แคร์ไลฟ์สไตล์

บวชหน้าไฟ คืออะไร ผู้บวชต้องมีอายุเท่าไหร่ บวชเพื่อใคร มีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องทำ? 

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: July 6,2023
  
Last edited: June 4, 2024
บวชหน้าไฟ

บวชหน้าไฟ การบวชที่แทบทุกคนคงเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่อาจยังไม่รู้ว่าความจริงแล้วคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร จำเป็นต้องทำหรือไม่ หากวันนึงต้องบวชหน้าไฟ หรือดูแลผู้ที่ต้องบวช จะต้องปฏิบัติหรือมีข้อห้ามอย่างไร ผู้บวชต้องมีอายุเท่าไหร่ แรบบิท แคร์ รวมข้อมูลที่น่ารู้ และคำตอบของคำถามที่หลายคนมักสงสัยเกี่ยวกับการบวชหน้าไฟมาให้ จะได้หายข้องใจ และปฏิบัติกันได้อย่างถูกต้องตามประเพณี

บวชหน้าไฟ คืออะไร ?

ตามประเพณีของชาวพุทธ มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าการบวชหน้าไฟ คือ การบวชเพื่อตอบแทนพระคุณของญาติผู้ใหญ่ในบ้านและส่งผู้ที่ล่วงลับไปสู่โลกหนึ่งที่ดีกว่า เราจึงสามารถพบพิธีดังกล่าวในช่วงงานศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าหากลูกหลานบวชให้กับผู้ใหญ่ในบ้าน ดวงวิญญาณก็จะสามารถเกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์เพราะในการบวชแบบนี้นั้นจะส่งผลบุญให้แก่ผู้เสียชีวิตได้อย่างใหญ่หลวงเลยนั่นเอง

ข้อมูลจากวารสาร มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อธิบายว่า การบวชหน้าไฟคือการบวชที่ลูกหลานของผู้เสียชีวิตได้บวชให้แก่ผู้ที่เสียชีวิต อาจจะเป็นการบวชในฐานะเณรหรือเป็นพระในวันเผาศพ ซึ่งเป็นการบวชเพื่อบุญบารมีและส่วนกุศลให้กับผู้ที่ไปแล้ว ซึ่งการลักษณะนี้นั้นเนื่องจากคนบวชส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก ๆ ในบ้านที่ยังไม่โตเป็นผู้ใหญ่บางครั้งจึงอาจจะเรียกว่า “สามเณรหน้าไฟ” ก็ได้

บวชหน้าไฟ กี่วัน ?

สำหรับเรื่องระยะเวลาในการบวชหน้าไฟ กี่วันนั้น หลายคนอาจมีความสงสัยว่าจะต้องทำการบวชทั้งหมดกี่วัน ต้องบวชเป็นพรรษาเหมือนบวชเณร บวชพระโดยทั่วไปหรือไม่ ความจริงแล้วไม่จำเป็นแต่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ส่วนใหญ่จะบวชช่วงเช้าของวันเผาศพและสึกในช่วงเย็น หรืออยากบวช 3 วัน 7 วัน หรืออาจมากกว่านั้นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้บวชและกำลังศรัทธา

บวชหน้าไฟ กี่วัน

บวชหน้าไฟ ต้องอายุเท่าไหร่

ในการบวชหน้าไฟนั้นความจริงแล้วไม่ได้มีการกำหนดอายุตายตัว เพียงแต่หากผู้บวชเป็นเด็ก ในการบวชสามเณรหน้าไฟนั้น จะต้องมีอายุ 7 ขวบปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้โตพอที่จะรู้ความ มีวุฒิภาวะด้านต่าง ๆ พอสมควร สามารถพูดจา รับฟังคำสอน ควบคุมตัวเองให้อยู่ในความสำรวม สามารถปฏิบัติศาสนกิจของสามเณรได้ เช่น การสวดมนต์ไหว้พระ การครองผ้า และอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มตัดสินใจได้ว่าตนเองสมัครใจที่จะบวชหรือไม่ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการบวชนั่นเอง

บวชหน้าไฟ ทําอะไรบ้าง ?

การบวชหน้าไฟในปัจจุบันมักเป็นพิธีที่สั้นและเรียบง่ายเพื่อให้เข้ากับสมัยและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการทำพิธีบวชหน้าไฟในวันที่มีพิธีฌาปนกิจศพ และครอบครัวเจ้าภาพจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่เสียชีวิตที่ล่วงลับไปแล้ว โดยขั้นตอนการบวชหน้าไฟ ทำอะไรบ้างก็จะมี ดังนี้

  • ขั้นตอนแรกซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุด คือการขอความสมัครใจและความยินยอมจากลูกหลานที่จะบวชให้แก่ผู้ที่เสียชีวิต เพราะผู้ที่มาบวชจะต้องมีความเต็มใจและเต็มที่เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญบุญได้อย่างถูกต้องตามหลักรวมถึงส่งต่อบุญใหญ่ให้แก่ผู้ล่วงลับได้อย่างเต็มที่
  • ทำการติดต่อและแจ้งวัดที่จะทำการบวชให้ทราบถึงความจำนงในการบวชหน้าไฟเพื่อขออนุญาตและกราบอาราธนาพระอุปัชฌาย์
  • ในวันบวชหน้าไฟ ญาติพี่น้องจะมาพร้อมกันเพื่อร่วมกันทำบุญและร่วมบวชหน้าไฟ ซึ่งจะมีการโกนผม โกนหนวดและโกนคิ้วให้แก่ผู้บวชหน้าไฟ
  • ทำการขอลาสิขาจากญาติพี่น้องรวมถึงพ่อแม่
  • ทำพิธีเวียนรอบโบสถ์เป็นจำนวน 3 รอบ

บวชหน้าไฟ ทำอะไรบ้าง

ข้อห้าม บวชหน้าไฟ

หลังจากทราบขั้นตอนในการบวชหน้าไฟรวมถึงการปฏิบัติตัวกันไปแล้ว แรบบิท แคร์ ก็ได้สรุปข้อห้าม บวชหน้าไฟมาให้ 

  • ห้ามไม่ให้บวชโดยความไม่สมัครใจ
  • ห้ามไม่ให้บังคับใครให้บวชหน้าไฟ
  • ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบบวชหน้าไฟ
  • ห้ามผู้หญิงบวชหน้าไฟ

ผู้หญิง บวชหน้าไฟได้หรือไม่ ?

เนื่องจากการบวชหน้าไฟนั้น คือ การบวชตามจารีตประเพณีที่มีมาแต่ช้านานตามคตินิยมของชาวพุทธในเมืองไทย ซึ่งมีความเชื่อว่าการบวชเป็นพระสงฆ์หรือกิจของสงฆ์จะมีอยู่แต่ในเพศชายเท่านั้น จึงไม่มีการบวชหน้าไฟในเพศหญิงมาก่อนและไม่ถือว่าการให้ผู้หญิงบวชหน้าไฟได้นั้นสามารถทำได้ในทางปฏิบัติ

แต่โดยทั่วไปนั้นผู้หญิงจะสามารถบวชชีพราหมณ์หรือทำการถือศีลได้ ดังนั้นหากลูกหลานบ้านไหนที่เป็นผู้หญิงแต่ต้องการส่งต่อบุญใหญ่ให้แก่ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับรวมถึงแสดงความกตัญญูแก่พวกท่านก็สามารถบวชชีพราหมณ์หรือเลือกปฏิบัติตัวให้อยู่ในศีลธรรมด้วยจิตใจตั้งมั่นและแผ่ส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ใหญ่อันเป็นที่รักของเราแทนได้

ผู้หญิง บวชหน้าไฟได้หรือไม่

ผู้ชายเคยบวชพระแล้ว บวชหน้าไฟได้หรือไม่ ?

อาจมีคนเคยได้ยินกันมาบ้าง กับความเชื่อที่ว่าการบวชหลาย ๆ ครั้งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และอาจโดนเรียกว่าชายสามโบสถ์ (บวชแล้วสึกบ่อย ๆ เปรียบเสมือนคนที่มีนิสัยโลเลไม่มั่นคง จิตใจไม่นิ่ง) จนทำให้อาจมีคำถามที่ว่าหากเคยบวชพระมาแล้วการบวชหน้าไฟเมื่อมีญาติผู้ใหญ่ในบ้านเสียชีวิตเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ 

แต่ทั้งนี้หากมองตามหลักแก่นแท้ของพระพุทธศาสนานั้นก็จะพบว่าไม่มีข้อห้ามซึ่งบัญญัติไว้ว่าห้ามบวชหรือห้ามบวชเณรเกิน 1 ครั้ง เพียงแต่ในทุกการบวชจะมีหลักสำคัญที่ต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือจะต้องมีจิตใจตั้งมั่น คิดเป็นกุศล มีความตั้งใจในการเรียนรู้ ปฏิบัติธรรมในคำสั่งสอนและพระวินัยอย่างมุ่งมั่นนั่นเอง

หลังจากที่อ่านกันจบแล้ว ทุกคนก็คงทราบกันดีว่าชีวิตนั้นล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง ไม่มีใครรู้ว่าเราจะมีชีวิตยืนยาวไปอีกนานแค่ไหน จะได้ตื่นมาพบกับวันใหม่ไปถึงเมื่อไหร่ หรือในวันใดจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องมีอันเป็นไป อย่าลืมวางแผนชีวิตและคิดถึงคนข้างหลังเมื่อเราต้องจากไป ทำประกันชีวิต กับ แรบบิท แคร์ ไว้เพื่อความสบายใจ ลูกหลานสบาย หมดห่วงได้ ไร้ความอาวรณ์

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

  

 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024
Rabbit Care Blog Image 89764

แคร์ไลฟ์สไตล์

แมวอ้วก แมวอาเจียน อันตรายไหม ? เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร ?

‘แมวอ้วก’ สถานการณ์ที่สำหรับเหล่าทาสแล้วคงถือเป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ว่านายท่านแมวของเราเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติในร่างกายอย่างไรหรือไม่
คะน้าใบเขียว
31/05/2024