Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

KYC_MOBILE.png
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Jul 27, 2023

KYC คืออะไร รู้ไว้ไม่เสียหาย ทำไมต้องยืนยันตัวตน

ในปัจจุบันนี้โลกของเรานั้นเต็มไปด้วยเทคโนโลยีอยู่รอบตัวเราไปหมด เพื่อเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตให้ง่ายและต้องปลอดภัยมากขึ้น ถึงอย่างนั้นก็ยังมีช่องทางให้มิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามานำข้อมูลของลูกค้าไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ควร ด้วยการสวมรอยเข้าใช้งาน E-Mali หรือ Social Network อื่น ๆ ก่อนหลอกให้เพื่อนเจ้าของบัญชีหลงเชื่อแล้วโอนเงินให้ ก็มีให้เห็นในข่าวหนาหู หรือนำข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลอื่นไปใช้ในการเปิดบัญชีธนาคารแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และเพื่อสกัดช่องทางในการทำธุรกรรม ทางสำนักงานและปราบปราม การฟอกเงิน หรือสำนักงาน ปปง. ได้ออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับให้ลูกค้าแสดงตัวตน หรือที่เรียกว่า KYC ขึ้นมาแต่เชื่อว่าหลายท่านอาจยังไม่เคยทราบว่า KYC คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อทุกท่านและโลกของธุรกิจ วันนี้เราจะมารวบรวมความรู้ดีไว้ให้ทุกแบบจัดเต็ม

KYC การยืนยันตัวตนลูกค้า Identification

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนลูกค้า หรือ KYC ยืนยันตัวตนเป็นขั้นตอนแรกก่อนการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การยื่นบัตรประจำตัวประชาชนเป็นหลักฐานเพื่อยืนยันตัวผู้ทำธุรกรรมว่าเป็นบุคคลจริง แต่จากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้การปลอมแปลงในส่วนของการยืนยันตัวตนง่ายดายมากยิ่งขึ้น การพิสูจน์ตัวตนลูกค้าจึงเพิ่มบทบาทเข้ามา

การพิสูจน์ตัวตนลูกค้า Verification

KYC Verification คือ การพิสูจน์ตัวตนลูกค้าก่อนการทำธุรกรรมด้วยวิธีการที่น่าเชื่อถือ ยืนยันผลได้อย่างแน่นอน มีทั้งหมด 2 วิธี ได้แก่

1. การตรวจสอบโดยสถาบันทางการเงินเอง

เป็นขั้นตอนการตรวจสอบโดยสถาบันทางการเงินเป็นผู้ติดต่อและประสานงานกับลูกค้าโดยตรง แบ่งย่อยออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่

1.1 การพิสูจน์ตัวตนแบบเห็นหน้า (Face-to-Face)

การตรวจสอบโดยเห็นหน้าผู้ทำธุรกรรมเพื่อพิสูจน์ตัวตนของผู้ทำธุรกรรม และยืนยันด้วยบัตรประจำตัวประชาชน ด้วยการอ่านข้อมูลจากชิปบนบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าตัวผู้ทำธุรกรรมจริง และใช้บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงในการทำธุรกรรม ซึ่งไม่สามารถทำได้หากผู้ทำธุรกรรมไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเอง

1.2 การพิสูจน์ตัวตนแบบไม่เห็นหน้า (Non Face-to-Face)

การตรวจสอบโดยไม่เห็นหน้าผู้ทำธุรกรรมมักจะเป็นธุรกรรมออนไลน์ แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วย eKYC หรือการยืนยันตัวตนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันการเงินมักจะให้ลูกค้าถ่ายรูปตนเองและบัตรประจำตัวประชาชนส่งให้ รวมถึงอาจมีการติดต่อผ่านวิดีโอเพื่อสังเกตอากัปกิริยาของลูกค้าด้วย

2. การตรวจสอบผ่านการยืนยันด้วยระบบดิจิทัล

ประเทศไทยมีข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัล เรื่อง การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน ซึ่งมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้หน่วยงานสามารถพิสูจน์บุคคลได้อย่างแม่นยำ เช่น National Digital ID Platform (NDID Platform) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกลางในการตรวจสอบตัวตนของบุคคล ทำให้สถาบันการเงินสามารถให้บุคคลที่ได้ผ่านการพิสูจน์จากแพลตฟอร์มกลางดังกล่าวทำธุรกรรมได้

การปฏิบัติตามมาตรการ KYC เป็นประโยชน์อย่างมากในการลดจำนวนการกระทำอันมาจากการแอบอ้างเป็นผู้อื่น ลดจำนวนผู้เสียหายจากการถูกแอบอ้างลงได้ ลดการสนับสนุนธุรกรรมของกลุ่มก่อการร้าย และการฟอกเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

KYC สำคัญอย่างไร?

KYC ช่วยให้เราสามารถป้องกันและลดการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่นการคอร์รัปชัน ติดสินบน หรือการฟอกเงินได้ รวมไปถึงช่วยให้ทั้งตัวเราเอง ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการทุกคนในระบบนั้นปลอดภัยมากขึ้นด้วย

ลองคิดว่าถ้าธนาคารให้ใครก็ได้มาเปิดบัญชีโดยไม่ตรวจสอบ แล้วคนนั้นดันกลายเป็นพ่อค้ายาเสพติดที่ใช้ชื่อเราเปิดบัญชี ธนาคารก็เสียความเชื่อมั่น แถมเราก็อาจจะต้องถูกจับโดยที่ไม่ได้ทำความผิดอะไรเลยก็ได้ ดังนั้นถ้าผู้ให้บริการไม่มี KYC ที่เข้มแข็ง เราทุกคนก็คงไม่ไว้วางใจที่จะฝากเงินของเราไว้กับธนาคารนั้น

กระบวนการเป็นอย่างไร?

การทำ KYC นี้ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผ่านระบบออฟไลน์ เช่นการไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารเทียบระหว่างหน้าบัตรกับหน้าจริง ๆ ของเรา หรือว่าทางออนไลน์ที่เรียกว่า e-KYC ขั้นตอนแรกมักจะเริ่มต้นด้วยการเก็บข้อมูลของลูกค้า เช่น ชื่อ เลขประจำตัวประชาชน วันเกิด หรือที่อยู่ โดยเลเวลความเข้มข้นของการทำ KYC นั้นก็มีหลายรูปแบบ แล้วแต่ธรรมชาติและความจำเป็นของธุรกิจนั้น ๆ เช่น

  • การยืนยันตัวตนด้วยเอกสาร ที่ผูกกับตัวเรา แต่ว่าไม่จำเป็นต้องเห็นตัวเราก็ได้
  • การวิดีโอคอล หรือ ยืนยันด้วยตัวเราเป็น ๆ คู่กับเอกสาร
  • การตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบที่มาของเงินได้ ความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ เช่นบุคคลทางการเมือง หรือผู้ก่อการร้าย

วิธีการเเสดงตนของลูกค้ากับสถาบันการเงิน

เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลว่าบุคคลที่ต้องการทำธุรกรรมคือคนที่มีตัวตนอยู่จริงไม่ได้เป็นการแอบอ้าง ก่อนทำธุรกรรมทางการเงินลูกค้าจำเป็นต้องแสดงตนทุกครั้ง โดยวิธีการแสดงตนนั้นต้องเป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วิธีการแสดงตนของลูกค้าสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกำหนด

ข้อมูลและหลักฐานแสดงตน กรณีบุคคลธรรมดายืนยันตัวตน

  • ชื่อ-นามสกุล
  • วัน เดือน ปีเกิด
  • แสดงบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง หรือใบขับขี่
  • ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านและที่อยู่ปัจจุบัน
  • อาชีพ ชื่อและที่อยู่สถานที่ทำงาน
  • หมายเลขโทรศัพท์ E-Mail
  • ลายมือชื่อผู้ทำธุรกรรม

ใครต้องทำ KYC บ้าง?

โดยส่วนใหญ่แล้ว ธนาคารและสถาบันทางการเงินจะต้องมีการทำ KYC ก่อนที่จะสามารถให้บริการกับลูกค้าได้ แต่ก็มีธุรกิจอย่างอื่นที่เริ่มทำ Know Your Customer กับลูกค้าเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น FinTech ธุรกิจคมนาคม หรือประกันภัย

ในประเทศไทยธุรกิจที่เกี่ยวกับการเงินส่วนใหญ่รวมถึง e-Payment และผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องทำ KYC ภายใต้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องเอาบัตรประชาชนไปเปิดบัญชีธนาคารนั่นเอง

KYC กับ E-KYC ต่างกันอย่างไร?

• การทำงานของ KYC

สำหรับการทำงานของ KYC จะเริ่มตั้งแต่การที่ลูกค้า ได้ทำการเข้าสมัครเป็นสมาชิก หรือลงทะเบียนเพื่อใช้บริการ โดย KYC จะทำหน้าที่ในการขอข้อมูลเพื่อระบุตัวตน ก่อนที่จะทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้า เพื่อเป็นการยืนยันว่าตัวตนของลูกค้านั้นมีจริง ๆ และไม่ใช่บุคคลที่มีประวัติที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางการเงิน ซึ่งจะเป็นการดำเนินงานผ่านกระบวนการที่เรียกว่า CDD (Customer Due Diligence)

• การทำงานของ eKYC

สำหรับการทำงานของ eKYC อาจมีรูปแบบการทำความรู้จักลูกค้า หรือการยืนยันตัวตนที่ยกระดับมาจากการยืนยันตัวตนแบบ KYC แต่จะมาในรูปแบบของเทคโนโลยีมีความล้ำสมัยมากขึ้น แต่ความต่างจะเป็นรูปแบบการดำเนินการที่รวดเร็ว ทันสมัย ประหยัดเวลา และประหยัดทรัพยากรมากขึ้น โดยลูกค้าสามารถทำทุกขั้นตอนผ่านแอปพลิเคชันเป็นหลัก

ความสะดวกของ E-KYC คือการลดความยุ่งยากทั้งหมดของการทำธุรกรรม ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วย มีการลดขั้นตอนการกรอกข้อมูลด้วยการสามารถใช้ OCR ในการสแกน และกรอกข้อมูลให้อัตโนมัติ และการใช้ เทคโนโลยี Face-to-Face หรือ VDO Conference ในการยืนยันใบหน้าของลูกค้า จากนั้นข้อมูลทุกอย่างก็จะขึ้นให้ลูกค้าทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อยืนยันความถูกต้อง เพียงเท่านี้ก็สามารถดำเนินการยืนยันตัวตนเสร็จสิ้น และข้อมูลที่กรอกจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่เป็นส่วนกลาง ที่สามารถมั่นใจว่าข้อมูลจะปลอดภัย ไม่รั่วไหล

เปรียบเทียบ KYC กับ E-KYC แตกต่างกันอย่างไร?

KYC

E-KYC

ต้องเดินทางไปยืนยันตัวตนที่สาขาเท่านั้นสามารถยืนยันตัวตนแบบออนไลน์ และทำได้ทุกที่
ต้องกรอกข้อมูลต่าง ๆ ด้วยตัวเองระบบสามารถดึงข้อมูล และกรอกแบบอัตโนมัติ เพียงถ่ายรูปบัตรประชาชน
ต้องแสดงตัวตนต่อหน้าเจ้าหน้าที่สามารถแสดงตัวตนด้วยการเซลฟี่ ผ่านหน้าจอมือถือ
ตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า และเปรียบเทียบกับข้อมูลเอกสารประจำตัวด้วยพนักงานหลายคนเปรียบเทียบข้อมูลลูกค้ากับบัตรประชาชนแบบ Automation ด้วยระบบ AI
ใช้เวลาดำเนินการเฉลี่ยครึ่งวันทำการใช้เวลาดำเนินการเฉลี่ย 3 นาที
ให้บริการได้เฉพาะวันทำการให้บริการทุกวัน 24 ชั่วโมง

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้าง ท่านคงพอได้คำตอบแล้วว่า การทำงานของ KYC เป็นอย่างไร ทำงานอย่างไร มีข้อดีอะไรบ้าง เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมทางการเงินให้ท่านแล้วยังให้ความรู้สึกปลอดภัยอีกด้วย เมื่อท่านมั่นใจแล้วว่าท่านจะไม่โดนขโมยข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญในระหว่างการทำธุรกรรมด้านการเงินเราขอแนะนำ สินเชื่อด้านการเงิน สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  แรบบิท แคร์  เพราะเราได้รวบรวมข้อเสนอสินเชื่อมากมายหลายธนาคาร เรียกได้ว่าใช้บริการกับเราครบวงจร ไม่ต้องเสียเวลาไปขอกับหลายธนาคาร ที่พร้อมให้คำปรึกษา และปลอดภัยอีกด้วย

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

สินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรีสินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรี

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 12.99% ปี, 6-12 เดือน อาชีพพิเศษ 5 ปี+
  • ดอกเบี้ย 15.99% ปี, 6-12 เดือน ธุรกิจพิเศษ
  • ผ่อนสูงสุด 60 เดือน แสนละ 2,2XX บาท
  • อนุมัติสูงสุด 2 ล้านบาท หรือ 5 เท่าของรายได้
  • เอกสารเงินเดือน หรือหนังสือรับรองบริษัท
  • รายได้ต่อเดือน พนักงาน 20,000 บาท, เจ้าของกิจการ 200,000 บาท
สินเชื่อส่วนบุคคล ทีทีบี แคชทูโกทีทีบี แคชทูโก

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 17%/ปี, 14%/ปี ใช้ Direct Debit
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท หรือ 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อนสบาย 72 เดือน ไม่ต้องมีคนค้ำ
  • รวบหนี้ 4 รายการ ลดดอกเบี้ย
  • รับเงินเดือน 20,000 บาท/เดือน ทำงานเกิน 4 เดือน
  • รายได้ 30,000 บาท/เดือน ดำเนินธุรกิจ 2 ปี
สินเชื่อส่วนบุคคล Happy CashHappy Cash

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 9.99% นาน 5 เดือน
  • วงเงินสูงสุด 1.5 ล้าน
  • ผ่อนนาน 60 เดือน ไม่ต้องค้ำ
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ผ่อนชำระไม่เกิน 60 ปี
  • พนักงาน 15,000 บาท+, เจ้าของกิจการ 50,000 บาท+
  • อายุงานประจำ 6 เดือน+, เจ้าของกิจการ 3 ปี
CardX SPEEDY LOANCardX SPEEDY LOAN

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยลดต้น 25% ต่อปี ผ่อน 540 บาท
  • เงินเข้าบัญชีใน 1 วัน
  • ผ่อนนานสูงสุด 72 เดือน
  • คุ้มครองฟรีประกันชีวิตวงเงิน
  • รายได้ขั้นต่ำ 30,000 บาท (พนักงาน)
  • อายุงาน 4 เดือนหลังทดลองงาน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา