเรื่องสุขภาพ
- ถวายสิ่งของที่เป็นคู่ให้วัด เช่น เทียนคู่, แจกันคู่, ธงคู่, หมอนคู่ หรืออะไรก็ได้ที่เป็นคู่ เพราะตามความเชื่อบอกไว้ว่าการถวายของเป็นคู่จะนำพาสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับเราได้
- หมั่นสวดมนต์ นั่งสมาธิเป็นประจำ เพื่อเตือนให้ตนมีสติอยู่เสมอ
จะเห็นได้ว่า ในแต่ละวันเกิด จะมีเงื่อนไขเรื่องดวง และความสมพงษ์ที่แตกต่างกันไป สำหรับดวงชะตารายบุคคลนั้น อาจจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์เป็นผู้แนะนำจะดีที่สุด แต่ทั้งนี้ก็เป้นเรื่องของความเชื่อ ไม่ควรงมงายมากจนเกินไป
เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับวัยเบญจเพส คือเรื่องของการมีสติ ระมัดระวังตนเองอยู่เสมอ และคิดดี ทำดีนั่นเอง
รู้หรือไม่ ไม่ใช่แค่ที่ไทย แต่ประเทศอื่นก็มีวัยเบญจเพส
แม้วัยเบญจเพสเป็นความเชื่อที่สุดแสนจะไทย แต่รู้หรือไม่ที่ประเทศอื่น ๆ เอง ก็มีความเชื่อในวัยเบญจเพสเช่นกัน! แต่โดยทั่วไปแล้ว วัยเบญจเพสของฝั่งเอเชียจะถูกเรียกในรูปแบบของ “ปีชง” เสียมากกว่า!
อย่างที่ประเทศญี่ปุ่น จะเรียกว่า “ยาคุโดชิ” หรือบางคนจะมองว่าปีเบญจเพสก็ได้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ปียาคุโดชิจะไม่ได้มีเพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิตเช่นเดียวกันกับของคนไทย แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือ คนญี่ปุ่นเชื่อว่า จะยาวนานติดต่อกันราว 3 ปีในแต่ละครั้ง โดยแบ่งเป็นปีก่อนปีชง ปีชง และปีส่งท้ายปีชง โดยปีชงของผู้หญิงกับผู้ชายจะอยู่ในช่วงอายุที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- ปีชงของผู้หญิง จะอยู่ที่อายุ 4 ปี, 13 ปี, 19 ปี, 33 ปี, 37 ปี และ 61 ปี โดยจะมีปีชงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ อายุ 30-33 ปี
- ปีชงของผู้ชาย จะอยู่ที่ช่วงอายุ 4 ปี, 13 ปี, 25 ปี, 42 ปี และ 61 ปี โดยปีชงของผู้ชายที่ว่ากันว่าเป็นช่วงที่ต้องระวังตัวเป็นพิเศษก็คือ อายุ 39-42 ปี ซึ่งว่ากันว่าจะเกิดภัยพิบัติและความโชคร้ายขึ้นได้ง่าย
เมื่ออายุถึงหรือเข้าเกณฑ์ปีชง คนญี่ปุ่นก็จะไปวัดหรือศาลเจ้าที่นับถือเพื่อทำพิธีขจัดโชคร้าย ซึ่งพิธีนั้นก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัด หรือศาลเจ้าที่ไป รวมถึงการหาซื้อเครื่องรางแบบกระดาษสำหรับพกติดตัวไว้นั่นเอง
ในขณะที่เบญจเพสของประเทศจีน ตามหลักศาสนาเต๋านิกายเจิงอี้ จะเป็นช่วงอายุที่ลงท้ายด้วยเลข 3, 6, 9 เป็นหลัก รวมไปถึงทางเกาหลีเองก็มีลักษณะการนับวัยเบญจเพสดั่งกล่าวเช่นกีน ซึ่งจะแตกต่างจากคนไทยโดยสิ้นเชิง เช่น อายุ 13 ปี ,16 ปี ,19 ปี, 23 ปี, 26 ปี, 29 ปี, 33 ปี, 36 ปี หรือ 39 ปี เป็นต้น
วิธีการนับนั้น จะเริ่มต้นนับอายุกันทันทีที่เกิดมาจะถูกนับอายุทันที 1 ขวบ ซึ่งส่วนมากจะมีการไปทำบุญสะเดาะเคราะห์ตามปีเกิด หมายความว่า หากนับตามหลักสากล ที่เกาหลีและทางจีนเอง ก็มีวัยเบญจเพสที่อายุ 25 เช่นเดียวกัน
ส่วนในฝั่งยุโรปนั้น จะไม่เชื่อเรื่องของปีชง หรือเรื่องของวัยเบญจเพส แต่ส่วนมากจะเชื่อในเรื่องของ Quarter-Life หรือก็คือ สภาวะที่เกิดขึ้นในจิตใจของคน ๆ นึง หรือความรู้สึกของเขาเองต่อชีวิตเสีย ในช่วงอายุ 25 – 33 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัย 1 ใน 4 ของชีวิตมนุษย์เสียมากกว่า
โดยผลสำรวจของทาง LinkedIn รายงานว่า 75% ของคนในช่วงอายุ Quarter-Life เป็นช่วงที่มีเรื่องอนาคตให้ต้องคิดเยอะ ทั้งเรื่องการค้นหาเป้าหมาย หรือความต้องการในชีวิต มีความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จนกระทั่งเกิดเป็นสภาวะความเครียดได้
แต่หากมองอย่างเป็นกลาง เราจะพบว่าช่วงเวลาเบญจเพสต่าง ๆ ในแต่ละประเทศมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป และหากมองตามหลักการแล้ว วัยเบญจเพสมักจะเป็นช่วงชีวิตเริ่มมีความเปลี่ยนแปลง จากเด็กเป็นวัยรุ่น จากวัยรุ่นเป็นวัยผู้ใหญ่ หรือผู้ใหญ่เป็นผู้สูงวัย นั่นเอง
เพราะทุกความเปลี่ยนแปลงนั่นเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัว ไม่ว่าจะเป็นแง่โหราศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ต่างเตือนให้เราไม่ประมาทในช่วงอายุนั้น ๆ และจะดีกว่าไหม? ถ้าเพิ่มความมั่นคงให้ชีวิตด้วย ประกันชีวิต จาก แรบบิท แคร์
ที่นี้ พร้อมให้บริการคุ้มครองครอบคลุม พร้อมแคร์ให้คำปรึกษาในเรื่องการทำประกันชีวิต ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงอายุปีไหน ๆ มาพร้อมกับประกันอุบัติเหตุที่ให้คุณหมดห่วงไม่ว่าจะเป็นวัยเบญจเพส เจอปีชง หรือเพียงแค่อยากจะลดหย่อนภาษี ที่แรบบิท แคร์มีบริการพร้อม คลิกเลย!
บทความสายมูน่าอ่าน
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct