แคร์การเงิน

แชร์ลูกโซ่ คืออะไร ? วิธีสังเกตลักษณะของแชร์ลูกโซ่ เพื่อหลีกเลี่ยงให้ไกล ก่อนสูญเงินจนหมดตัว!

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: December 7,2023
  
 
แชร์ลูกโซ่

หลังจากที่มีข่าวใหญ่คดีดังอย่าง แชร์ลูกโซ่ Forex 3D ไป ภัยร้ายที่แฝงตัวอยู่ในสังคมไทยของเรามาเนิ่นนานก็ได้ออกมาเผยโฉมให้คนทั่วไปได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหาแชร์ลูกโซ่มากยิ่งขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันยังมีเหยื่อมากมายที่ถูกหลอกลวงให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในขบวนการแชร์ลูกโซ่ทั้งในแบบที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้น แรบบิท แคร์ ถึงเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนได้ระมัดระวังตัวจากภัยร้าย มาทำความรู้จักกันให้มากขึ้นว่าแชร์ลูกโซ่ คืออะไร ? มีจุดสังเกต และวิธีการหลีกเลี่ยงอย่างไร เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อจนต้องสูญเสียเงินจนหมดตัว

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    แชร์ลูกโซ่ คืออะไร ?

    แชร์ลูกโซ่ คือ กลโกงที่มักจะหลอกให้บุคคลทั่วไปนั้นร่วมลงทุนหรือซื้อสินค้าโดยมีการขายฝันให้ข้อมูลว่าผู้ที่ลงทุนจะได้รับกำไรจำนวนมหาศาลในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งในช่วงแรก ๆ นั้นผู้ลงทุนจะได้รับการจ่ายเงินหรือได้รับสิ่งที่เชื่อว่าเป็นกำไรที่จับต้องได้จริง ซึ่งความจริงแล้วเงินจำนวนนั้นเป็นเพียงตัวล่อเหยื่อให้เชื่อและตายใจว่าตนเองไม่ได้โดนหลอกและจะได้รับเงินอย่างแน่นอน เป็นการเล่นกับความโลภและหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีการประกอบธุรกิจอะไรเลย แต่เป็นการนำเงินของผู้ที่ลงทุนทีหลังมาจ่ายให้กับผู้ที่ลงทุนก่อนหน้า ซึ่งเมื่อทำเช่นนี้จนไม่สามารถหาสมาชิกใหม่เพิ่มได้อีกจนไม่สามารถจ่ายเงินให้แก่สมาชิกได้ หรือมิจฉาชีพผู้นั้นได้รับเงินในจำนวนที่เพียงพอแล้วก็จะทำการหลบหนีไปพร้อมกับเงินในมือ สร้างความเดือดร้อนและสิ้นหวังให้กับผู้ที่ร่วมลงทุนเป็นจำนวนมาก 

    ทั้งนี้โดยปกติแล้วผู้ทำแชร์ลูกโซ่นั้นมักแอบอ้างถึงการขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่มีล็อตผลิตจำนวนมาก และในปัจจุบันจะเน้นหนักไปที่สินทรัพย์ดิจิทัล หุ้น และคริปโต ซึ่งหลายครั้งไม่ได้มีใบอนุญาตหรือการรับรองที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นหากต้องการตัดสินใจลงทุนเมื่อไหร่ จะต้องตรวจสอบดูก่อนให้แน่ใจ มิเช่นนั้นก็จะตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย ต้องสูญเงินจนหมดตัว

    แชร์ลูกโซ่ผิดกฎหมายหรือไม่ ?

    สำหรับผู้ที่สงสัยว่าแชร์ลูกโซ่นั้นผิดกฎหมายหรือไม่ แน่นอนว่าแชร์ลูกโซ่นั้นผิดกฎหมาย 

    กลต.ได้ให้ข้อมูลกรณีหลอกลวงลงทุนที่เป็นแชร์ลูกโซ่ ว่า “แชร์ลูกโซ่” หรือ “ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่” เป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000-1,000,000 บาท

    นอกจากนี้ยังอาจมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา

    ประมวลกฎหมายอาญา (ความผิดฐานฉ้อโกง) และจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น

    จุดสังเกต ลักษณะของแชร์ลูกโซ่

    ทราบไปแล้วว่าแชร์ลูกโซ่ คืออะไร มีความร้ายแรงแบบไหน ทีนี้ก็ต้องรู้จักจุดสังเกตและลักษณะของแชร์ลูกโซ่ให้รู้กันไว้จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อกันโดยไม่รู้ตัว

    แชร์ลูกโซ่อาจเข้ามาในรูปแบบของคนรู้จักที่ไม่ได้ติดต่อกันมานาน

    หากจู่ ๆ มีคนรู้จักที่ไม่ได้ติดต่อกันมานาน ญาติห่าง ๆ เข้ามาทักทาย แสดงความเป็นห่วงเป็นใยแบบไม่มีมูลเหตุใดเริ่มต้นมาก่อน จากนั้นเริ่มบ่นเรื่องสภาวะเศรษฐกิจ พูดเรื่องการเงินต่าง ๆ  จากนั้นเริ่มชักชวนให้ไปร่วมลงทุนขอให้เริ่มระวังตัวกันเอาไว้ได้เลย

    แชร์ลูกโซ่อาจเข้ามาในรูปแบบของคนที่โชว์ชีวิตที่ดีและความรวยให้ดู

    แน่นอนว่าในโซเชียลมีเดียหรือชีวิตเรานั้นอาจมีคนที่มักจะชอบโชว์ความสำเร็จ อวดความรวย และมักจะโฆษณาชีวิตดี ๆ ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ หรือแม้กระทั่งทักทายเข้ามาชวนคุยเพื่อโอ้อวดความสบาย มีกินมีใช้ซึ่งได้รับจากการลงทุนต่าง ๆ และเริ่มหว่านล้อม หรือชักชวนโดยอ้อมให้เราไปร่วมลงทุนหากอยากมีบ้าง ทำทีเหมือนเป็นผู้ชี้ทางสว่างทั้ง ๆ ที่กำลังหลอกลวงให้เราเข้าไปติดบ่วงแชร์ลูกโซ่ด้วยอีกคน

    แชร์ลูกโซ่จะเข้ามาในลักษณะการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันสั้น

    การลงทุนทำธุรกิจใด ๆ ก็ไม่มีทางที่จะทำให้ได้ผลตอบแทนสูงอย่างมหาศาลในเวลาอันสั้นได้โดยเด็ดขาด ดังนั้นหากได้รับการชักชวนหรือโฆษณาว่าถ้าลงทุนแล้วจะได้ผลตอบแทนสูงในเวลาไม่นาน ไม่ยาก ไม่ต้องลงมือลงแรงอะไรมากมาย คิดไว้เลยว่าแชร์ลูกโซ่อย่างแน่นอน

    แชร์ลูกโซ่มักใช้วิธีการการันตีผลตอบแทนในการชักชวน

    มักชักชวนให้เข้าร่วมการลงทุนแบบแชร์ลูกโซ่ด้วยการการันตีผลตอบแทนว่าจะได้ผลตอบแทนหรือผลกำไรเดือนละกี่ % หรือแม้กระทั่งการันตีผลตอบแทนได้รายอาทิตย์เลยทีเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบไหน ก็ไม่สามารถการันตีผลตอนแทนที่แน่นอนได้อย่างที่กล่าวมา

    ผู้ชักชวนให้ลงทุนแชร์ลูกโซ่มักเร่งรัดให้ตัดสินใจ

    สำหรับการชักชวนให้เข้าไปร่วมลงทุนในธุรกิจแชร์ลูกโซ่นั้น ผู้ชักชวนมักเร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจ อาจมีการกำหนดเวลาว่าหากเข้าร่วมภายในเมื่อไหร่ จะได้รับสิทธิพิเศษแบบไหน จะได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อบีบให้ผู้ลงทุนไม่มีเวลาในการคิดไตร่ตรองมากพอและตกเป็นเหยื่อนั่นเอง

    มีการยกตัวอย่างผู้คนที่ประสบความสำเร็จ ดารา เซเลป

    อีกเทคนิคที่ขบวนการแชร์ลูกโซ่มักจะใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือบอกว่าธุรกิจดังกล่าวได้ผลตอบแทนดีจริง ๆ ใคร ๆ ก็ลงทุนและได้รับผลตอบแทนกันมาก อาจมีการยกตัวอย่างดาราหรือเซเลปมาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้เหยื่อคล้อยตามและร่วมลงทุนแชร์ลูกโซ่ในที่สุด

    ธุรกิจที่ชวนลงทุนอาจเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้

    เป็นการเชิญชวนให้ลงทุนโดยที่ยังไม่เห็นสินค้า โดยอาจมีข้ออ้างต่าง ๆ นานา หรือเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลบนแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ซึ่งไม่สามารถเช็กที่มาที่ไปได้ ไม่ผ่านการรองรับหรืออยู่ภายใต้กฎหมายประเทศไทย และหากเหยื่อสอบถามก็อาจมีการหลอกล่อว่าใคร ๆ ก็ทำกัน เป็นช่องทางทำเงินที่ยังไม่มีใครรู้มาก น้ำขึ้นต้องรีบตักก่อนนั่นเอง

    แชร์ลูกโซ่มักมีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อปลุกกำลังใจให้เครือข่าย

    เหล่าผู้นำขบวนการแชร์ลูกโซ่มักมีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างลูกข่าย เพื่อเป็นการกระจายเครดิตสร้างความน่าเชื่อถือและกระจายข่าวว่ามีคนได้รับเงินจริง ปลุกระดมให้สมาชิกเครือข่ายฮึกเหิมและช่วยกันหาคนเข้ามาเพิ่มเรื่อย ๆ 

    โดนโกง แชร์ลูกโซ่

    สิ่งที่ต้องจำ หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่

    แน่นอนว่าไม่ว่าใครก็ล้วนแต่ไม่อยากตกเป็นเหยื่อของแชร์ลูกโซ่หรือการหลอกลวงของเหล่ามิจฉาชีพ โดยเราเองนั้นก็สามารถป้องกันตัวเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อได้ง่าย ๆ เพียงจำสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ขึ้นใจ นั่นก็ คือ

    • โลกนี้ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรี ๆ หรือได้มาโดยง่ายดาย
    • ไม่มีการลงทุนไหนที่จะสามารถสร้างกำไรให้ได้ 40-60% ต่อเดือน
    • อย่าหลงเชื่อคนแปลกหน้าง่าย ๆ แม้จะมีความสำเร็จของเขาเป็นตัวอย่าง
    • เมื่อมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง แม้จะเป็นคนใกล้ตัวก็อย่าหลงเชื่อง่าย ๆ 
    • อย่าคิดแค่ว่าลองดูนิดหน่อย เพราะเริ่มต้นมักจะได้ผลตอบแทน ครั้งต่อๆไปถึงจะเสีย
    • หากไม่แน่ใจว่าสิ่งที่จะลงทุนใช่แชร์ลูกโซ่หรือไม่ ให้ติดต่อเช็กข้อมูล โทร.1359

    แจ้งเบาะแส/ร้องทุกข์ตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่

    กรณีสงสัยหรือพบเห็นขบวนการแชร์ลูกโซ่ หรือหากผู้ใดที่ตกเป็นเหยื่อของแชร์ลูกโซ่สามารถแจ้งเหตุหรือส่งข้อความร้องทุกข์ได้ที่ ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง 

    • โทร.1359 หรือ 02-169-7127
    • ตู้ปณ.1359 ปณจ.บางรัก กรุงเทพฯ 10500
    • E-mail [email protected]

    หรือ

    • โทร.1202 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
    • โทร.1441 ตำรวจไซเบอร์
    • โทร.1207 ศูนย์บริการประชาชน ก.ล.ต.

    หลังจากที่ได้รู้ถึงจุดสังเกต ลักษณะวิธีการ และกลโกงต่าง ๆ ของเหล่ามิจฉาชีพที่จะหลอกเราให้เข้าร่วมขบวนการแชร์ลูกโซ่แบบนี้แล้วนั้นก็ต้องระวังกันให้ดี และสำหรับใครที่มีเงินเย็นอยู่ในมือและอยากเริ่มทำให้เงินในมืองอกงามโดยไม่ต้องมีความเสี่ยงหรือกังวลว่าจะถูกหลอก แรบบิท แคร์ ก็ขอแนะนำให้นำเงินส่วนนั้นมาทำประกันออมทรัพย์เอาไว้ เพราะนอกจากจะได้ดอกเบี้ยดี ๆ ทำให้เงินทุนของทุกคนงอกเงยได้ ก็ยังได้รับความคุ้มครองเหมือนได้รับประกันชีวิตไปฟรี ๆ ด้วยนั่นเอง


     

    บทความแคร์การเงิน

    Rabbit Care Blog Image 98912

    แคร์การเงิน

    บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

    ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
    Natthamon
    30/12/2024
    Rabbit Care Blog Image 97227

    แคร์การเงิน

    ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

    เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
    คะน้าใบเขียว
    14/11/2024
    Rabbit Care Blog Image 94185

    แคร์การเงิน

    ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

    พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
    Natthamon
    03/09/2024