รถนำเข้ามีกี่ประเภท? ปัจจุบันภาษีรถนำเข้าต้องเสียเท่าไหร่
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุสำคัญที่ทำให้รถนำเข้า มีราคาแพงกว่ารถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ หรือจากศูนย์บริการทั่วไปหลายเท่าตัว แรบบิท แคร์ ซึ่งเหตุผลหลักเลยมาจากกำแพงภาษีรถนำเข้าที่มีมูลค่าสูงมาก จึงทำให้รถนำเข้าที่มีราคาตั้งต้นก็นับว่าแพงประมาณนึงแล้ว ต้องมาเจอค่าภาษีเพิ่มเติมเข้าไปอีก แถมการนำเข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้รถสามารถจดทะเบียนได้นั้นยังมีเรื่องหลักเกณฑ์ที่ควรรู้สำหรับคนไทย และชาวต่างชาติอยู่ด้วย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจในรถนำเข้า สามารถติดตามอ่านข้อมูลขั้นพื้นฐานได้จากเนื้อหาบทความต่อไปนี้
รถนำเข้ามือหนึ่ง
รถนำเข้ามือหนึ่ง หมายถึง รถยนต์ที่ต้องซื้อมือ 1 จากต่างประเทศ แล้วเอาเข้ามาใช้งานภายในประเทศไทย จะสามารถทำได้อย่างแน่นอน เพียงแต่ต้องมีขั้นตอนการดำเนินการที่ค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขนส่งที่ต้องแสดงเอกสารชัดเจน จนมาถึงประเทศไทยก็ต้องยื่นขอจดทะเบียนให้เรียบร้อย พร้อมกับยื่นขอตัดบัญชีรถอีก ซึ่งเบ็ดเสร็จออกมาจะเจอภาษีที่ค่อนข้างสูง จากราคารถที่ได้มามีโอกาสเพิ่มไปอย่างต่ำ 3 เท่าเลยทีเดียว
ประเภทของรถนำเข้ามือสอง
รถนำเข้าเบื้องต้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ รถยนต์ใช้แล้วและต้องการซื้อเพื่อนำเข้ามาใช้งานในประเทศ กับ รถยนต์ส่วนตัวที่ใช้และครอบครองในขณะที่อยู่ต่างประเทศ โดยทั้งคู่จะมีความแตกต่างเรื่องข้อกำหนดเพื่อนำเข้า กับเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นด้วยเงื่อนไขที่ไม่เหมือนกัน ก่อนจะหาทางเอารถนำเข้ากลับมาใช้ในประเทศไทย จึงควรรู้รายละเอียดให้ดีเสียก่อน
รถยนต์ใช้แล้วและต้องการซื้อเพื่อนำเข้ามาใช้งานในประเทศ
รถยนต์ใช้แล้ว และต้องการซื้อเพื่อนำเข้ามาใช้งานในประเทศไทย หมายถึง รถนำเข้า ที่เป็นรถมือสอง หรือ รถยนต์ส่วนตัวใช้งานแล้ว จากต่างประเทศ ทั้งนี้ข้อกฎหมายกำหนดว่าตัวรถยนต์ที่ต้องการนำเข้า จะต้องเป็นรถยนต์ที่ซื้อและใช้งานมาไม่ต่ำกว่า 1 ปี 6 เดือน รวมถึงผู้ที่นำเข้าเองก็ต้องเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี 6 เดือนเช่นเดียวกัน
รถยนต์ส่วนตัวที่ใช้และครอบครองในขณะที่อยู่ต่างประเทศ
รถยนต์ส่วนตัวที่ใช้และครอบครองในขณะที่อยู่ต่างประเทศ หมายถึง รถยนต์นั่งที่ใช้งานแล้ว เป็นรถยนต์ที่ได้มีการครอบครอง พร้อมถือกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของแบบเต็มตัว ขณะที่ต้องมีการใช้งานมาเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
การคิดภาษีรถนำเข้า
การคิดภาษีรถนำเข้า จะเรียกว่า CIF (Cost+Insurance+Freight) หมายถึง ราคารถ รวมกับค่าประกันภัยและค่าขนส่งจากต่างประเทศ ทั้งยังมีภาษีสรรพสามิต ภาษีมหาดไทย และภาษีมูลค่าเพิ่มเติมอีก ส่วนตัวอย่างการคิดภาษีรถนำเข้าเพื่อความชัดเจน จะมีดังนี้
- อากรขาเข้า ผู้นำเข้าต้องจ่าย ณ ท่าเรือก่อนมีการนำรถยนต์เข้าประเทศในอัตรา 80% ของ CIF
- ภาษีสรรพสามิต จะถูกเก็บไปพร้อมกับอากรขาเข้า โดยจะมีอัตราตั้งแต่ 30-50% ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ หรือขนาดเครื่องยนต์
- ภาษีมหาดไทย ที่เก็บโดยกระทรวงมหาดไทย คิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT7%) ของราคา CIF รวมเข้ากับภาษีด้านบนทั้งหมด
ตัวอย่าง รถนำเข้ามีราคาต่างประเทศตีเป็นเงินไทยที่ 500,000 บาท ราคาหลังรวม CIF เท่ากับ 570,000 บาท
- ภาษีอากรขาเข้าคิดที่ 80% ของราคา CIF = 456,000
- ภาษีสรรพสามิต = (570,000 + 456,000 x 50%)) / (1-(1.1×50%)) = 1,773,333
- ภาษีมหาดไทย 10% ของภาษีสรรพสามิต = 177,333
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT7%) = 208,366
- ราคารถนำเข้ารวมภาษี = 3,185,032 บาท
เกณฑ์การขออนุญาตรถนำเข้า
เกณฑ์การขออนุญาตรถนำเข้า แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ สำหรับคนไทย และสำหรับชาวต่างชาติ หากไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดด้านล่างนี้ จะไม่สามารถนำรถยนต์เข้ามาใช้งานในประเทศไทยได้ ฉะนั้นใครที่วางแผนเตรียมนำเข้ามาใช้งาน อย่าลืมเช็กรายละเอียดพื้นฐาน ได้จากข้อมูลในหัวข้อย่อยดังต่อไปนี้
สำหรับคนไทย
สำหรับคนไทย มีเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ 5 ข้อด้วยกัน คือ นำรถยนต์เข้ามาได้เพียงคนละ 1 คันเท่านั้น, ต้องอาศัยอยู่ในต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 1 ปี 6 เดือน, ต้องถือกรรมสิทธิ์ครอบครองระหว่างที่อยู่ต่างประเทศแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือนเช่นกัน, มีใบขับขี่รถยนต์จากประเทศที่เราใช้รถ หรือมีใบขับขี่นานาชาติระหว่างที่ครอบครอง และรถนำเข้าจะไม่สามารถจำหน่าย จ่าย หรือโอนได้ในระยะเวลา 3 ปี เว้นแต่จะสืบทอดเป็นมรดก
สำหรับชาวต่างชาติ
สำหรับชาวต่างชาติ มีเกณฑ์การนำรถนำเข้ามาในไทยอยู่ทั้งหมด 5 ข้อเหมือนกัน คือ นำเข้ามาได้คนละ 1 คัน, ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ให้เข้ามาอยู่ไม่ต่ำกว่า 1 ปีรวมถึงต้องได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง, กรณีที่ชาวต่างชาติเกษียณอายุหรือมีคู่สมรสเป็นคนไทย ต้องการมาอาศัยในประเทศ ก็นำรถเข้ามาใช้งานได้, มีใบขับขี่รถยนต์จากประเทศที่เราใช้รถ หรือมีใบขับขี่นานาชาติระหว่างที่ครอบครอง และรถที่นำเข้ามา ไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอนได้ในระยะเวลา 3 ปี เว้นแต่จะเป็นการสืบทอดมรดก
ขั้นตอนการขอจดทะเบียนรถนำเข้า
ขั้นตอนการขอจดทะเบียนรถนำเข้า มีทั้งหมด 2 ขั้นตอนหลักด้วยกัน คือ การเตรียมเอกสารให้พร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ และนำเอกสารไปยื่นขอจดทะเบียนรถนำเข้า โดยรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสาร และขั้นตอนการยื่นจดทะเบียน แรบบิท แคร์ ได้เตรียมสรุปเอาไว้ให้แล้วที่ลิสต์รายการทั้งหมดด้านล่าง
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมเอกสาร
- ใบรับรองการนำเข้าจากรมศุลกากร แบบ 32
- สำเนาใบขนส่งสินค้าขาเข้าประเทศ พร้อมด้วยบัญชีแสดงรายการสินค้า และใบเสร็จรับเงินค่าอากรขาเข้า
- หลักฐานทำประกันตามกฎหมายกำหนด
- หลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของรถ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หากเป็นนิติบุคคล ต้องใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมกับตราประทับ (ถ้ามี)
- หนังสือเดินทาง โดยได้รับการตรวจลงตราวีซ่าแบบถูกต้องตามกฎหมาย (กรณีที่เป็นชาวต่างชาติ)
- หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่จากสถานทูต, สถานกงสุล, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, หน่วยราชการหรือองค์การระหว่างประเทศ หรือหนังสือรับรองการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขอจดทะเบียนรถนำเข้า
ขั้นตอนที่ 2 ยื่นเรื่องขอจดทะเบียน
- เข้าไปที่สำนักงานกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ
- ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารทั้งหมดที่เตรียมมา
- ยื่นขอตัดบัญชีรถ ที่ส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์
- ชำระค่าธรรมเนียมและภาษีงานทะเบียนรถ
- รับใบเสร็จ แผ่นป้ายทะเบียน เครื่องหมายการเสียภาษี พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถ
เพียงเท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้นการจดทะเบียนรถนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากอ่านจากสรุปข้อมูลของเราทั้งหมดนี้ อาจดูเหมือนว่าค่อนข้างง่าย แต่ในทางความเป็นจริงแล้วมีหลายอย่างมากที่เราต้องดำเนินการด้วยตัวเองหากจะใช้รถนำเข้า ทั้งยังต้องเจอกำแพงภาษีมหาโหดอีกด้วย ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจหารถนำเข้ามาใช้งานอย่างจริงจัง อย่าลืมเลือกให้ดี ศึกษาข้อมูลให้พร้อม เตรียมทุนสำรองเพื่อจัดการค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นมาเซอร์ไพรส์เราได้ตลอดเวลา
ส่วนใครที่สงสัยว่ารถนำเข้าสมารถทำประกันรถยนต์ได้ไหม หากเป็นรถใหม่มือ 1 สามารถทำได้ แต่อาจมีเบี้ยประกันที่ค่อนข้าวสูงสักหน่อย เนื่องจากอะไหล่ที่หายาก หรือต้องสั่งนำเข้ามาแบบพิเศษ ส่วนรถนำเข้าที่เป็นมือสอง ต้องดูกันที่ตัวอายุของรถยนต์ หากอายุไม่เกินกำหนดกฎเกณฑ์ของทางบริษัทประกันภัย ก็ยังสามารถทำได้เช่นเดียวกัน ส่วนรถมือสองที่มีอายุไม่มาก จะต้องพิจารณาเรื่องค่าอะไหล่ หรือภาพรวมเกี่ยวกับการดูแลและซ่อมบำรุงอีกทีหนึ่ง
หากใครต้องการขอคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการต่อประกันภัยรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อรถยนต์นำเข้า หรือรถใช้งานทั่วไปของเราเอง ก็สามารถติดต่อหา แรบบิท แคร์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านเบอร์ 1438 เราพร้อมให้บริการด้วยตัวเลือกจากบริษัทประกันภัยชั้นนำมากถึง 30 ราย และยังมีส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 70% มอบให้อีกด้วย!
สรุป
รถนำเข้ามือหนึ่ง หมายถึง รถยนต์ที่ต้องซื้อมือ 1 จากต่างประเทศ แล้วเอาเข้ามาใช้งานภายในประเทศไทย ซึ่งจะมีการคิดภาษีนำเข้า (CIF) ด้วย เบื้องต้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รถยนต์ใช้แล้วและต้องการซื้อเพื่อนำเข้ามาใช้งานในประเทศ กับ รถยนต์ส่วนตัวที่ใช้และครอบครองในขณะที่อยู่ต่างประเทศ และมีเกณฑ์การขออนุญาตรถนำเข้า แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ สำหรับคนไทย และสำหรับชาวต่างชาติ ซึ่งจะมีรายละเอียดการนำเข้าที่แตกต่างกันออกไป
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology