
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
เมื่อพูดถึงการทำประกันผู้สูงอายุ เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยประสบพบเจอกับความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับข้อตกลงของประกัน รูปแบบของผลประโยชน์ที่แตกต่างจากประกันชีวิตแบบอื่น ๆ จึงเกิดประเด็นขึ้นในโลกออนไลน์อยู่เรื่อย ๆ ถึงความบกพร่องหรือปัญหาเรื่องการโดนประกันโกงบ้าง ไม่เป็นตามข้อตกลงบ้าง
แท้จริงแล้วเงื่อนไขของประกันผู้สูงอายุ นั้นเป็นอย่างไร ทำไมจึงมีคนเข้าใจผิดเป็นจำนวนมาก เรามาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
เราจะเห็นโฆษณาจากสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประกันผู้สูงอายุ ว่าสามารถทำได้ง่าย ไม่มีเงื่อนไขเยอะ และไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ แม้จะบอกว่าไม่มีเงื่อนไขเยอะแต่ก็ยังเกิดปัญหาอยู่เรื่อย ๆ เราจึงรวบรวมเอาข้อสงสัยจากหลาย ๆ คน มาตอบเพื่อไขข้อข้องใจให้ทุกคนได้รับทราบอย่างทั่วถึง และไม่เสียผลประโยชน์จากการทำประกันผู้สูงอายุ
ประกันผู้สูงอายุสามารถทำได้เฉพาะผู้เอาประกันที่มีอายุ 50 – 70 ปี เท่านั้น โดยสามารถทำได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ (ขึ้นอยู่กับรูปแบบประกันของแต่ละบริษัท) ส่วนเงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชยจะเป็นไปตามกรณีต่อไปนี้
ประกันจะจ่ายเงินชดเชยเฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตเท่านั้น ถ้าพิการ/ป่วย หรือต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ประกันจะไม่จ่ายเงินชดเชยเพราะไม่ใช่ประกันสุขภาพ
จะจ่ายต่างกันจาก 2 สาเหตุคือ หากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จะจ่ายเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันเต็มจำนวน รวมถึงได้รับเบี้ยประกันที่เราจ่ายคืนพร้อมกับเงินอีก 2 – 5% ของเบี้ยนั้น
แต่หากเสียชีวิตจากการเป็นโรค บริษัทประกันจะจ่ายเบี้ยที่เราจ่ายไปทั้งหมดคืน และเงินอีก 2 – 5%
บริษัทจะจ่ายเงินเอาประกันเต็มจำนวน ในการเสียชีวิตทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุหรือโรคก็ตาม
เราจะเห็นในโฆษณาบ่อยครั้งว่า หากผู้สูงอายุต้องการทำประกันชีวิตก็สามารถทำได้ง่าย ในบางครั้งก็ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ แต่ข้อสงสัยที่ตามมาคือ เมื่อไม่ต้องตรวจสุขภาพ บริษัทประกันจึงไม่รู้ว่า ผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วยมาก่อน ถ้าเสียชีวิตจากโรคที่เป็นมาก่อนบริษัทจะจ่ายเงินหรือไม่?
ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนค่ะว่า ประกันผู้สูงอายุถูกออกแบบมาสำหรับคนที่มีอายุมาก มีโอกาสเป็นโรคหรือสุขภาพไม่แข็งแรง ซึ่งแตกต่างจากประกันชีวิตทั่ว ๆ ไป เพื่อให้ผู้สูงอายุเหล่านี้ได้มีโอกาสทำประกันชีวิตได้
แต่ต้องแลกกับเงื่อนไขที่ว่า ถ้าผู้เอาประกันเสียชีวิตเสียชีวิตใน 2 ปีแรกนับจากวันที่อนุมัติประกัน จากการเป็นโรคอะไรก็ตาม บริษัทจะไม่จ่ายเงินประกันให้ แต่จะคืนเบี้ยประกันตามข้อที่ 1 ให้แทน เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทเอง
ประกันผู้สูงอายุ ไม่ใช่ ประกันสุขภาพ หรือ ประกันอุบัติเหตุ แต่เป็นประกันชีวิต ซึ่งตามเงื่อนไขจะจ่ายเมื่อผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิตเท่านั้น เพราะฉะนั้น จะไม่สามารถเบิกค่ารักษาได้อยู่แล้วค่ะ
ขึ้นอยู่กับสุขภาพและกำลังเงินที่สามารถจ่ายได้เลยค่ะ หากอายุ 50 ปี หรืออยู่ในวัยเกษียณ และมีร่างกายไม่แข็งแรงนักอาจทำประกันชีวิตแบบปกติไม่ได้ เพราะบริษัทไม่รับทำ
หรือใครที่มีเงินไม่มากนัก ก็ให้ทำประกันผู้สูงอายุแทน เพราะจะรับทำทุกกรณี ถ้าหากมีกำลังทรัพย์ที่จ่ายไหวและ สุขภาพยังแข็งแรงดีก็เหมาะกับการทำประกันชีวิตแบบปกติมากกว่า
การทำประกันชีวิต คือ การคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากเราจากไป ลูกหลานสามารถนำหลักทรัพย์จากประกันที่มาจากการจ่ายเบี้ยหลักหมื่นหลักแสน แต่ได้คืนเป็นเงินหลักแสนหรือหลักล้าน จะคุ้มค่ากว่าการนำเงินเก็บมาใช้
ทั้งนี้ ต้องเลือกบริษัทประกันชีวิตที่ดี มีคุณภาพ หรือเลือกรูปแบบประกันผ่านโบรกเกอร์ที่เชื่อถือได้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงโดนโกงลงได้ค่ะ
โดยสรุปแล้ว ปัญหาของประกันผู้สูงอายุ ที่มักจะเกิดขึ้นนั้นก็มีสาเหตุมาจากการที่บริษัทหรือเจ้าหน้าที่ประกันให้ข้อมูลแก่ลูกค้าได้ไม่ครบถ้วน หรืออาจเกิดจากตัวผู้ทำประกัน เองที่ไม่เข้าใจเงื่อนไขของประกันชีวิตและไม่ได้หาข้อมูล แต่เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและสอบถามข้อมูลจากตัวแทนให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งค่ะ
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี
บทความแคร์สุขภาพ
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?