ฝีที่รักแร้คืออะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไร?
ฝีเกิดจากอะไร?
จากข้อมูลในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเมดพาร์ค ได้พูดถึงความหมายของฝีไว้ว่า ฝี (Abscess) นั้นเกิดจากเชื้อ Staphylococcus ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดฝีบ่อยมากที่สุด แต่ในส่วนของเชื้อรา เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มักจะไม่ค่อยทำให้เกิดฝีมากนัก ดังนั้นเมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อขึ้นมา ตัวเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าวเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค จนเกิดเป็นการสะสมของเม็ดเลือดขาวขึ้นมาภายในเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหาย และส่งผลทำให้เกิดการอักเสบและเกิดเป็นก้อนขึ้นมา เพราะฉะนั้นก้อนที่เกิดมาก็จะกลายเป็นฝีนั่นเอง
ฝีที่รักแร้ อาการมีอะไรบ้าง?
- ผิวหนังของรักแร้มีอาการปวด บวมแดง
- กดตรงบริเวณฝีที่รักแร้แล้วเจ็บ
- มีไข้และหนาวสั่น
- รู้สึกเหนื่อยง่าย
- มีเหงื่อออกเยอะ
- น้ำหนักลดลง ไม่อยากอาหาร
สาเหตุของการเกิดฝีที่รักแร้ มีอะไรบ้าง?
• การโกนขนรักแร้
เนื่องจากรักแร้เป็นแหล่งสะสมเหงื่อและเซลล์ผิวหนังที่ตายไปแล้ว ดังนั้นเมื่อมีการโกนขนรักแร้บ่อย ๆ ก็อาจจะพลาดทำมีดโกนบาดผิวหนังจนเป็นแผลขึ้นมาได้ จึงส่งผลทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนังได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียมากขึ้นยิ่งขึ้นด้วย
• มีเหงื่อออกที่เยอะมากจนเกินไป
พร้อมทั้งไม่ได้ดูแลรักษาและทำความสะอาดร่างกายให้ดี ๆ โดยเฉพาะที่บริเวณรักแร้ ก็อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการติดเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
• ไม่รักษาความสะอาดบริเวณรักแร้ให้ดี
ก็อาจจะทำให้เซลล์ผิวหนังที่ตายไปแล้วนั้นเข้าไปผสมรวมกันกับไขมันหรือเชื้อโรค จนส่งผลทำให้เกิดเป็นฝีที่รักแร้ขึ้นมาได้
• มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายก็จะไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่ง่ายขึ้น
ฝีที่รักแร้ รักษาอย่างไรบ้าง?
ฝีบนผิวหนังขนาดเล็กหรือฝีที่รักแร้ รักษาเองได้ เมื่อผู้ป่วยมีการประคบอุ่นบนฝีที่รักแร้เพื่อกระตุ้นให้ฝีที่รักแร้นั้นสามารถระบายออกมาได้เองตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่ควรบีบหนองออกจากฝีที่รักแร้เด็ดขาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอาจจะทำให้แบคทีเรียในฝีนั้นแพร่กระจายออกไปยังบริเวณอื่นได้ และในส่วนของการรักษาฝีที่รักแร้นั้น ส่วนใหญ่แล้วแพทย์มักจะให้ผู้ป่วยรับประทานยาปฏิชีวนะพร้อมกับการผ่าตัดเพื่อระบายหนองออกมาก และในระหว่างการผ่าตัดก็จะมีการฉีดยาระงับความรู้สึกบริเวณรอบ ๆ ฝีก่อนที่จะกรีดเพื่อเอาหนองและเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกมา ดังนั้นหลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น ผู้ป่วยควรดูแลรักษาแผลให้ดี ซึ่งโดยปกติแล้วแผลมักจะแห้งสนิทภายใน 2 สัปดาห์
แนวทางป้องกันการเป็นฝีที่รักแร้ มีอะไรบ้าง?
- หลีกเลี่ยงการโกนขนรักแร้ เพราะอาจจะทำให้เกิดบาดแผลที่รักแร้ได้ง่าย ดังนั้นจึงควรระมัดระวังไม่ให้โดนใบมีดโกนบาด หรือควรหาวิธีกำจัดขนวิธีอื่นแทน
- ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ทารักแร้ มีดโกน เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
- รักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการหมักหมมของเหงื่อและเชื้อแบคทีเรียที่รักแร้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย จนทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยากมากยิ่งขึ้น
- หากเกิดบาดแผลที่รักแร้ ควรรักษาบาดแผลให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียจนเกิดฝีที่รักแร้ตามมา
- ควรซักเสื้อผ้าที่สวมใส่และผ้าขนหนูด้วยน้ำร้อนผสมกับน้ำยาซักผ้า แล้วนำไปตากหรืออบให้แห้งสนิทก่อนที่จะนำมาใส่ใหม่
ฝีที่รักแร้อันตรายไหม?
ฝีที่รักแร้ไม่ถือว่าเป็นอันตรายที่ร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต เพียงแต่ฝีที่รักแร้นั้นมักจะไปสร้างความรำคาญ ความเจ็บปวด และความทรมานในขณะที่กำลังใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการสวมใส่เสื้อผ้าที่จะลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากว่าจะต้องมีการยกแขนขึ้นลงด้วยความลำบาก ดังนั้นจึงควรระมัดระวังไม่ให้ฝีที่รักแร้แตกขึ้นมาก็เพียงพอ เพราะว่าเชื้อแบคทีเรียในฝีนั้นอาจจะแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกายได้นั่นเอง
ฝีมีทั้งหมดกี่ประเภท?
ฝีสามารถออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. ฝีบนผิวหนัง เป็นฝีชนิดที่พบได้บ่อยมากที่สุด
โดยจะเกิดขึ้นบริเวณใต้ผิวหนัง และสามารถรักษาได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น
- ฝีรักแร้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการอักเสบของต่อมเหงื่อ และส่งผลทำให้ผิวหนังของรักแร้นั้นเกิดการบวมแดงและกดเจ็บ
- ฝีที่เต้านม มักจะพบได้บ่อยในแม่ที่ให้นมบุตร อันเนื่องมาจากการติดเชื้อที่เต้านม
- ฝีบริเวณก้นหรือทวารหนัก เช่น ฝีบริเวณขอบทวารหนัก ฝีร่องก้น เป็นต้น
2. ฝีในปาก
หรืออาจจะเกิดขึ้นได้ที่บริเวณฟัน เหงือก และลำคอ ดังนั้นหากมีฝีเกิดขึ้นมารอบ ๆ ฟันก็มักจะเรียกกันว่าเป็นฝีในฟันหรือฟันเป็นหนอง ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้
- ฝีต่อมทอนซิล ฝีชนิดนี้มักจะพบได้ในวัยรุ่น
- ฝีรอบต่อมทอนซิล
- ฝีที่เหงือก มักจะส่งผลกระทบต่อเหงือก แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อฟัน
- ฝีบริเวณรอบฟัน เกิดจากโรคปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือก มักจะส่งผลต่อกระดูกและเนื้อเยื่อที่รองรับฟัน
- ฝีที่ปลายรากฟัน เกิดขึ้นที่ปลายรากฟัน อันเนื่องมาจากฟันผุ หรือได้รับบาดเจ็บ
- ฝีในช่องคอส่วนลึก เกิดขึ้นเมื่อต่อมน้ำเหลืองที่ด้านหลังลำคอเกิดการติดเชื้อขึ้นมา
3. ฝีที่อวัยวะภายในร่างกาย
ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในสมอง บนไขสันหลัง หรืออวัยวะภายในอื่น ๆ ที่มักจะพบได้น้อยกว่า โดยการตรวจวินิจฉัยและการรักษาฝีที่อวัยวะภายในนั้นจะทำได้ยากกว่าฝีชนิดอื่น ๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
- ฝีที่ไขสันหลัง
- ฝีในช่องท้อง อาจพบได้ภายในร่างกาย ใกล้ไต ตับอ่อน หรือตับ
- ฝีในสมอง ฝีชนิดนี้มักจะพบได้น้อย ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ในแผล หรือบริเวณศีรษะนั้นเดินทางไปยังสมอง
ควรเลือกทำประกันสุขภาพแบบไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?
เรื่องสุขภาพถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก ถ้าหากว่ามีการวางแผนดูแลสุขภาพทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวก็จะส่งผลดีต่อตัวเราเป็นอย่างมากเลยทีเดียว โดยที่ในระยะสั้นอาจจะวางแผนเรื่องการกินอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมปริมาณการกินให้เหมาะสม ออกกำลังเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียดจนเกินไป ใช้ชีวิตอย่างมีสติและไม่ประมาท ส่วนในระยะยาวก็จะเป็นการเลือกทำประกันสุขภาพ ที่สามารถให้ความคุ้มครองและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวันได้มากยิ่งขึ้น เช่น การลดหย่อนภาษี เนื่องจากว่าเบี้ยประกันนั้นสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และสำหรับในกรณีที่ทำประกันสุขภาพร่วมกับประกันชีวิตแบบทั่วไปหรือเงินฝากแบบที่มีประกันชีวิต ก็จะสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท/ปี หรือการทำประกันสุขภาพร่วมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ ก็จะสามารถนำเบี้ยประกันไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 215,000 บาท/ปี และอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรดังนี้
- เบี้ยประกันของกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
- เบี้ยประกันของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 วิธี ได้แก่
- แบบเดียวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วไป
- แบบที่นำเบี้ยประกันบำนาญที่เหลือไปใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจริง ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่ลงทุนในกองทุนอื่น ๆ ทุกรายการลดหย่อนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน เป็นต้น
ซื้อประกันสุขภาพผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
ประกันสุขภาพที่ทำกับทาง แรบบิท แคร์ นั้นจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ในกรณีที่เป็นประกันสุขภาพแบบระยะยาว (Long term care) ประกันโรคร้ายแรง (Critical illnesses) ประกันอุบัติเหตุที่ให้ความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ หรือการสูญเสียอวัยวะ รวมไปถึงประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ โดยที่เรานั้นจะสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่หรือของตนเองมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งกฎเกณฑ์การลดหย่อนภาษีในแต่ละปีนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขอื่น ๆ ได้เสมอ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ