รถบินได้ มีจริงไหม? ตอนนี้มีคอนเซปต์หรือโมเดลไหนน่าจับตามอง
กี่ครั้งแล้วที่เราเห็นข่าวรถบินได้ปรากฎออกบนโลกออนไลน์นับหลายปี แต่กลับไม่ได้ติดตามอย่างเป็นจริงเป็นจังกันอีกครั้งว่ามันสามารถใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน หรือสรุปแล้วไอ้เจ้ารถบินได้มันคืออะไรกันแน่? รถบินได้ ทำงาน อย่างไร หรือรถบินได้ในอนาคตที่กำลังจะมาถึง ปัจจุบันมีบริษัทไหนทำการทดลอง เปิดตัวไปแล้วบ้าง รวมถึงข้อสรุปที่น่าสนใจต่าง ๆ เกี่ยวกับรถบินได้ ที่ แรบบิท แคร์ คิดว่ามีความน่าสนใจอย่างมากที่จะลองรวบรวม มานำเสนอให้ทุกคนได้ลองอ่านเก็บข้อมูลเพิ่มเติมกัน หากคุณเป็นหนึ่งคนที่กำลังสนใจนวัตกรรมพลิกโฉมวงการยานยนต์ขนาดนี้ เดี๋ยวเรามาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันเลยว่ามีอะไรบ้าง ที่เราควรอัปเดต พร้อมติดตามวงการนี้อีกครั้ง
รถบินได้คืออะไร
รถบินได้ คือ รถยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ในอากาศ ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มยานพาหนะที่เรียกว่า อากาศยานแนวดิ่ง (Vertical takeoff and landing : VTOL) ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานในเมืองใหญ่ที่มีชั่วโมงเร่งด่วน เพราะคอนเซปต์ของตัวรถบินได้ ถูกสร้างขึ้นให้สามารถบินขึ้นลงได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทางส่ง หรือรันเวย์ มีขนาดเล็ก มีน้ำหนักที่เบา สามารถทำความสูงได้ตั้งแต่ 1,000-5,000 ฟุต (ประมาณ 300-1,500 เมตร) ปัจจุบันการพัฒนาของแต่ละแห่งยังสามารถบินได้แค่ในระยะสั้นเท่านั้น แต่บางรุ่นมีระบบอัตโนมัติที่ช่วยให้บินได้ โดยไม่ต้องมีคนขับอีกต่างหาก
รถบินได้ทำงานอย่างไร
รถบินได้ ทำงาน อย่างไร คำตอบ คือ เดิมทีตัวถังอาจจะต้องเริ่มต้นจากการมีที่นั่งเพียงไม่กี่ที่ ออกแบบให้สามารถรองรับการวิ่งบนถนนได้ตามปกติของรถยนต์ หลังจากนั้นจะเป็นการ กางใบพัด ในมุมองศาที่ถูกคิดคำนวณมาเป็นอย่างดี ว่าสามารถพยุงให้ตัวถังรถยนต์ลอยขึ้น และบินได้ในทิศทางที่ต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละบริษัทอีกทีหนึ่ง ว่าอยากให้ดีไซน์ของตัวรถบินได้เป็นไปในรูปแบบใด บางคันอาจเป็นเหมือนรถยนต์ ผสมโดรน หรือบางคันอาจเป็นรถยนต์มีปีกเฉย ๆ เลยก็มีเช่นกัน
รถบินได้ในอนาคต มีของบริษัทอะไรบ้าง
รถบินได้ในอนาคตที่น่าติดตาม มีอยู่ด้วยกัน 5 ตัวด้วยกัน คือ รถบินได้แบบ EV จาก Alef Aeronautics, Doroni H1-X, Xpeng X2 & T1 และ PAL-V ซึ่งแต่ละตัวมีการเคลื่อนไหวอย่างไรบ้างในช่วงเปิดตัว มีการอัปเดตอะไรที่น่าสนใจจนเราอาจหลงลืม หรือมองข้ามไปแล้ว ถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงที่สนใจเกี่ยวกับนวัตกรรมรถบินได้ สามารถติดตามอ่านข้อมูลที่ห้ามพลาดอย่างเด็ดขาด ผ่านหัวข้อด้านล่าง เพื่อให้ไม่ตกเทรนด์ปัจจุบันได้ได้เดี๋ยวนี้
รถ EV จาก Alef Aeronautics
รถบินได้ EV จาก Alef Aeronautics เป็นนวัตกรรมที่เปิดตัวใหม่ล่าสุด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก SpaceX จนสามารถเกิดขึ้นมาได้จริง พร้อมกับยอดจองสมาศาลที่มากถึง 2,850 คัน โดยราคาเจ้ารถบินได้คันนี้จะอยู่ที่ราว ๆ 300,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 10,000,000 บาทกันเลยทีเดียว กลายเป็นหนึ่งในอากาศยานแนวดิ่ง (VTOL) ที่สามารถทำยอดขายได้สูงมากที่สุด ทั้งยังมีการประกาศแล้วว่าเตรียมบินบนน่านฟ้าสหรัฐฯ กันได้ในปีหน้านี้ ส่วนสเปกที่ถูกออกแบบมาก็ต้องยอมรับว่าไม่ธรรมดา เพราะสามารถวิ่งบนถนนด้วยพลังงานไฟฟ้าได้ไกลถึง 321 กิโลเมตร และบินบนฟ้าได้ไกลถึง 177 กิโลเมตร รับน้ำหนักผู้โดยสารได้ 113 กิโลกรัม และหารู้ไม่ว่า เจ้า รถบินบนฟ้าตัวนี้ยังได้รับใบรับรองตามกฎหมายจากหน่วยงานการบินพลเรือนของสหรัฐฯ อีกด้วย
Doroni H1-X
รถบินได้ Doroni H1-X อีกหนึ่งตัวที่น่าจับตามอง เนื่องจากเจ้ารถคันนี้ได้ผ่านการทดสอบจริงมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งช่วงเวลาที่มีการทดลองยังถึงขั้นที่ว่า โดรอน เมอร์ดิงเจอร์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ทำการทดสอบด้วยตัวเอง จนประสบความสำเร็จ พร้อมส่งมอบรถบินได้ที่ผลิตล็อตแรกให้ผู้สั่งซื้อในปี ค.ศ.2025 ความพิเศษของระบบการบินภายในรถคันนี้จะเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ ที่มีระบบช่วยเหลือติดตั้งไว้มากมาย จนผู้ที่ขึ้นมาขับขี่โบยบิน สามารถทำได้ในขณะที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตขับเครื่องบินเสียด้วยซ้ำ แต่ด้วยการออกแบบที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ทำให้บินในระยะสั้น 97 กิโลเมตร หรือส่วนใหญ่จะเน้นใช้งานในเมือง เสมือนคอนเซปต์แท็กซี่อากาศยานเท่านั้นเอง
Xpeng X2 & T1
รถบินได้ Xpeng X2 และ T1 เป็นรถยนต์ไฟฟ้าบินได้ที่ได้รับการออกแบบจาก บริษัท เสี่ยวเผิง ฮุ่ยเทียน ในนครกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง รวมถึงยังเคยได้ไปเปิดตัวที่ดูไบอีกด้วย แต่ทว่าการทดสอบรถบินได้ของเจ้า Xpeng ทั้ง 2 รุ่น ยังไม่ได้มีการประกาศออกมาเป็นทางการที่แน่ชัดเท่าไหร่นัก เนื่องจากการทดสอบที่โชว์ให้ได้เห็นในดูไบ เป็นแบบที่ไม่ใช้คนขับเพื่อลอยตัวเท่านั้น แม้ทางบริษัทจะอ้างว่าในจีนได้มีการทดสอบโดยใช้คนบินจริงแล้วก็ตาม
PAL-V
รถบินได้ PAL-V ที่คิดค้นโดยบริษัทในเนเธอร์แลนด์ คันนี้ปรากฎตัวให้โลกได้เชยชมกันตั้งแต่ปี ค.ศ.2022 แถมครั้งนั้นที่มาการทดสอบ ยังสามารถทดลองการบินได้สำเร็จอีกด้วย แต่ทั้งนี้เจ้า PAL-V ยังคงต้องอาศัยการบินขึ้นจากรันเวย์อย่างน้อยประมาณ 330 เมตร เพื่อใช้ความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมงในการบินขึ้นสู่ท้องฟ้า ในขณะที่มีพิสัยการบิน 500 กิโลเมตรในเวลา 4.3 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการอัปเดตรายละเอียดเพิ่มเติม แม้ทางบริษัทจะมีแผนการส่งมอบรถบินได้ PAL-V คันแรกให้กับลูกค้าตั้งแต่ปี ค.ศ.2023 และทางบริษัทเองก็ยังตั้งใจที่จะรอกฎหมายรองรับในบางประเทศ เพื่อให้สามารถพัฒนา หรือผลิตได้อย่างเต็มกำลัง และมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความต้องการของบริษัท
ข้อกำหนดพื้นฐานของรถบินได้
ข้อกำหนดพื้นฐานของรถบินได้ ที่ซึ่งเป็นความท้าทายของหลายบริษัทให้ได้เอาไปคิด และหาคำตอบที่ถูกต้องมานำเสนอ ได้แก่ ความปลอดภัยในการใช้งาน, การซ่อมบำรุง, สาธารณูปโภครองรับนวัตกรรมใหม่, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, ความปลอดภัยทางไซเบอร์, กฎหมายและการพัฒนาอย่างยั่งยืน, ทรัพยากรบุคคล และการสัญจร โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละข้อกำหนดพื้นฐานดังนี้
- ความปลอดภัยในการใช้งาน ตัวรถบินได้และระบบภ่ายในต้องได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจากองค์กรต่าง ๆ ที่ให้การดูแลเกี่ยวกับอากาศยานแนวดิ่งประเภทนี้
- การซ่อมบำรุง ต้องมีมาตรฐานเหมือนกับอุตสาหกรรมการบินของแต่ละประเทศ
- สาธารณูปโภครองรับนวัตกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสนามบินที่รองรับ หรือระบบนำร่องที่ช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน
- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างมาก
- ความปลอดภัยทางไซเบอร์ เนื่องจากบางรุ่นใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุม จึงควรต้องมีการดูแล ใส่ใจ วางระบบความปลอดภัยไว้มากที่สุด
- กฎหมายและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฎหมายควบคุม หรือข้อบังคับในการใช้งานต้องชัดเจน และรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- ทรัพยากรบุคคล ที่ต้องมีคนที่มีความรู้ในด้านอากาศยานแนวดิ่ง ไว้คอยดูแล บำรุงรักษา หรือให้คำปรึกษาการใช้งานได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด
- การสัญจร ทั้งบนพื้นและบนท้องฟ้า ต้องมีการวางระบบอย่างปลอดภัย รวมถึงการวางกฎระเบียบเรื่องการใช้งานให้สอดคล้องกัน
ข้อจำกัดของรถบินได้
ข้อจำกัดของรถบินได้ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในปัจจุบัน คือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งในแง่จุดการบินขึ้นลง การชาร์จแบต เติมเชื้อเพลิง การบำรุงรักษา ฯลฯ, ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต หรือมีความสามารถในการขับขี่รถบินได้ และเครื่องยนต์หรือแบตเตอรี่ที่รองรับการบินในความต้องการของผู้ขับขี่
ต้องยอมรับเลยว่าตอนนี้รถบินได้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเราอีกต่อไปแล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้ที่เรามีโอกาสได้เห็นทั้งผ่านหน้าจอในการทดสอบบินจริง ไปจนถึงการใช้งานจริงในหลายประเทศที่มีกฎหมายรองรับแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม รถเหล่านั้นยังคงต้องวิ่งบนท้องถนนอยู่ดี หากเป็นไปได้การอยู่กับปัจจุบันเพื่อฝึกขับขี่บนถนนปกติให้ปลอดภัยไว้ก่อน คงเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญอย่างมากอยู่แล้ว ฉะนั้นในช่วงเวลานี้ เพื่อให้เกิดความอุ่นใจในการขับขี่ได้ตลอดเวลา เราควรต่อประกันรถยนต์ที่คอยดูแลสำหรับทุกที่ที่เดินทางได้อย่างครอบคลุมไว้ก่อนจะดีกว่า โดยทาง แรบบิท แคร์ พร้อมให้คำปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านเบอร์โทร 1438
สรุป
รถบินได้เป็นความคิดที่น่าตื่นเต้นและกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลายบริษัททั่วโลกที่กำลังทำการทดลองและพัฒนาคอนเซปต์นี้ รถบินได้หรือที่เรียกว่า “AirCar” ถูกออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนที่ในอากาศและสามารถทำการบินขึ้นและลงแนวดิ่ง (VTOL) โดยไม่ต้องใช้รันเวย์ ความท้าทายที่รถบินได้ต้องเผชิญ ได้แก่ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน, การฝึกอบรมผู้ขับขี่, และการพัฒนาเครื่องยนต์ที่มีความปลอดภัยและเสถียร แม้ว่าจะมีความคืบหน้ามากมาย แต่ยังมีความท้าทายหลายประการที่ทำให้รถบินได้ยังไม่สามารถแทนที่รถบนท้องถนนได้ในปัจจุบัน
ที่มา
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology