แคร์ไลฟ์สไตล์

รู้ก่อน สอบเทียบ GED คืออะไร? ค่าใช้จ่าย ? และต่อที่ไหนได้บ้าง ?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: May 9,2023
สอบเทียบ GED

ยุคนี้มีหลากหลายเส้นทางที่จะนำพาไปสู่การศึกษาที่เราใฝ่ฝัน ฉะนั้นตัวนักเรียนเอง หรือผู้ปกครองทุกท่าน ก็ควรจะตามเรื่องการสอบ และการเรียนต่อให้เท่าทันถึงทุกโอกาสที่น้อง ๆ สามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะการสอบเทียบ GED ที่กำลังฮิตมาก ๆ ในช่วงนี้ ทำให้น้อง ๆ คนไหนที่มีความสามารถ ความขยันล้นเหลือ สามารถสอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งที่ไม่รู้ไม่ได้จริง ๆ  

สอบเทียบ GED คืออะไร ?

GED (ย่อมาจาก General Educational Development) คือการสอบเทียบเพื่อเอาวุฒิการศึกษาระดับมัธยมปลายตามมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ซึ่งสามารถใช้กับกรณีที่นักเรียนเรียนเร็ว หรือเรียนนอกระบบ เช่น Home-School หรือไปเรียนต่างประเทศ โดยสามารถใช้คะแนนจากการสอบเทียบ GED ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่รับคะแนน เพื่อเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยได้เลย

นอกจากนั้นยังมีข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่มีประโยชน์มากมาย ที่สามารถไปสอบได้ทุกเมื่อ อย่าง สอบ TOEIC อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม คลิกอ่านเลย

สอบเทียบ GED

วิธีการสมัครสอบเทียบ GED ?

ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สอบ คือจะต้องอายุเกิน 16 ปีขึ้นไป (จบการศึกษาระดับมัธยมต้น) จึงจะสอบได้ โดยหากอายุ 16-17 ปีจะต้องให้ผู้ปกครองเซ็นใบยินยอม (Consent Form) จึงจะสามารถสอบเทียบ GED ได้

สร้าง Account GED บนหน้าเว็บไซต์ ged.com กรอกข้อมูลและแนบเอกสารจำเป็นให้เรียบร้อย

สอบ GED Ready ซึ่งเป็นข้อสอบจำลองสอบเทียบ GED หรือจะเรียกว่า Mock Test โดยสามารถสอบได้บนเว็บไซต์ ged.com เลย ต้องสอบให้ผ่านก่อนจึงจะสามารถสอบเทียบ GED ฉบับจริง

สอบเทียบ GED ฉบับจริง หลังจากที่สอบ GED Ready ผ่าน ผู้สอบจะสามารถนัดหมาย วัน เวลา และสถานที่ เพื่อสอบจริงกับทาง ged.com โดยจะต้องไปที่สนามสอบจริง ไม่สามารถสอบที่ไหนก็ได้เพื่อป้องกันการทุจริต

ตรวจสอบคะแนนสอบ ได้ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากสอบ โดยสามารถเช็คคะแนนสอบเทียบ GED ได้ผ่านเว็บไซต์ ged.com โดยล็อกอินเข้าบัญชีของตนเอง

ขอ Transcript และ Diploma ได้โดยการสั่งไปรษณีย์ โดยจะส่งมาจากสหรัฐอเมริกา ฉะนั้นควรเผื่อเวลาส่งของซักประมาณ 1-2 สัปดาห์ 

สอบเทียบ GED ราคาเท่าไหร่ ?

ราคาในการสอบเทียบ GED โดยรวมจะมีราคาประมาณ 400 เหรียญ (ประมาณ 13,500 บาท)

ค่าสอบ GED Ready : ~23$ (6.99$ ต่อวิชา แต่หากสอบพร้อมกันทั้ง 4 วิชาจะได้ส่วนลด)

ค่าสอบ : ~320$ (80$ ต่อวิชา)

ค่าใบ GED Diploma และ Transcript : ~15$ 

ค่าจัดส่งเอกสารโดย FedEx : ~40$ 

วัน เวลา สถานที่สอบ GED

สามารถจับจองวันเวลาสอบเทียบ GED ได้ตลอดเวลา โดยมีวันสอบทุกสัปดาห์ จันทร์ – อาทิตย์ และสามารถเปลี่ยนแปลงเวลาก่อนสอบ 24 ชั่วโมง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

สนามสอบเทียบ GED ใกล้กรุงเทพ และปริมณฑล

  • Pearson Professional Centers: BB Building ถนนอโศกมนตรี ซอยสุขุมวิท
  • Paradigm: อาคารอัลม่าลิงก์ ชิดลม
  • Assumption University: Suvarnabhumi Campus บางนาตราด
  • Thammasat Competency Test Center : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

นอกจากนั้นก็ยังมีสนามสอบอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ตาก และภูเก็ต เป็นต้น

GED สอบอะไรบ้าง ?

สอบเทียบ GED มีทั้งหมด 4 วิชา ได้แก่ 1. การทดสอบด้านภาษา (Reasoning Through Language Arts) 2. คณิตศาสตร์ (Mathematical Reasoning) 3. วิทยาศาสตร์ (Science) และ 4. สังคมศาสตร์ (Social Studies) โดยแต่ละวิชาจะมีคะแนนเต็ม 200 คะแนน การที่จะได้วุฒิมัธยมปลายจะต้องได้คะแนนทุกวิชาเกิน 145 คะแนน โดยเกณฑ์การให้คะแนนมีดังนี้

145-164 High School Equivalent : สอบเทียบ GED ผ่าน ได้วุฒิ GED เทียบเท่ามัธยมปลาย

165-174 College-ready Level : สอบเทียบ GED ผ่าน และพร้อมยื่นเข้ามหาวิทยาลัย

175-200 College-ready Plus Credit Level : สอบเทียบ GED ผ่าน พร้อมยื่นเข้ามหาวิทยาลัย ในระดับที่คะแนนสูง สามารถใช้ยื่นแทนคะแนนข้อสอบอื่น ๆ ได้ หรือบางมหาวิทยาลัยอาจให้ละเว้นหน่วยกิตบางตัวได้

สอบเทียบ GED

GED Ready คืออะไร ?

ก่อนที่จะลุยกับข้อสอบเทียบ GED จะต้องสอบ GED Ready ซึ่งก็คือข้อสอบจำลอง ที่ออกแบบมาให้มีความคล้ายคลึงกับ GED ฉบับจริง มีทั้งหมด 4 วิชา เช่นเดียวกับข้อสอบจริง แต่จะใช้เวลาเพียงครึ่งหนึ่งของข้อสอบเทียบ GED ของจริง 

  • GED Ready ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 2 ชั่วโมง 
  • GED Ready มีข้อสอบประมาณ 30-50 ข้อ ต่อ 1 วิชา รวมแล้วประมาณ 120 – 200 ข้อ
  • คะแนนเต็ม 200 คะแนนต่อวิชา โดยจะต้องได้คะแนน 155 คะแนนขึ้นไปจึงถือว่าสอบ GED Ready ผ่าน
  • GED Ready สอบตอนไหนก็ได้ (แต่ต้องมั่นใจว่าอินเทอร์เน็ตมีเสถียรภาพเพียงพอ) แต่หากสอบไม่ผ่านติดต่อกัน 3 ครั้งจะต้องรอ 60 วันจึงจะสามารถสอบใหม่อีกครั้ง 

การทดสอบด้านภาษา (Reasoning Through Language Arts)

เวลาในการสอบ : 2 ชั่วโมง – 2 ชั่วโมง 30 นาที (อาจมีความเปลี่ยนแปลงในอนาคต)

เป็นส่วนที่ใช้เวลานานที่สุดในการสอบเทียบ GED เป็นข้อสอบการฟัง อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษ โดยเน้นความเข้าใจ และแตกฉานในภาษาอังกฤษ และการสื่อสาร ระดับของข้อสอบใกล้เคียงกับ SAT โดยมีข้อสอบหลายข้อ และเวลาที่จำกัด จึงควรเน้นฝึกสอบเขียนเร็ว อ่านเร็ว โดยจะแบ่งข้อสอบออกเป็น 3 ส่วน

  • Part 1 : Reading

รูปแบบข้อความความยาวระดับปานกลาง แล้วให้อ่านพลันตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหา โดยจะมีทั้งคำถามแนวผิดถูก หรือเป็นคำถามเชิงสรุปเนื้อความ 

  • Part 2 : Extended Response

เป็นข้อเขียน โดยจะให้ข้อมูลมาชุดหนึ่ง ซึ่งเราจะต้องอ่านและเขียนแสดงความคิดเห็น หรือจุดยืนของเรา หลังจากที่ได้อ่านโจทย์ เขียนประมาณ 300-500 คำ ซึ่งจะให้คะแนนจากหลักการใช้ภาษา หลัก Grammar / Comma (,) Full-stop (.) การหยิบยกข้อมูลมาสนับสนุนความคิดตัวเอง โดยไม่ได้คำนึงว่าความคิดเห็นของนักเรียนถูกหรือผิด 

  • Part 3 : Long Passage

เป็นส่วนที่ใช้เวลาทำข้อสอบยาวที่สุดในการสอบเทียบ GED โดยจะให้อ่านบทความยาว แล้วตอบคำถามต่าง ๆ โดยจะมีทั้งคำถามที่ให้เลือกแบบเป็นช้อย ไปจนถึงการเขียนตอบคำถาม

คณิตศาสตร์ (Mathematical Reasoning)

เวลาในการสอบ : 1 ชั่วโมง 40 นาที – 2 ชั่วโมง (อาจมีความเปลี่ยนแปลงในอนาคต)

เป็นส่วนที่เด็กไทยทั้งหลายควรจะกวาดคะแนนมาให้ไม่เต็ม ก็เกือบเต็ม เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นข้อสอบเลขระดับ ม. ต้น ที่ไม่ต้องคำนวณซับซ้อน แต่ก็ควรฝึกทำโจทย์คณิตเป็นภาษาให้เยอะ ๆ เพื่อสร้างความเคยชินต่อภาษาอังกฤษที่ใช้ในโจทย์คณิตศาสตร์ โดยนี้คือสิ่งที่คนสอบเทียบ GED อาจได้เจอ

  • คิดเลขในชีวิตประจำวัน คิดเปอร์เซ็นต์ต่าง ๆ
  • เรขาคณิต (Geometry)
  • พีชคณิต (Algebra)
  • กราฟและฟังก์ชัน (Graph & Function)

วิทยาศาสตร์ (Science)

เวลาในการสอบ : 1 ชั่วโมง 30  – 2 ชั่วโมง (อาจมีความเปลี่ยนแปลงในอนาคต)

ในส่วนของวิทยาศาสตร์สอบเทียบ GED จะไม่ใช่รูปแบบข้อสอบคณิตศาสตร์ที่เจาะลึก หรือเน้นในการจำสูตร จำตารางธาตุ แต่จะมีความใกล้เคียงกับการทดสอบภาษา โดยจะให้บทความ หรือตารางข้อมูลมาเพื่อให้นักเรียนตอบคำถาม โดยใช้การอ่านจับใจความ ผสมกับพื้นฐานความเข้าใจหลักวิทยาศาสตร์เล็กน้อย โดยจะมีหัวข้อคร่าว ๆ ดังนี้

  • วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Life Science)
  • พื้นฐานชีววิทยา (Biology)
  • พื้นฐานฟิสิกส์ (Physic)

สังคมศาสตร์ (Social Studies)

เวลาในการสอบ : 1 ชั่วโมง – 1 ชั่วโมง 20 นาที (อาจมีความเปลี่ยนแปลงในอนาคต)

อาจนับเป็นส่วนที่นักเรียนที่จบการศึกษาจากประเทศไทย หรือประเทศอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากประเทศอเมริกา น่าจะมีปัญหามากที่สุด เพราะเป็นหลักวิชาสังคมของประเทศอเมริกา ฉะนั้นนักเรียนที่อยากสอบเทียบ GED จึงต้องอ่านหนังสือนอกเวลาให้มาก ๆ เรียนรู้ความรู้หัวข้อต่าง ๆ เช่น

  • ประวัติศาสตร์อเมริกา
  • การเมืองการปกครองของสหรัฐอเมริกา
  •  เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
  • ความเป็นไปของโลก ความรู้รอบตัว
  • ภูมิศาสตร์โลก

TIPS : สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสอบเทียบ GED คือภาษาอังกฤษ โดยเป็นภาษาอังกฤษที่หลากหลาย เช่นภาษาอังกฤษกับคณิตศาสตร์ การเมือง วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฉะนั้นควรอ่านหนังสือภาษาอังกฤษที่มีความหลากหลาย ไม่ใช่แค่แนวเดียว

สอบเทียบ GED เข้ามหาวิทยาลัย / คณะอะไรได้บ้าง ?

มหาวิทยาลัย และคณะที่รับคะแนนสอบ GED จะเป็นหลักสูตรนานาชาติ (International) เท่านั้น โดยกฎเกณฑ์การรับนักเรียนจากการสอบเทียบ GED ก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละคณะ และแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ แต่ก็ไม่ควรจะทำคะแนนให้เพียงแค่ผ่านเกณฑ์เท่านั้น เพราะคะแนนก็จะต้องถูกนำไปเทียบกับนักเรียนคนอื่น ๆ ด้วย และหากนักเรียนคนไหนอยากจะเข้าคณะอะไร ก็ควรไปศึกษารายละเอียด และข้อบังคับโดยละเอียด 

สอบเทียบ GED

ยื่นคะแนน GED จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– วิศวกรรมศาสตร์อินเตอร์ (ISE)

– พาณิชยศาสตร์และการบัญชีอินเตอร์ (BBA)

– เศรษฐศาสตร์อินเตอร์ (EBA)

– สถาปัตยกรรมศาสตร์อินเตอร์ (COMMDE, INDA)

– จิตวิทยาอินเตอร์ (JIPP)

– วิทยาศาสตร์อินเตอร์ (BSAC)

– นิเทศศาสตร์อินเตอร์ (COMMARTS)

– อักษรศาสตร์อินเตอร์ (BALAC)

– ศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการอินเตอร์ (BAScii)

ยื่นคะแนน GED มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

– วิศวกรรมศาสตร์ (TEP/TEPE)

– สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินทร (SIIT)

– บริหารธุรกิจ (BBA)

– เศรษฐศาสตร์ (BE)

– สถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (UDDI)

– การจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี (DBTM)

– สาขานวัตกรรมการบริการ (BSI)

– โลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม (GSSE)

– การเมืองเศรษฐศาสตร์ (PPE)

– การเมืองและการระหว่างประเทศ (BIR)

– คณะวารสารศาสตร์ (BJM)

– อังกฤษและอเมริกันศึกษา (BAS)

– นิติศาสตร์ (LL.B.)

– ศิลปศาสตร์ (BEC)

– โครงการวิเทศคดีศึกษา (IAC)

– นโยบายสังคมและการพัฒนา (SPD)

– วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (PBIC)

ยื่นคะแนน GED มหาวิทยาลัยมหิดล

– Bachelor of Communication Arts

– Bachelor of Business Administration

– Bachelor of Management

– Bachelor of Arts

– Bachelor of Arts and Science

– Bachelor of Engineering

– Bachelor of Fine Arts

– Bachelor of Science

สอบ GED VS IGCSE แตกต่างกันอย่างไร ?

แต่การสอบเทียบ GED ก็ไม่ใช่ทางเลือกทางเดียว เรายังมีรูปแบบการสอบเทียบอีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า IGCSE  (International General Certificate of Secondary Educational) โดย IGCSE คือหลักสูตรการสอบเทียบของฝั่งราชอาณาจักร หรืออังกฤษ สามารถยื่นแทนกันได้ โดยเฉพาะหากต้องการไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ หรือประเทศในยุโรป โดยปัจจุบันการสอบเทียบ IGCSE อาจไม่ได้รับความนิยมเท่ากับ GED เท่าไหร่ แต่หากใครที่สนใจอยากเข้ามหาวิทยาลัยดัง เขาระบบการศึกษาของอังกฤษ การสอบ IGCSE ก็อาจยังจำเป็นอยู่

โดยความแตกต่างของการสอบเทียบ IGCSE กับสอบเทียบ GED อันเป็นสิ่งสำคัญมีอยู่ด้วยกันดังนี้

  • วิชาที่ต้องสอบสำหรับ IGCSE จะเป็นการเลือกสอบ 3-4 วิชา จากทั้งหมด 50 วิชา ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย และคณะที่เลือกจะเรียน โดยจะนำเป็นระดับวิชา A-Level เช่น อยากเข้าคณะวิทยาศาสตร์ อาจต้องสอบ A-Level สาขาคณิตศาสตร์ / เลข / และภาษา เป็นต้น
  • IGCSE มีข้อจำกัดเยอะมาก เพราะปีหนึ่งจะมีการจัดสอบ 2-3 ครั้งเท่านั้น จึงจะต้องมั่นใจว่าพร้อมจริง ๆ แล้วค่อยสอบ
  • IGCSE สอบได้สำหรับนักเรียนที่อายุถึง 18 ปีเท่านั้น
สอบเทียบ GED

หวังว่าหลายคนอ่านมาถึงตรงนี้จะเข้าใจในหลักการของการสอบเทียบ GED มากขึ้น พร้อมถึงเห็นโอกาสในการศึกษาของตนเอง หรือลูก ๆ หลาน ๆ ของคุณมากขึ้น โดยนอกจากการศึกษาที่สำคัญมาก ๆ แล้ว อิสระในการใช้จ่าย ใช้เงิน ก็สำคัญมาก ๆ แรบบิท แคร์ แนะนำ บัตรเครดิต สำหรับน้อง ๆ มหาวิทยาลัย หรือเด็กเพิ่งจบใหม่ ทำให้ทุกการใช้จ่ายคุ้มค่า

บัตรไหนคุ้ม เปรียบเทียบเลย แค่ 30 วิ เช็คเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน

 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024
Rabbit Care Blog Image 89764

แคร์ไลฟ์สไตล์

แมวอ้วก แมวอาเจียน อันตรายไหม ? เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร ?

‘แมวอ้วก’ สถานการณ์ที่สำหรับเหล่าทาสแล้วคงถือเป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ว่านายท่านแมวของเราเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติในร่างกายอย่างไรหรือไม่
คะน้าใบเขียว
31/05/2024