ต้องระวัง ป้ายแดงปลอม! มีวิธีดูอย่างไร และถ้าหากใช้งานจะมีโทษอะไรบ้าง?
เวลาที่เราออกรถยนต์คันใหม่ส่วนใหญ่แล้วศูนย์มักจะให้ป้ายแดงมาใช้งาน แต่ในปัจจุบันมีป้ายแดงปลอมระบาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งในกรณีของศูนย์ให้บริการอย่างเป็นทางการของแบรนด์รถยนต์ อาจมีโอกาสเจอป้ายแดงปลอมนั้นน้อยมาก ซึ่งกรณีที่มีโอกาสเจอมากสุด อาจมาจากผู้จัดจำหน่ายรถยนต์มือสองของเอกชนเป็นส่วนใหญ่ แล้วป้ายแดงปลอม คือ อะไร ป้ายแดงปลอม ดูยังไง และถ้าหากมีการใช้งานป้ายแดงปลอม โทษที่ต้องรับมีอะไรบ้าง สุดท้ายการใช้งานรถป้ายแดงที่แท้จริงมีสิ่งใดที่เจ้าของรถควรรู้ก่อน
ป้ายแดงปลอม คือ อะไร
ป้ายแดงปลอม คือ ป้ายแดงแบบที่เป็นทะเบียนเลียนแบบของกรมขนส่งทางบก ซึ่งมีการตีเลขทะเบียนออกมาใช้โดยผิดกฎหมาย เพราะป้ายแดงที่ถูกปลอมแปลงขึ้นมา ไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นทะเบียนชั่วคราวเพื่อใช้งานบนท้องถนน หากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจสอบ อาจมีโทษปรับ จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับได้เช่นกัน ดังนั้นสำหรับใครที่คิดว่าตัวเองมีโอกาสออกรถยนต์ใหม่กับผู้จัดจำหน่ายเอกชน ที่ไม่ใช่ศูนย์บริการอย่างเป็นทางการ ควรตรวจสอบเรื่องป้ายแดงให้ชัดเจนอีกครั้ง ว่าที่เราได้รับมาใช้งานชั่วคราว เป็นของปลอมหรือไม่นั่นเอง
ป้ายปลอม ดูยังไง
ป้ายแดงปลอม ดูยังไง ในกรณีที่มีป้ายแดงลอกเลียนแบบอยู่บนท้องถนน วิธีการตรวจสอบนั้นอาจไม่สามารถเช็กผ่านระบบออนไลน์ได้ แต่อย่างน้อยของเลียนแบบที่ทำออกมาเพื่อทดแทนป้ายแดงของกรมขนส่งทางบก จะมีข้อสังเกตให้เราได้ตรวจสอบว่านี่คือป้ายแดงปลอมอยู่ประมาณ 4 จุด อ้างอิงจากวิธีตรวจสอบป้ายแดงปลอม โดยสภาองค์กรของผู้บริโภคดังนี้
- ตัวย่อ ขส มีการปั๊มนูนอยู่ที่มุมด้านล่างขวาของแผ่นป้ายทะเบียน ถ้าหากเป็นป้ายแดงปลอม จะไม่มีการปั๊มนูนนี้อยู่บนแผ่นป้าย จึงสันนิษฐานได้เลยว่าเป็นของปลอมแน่นอน
- ลายน้ำตราเครื่องหมายราชการของกรมขนส่งทางบก (รูปมาตุลีเทพบุตรขับรถเทียมม้า) ที่จะปรากฎอยู่ในแผ่นป้ายทะเบียนรถ ให้เราสามารถสังเกตเห็นได้
- สีแดงของแผ่นป้ายทะเบียนที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก จะมีสีที่สดกว่าของปลอม ซึ่งป้ายแดงปลอมส่วนใหญ่จะมีสีออกไปทางเข้ม จนเหมือนกับสีเลือดหมู รวมถึงสามารถสะท้อนแสงได้ด้วย
- ตัวหนังสือหมวดอักษร และตัวเลขที่อยู่บนแผ่นป้ายทะเบียนต้องมีความคมชัด และหากเป็นป้ายแดงที่ออกจากกรมขนส่งทางบก ต้องมีชุดตัวเลขและตัวอักษรที่ตรงกันกับคู่มือจดทะเบียนรถทุกตัว
ด้วย 4 จุดสังเกตที่กล่าวมา จะช่วยให้ทุกคนสามารถรู้ได้ทันทีว่าป้ายแดงปลอม ดูยังไง เพราะถ้าหากเราเผลอใช้งานไปโดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่า รถยนต์ของเรานั้นใช้ป้ายแดงปลอมอยู่ หากถึงเวลาที่โดนเรียกตรวจสอบ มีโทษฐานปรับค่อนข้างหนัก บวกกับโทษฐานด้านอื่น ๆ เองก็มีเช่นกัน ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ ควรเช็กให้เรียบร้อยว่าเป็นป้ายแดงปลอมหรือไม่ก่อนนำไปใช้งาน
ป้ายแดงปลอม โทษ
ป้ายแดงปลอม โทษฐานที่นำมาใช้งานหรือโทษฐานที่ปลอมแปลงเอกสารราชการ คือ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 กรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารราชการ และ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ซึ่งเป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการหรือใช้เอกสารราชการปลอม ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท และโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ยิ่งไปกว่านั้นหากมีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังเป็นการทำผิดกฎหมายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 11 ประกอบมาตรา 60 ฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนที่มีลักษณะไม่ถูกต้อง ตามกำหนดในกฎกระทรวง มีโทษปรับสูงสุดถึง 2,000 บาทอีกต่างหาก
ข้อควรรู้ก่อนใช้งานรถป้ายแดง
หลังจากที่รับรู้ข้อมูลวิธีการตรวจสอบ และโทษฐานการใช้งานป้ายแดงปลอมไปเรียบร้อยแล้ว ลองมาดูข้อควรรู้ หรือข้อกำหนดการใช้งานรถยนต์ป้ายแดงกันบ้าง เผื่อว่าใครที่ออกรถใหม่ป้ายแดงของจริงจากกรมขนส่งทางบก จะได้เตรียมพร้อมใช้งานรถยนต์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยข้อควรรู้ทั้งหมดมีดังนี้
- รถป้ายแดงห้ามใช้งานตอนกลางคืนโดยเด็ดขาด เนื่องจากในกฎหมายได้มีกำหนดไว้ว่าห้ามผู้ใช้งานรถยนต์ที่มีป้ายแดงขับขี่ในยามวิกาล เว้นแต่ว่ามีความจำเป็นต้องใช้ในช่วงเวลาดังกล่าวจริง ๆ จะสามารถแจ้งคำร้องไปยังนายทะเบียนเพื่อรับการอนุญาตใช้งานได้ชั่วคราว
- ห้ามมีการใช้งานป้ายแดงเกินกว่า 30 วัน ซึ่งถ้าหากยังไม่มีการยื่นจดทะเบียนมาใช้งานป้ายขาว อาจมีโทษทางกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 (1) ประกอบมาตรา 59 ฐานที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
- รถป้ายแดงจะสามารถใช้งานได้เฉพาะในเขตที่ระบุอยู่บนป้ายเท่านั้น ห้ามวิ่งออกนอกเขตที่กำหนด เช่น ป้ายแดงทะเบียนกรุงเทพฯ แปลว่าห้ามนำไปใช้งานที่จังหวัดอื่น หากต้องการใช้งานเป็นกรณี ต้องมีการติดต่อส่งคำร้องถึงนายทะเบียนเพื่ออนุญาตการใช้งานเช่นเดียวกัน ถ้าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจสอบ และไม่ได้รับอนุญาตการใช้งานจากนายทะเบียน อาจถูกปรับสูงสุดถึง 10,000 บาท
- เมื่อได้รับรถป้ายแดงมาใช้งาน ผู้ขับขี่จะต้องมีการจดทบันทึกชื่อ ยี่ห้อรถ เลขตัวถัง ระยะเวลาการใช้งาน และจุดหมายปลายทางในแต่ละครั้ง เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เรียกตรววจสอบการใช้งาน
ถ้ามีการปฎิบัติตามทั้งหมดที่กล่าวมา ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้งานรถยนต์ป้ายแดงอย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้เน้นย้ำอีกครั้งว่าถ้าไม่ได้ออกรถจากศูนย์บริการ อาจต้องมีการตรวจเช็กเรื่องป้ายแดงปลอมอีกครั้ง เพื่อไม่ให้คุณเจ้าของรถยนต์เสียประโยชน์ และมีความเสี่ยงผิดต่อกฎหมายตามที่เราได้กล่าวมาทั้งหมด
ป้ายแดงปลอม ป้ายแดงแท้ แบบไหนเคลมประกันได้
เมื่อมีการนำรถยนต์ป้ายแดงไปใช้งาน แล้วเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันจนต้องการเคลมประกันรถยนต์ ทั้งนี้หากเป็นป้ายแดงไม่ว่าจะป้ายแดงปลอมหรือแท้ สามารถเคลมประกันได้หรือไม่ ต้องตอบแยกออกมาเป็น 2 กรณี คือ หากตรวจพบว่ามีการใช้งานป้ายแดงปลอมที่ไม่ได้ออกโดยกรมขนส่งทางบก ถือเป็นการใช้งานรถยนต์ที่มีทะเบียนผิดกฎหมาย อาจไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ จากประกันรถยนต์เลย ส่วนคันที่ใช้งานป้ายแดงแท้ ถือเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถรับการคุ้มครองทั้งหมดของประกันรถยนต์ได้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งในเบื้องต้นความคุ้มครองที่จะได้รับมีดังนี้
- คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ (ขึ้นอยู่กับประเภทประกันรถยนต์ที่ทำอีกหนึ่ง)
- ความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ (ขึ้นอยู่กับประเภทประกันรถยนต์)
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก
- กรณีอุบัติเหตุรถหาย หรือรถไฟไหม้ (ขึ้นอยู่กับประเภทประกันรถยนต์)
สรุปแล้วการใช้งานรถยนต์ป้ายแดงที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก ถือว่าเป็นการใช้งานรถอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าหากไม่ฝ่าฝืนข้อกำหนดทั้ง 4 ที่เราได้กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนหน้านี้ แต่ยังไงก็ได้รับความคุ้มครองครบถ้วนจากประกันภาคสมัครใจอย่างแน่นอน เว้นแต่ว่ามีการใช้งานป้ายแดงปลอม อาจผิดเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย ทำให้เสี่ยงต่อการไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ ดังนั้นอย่าลืมเช็กให้แน่ใจอีกครั้งก่อนใช้งานรถยนต์บนท้องถนน
ส่วนใครที่ออกรถยนต์คันใหม่ป้ายแดงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องการพิจารณาเลือกประกันรถยนต์ที่คุ้มครองได้อย่างครอบคลุมที่สุด หรือเหมาะสมกับการใช้งานของเราอย่างรอบคอบ สามารถติดต่อเข้ามาหา แรบบิท แคร์ เพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1438 ทางเรามีพันธมิตรเป็นบริษัทประกันภัยชั้นแนวหน้าระดับประเทศมากกว่า 30 แห่งให้คุณได้เลือก พร้อมกับส่วนลดสุดพิเศษสูงสุดถึง 70% และยังสามารถเลือกผ่อน 0% ได้นานที่สุดถึง 10 เดือนเลยทีเดียว
สรุป
ป้ายแดงปลอม คือ ป้ายแดงแบบที่เป็นทะเบียนเลียนแบบของกรมขนส่งทางบก โดยสังเกตได้จาก 4 จุดหลัก ๆ
- ตัวย่อ ขส มีการปั๊มนูนอยู่ที่มุมด้านล่างขวาของแผ่นป้ายทะเบียน
- ลายน้ำตราเครื่องหมายราชการของกรมขนส่งทางบก
- สีแดงของแผ่นป้ายทะเบียนที่ออกโดยกรมขนส่งทางบกจะมีสีที่สดกว่าของปลอม
- ตัวหนังสือหมวดอักษร และตัวเลขที่อยู่บนแผ่นป้ายทะเบียนต้องมีความคมชัด
หากนำป้ายแดงปลอมาใช้ จะมีความผิด ฐานปลอมแปลงเอกสารราชการ หรือใช้เอกสารราชการปลอม ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท และโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology