
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคอัลไซเมอร์ เป็นอีกหนึ่งโรคที่คนไทยในปัจจุบันกังวลไม่แพ้โรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจเลยนะคะ ยิ่งเป็นผู้สูงอายุก็ยิ่งน่าห่วง เพราะอัลไซเมอร์ไม่ใช่แค่อาการหลงลืมเท่านั้น แต่ยังมีอาการอื่น ๆ และความรุนแรงของโรคก็ไม่ธรรมดา ตาม Rabbit Care ไปดูกันเลย
ก่อนอื่น ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ภาวะสมองเสื่อม คือ อาการที่สมรรถภาพการทำงานของสมองถดถอย บกพร่อง ได้แก่ ความจำ การตัดสินใจ การวางแผนบริหารจัดการ การรับรู้รูปราง การกะระยะ การใช้ภาษา สมาธิ รวมทั้งความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับสังคมรอบตัว ซึ่งแบ่งได้ 2 แบบ คือ
ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้
พบประมาณ 20% ของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด โดยสาเหตุมักเกิดจากโรคทางกาย เช่น หลอดเลือดสมองตีบตัน เลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมองบางชนิด การขาดวิตามินบี12 และโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด
พบมากถึง 80% ของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม และมีโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุ 50% ส่วนที่เหลือเป็นโรคที่ทำให้สมองเสื่อมคล้ายอัลไซเมอร์อีก 5-6 โรค
สรุปแล้ว โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในภาวะสมองเสื่อมที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด แต่ไม่จำเป็นว่าคนที่มีภาวะสมองเสื่อมแล้วจะต้องเป็นโรคอัลไซเมอร์
นอกจากนี้ โรคอัลไซเมอร์มีอาการมากกว่าแค่อาการหลง ๆ ลืม ๆ เพราะ 80% ของผู้ป่วย เมื่อเป็นหนักขึ้นจะมีอาการทางพฤติกรรม หรือทางจิตเวชร่วมด้วย เช่น
ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมาก โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว และหากปล่อยไว้ อาการอาจจะหนักถึงขั้นภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง เป็นผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนง่าย และเสียชีวิตในที่สุด
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีระยะเวลาอยู่ที่ประมาณ 8 – 10 ปี ตั้งแต่วินิจฉัยพบอาการจนถึงเสียชีวิต
ยิ่งอายุมาก ยิ่งเพิ่มโอกาสการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เพราะเกิดจากการที่ร่างกายของเราเสื่อมถอยตามวัย โดยสถิติในปัจจุบันพบว่า
กลุ่มที่มีอายุ 65 ปี พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณ 5%
กลุ่มผู้ที่มีอายุ 75 ปี พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณ 15%
กลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์มากถึง 40%
เพราะสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้แต่พบเป็นส่วนน้อย แค่ประมาณ 5% เท่านั้น โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการให้เห็นตั้งแต่อายุ 50-60 ปี
การเป็นโรคร้ายอื่น ๆ ก็เสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ภายหลัง อย่างโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคไขมันในเลือดสูง หรือโรคเบาหวาน ก็อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ และมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ง่ายขึ้น
หรือผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน
มีรายงานการศึกษาทางระบาดวิทยา หลายรายงานพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมจากสาเหตุอื่น ๆ มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมากกว่าคนที่ไม่คยได้รับอุบัติเหตุทางศีรษะมาก่อน
เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคจึงเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรค ดังนี้
จะเห็นได้ว่า โรคอัลไซเมอร์นั้น แม้จะไม่มีสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่เราสามารถป้องกันด้วยการลดความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ลงได้ และแน่นอนว่าการป้องกันไว้ ย่อมดีกว่าแก้ไขหรือรักษาอาการในภายหลัง
คงจะดีไม่น้อยถ้าคุณมี ประกันโรคร้ายแรง จาก Rabbit Care คอยดูแลและคุ้มครองทุก ๆ การรักษา ให้คุณได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีเบี้ยประกันให้เลือกหลากหลายราคา รับรองว่าตอบโจทย์สุขภาพและไลฟ์สไตล์ของเพื่อน ๆ อย่างแน่นอน
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
บทความแคร์สุขภาพ
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?