แคร์รถยนต์

ไฟตัดหมอก คือ อะไร จำเป็นมากแค่ไหน และต้องใช้ในสถานการณ์ไหนถึงจะเหมาะสม

ผู้เขียน : ONLYWONDER
ONLYWONDER

นักเขียนบทความด้านประกันยานยนต์ รถยนต์ การเคลมประกันรถยนต์ ที่ Rabbit Care และ Asia Direct ตั้งใจเขียนงานให้ได้เกินครึ่งจากช่วงเวลาที่หาข้อมูล ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Natthamon
Natthamon

ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

close
linkedin icon
 
Published: July 13,2023
  
Last edited: August 10, 2024
รู้จักไฟตัดหมอกรถยนต์

เคยได้ยินไหมว่าระบบไฟของรถยนต์ ไม่ได้มีแค่ไฟหน้า ไฟท้าย หรือไฟเลี้ยว แต่ยังมีไฟตัดหมอกอีกหนึ่งอย่างที่ปรากฏขึ้นมาให้เราได้ใช้งาน แล้วเจ้าไฟตัดหมอก จำเป็นไหมในประเทศไทย? เพราะหากพูดกันตรง ๆ เนื่องด้วยภูมิอากาศในประเทศไทย ที่ไม่ค่อยมีหมอกหนา หรือสภาพอากาศที่เข้ามารบกวนการขับขี่มากนัก อาจทำให้ผู้ใช้งานรถยนต์หลายคนสงสัยว่าสุดท้ายแล้ว ไฟตัดหมอก จะต้องถูกใช้ในสถานการณ์ใด แล้วประเภทไฟตัดหมอกมีกี่ประเภท หรือไฟตัดหมอก คืออะไรกันแน่ ซึ่งคำตอบทั้งหมด แรบบิท แคร์ ได้เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับไฟตัดหมอกมาให้ดังนี้

ไฟตัดหมอก คือ อะไร

ไฟตัดหมอก คือ ไฟที่ให้แสงสว่างที่มีความเข้มข้นสูง โดยตัวไฟตัดหมอกจะส่องสว่างด้วยการสาดแสงในระนาบเดียวกันกับพื้นถนน และสามารถส่งออกไปได้ไกลประมาณ 30-80 เมตร และด้วยความเข้มข้นแสงที่ออกแบบมา ทำให้ไฟตัดหมอกสามารถส่องผ่านหมอกหรือฝนได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะรถยนต์รุ่นใหม่ในประเทศไทยเอง ก็ได้รับมาตรฐานเรื่องไฟตัดหมอกกันจำนวนมาก เพื่อช่วยให้การขับขี่ที่มีวิสัยทัศน์มองถนนลำบากได้สว่างชัดเจนมากขึ้น ไฟตัดหมอกจึงเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นนั่นเอง

ไฟตัดหมอก จำเป็นไหม

ไฟตัดหมอก จำเป็นไหม ตรงนี้ต้องแยกออกเป็น 2 กรณี คือ หากเราขับรถในเมืองที่มีแสงสว่างเพียงพอ ไฟตัดหมอกอาจไม่ได้ถูกใช้งานมากเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเป็นคนที่ต้องขับรถข้ามจังหวัด หรือขับรถไปในพื้นที่ต่างถิ่นหลายช่วงเวลา อาจมีโอกาสได้ใช้งานไฟตัดหมอก เพื่อช่วยส่องพื้นถนนให้สว่าง จนเราสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น จึงทำให้มีความจำเป็นสำหรับการใช้งานบางกรณีค่อนข้างมากเลยทีเดียว

ไฟตัดหมอก ใช้ตอนไหน

ไฟตัดหมอก ใช้ตอนไหน คำตอบ คือ ใช้ตอนที่ขับรถขึ้นเขาแล้วเจอหมอกหนา, ใช้กับถนนที่มีน้ำขัง หรือหลังฝนตก, ใช้กรณีที่ถนนมีหมอกควันบดบังทัศนวิสัยในระยะ 50 เมตร, ใช้ช่วงที่มีฝนตกหนัก และเปิดใช้ช่วงกลางคืนมีแสงน้อย ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้

  • ใช้ตอนขับรถขึ้นเขาแล้วเจอหมอกหนา: โดยเฉพาะการขับรถขึ้นเขาในช่วงเวลาเช้าหรือกลางคืน ที่เรามีโอกาสได้เจอหมอกหนามากกว่าปกติ เพื่อให้การขับขี่ปลอดภัยบนเส้นทางที่คดเคี้ยว การเปิดไฟตัดหมอกจะช่วยให้เรามองเห็นทางข้างหน้าได้อย่างชัดเจน
  • ใช้กับถนนที่มีน้ำขัง หรือหลังฝนตก: เนื่องจากไฟปกติของรถเมื่อสะท้อนกับน้ำบนพื้นถนน อาจทำให้เรามองไม่เห็นพื้นที่ถนนได้อย่างชัดเจน เพราะไฟรถถูกน้ำสะท้อนขึ้นไปหมดแล้ว ซึ่งไฟตัดหมอกจะเข้ามาช่วยกลบจุดบอดตรงนี้ ให้เรามองเห็นพื้นถนนได้ชัดขึ้นแทน
  • ใช้กรณีที่มีหมอกหรือควันบดบังทัศนวิสัยในระยะ 50 เมตร: ยกตัวอย่าง กรณีที่เราขับรถแล้วเจอไฟป่าข้างทาง หรือมีการเผาไร่ เผานาตามชนบท จนไม่สามารถมองเห็นถนนได้ การเปิดไฟตัดหมอก จะเข้ามาช่วยได้ดีเช่นกัน แต่ทั้งนี้หากขับรถสวนกับรถยนต์คันอื่น ควรปิดไฟตัดหมอกก่อนสวนกัน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่คนอื่น
  • ใช้ช่วงที่มีฝนตกหนัก: เมื่อฝนตกหนักจนฟ้าเป็นสีขาวโพลน การเปิดไฟตัดหมอกจะช่วยให้มีทัศนวิสัยที่ดีขึ้น รวมถึงให้ผู้ขับขี่คนอื่นมองเห็นรถเราชัดขึ้นด้วย 
  • ใช้ช่วงกลางคืนที่มีแสงน้อย: โดยเฉพาะการขับรถผ่านถนนที่ไม่มีไฟข้างทาง ไฟตัดหมอกจะช่วยได้ดีมาก แต่เมื่อขับรถสวนกับรถคันอื่น ให้ปิดไฟตัดหมอกทันที เพื่อที่จะได้ไม่สะท้อนเข้าตาผู้ขับขี่คนอื่น

รู้แบบนี้แล้วคงไม่ต้องถามกันแล้วว่าไฟตัดหมอก ใช้ตอนไหน ขอเพียงแค่เจอสถานการณ์ที่ยกตัวอย่างไปทั้ง 5 แบบ เราก็สามารถเปิดใช้งานไฟตัดหมอก เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ของเราได้ทันที แต่ถ้าขับรถสวนกับคันอื่นเมื่อไหร่ อย่าลืมปิดให้ก่อนจะสวนกัน เพื่อที่ไฟรถเราจะได้ไม่ต้องสะท้อนเข้าตาผู้ขับขี่คนอื่น เมื่อขับผ่านกันไปแล้วค่อยเปิดได้เหมือนเดิม

ประเภทไฟตัดหมอก

ประเภทไฟตัดหมอกทั้งหมด

ประเภทไฟตัดหมอกมีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน คือ Fog Lamps, Driving Lamps และ Pencil Beam Lamps ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้

  • Fog Lamps: เน้นให้ความสว่างแผ่กระจายออกด้านข้าง ช่วยให้มองเห็นไหล่ทางชัดเจน และออกแบบให้มีการหักเหแสงได้มาก แสงที่ได้จึงไม่พุ่งออกไปไกล เหมาะกับรถที่ใช้ความเร็วไม่มากนัก 
  • Driving Lamps: ให้ความสว่างได้ไกลมากขึ้น แต่มีความกว้างที่น้อยกว่า Fog Lamps เหมาะสำหรับรถที่เดินทางกลางคืน หรือข้ามจังหวัดบ่อยครั้ง
  • Pencil Beam: เป็นประเภทที่แสงพุ่งไปได้ไกลสุด เหมาะกับรถแข่งแนวครอสคันทรี เพราะต้องใช้ความเร็วสูงบนทางที่ทุรกันดารเป็นพิเศษ

ถ้าดูจากภาพรวมประเภทไฟตัดหมอกทั้งหมดแล้ว ผู้ใช้งานรถยนต์ทั่วไปก็คงสามารถเลือกได้จาก 2 ประเภทแรก อย่าง Fog Lamps กับ Driving Lamps ที่มีการใช้งานค่อนข้างใกล้เคียงกับคำว่าทั่วไป ดังนั้นก่อนเลือกติดตั้งเสริม หรือเปลี่ยนรูปแบบไฟตัดหมอก อย่าลืมคำนึงถึงช่วงของแสงจากไฟและความเหมาะสมให้ดีก่อนเลือกใช้งาน

และด้วยช่วงการติดตั้งของไฟตัดหมอก ส่วนมากจะอยู่ด้านล่างจากโคมไฟหน้ารถตามปกติ ดังนั้นหากช่วงที่เราขับขี่บนถนนที่มืดจนเกือบมองไม่เห็น คงคาดเดาได้ยากว่าบนพื้นถนนคนที่เราไม่คุ้นชินจะมีเศษดิน หรือก้อนหินอะไรอยู่บ้าง หากถูกก้อนหินกระเด็นใส่จนไฟตัดหมอกแตก ประกันรถยนต์ชั้น 1 ยังสามารถเคลมให้คุณได้อย่างไร้ปัญหา ดังนั้น แรบบิท แคร์ อยากแนะนำให้ผู้ที่มีโอกาสใช้งานรถยนต์เป็นประจำ ได้พิจารณาการเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่สามารถดูแลคุณได้อย่างครอบคลุมเพิ่มเติม เพียงคลิกลิงก์ต่อประกันภัยรถยนต์ หรือติดต่อผ่าน 1438 (โทรได้ 24 ชั่วโมง) เพื่อรับข้อมูลและข้อเสนอสุดพิเศษเพิ่มเติมได้ทันที

คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ


 

บทความแคร์รถยนต์

Rabbit Care Blog Image 98618

แคร์รถยนต์

ระบบเซ็นทรัลล็อค คือ อะไร มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน

การเพิ่มความสะดวกสบายด้วยระบบเซ็นทรัลล็อคในรถยนต์รุ่นใหม่ ทำให้เรารู้สึกเป็นกังวลน้อยลงเกี่ยวกับการลืมล็อคประตูรถระหว่างเดินทาง
Natthamon
28/12/2024
Rabbit Care Blog Image 98605

แคร์รถยนต์

รวมระบบความปลอดภัยในรถยนต์ยุคปัจจุบันที่น่าสนใจ

พอเทคโนโลยีในรถยนต์พัฒนามากขึ้น เราก็มีโอกาสได้เห็น ได้ใช้งานระบบความปลอดภัยในรถยนต์ที่มีความสะดวกสบาย และอัจฉริยะมากขึ้นหลายเท่าตัว
Natthamon
27/12/2024