วิธีดูวันหมดอายุ BBE vs. MFG vs. EXP คืออะไร? ต่างกันอย่างไร?
เคยกันไหม ? เมื่อกินขนส่ง หรือเครื่องดื่ม แล้วรู้สึกว่ารสชาติแปลก ๆ แปร่ง ๆ อย่างไรไม่รู้ชอบกล พอหมุนกล่องไปดูที่วันหมดอายุ เจอตัวอักษรย่ออะไรก็ไม่รู้ งงงวยไปหมด สรุปแล้วขนม หรืออาหารที่เรา ๆ กินกันอยู่มันหมดอายุ ใกล้หมดอายุ หรืออยู่ในสถานะไหนกันแน่ วันนี้ แรบบิท แคร์ อยากมาเสนอวิธีการดูวันหมดอายุกันเลย พร้อมตัวย่อ BBE, MFG และ EXP มีความหมาย และแตกต่างกันอย่างไร เพราะแท้จริงเรื่องวันหมดอายุอาหารเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย สำคัญถึงชีวิต ฉะนั้นใครยังไม่แม่น ต้องตามมาอ่านต่อกันเลย
วิธีดูวันหมดอายุ พื้นฐาน
หากเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยา ที่ผ่านมาตรฐานการผลิต อย. / ISO / GMP และอื่น ๆ อีกมากมาย จะต้องมีการระบุวันหมดอายุไว้เสมอ หรือหากเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ที่ผลิตกันเอง และไม่ได้เป็นอาหาร หรือน้ำที่ต้องรับประทานทันที ก็ควรจะมีระบุวันหมดอายุ หากไม่มีจะต้องระมัดระวังก่อนรับประทานทุกครั้ง
โดยบริเวณที่จะแสดงวันหมดอายุ จะแล้วแต่ผลิตภัณฑ์ ส่วนมากจะอยู่ด้านหลังของผลิตภัณฑ์ บริเวณมุมล่างสุด ฉะนั้นก่อนที่จะกินอะไรบางอย่าง อย่าลืมพลิกหลังกล่อง หลังบรรจุภัณฑ์ เพื่อตรวจสอบวันหมดอายุ ซึ่งวันหมดอายุอาจมีการระบุไว้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเราควรรู้ว่าทั้งหมดคืออะไร ?
EXP คืออะไร
EXP คือ วันหมดอายุของอาหาร และยา ย่อมาจาก Expiration Date ซึ่งหากเลยวันหมดอายุที่ระบุไว้บนของอุปโภค บริโภค ห้ามใช้ ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด เพราะอาหาร และเครื่องดื่มอาจบูด ยาอาจให้โทษแทนให้คุณไปแล้ว ทำให้ควรจะทิ้งของที่เกินเลยเวลารับประทานไปแล้วในทันที
BBE คืออะไร ?
BBE คือ วันที่ควรบริโภคก่อน หรือย่อมาจาก Best Before Eating หรือ Best Before Date คือช่วงเวลาที่อาหาร เครื่องดื่ม หรือยา ที่ควรรับประทาน โดยจะได้รสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการเต็มที่ และครบถ้วนที่สุด โดยหากเลยวัน BBE ไปเล็กน้อย อาหาร หรือยาตัวนั้น ๆ อาจมีรสชาติไม่อร่อยเหมือนเดิม หรือคุณค่าทางอาหารน้อยลง แต่จะไม่ได้ให้โทษที่มีผลต่อสุขภาพอย่างจริงจัง จึงยังสามารถรับประทานได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้รับประทาน
MFG คืออะไร ?
MFG คือ วันที่ผลิต ย่อมาจาก Manufacturing date หรือ Manufactured Date คือวันที่ระบุว่าได้มีการผลิตสินค้าชิ้นนั้นๆ (ไม่ใช่วันที่วางขายผลิตภัณฑ์) เพื่อให้รับรู้ว่าจะนับอายุขัยของสินค้านับตั้งแต่วันที่ผลิต โดยในอุตสาหกรรมอาหาร การพิมพ์ข้อมูลวันที่ผลิตเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพราะต้องทำตามกฏหมาย และเป็นการให้ผู้บริโภครับรู้อายุของอาหารนั้นๆ ด้วย
EXP และ BBE แตกต่างกันอย่างไร ?
ส่วนมาก BBE จะใช้กับอาหารแห้งที่สามารถเก็บได้นานมาก ๆ จะสังเกตได้ว่าบางครั้งวัน BBE จะไม่ได้ห่างจากวันที่ผลิตมากนัก แต่ก็ยังสามารถเก็บรักษาได้อยู่ เพราะอาหารไม่ได้เน่าเสีย แค่อาจจะเสื่อมสภาพ หรือรสชาติไม่สมบูรณ์เท่านั้น แต่หากเป็นอาหารที่เก็บได้สั้น ๆ เน่าบูดง่าย หรือเป็นยา ส่วนมากจะเป็นการระบุ EXP หรือวันหมดอายุ เพราะหากบริโภคเมื่ออาหารเน่าบูดก็อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้เลย หรือบางสินค้าอาจระบุไว้ทั้งสองอย่างเพื่อให้มั่นใจได้เลยว่าเวลาไหนควรรับประทาน เวลาไหนไม่ควรรับ
ยกตัวอย่างการอ่านวันหมดอายุ ของอาหาร หรือยา
ขนมกรุบกรอบ 1 ถุง
- MFG : 01/01/2022
- BBE : 01/08/2022
- EXP : 01/03/2023
ความหมายคือ ขนมถูกผลิตเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2022 และรสชาติ คุณค่าทางอาหารจะสมบูรณ์ที่สุดตั้งแต่ 01/01/2022 – 01/08/2022 แต่ในช่วง 01/08/2022 – 01/03/2023 ขนมอาจเริ่มชืด ไม่อร่อยเท่าเดิม หรือคุณค่าทางอาหารสามารถลดลงได้ แต่หากเป็นหลังวันที่ 01/03/2023 ไปแล้ว จะถือว่าขนมหมดอายุไปแล้ว ควรทิ้ง และหลีกเลี่ยงการรับประทาน (ปกติผลิตภัณฑ์จะไม่ค่อยมีการระบุทั้ง BBE และ EXP)
ยาแก้อาการท้องเสีย 1 ขวด
- MFG : 02/02/2022
- EXP : 02/02/2026
ระบุเพียงแค่วันที่ผลิต และวันหมดอายุ เพราะหากเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทยา ไม่นิยมระบุ BBE เพราะหากยาเริ่มหมดฤทธิ์ความเป็นยา จะถือว่ายานั้น ๆ หมดอายุโดยทันที ฉะนั้นหลังจากวันที่ 02/02/2026 จึงต้องทิ้งยาแก้ท้องเสียขวดนี้เสีย
บะหมี่สำเร็จรูป 1 ถุง
- MFG : 01/01/2023
- BBE : 01/07/2023
ระบุเพียงวันที่ผลิต และวันควรรับประทาน แต่อย่างที่รู้กันว่าบะหมี่สำเร็จรูป หรืออาหารแห้ง อาหารกระป๋องต่าง ๆ จะเก็บรักษาได้อย่างยาวนาน ฉะนั้นหากเลยวันที่ 01/07/2023 ไปแล้ว รสชาติของบะหมี่สำเร็จรูปถุงนั้น อาจไม่อร่อยเหมือนเดิม อาจไม่ได้กลิ่นที่หอมอร่อยเท่าเดิม แต่ก็อาจยังรับประทานได้
วิธีดูวันหมดอายุ เครื่องสำอาง สกินแคร์
วิธีการดูอายุการใช้งานของเครื่องสำอาง และสกินแคร์ มีความคล้ายคลึงกับอาหาร และยา โดยส่วนมากจะมีระบุ MFG (วันที่ผลิต) และ EXP (วันหมดอายุ) ไว้อย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันคือวันหมดอายุกรณีที่ยังไม่เปิดใช้ผลิตภัณฑ์ ฉะนั้นข้าง ๆ MFG และ EXP มักจะมีโลโก้รูปเปิดขวด และมีกำหนดเป็น 3M / 4M / 6M ไปจนถึง 12M
ซึ่งโลโก้มีความหมายว่าหลังจากเปิดขวดผลิตภัณฑ์แล้วสามารถใช้งานได้ 3 เดือน / 4 เดือน / 6 เดือน / 12 เดือน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเมื่อเลยเวลาที่กำหนดหลังจากเปิดใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์จะเสีย หรือหมดคุณสมบัติตั้งต้น ฉะนั้นหากเปิดใช้งานผลิตภัณฑ์ใด ๆ แล้ว ควรใช้ให้หมด ตรงตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามสัญลักษณ์ดังกล่าวนี้
วิธีดูวันหมดอายุ สินค้านำเข้า
ปกติแล้วครั้นสินค้าถูกนำเข้ามาขายในประเทศไทย จะต้องมีการระบุวันผลิต และวันหมดอายุที่คนไทยสามารถเข้าใจได้ แต่ในกรณีที่ไม่มี หรือไปเที่ยวต่างประเทศ เราอาจมีหลักการง่าย ๆ มาฝากทุกท่านตามนี้
วิธีดูวันหมดอายุ สินค้ายุโรป
ใช้มาตรฐานคล้าย ๆ กับอเมริกาคือมีการระบุ MFG (วันที่ผลิต) และ EXP (วันหมดอายุ) แต่จะไม่ค่อยนิยมระบุ BBE (วันที่ควรบริโภคก่อน) เพราะทางการบอกว่ามักสร้างความสับสน ฉะนั้นหากสินค้าจากยุโรปไม่ระบุ BBE จึงไม่ต้องแปลกใจเพราะรัฐบาลไม่สนับสนุนให้ระบุนั่นเอง !
วิธีดูวันหมดอายุ สินค้าจีน
สินค้าจีน มักระบุ MFG (วันที่ผลิต) ไว้เป็นวันที่ตัวใหญ่ ๆ บริเวณมุมล่างของผลิตภัณฑ์ ส่วนวันหมดอายุจะระบุภายหลังคำว่า 保质期 (bǎo zhì qī) ซึ่งจะกำหนดเป็นจำนวนเดือน เช่น 10 เดือน หรือ 10个月 ซึ่งเราจะต้องไปคำนวณเอง นับจากวันที่ผลิตไปแปดเดือน วันหมดอายุ หรือ วันที่ควรบริโภคก่อน คือวันนั้นแหล่ะ
วิธีดูวันหมดอายุ สินค้าญี่ปุ่น
การดูวันหมดอายุของญี่ปนุ่สามารถดูได้ง่าย ๆ หลังภาษาญี่ปุ่นจะเรียก “วันหมดอายุ” ว่า 消費期限 (โช-ฮิ-คิ-เก็ง) และ “วันหมดอายุความอร่อย” นั้นจะเรียกว่า 賞味期限 (โช-มิ-คิ-เก็ง) โดยบางครั้งจะระบุมาพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ผู้บริโภครู้ว่าควรจะรับประทานช่วงไหนได้อย่างอร่อยที่สุด
หวังว่าหลาย ๆ คนคงจะได้รู้จักการดูวันหมดอายุของอาหาร เครื่องดื่ม ยา ไปจนถึงเครื่องสำอางกันเรียบร้อย ทั้งใน ทั้งนอกประเทศกันแล้ว เพราะการทานของเสีย ของหมดอายุ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง แก้ไขยาก ฉะนั้นนอกจากความใส่ใจ ดูฉลากผลิตภัณฑ์ให้เป็นแล้ว แรบบิท แคร์ อย่างแนะนำประกันสุขภาพ จากสถาบันการเงินชั้นนำ ให้คุณได้อุ่นใจเรื่องสุขภาพไปหนึ่งเปาะ คลิกเลย!
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น