แคร์สุขภาพ

ดัชนีมวลกายคืออะไร? ค่า BMI คำนวณ อย่างไร? แบบไหนเรียกว่าอ้วน?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: December 19,2022
ค่า bmi ดัชนีมวลกาย

เวลาส่องกระจกเต็มตัวหลายคนคงเคยสงสัยกับตัวเองไม่น้อยว่า หุ่นของตัวเองที่เห็นผ่านกระจกเงาอยู่ตอนนี้ เป็นหุ่นที่มีความเหมาะสมแล้วหรือยัง น้ำหนักตัวมีความสมดุลกับส่วนสูงแล้วหรือยัง อ้วนเกินไป หรือผอมเกินไปหรือเปล่า แน่นอนว่ามองด้วยตาเปล่าคงไม่สามารถตอบได้แบบชัดเจนว่าน้ำหนักตัวของเราสมดุลกับส่วนสูงแล้วหรือยัง น้องแคร์จะพาทุกคนมารู้จักเครื่องมือที่จะสามารถตอบข้อสงสัยนี้ได้แบบชัดเจนมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ BMI นั่นเอง

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ค่าดัชนีมวลกาย หรือ ค่า BMI คืออะไร?

    ค่า BMI หรือ ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) คือ มาตรฐานการชี้วัดความสมดุลของร่างกาย เป็นการนำค่าของน้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม) มาหารด้วยตัวเลขส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเมตร) โดยการคำนวณหาค่า BMI ด้วยสูตรนี้จะสามารถใช้ได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีเป็นต้นไป ตัวเลขค่า BMI ที่ได้จากการคำนวณก็จะเป็นตัวชี้วัดเบื้องต้นได้ว่าน้ำหนักตัวของคุณ ณ ปัจจุบันมีความสมดุลหรืออยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมแล้วหรือไม่ อ้วนเกินไป ผอมเกินไป หรือ ค่า BMI ปกติดีอยู่แล้ว

    สูตรคำนวณ BMI = น้ำหนัก (หน่วยกิโลกรัม) / ส่วนสูง x ส่วนสูง (หน่วยเมตร)

    ค่าbmi ปกติ ค่าbmi หญิง ดัชนีมวลกาย

    นอกจากนี้ค่า BMI ยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเสี่ยงปัญหาสุขภาพของคุณในอนาคต อย่างเช่น ภาวะโรคอ้วน ได้อีกด้วย เป็นเสมือนการประเมินร่างกายโดยรวมที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเผาผลาญอาหารในร่างกายของเราว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด หากค่าดัชนีมวลกายที่ได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็แสดงว่าร่างกายของเรามีการเผาผลาญได้เป็นอย่างดี อาหารที่รับประทานไม่มีผลทำให้เกิดภาวะอ้วนเกินไปจนค่า BMI เกินมาตรฐาน ทั้งนี้การคำนวณค่าดัชนีมวลกายนั้นอาจมีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนักของเราจากค่าดัชนีมวลกายที่คำนวณได้ โดยสามารถแบ่งเกณฑ์ค่าดัชนีมวลกายได้ ดังนี้

    • ค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.50

    น้ำหนักน้อยเกินไปหรือผอมเกินไป ส่วนสูงไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัว สูงมากแต่น้ำหนักตัวน้อยเกินไป มีความเสี่ยงในเรื่องการรับสารอาหารไม่เพียงพอ ได้รับพลังงานในแต่ละวันไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลียมากกว่าปกติ

    • ค่าดัชนีมวลกาย 18.50 – 22.90

    น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่า BMI ปกติ เหมาะสมสำหรับคนไทย มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ภาวะโรคอ้วนน้อยที่สุด ใครที่คำนวณค่า BMI ออกมาอยู่ระหว่างค่านี้ควรพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับค่า BMI ปกติ เช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดี

    • ค่าดัชนีมวลกาย 23.00 – 24.90

    น้ำหนักตัวของคุณกำลังมากเกินไป น้ำหนักตัวเริ่มมากไม่สัมพันธ์กับส่วนสูง เป็นค่าตัวเลขที่บ่งบอกว่าคุณควรจะต้องเริ่มควบคุมน้ำหนักบ้างแล้ว เพื่อให้ค่า BMI ปกติเช่นเดิม

    • ค่าดัชนีมวลกาย 25.00 – 29.90

    หากคุณคำนวณค่าดัชนีมวลกายแล้วได้ตัวเลขที่ระหว่าง 25.00 – 29.90 นั่นหมายความว่า คุณกำลังเข้าสู่ภาวะโรคอ้วนระดับที่ 1 แม้จะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก แต่ก็ยังมีความเสี่ยงเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง อย่างเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เช่นกัน ควรรีบควบคุมน้ำหนักตัว ปรับพฤติกรรมการกิน เพื่อให้น้ำหนักกลับมาสัมพันธ์กับส่วนสูง

    • ค่าดัชนีมวลกาย 30.00 ขึ้นไป

    บ่งบอกถึงความอันตราย คุณกำลังมีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป ในระดับอ้วนอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงเรื้อรังที่มากับความอ้วน แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นก็คือ ภาวะโรคอ้วน ซึ่งหากคุณคำนวณค่า BMI แล้วอยู่ในระดับนี้ คุณจะต้องเคร่งครัดในการปรับพฤติกรรมกินร่วมกับการออกกำลังกายอย่างจริงจัง เพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงจนสามารถสัมพันธ์กับส่วนสูง ค่า BMI ปกติเช่นเดิมได้ และควรวางแผนตรวจสุขภาพและปรึกษาหมออย่างต่อเนื่อง

    ค่า bmi ปกติ ค่า bmi หญิง ค่า bmi ชาย ดัชนีมวลกาย

    สำหรับการคำนวณค่า BMI ของวัยเด็กจะมีความแตกต่างกับการวัดค่า BMI ในผู้ใหญ่บ้างเล็กน้อย แม้จะมีการใช้สูตรในการคำนวณค่าดัชนีมวลกายสูตรเดียวกัน แต่สำหรับการอ่านค่า วัดค่าของเด็กจะต้องใช้แผนภูมิเฉพาะอายุและเพศร่วมด้วย เนื่องจากการเจริญเติบโต น้ำหนัก ไขมันของเด็กแต่ละเพศแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน ดังนั้นในการอ่านค่า วัดผลค่าดัชนีมวลกายในเด็ก จะต้องเทียบกับแผนภูมิ ดังนี้

    • หากตัวเลขค่า BMI ที่ได้มีค่าน้อยกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 5 แสดงว่าเด็กมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป
    • หากตัวเลขค่า BMI ที่ได้มีค่าอยู่ระหว่างเปอร์เซ็นไทล์ที่ 5 แต่น้อยกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 85 แสดงว่าเด็กมีน้ำหนักตัวเหมาะสม
    • หากตัวเลขค่า BMI ที่ได้มีค่าอยู่ระหว่างเปอร์เซ็นไทล์ที่ 85 แต่น้อยกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 แสดงว่าเด็กมีน้ำหนักตัวเกิน
    • หากตัวเลขค่า BMI ที่ได้มีค่ามากกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 เป็นต้นไป แสดงว่าเด็กมีภาวะอ้วน

    อย่าเข้าใจผิด! ค่า BMI ไม่ใช่การหาปริมาณไขมันในร่างกาย

    เมื่อพูดถึงค่า BMI หลายคนอาจมีการเข้าใจผิด คิดว่าค่า BMI นั้นสามารถหาค่าปริมาณไขมันในร่างกายได้ด้วย แต่จริง ๆ แล้วค่า BMI เป็นเพียงค่าที่ใช้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัวเมื่อเทียบกับส่วนสูงเท่านั้น ไม่สามารถบ่งบอกได้ว่ามี ปริมาณไขมันในร่างกายมากเท่าไร ดังนั้นหากคุณต้องการทราบปริมาณไขมันในร่างกายคุณจะต้องใช้อีกสูตรในการคำนวณหา โดยนำค่า BMI ที่ได้จากการคำนวณ นำไปคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ไขมันต่อได้ ดังนี้

    • สูตรคำนวณปริมาณไขมันสำหรับเพศหญิง = (1.2 x ค่า BMI) + (0.23 x อายุเป็นปี) – 5.4
    • สูตรคำนวณปริมาณไขมันสำหรับเพศชาย  = (1.2 x ค่า BMI) + (0.23 x อายุเป็นปี) – 16.2

    โดยปริมาณไขมันที่อยู่ในเกณฑ์ปกติเหมาะสม ควรจะมีค่าเฉลี่ยตัวเลขอยู่ที่ 15 – 20% สำหรับเพศชาย และ 25 – 30% สำหรับเพศหญิง

    ค่า BMI มีความสำคัญอย่างไร?

    อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ค่าดัชนีมวลกายเป็นเครื่องมือช่วยด้านสุขภาพที่ดีที่ทำให้เราสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ว่าน้ำหนักตัว ณ ปัจจุบันเมื่อเทียบกับส่วนสูงแล้ว มีความสมดุลหรือไม่ หากมากไปหรือน้อยไป ก็จะทำให้เราสามารถวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่ช่วยทำให้น้ำหนักตัวของเราเหมาะสมกับส่วนสูงได้ และยังเป็นการช่วยประเมินความเสี่ยงในด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากค่า BMI ไม่ปกติได้อีกด้วย เช่น การมีโอกาสเกิดภาวะโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ การขาดสารอาหาร รวมไปถึงโรคทางกระดูกอย่างข้อเข่าข้อเท้าเสื่อม เนื่องจากน้ำหนักเกิน เป็นต้น แต่ทั้งนี้ค่าดัชนีมวลกาย หรือ ค่า BMI นั้นไม่สามารถที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหรือใช้บอกข้อมูลที่แท้จริงของร่างกายได้แบบเป๊ะ ๆ เพียงแต่จะเป็นการคาดคะเนแนวโน้มของสุขภาพร่างกายเบื้องต้นเท่านั้น

    ซึ่งจริง ๆ แล้วการคำนวณหาว่าน้ำหนักตัวเรา ณ ขณะนี้มีความสมดุลหรือไม่นั้น นอกจากการคำนวณหาด้วยค่า BMI แล้วยังสามารถใช้สูตรการวัดรอบเอวในการคำนวณได้ด้วย โดยการนำส่วนสูง (หน่วยเซนติเมตร) หาร 2 ผลลัพธ์ที่ได้จะเท่ากับตัวเลขรอบเอวของคุณที่ไม่ควรเกินจากค่านั้น หรือคำนวณโดยใช้สูตรการวัดจากความสูง นำส่วนสูงลบ 110 สำหรับผู้หญิง หรือนำส่วนสูงลบ 100 สำหรับผู้ชาย ก็จะได้ค่าตัวเลขที่เป็นน้ำหนักตัวที่เหมาะสมที่ไม่ควรเกิน เป็นต้น

    ในทางการประกันภัย ค่า BMI ถือว่าเป็นค่าตัวเลขที่มีความสำคัญต่อการพิจารณารับทำประกันเบื้องต้นของบริษัทประกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากบริษัทประกันจะใช้ค่า BMI เป็นเกณฑ์ในการวัดความสมดุลของน้ำหนักตัวของผู้เอาประกันเป็นหลัก นั่นหมายความว่าหากผู้ขอเอาประกันมีค่า BMI หรือ ดัชนีมวลกายไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ว่าจะน้อยเกินไป อย่างค่า BMI ต่ำกว่า 18.50 หรือมากเกินไป อย่างค่า BMI สูงกว่า 30 เป็นต้นไป บริษัทประกันจะมีการขอตรวจสุขภาพร่วมกับการขอประวัติสุขภาพทันที ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าการที่คุณมีค่า BMI ที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป บริษัทประกันกำลังมองว่าคุณมีความเสี่ยงด้านสุขภาพมาก ๆ อาจจะมีการเกิดโรคร้ายแรงเรื้อรังได้ในอนาคตหรือกำลังเป็นโรคร้ายแรงเรื้อรังอยู่ในขณะนี้

    ดังนั้นหากมีการตรวจสุขภาพก่อนการทำประกันร่วมกับการขอประวัติสุขภาพแล้วบริษัทประกันพบความเสี่ยงของการเกิดโรคสูง อาจจะมีการขอเพิ่มค่าเบี้ยประกันกับคุณ หรืออาจรุนแรงจนถึงปฏิเสธการรับทำประกันเลยทีเดียว นี่จึงเป็นเหตุผลที่หากใครกำลังวางแผนทำประกัน โดยเฉพาะประกันสุขภาพ ก็ควรจะต้องควบคุมน้ำหนักตัวให้สัมพันธ์กับส่วนสูง ให้ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติที่สุด เพื่อให้การรับทำประกันของบริษัทประกันเป็นไปอย่างง่ายที่สุดนั่นเอง

    ค่า bmi คือ ค่าbmi

    ถ้าปริมาณไขมันในร่างกายเกิน หรือ ค่า BMI เกิน เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

    ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่คุณจะสามารถรับรู้ได้เบื้องต้นจากการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย และปริมาณไขมันในร่างกาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินและการดำเนินชีวิตของคุณเป็นอย่างยิ่ง และผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินจากการไม่ได้ควบคุมปริมาณการกินและการออกกำลักาย ก็จะทำให้คุณมีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงเรื้อรัง ดังนี้

    • ภาวะโรคอ้วนจากอาหาร หรือภาวะโรคอ้วนจากระบบเผาผลาญอาหาร
    • ภาวะการนอนกรน หรือการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ปัญหาเกี่ยวกับการทางเดินหายใจ
    • โรคความดันโลหิตสูง 
    • โรคทางระบบหลอดเลือด อย่าง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจตีบ หรือตัน 
    • โรคทางกระดูกและข้อ อย่าง ข้อเข่าเสื่อม ข้อเท้าเสื่อม เนื่องจากแบกรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป
    • โรคเบาหวาน
    • มะเร็งบางชนิด
    โรคร้ายแรง โรคอ้วน ภาวะอ้วน ค่าbmiเกิน ค่าดัชนีมวลกาย

    แค่เห็นรายชื่อโรคเบื้องต้นที่มีโอกาสเป็นสูงหากมีค่า BMI เกินมาตรฐาน ก็ทำให้รู้สึกถึงความเสี่ยงทั้งด้านสุขภาพและด้านค่ารักษาพยาบาลในอนาคตตามมาแล้ว ค่า BMI อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังวางแผนสมัครทำประกันสุขภาพแต่คำนวณค่า BMI ออกมาแล้วเกินมาตรฐานไปเยอะ ก็จะเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้การทำประกันของคุณลำบากมากขึ้น

    ดังนั้นหากตอนนี้น้ำหนักตัวของคุณสมดุล ค่า BMI ปกติ ไม่มีโรคประจำตัว น้องแคร์ก็ขอแนะนำให้รีบเข้าไปเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ เพื่อความอุ่นใจและความง่ายในการพิจารณารับทำประกันของบริษัทประกันเอาไว้ เรามีฟังก์ชั่นในการ เปรียบเทียบประกันสุขภาพ ที่จะเป็นตัวช่วยให้คุณได้เลือกซื้อประกันที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุดไว้คอยบริการ อย่ารอช้าไปกันเลย!      

    ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024