แคร์ไลฟ์สไตล์

เลิกกับแฟน แต่ผ่อนคอนโด ผ่อนบ้านร่วมกันอยู่ แบบนี้ต้องทำยังไงกัน?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
 
 
Published: January 21,2024

เรื่องหย่าร้าง เลิกรา ของคู่รัก ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ในเมื่อความรักถึงทางตัน การสิ้นสุดบอกเลิกกันอาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่หลายคนอาจจะกังวล นอกเหนือจากเรื่องความสัมพันธ์แล้ว เรื่องเอกสาร ทรัพย์สินต่าง ๆ ล้วนเป็นเรื่องที่มองข้ามไปไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคู่รักบางคู่ที่ได้ตกลงปลงใจผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโด ร่วมกันแล้ว ถ้าเลิกกับแฟนแบบนี้ต้องทำอย่างไรดีนะ? ต้องมีเอกสาร หรือต้องดำเนินการอะไรไหม? สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของคอนโด จะอยู่ที่ใคร? วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบ!

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ไขข้อข้องใจ จัดการอย่างไร ถ้าต้องเลิกกับแฟน แต่ยังกู้ร่วมผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโด?

    เรามาทำความเข้าใจกันอีกครั้งก่อนว่า การการกู้ร่วมซื้อบ้าน กู้ร่วมซื้อคอนโด คือ การกู้ทรัพย์สินโดยมีผู้กู้ร่วมอีกคน เป็นคนร่วมรับภาะระหนี้ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้การกู้เงินซื้อบ้าน หรือซื้อผ่อนคอนโดได้ง่ายขึ้น เพราะทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจะมองว่าคุณมีเงินมากพอทีจะจ่ายผ่อนในแต่ละเดือน

    แต่เมื่อเลิกกับแฟนแล้ว การกู้ร่วมซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ดั่งกล่าวก็อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เบื้องต้นทั้งสองจะต้องตกลงกันก่อนว่า ใครจะเป็นผู้ย้ายออก และใครจะเป็นผู้รับกรรมสิทธิ์ในการเป้นเจ้าของบ้านเพื่อผ่อนต่อไป เมื่อตกลงกันได้แล้ว จะมี 3 วิธี หลัก ๆ ในการแก้ปัญหาที่ว่า ดังนี้

    ถอนชื่อคู่รักที่กู้ร่วม

    เบื้องต้นหากจะใช้วิธีนี้ อดีตคู่รักทั้งคู่จะต้องตกลงเรื่องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของบ้านหลังนี้ และอีกฝ่ายต้องยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอม ก็ไม่สามารถถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วมได้ แต่หากเจรจากันได้ จะแบ่งเป็นอีก 2 กรณีย่อย ๆ คือ

    • กรณีที่จดทะเบียนสมรสกัน

    เมื่อทำการตกลงแบ่งทรัพย์สิน และตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ให้นำใบหย่าและสัญญาจะซื้อจะขายไปขอถอนชื่อคู่รักที่เลิกราออกจากสัญญากู้ที่ทำไว้กับธนาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารจะเปลี่ยนรูปแบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสัญญาเงินกู้ใหม่

    • กรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

    การถอดชื่อจากการกู้ร่วมนั้นไม่ยาก แต่ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่ายว่าจะให้ใครเป็นคนถือกรรมสิทธิ์เจ้าของสินทรัพย์ที่ตกลงกู้ร่วมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน, คอนโด, ทาวน์โฮม หรืออาคารพาณิชย์ นั้น ๆ ด้วย โดยสามารถแจ้งความประสงค์กับธนาคารว่าต้องการถือกรรมสิทธ์เพียงคนเดียว เนื่องจากได้หย่าร้างกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งธนาคารจะประเมินความสามารถของผู้กู้ว่าสามารถผ่อนชำระต่อได้หรือไม่

    ทั้งนี้หากผู้กู้มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดีหรือรายได้ไม่เพียงพอ ทางธนาคารอาจจะไม่อนุมัติให้ถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม เพราะธนาคารจะถือว่าตนมีความเสี่ยงเพิ่ม

    สรุป 

    ข้อดี : เหมาะสำหรับคนที่ต้องการบ้าน มีกำลังทรัพย์เพียงพอต่อการผ่อนด้วยตัวเอง ไม่ต้องขายต่อแม้จะเลิกกับแฟนแล้วก็ตาม

    ข้อเสีย : ผู้ที่จะผ่อนบ้านต่อต้องมีความสามารถในการผ่อนชำระแทนการกู้ร่วมได้

    รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้เดี่ยว

    สำหรับขั้นตอนที่ 2 นี้ เป็นทางออกกรณีที่ธนาคารไม่อนุมัติให้ถอนชื่อคู่รักที่กู้ร่วมด้วยกันออก เนื่องจากประเมินแล้วว่าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คนเดียวได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ การรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่นเพื่อทำเรื่องขอกู้ที่อยู่อาศัยเพียงคนเดียว ทั้งนี้ธนาคารจะเป็นผู้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ โดยมีปัจจัยหลักในการพิจารณาเสมือนการกู้ซื้อบ้าน หรือกู้ซื้อคอนโดใหม่ ดังนี้

    • รายได้ของผู้กู้
    • ยอดดาวน์ที่กู้ซื้อบ้าน
    • ภาระหนี้ต่อเดือนของผู้กู้
    • ประวัติเครดิตบูโรหรือแบล็คลิสต์

    เมื่อธนาคารประเมินรายได้แล้วผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนชำระ ทางธนาคารก็จะอนุมัติการรีไฟแนนซ์ โดยในวันที่จดจำนองรีไฟแนนซ์ใหม่ ต้องตามตัวผู้กู้ร่วมมาเซ็นยินยอมโอนบ้านอีกครั้ง ก็เป็นการจบขั้นตอน

    ทั้งนี้สำหรับใครที่กังวลว่าในอนาคต อาจจะผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโดต่อไม่ไหว หากผู้กู้ผ่อนบ้านมาเป็นเวลา 3 ปี ผู้กู้อาจขอรีไฟแนนซ์อีกรอบเพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนบ้านได้ หรือ จะ Retention เพื่อขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิมก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าทางธนาคารไม่อนุมัติ อาจจำเป็นจะต้องใช้วิธีในข้อต่อไป

    สรุป

    ข้อดี : เหมาะกับคนที่เลิกกับแฟน แล้วต้องการถือกรรมสิทธิ์บ้านต่อเพียงคนเดียว แต่ยื่นถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วมที่ธนาคารเดิมไม่ผ่าน มีโอกาสได้รับการอนุมัติเงินกู้จากธนาคารอื่น และมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงในช่วงแรก

    ข้อเสีย : อาจยื่นกู้ไม่ผ่านก็ได้ ต้องมั่นใจว่าเรามีความสามารถในการผ่อนชำระเพียงพอ

    ตัดปัญหาทุกความยุ่งยากด้วยการขายทิ้ง

    เป็นวิธีสุดท้ายในการตัดปัญหาการแบ่งกรรมสิทธิกรณีคู่รักกู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันและจำเป็นต้องเลิกราไปที่หลายคู่นิยมทำ เนื่องจากไม่ต้องยุ่งยากในการตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์ รวมถึงหมดปัญหายุ่งยากในการยื่นรีไฟแนนซ์ใหม่อีกครั้งด้วย แต่วิธีนี้จะสามารถทำได้ต่อเมื่อทั้งสองตกลงยินยอมจะขายบ้าน และไม่มีใครอยากครองกรรมสิทธิบ้านที่ซื้อ ทั้งนี้จะต้องตรวจสภาพบ้านและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ก่อนขายบ้านด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • ค่าธรรมเนียมการโอน
    • ค่าอากรแสตมป์
    • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
    • ภาษีธุรกิจเฉพาะ

    ทั้งนี้การตั้งราคาขายบ้าน ขายคอนโด ควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หลังจากที่ขายบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากการขายจะต้องมาดูว่าบ้านหลังนี้มีมาก่อนการจดทะเบียนสมรสหรือไม่ เพราะหากบ้านนี้มีมาก่อนจดทะเบียนสมรส กำไรที่ได้จากการขายบ้านต้องเป็นของเจ้าของบ้าน แต่หากเป็นการซื้อบ้านร่วมกันและได้มาภายหลังจดทะเบียนจะถือว่าเป็นสินสมรส ดังนั้นกำไรที่ได้จากการขายบ้านจะถูกแบ่งกันคนละครึ่ง

    สรุป 

    ข้อดี :  ไม่ต้องผ่อนบ้านต่อ หมดภาระหนี้ และได้เงินก้อนมาไว้ใช้

    ข้อเสีย : ในเวลากระชั้นชิด อาจประกาศหาคนซื้อในราคาที่ต้องการได้ยาก

    แล้วทรัพย์สินอื่น ๆ เลิกกับแฟนแล้วจะต้องทำอย่างไร?

    ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันก่อนว่าการเลิกรากันในครั้งนี้ จะแบ่งออกได้เป็นสองกรณีหลัก ๆ คือ

    จดทะเบียนสมรสแล้ว

    กรณีนี้ ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ได้มาหลังจากการแต่งงานจะถูกนับเป็นสินสมรส ไม่สามารถแยกออกจากกันให้กลายเป็นสินส่วนตัวได้ หรืออธิบายง่าย ๆ เป็นทรัพย์สินที่มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น การกู้ร่วมซื้อบ้าน, คอนโด การซื้อรถยนต์ หรือแม้แต่เงินเดือน รวมไปถึงเงินโบนัส และในกรณีที่ต้องหย่าร้างกันในภายหลัง ทรัพย์สินที่เป็นรสินสมรส จะถูกแบ่งคนละครึ่ง เท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1533

    ยกเว้นเสียแต่ว่าคู่สมรสได้ทำการตกลง ทำสัญญาต่าง ๆ ไว้ก่อนการจดทะเบียนแยกแยะทรัพย์สินว่าอะไรคือสินส่วนตัวและสินรสกันก่อน นอกจากนี้ หนี้สินบางประเภทของคู่สมรส ก็ถือเป็นหนี้ส่วนตัว หากหย่าร้าง หรือคู่สมรสเสียชีวิตก่อนขณะที่มีหนี้สินก็ไม่จำเป็นต้องใช้ เช่น หนี้การพนัน, หนี้ที่คู่สมรสก่อไว้ก่อนแต่งงาน เป็นต้น

    ไม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วยกัน 

    ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีการเลิกกับแฟน การแบ่งแบกทรัพย์สินต่าง ๆ นั้นจะจัดการได้ยุ่งยากกว่าการจดทะเบียนสมรส เนื่องจากตัวกฎหมายไม่ได้ถือว่าเป็นคู่สมรสต่อกัน และถึงแม้ทางกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่หากมีการกู้ร่วม หรือซื้อสิ่งของร่วมกัน 

    โดยมาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าผู้เป็นเจ้าของร่วมกันมีส่วนเท่ากัน  จึงต้องแบ่งกันคนละครึ่ง และทางกฎหมายจะถือว่าเป็นการแสดงเจตนาให้ถือได้ว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน ถือว่าต่างมีสิทธิเป็นเจ้าของ

    เช่น คุณแคร์ และ คุณห่วงใย ร่วมกันซื้อบ้านร่วมกัน แม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่เมื่อเลิกราแล้วต้องการขายบ้าน ทั้งคู่จะยังคงถือว่าเป็นผู้กู้ร่วมที่มีสิทธิ์ในการแบ่งกำไรที่ได้จากการขายบ้านที่กู้ร่วมกันมาอยู่ดี หรือ การลงทุนทำธุรกิจร่วมกันมา กำไรจากธุรกิจดั่งกล่าวถือว่าทั้งคู่ยังมีสิทธิ์อยู่เช่นเดิม

    แต่ทรัพย์สินที่ต่างคนต่างทำมาหาได้ จะถือว่าแยกกันทันที และเป็นสิทธิของฝ่ายนั้นผู้เดียว เช่น งินเดือน ไม่ถือว่าเป็นสินสมรสตามมาตร 1474(1) ตามที่กฎหมายและทางสำนักทนายได้กล่าวไว้ และไม่สามารถฟ้องร้องเรียกสินสมรสได้ 

    แต่ในกรณีที่ต้องการฟ้องสิทธิ์การจ่ายค่าเลี้ยงดู แม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น แต่คู่สมรสอย่าฝ่ายหญิงสามารถฟ้องร้องเพื่อให้รับรองเป็นบุตร และจึงค่อยฟ้องร้องให้รับผิดชอบค่าเลี้ยงดูย้อนหลังได้ โดยการฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลและค่าธรรมเนียม

    สรุป

    กรณีเลิกกับแฟนแล้วกู้ร่วมเพื่อซื้อคอนโด ซื้อบ้าน เมื่อต้องเลิกรากันไป สามารถทำได้ ไม่ยุ่งยาก ทั้ง การถอนชื่อผู้กู้ร่วม, การรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อให้มีชื่อผู้กู้คนเดียว หรือแม้แต่การขายทอดตลดาเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน ซึ่งไม่ว่าจะวิธีไหนทั้งสองจำเป็นจะต้องตกลงให้เรียบร้อย และได้ยินยอมจากทั้งสองฝ่าย

    และสำหรับใครที่กำลังมองหาสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ที่ แรบบิท แคร์ ก็มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านให้คุณได้เลือก! หรือจะเลือกทำประกันออมทรัพย์ ประกันชีวิตเผื่อเอาไว้เป็นมรกดกให้ลูกหลาน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะการทำประกันชีวิตเอาไว้ให้คนที่คุณรัก ไม่ว่าจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่ เงินก็ถึงมืออีกฝ่ายอย่างแน่นอน


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    อาหารเกาหลี Soft Power ที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ แนะนำเมนูที่หลายคนถูกใจและได้รับความนิยม

    เมื่อพูดถึงอาหารสัญชาติต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมในเมืองไทยแล้ว แน่นอนว่าอาหารเกาหลีจะต้องเป็นหนึ่งในลิสต์ที่หลายคนนึกขึ้นมาได้
    คะน้าใบเขียว
    02/05/2024

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ‘ช็อกโกแลต’ ทำมาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร และมีข้อควรระวังในการรับประทานอย่างไรบ้าง ?

    ช็อกโกแลต ขนมชนิดโปรดในดวงใจของหลาย ๆ คนที่ช่วยสร้างความสุขให้ทุกครั้งเมื่อรับประทานนั้น ความจริงแล้วทำมาจากอะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร
    Nok Srihong
    24/04/2024

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    กรอบแว่น มีความสำคัญต่อบุคลิกภาพอย่างไร ? แนะนำวิธีเลือกกรอบแว่นแบบง่าย ๆ ให้เหมาะสมกับตัวเอง

    กรอบแว่นสิ่งสำคัญสำหรับคนใส่แว่นที่ไม่ว่าจะตัดแว่นกี่ครั้งก็ต้องกลุ้มอกกลุ้มใจกับการเลือกกรอบแว่นใหม่แทบทุกครั้ง
    Nok Srihong
    22/04/2024