โดนล็อคล้อเพราะจอดในที่ห้ามจอด จ่ายค่าปรับที่ไหนได้บ้าง? จ่ายได้ถึงกี่โมง?
โดนล็อคล้อจากการจอดรถไม่ถูกที่ถือเป็นปัญหาใหญ่ ปัญหาหนึ่งสำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพเลยก็ว่าได้ เพราะจะไปไหนแต่ละทีก็คือหาที่จอดรถยากมาก บางทีเผลอไปจอดในที่ห้ามจอด กลับมาที่รถอีกทีโดนตำรวจล็อคล้อไปเรียบร้อยแล้ว เสียค่าปรับกันเป็นว่าเล่น วันนี้เราจะพาไปดูว่าหากโดนตำรวจล็อคล้อ ต้องทำอย่างไร แล้วเสียค่าปรับเท่าไหร่?
โดนใบสั่งล็อคล้อ ได้จากความผิดจราจรใดบ้าง?
จอดรถในพื้นที่ห้ามหยุดรถ
กรณีผู้ขับขี่หยุดรถในพื้นที่ห้ามหยุดรถซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ถนนโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานจราจรสามารถออกใบสั่ง และหรือทำการล็อคล้อได้ เนื่องจากมีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถในพื้นที่หยุดรถ โดยมีรายละเอียดพื้นที่ห้ามหยุดรถที่เป็นพื้นที่ที่หลายคนโดนล็อคล้อ ดังต่อไปนี้
- ห้ามหยุดรถในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
- ห้ามหยุดรถบนทางเท้า
- ห้ามหยุดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์
- ห้ามหยุดรถในทางร่วมทางแยก
- ห้ามหยุดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
- ห้ามหยุดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
- ห้ามหยุดรถในเขตปลอดภัย
- ห้ามหยุดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
จอดรถในพื้นที่ห้ามจอดรถ
กรณีผู้ขับขี่จอดรถในพื้นที่ห้ามจอดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานจราจรสามารถล็อคล้อรถคันที่จอดในพื้นที่ห้ามจอดได้ เนื่องจากมีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ห้ามมิให้ผู้ใดจอดรถในพื้นที่ห้ามจอดรถ มีรายละเอียดพื้นที่ห้ามจอดรถที่เมื่อจอดแล้วจะทำให้โดนล็อคล้อ ดังต่อไปนี้
- ห้ามจอดรถบนทางเท้า
- ห้ามจอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์
- ห้ามจอดรถในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
- ห้ามจอดรถในทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
- ห้ามจอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
- ห้ามจอดรถในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
- ห้ามจอดรถในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
- ห้ามจอดรถในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
- ห้ามจอดรถซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
- ห้ามจอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ
- ห้ามจอดรถระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะ 10 เมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
- ห้ามจอดรถในที่คับขัน
- ห้ามจอดรถในระยะ 15 เมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
- ห้ามจอดรถในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
- ห้ามจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
จอดในพื้นที่ประกาศใช้เครื่องล็อคล้อ
กรณีจอดรถโดยไม่มีเหตุสมควรในพื้นที่หรือถนนสายต่าง ๆ ที่ประกาศให้เป็นพื้นที่ใช้เครื่องมือบังคับล้อไม่ให้เคลื่อนย้ายรถ (เครื่องล็อคล้อ) หรือพื้นที่โดนล็อคล้อทั้งในเขตกรุงเทพมหานครหรือส่วนปกครองท้องถิ่น ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เจ้าพนักงานจราจรสามารถทำการล็อคล้อรถคันดังกล่าวได้ทันที
รถโดนล็อคล้อ เสียค่าปรับเท่าไร? ต้องจ่ายอะไรบ้าง?
กรณีผู้ขับขี่โดนล็อคล้อโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเนื่องจากจอดในที่ห้ามที่จอด หรือในที่ห้ามหยุด จะต้องชำระค่าปรับ 2 ส่วน ได้แก่ 1) ค่าปรับจราจรกรณีจอดในที่ห้ามจอด/ห้ามหยุด สูงสุดไม่เกิน 500 บาท และ 2) ค่าเครื่องมือล็อคล้อ สูงสุดไม่เกิน 500 บาทต่อคัน จึงจะสามารถปลดล็อคล้อได้ ทั้งนี้ ค่าปรับข้างต้นจะแสดงในใบสั่งสีขาวและใบสั่งสีฟ้า
1. ค่าปรับจราจร
เจ้าของรถที่โดนล็อคล้อต้องจ่ายค่าปรับจราจรจากการจอดในจุดห้ามหยุดรถ (มาตรา 55) หรือจอดในจุดห้ามจอดรถ (มาตรา 57) ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 148 มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
รายการสั่งปรับจอดรถในพื้นที่ห้ามหยุดรด หรือห้ามจอดรถจะแสดงอยู่ในใบสั่งสีขาว ซึ่งค่าปรับข้างต้นจะแบ่งสัดส่วนการนำส่งเงินให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 50% นำส่งเข้าส่วนปกครองท้องถิ่นหรือกรุงเทพมหานคร, 2.5% นำส่งเงินให้กับกระทรวงการคลัง และ 47.5% เป็นเงินรางวัลนำจับของเจ้าหน้าที่จราจร
2. ค่าเครื่องมือบังคับล้อ
เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ที่โดนล็อคล้อต้องชำระค่าใช้จ่ายการใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เครื่องย้าย หรือค่าเครื่องล็อคล้อ เพื่อทำการปลดล็อคล้อ ไม่เกินคันละ 500 บาท ตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 148 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 หรือตามที่มีกำหนดไว้ในกฎกระทรวง
รายการค่าปรับเครื่องล็อคล้อหรือโดนล็อคล้อจะแสดงในใบสั่งสีฟ้า โดยค่าเครื่องล็อคล้อจัดอยู่ในกลุ่มค่าปรับจราจรที่ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายและค่าอุปกรณ์ด้านจราจรในการดำเนินการล็อคล้อ หรือเคลื่อนย้ายรถ (ยกรถ) ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดต่อไป
โดนล็อคล้อ ไม่จ่ายค่าปรับได้ไหม?
กรณีไม่จ่ายค่าปรับรถโดนล็อคล้อภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่ง เจ้าพนักงานจราจรสามารถสั่งเคลื่อนย้าย หรือยกรถของผู้กระทำความผิดที่ไม่ดำเนินการชำระค่าปรับไปยังพื้นที่ดูแลรักษาของสถานีตำรวจ ซึ่งเจ้าของรถต้องชำระค่าปรับ ค่าใช้เครื่องมือล็อคล้อ ค่าเคลื่อนย้าย และค่าดูแลรักษารายวันในระหว่างที่รถอยู่ในความครอบครองของเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วนจึงจะสามารถรับรถคืนได้
หากพ้นระยะเวลาสามเดือนแล้วเจ้าของรถที่โดนล็อคล้อยังไม่เข้าชำระค่าปรับและค่าดูแลรักษาทั้งหมดให้เรียบร้อย เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจในการนำรถดังกล่าวขายทอดตลาด เพื่อนำไปหักค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาที่ค้างชำระไว้
โดนล็อคล้อจ่ายได้ที่ไหน? จ่ายได้ถึงกี่โมง?
สามารถชำระค่าปรับใบสั่งล็อคล้อได้ภายในระยะที่กำหนดไว้ในใบสั่ง ตามวันและเวลาราชการ หรือตลอด 24 ชั่วโมงในกรณีเลือกชำระค่าปรับด้วยตัวเองที่สถานีตำรวจที่เป็นผู้ออกใบสั่ง ทั้งนี้ สามารถชำระค่าปรับรถโดนล็อคล้อได้จากช่องทางที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
- ชำระที่สถานีตำรวจหรือหน่วยงานที่ออกใบสั่ง
- ชำระที่สถานีตำรวจอื่น ๆ นอกเหนือจากสถานีตำรวจที่ออกใบสั่งทั่วประเทศไทย
- ชำระด้วยธนาณัติหรือตั๋วแลกเงินของธนาคาร
- ชำระที่ธนาคาร
- ชำระที่เครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM)
- ชำระที่หน่วยบริการรับชำระเงิน
- ชำระที่ไปรษณีย์ทุกสาขา
- ชำระที่ตู้บุญเติม
กฎหมายล็อคล้อมีอะไรบ้าง?
พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522
- มาตรา 59
เจ้าหน้าที่จราจรมีอำนาจในการสั่งเคลื่อนย้าย ล็อคล้อ หรือยกรถที่จอดในบริเวณจุดห้ามหยุดรถตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55 หรือจุดห้ามจอดรถตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ได้ตามดุลยพินิจ หากเจ้าหน้าที่สั่งให้ล็อคล้อ หรือยกรถแล้ว เจ้าของรถต้องชำระค่าปรับ ค่าล็อคล้อ ค่ายกรถ และค่าดูแลรักษารถให้ครบถ้วน จึงจะสามารถรับรถคืนได้ ตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 59 - มาตรา 159
กรณีขัดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจล็อคล้อ จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 159 ผู้ขับขี่ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือขัดขวางไม่ให้เจ้าพนักงานจราจรเคลื่อนย้ายรถ หรือใช้เครื่องมือบังคับมิให้รถเคลื่อนย้าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณีถอดล้อรถที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคล้อเอาไว้ด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือทำลายเครื่องล็อคล้อจนเกิดความเสียหาย จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 159 ผู้ใดทำลายหรือเคลื่อนย้ายเครื่องมือบังคับรถมิให้เคลื่อนย้ายโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ - มาตรา 140
กรณีเจ้าหน้าที่จราจรพบการกระทำความผิดจอดในจุดห้ามหยุดรถ ตามมาตรา 55 หรือจอดในจุดห้ามจอดรถ มาตรา 57 และไม่สั่งล็อคล้อตามดุลยพินิจ เจ้าหน้าที่จราจรสามารถกล่าวตักเตือน หรือออกใบสั่งปรับให้ผู้่ขับขี่ ตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 โดยการจอดในจุดห้ามหยุดรถ หรือจอดในจุดห้ามจอดรถ มีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 148 มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2564
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเคลื่อนย้ายรถ การใช้เครื่องมือบังคับ ไม่ให้เคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๖๔
กฎกระทรวงค่าใช้จ่ายเครื่องมือล็อคล้อ
กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดรถในที่จอดรถ ค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายรถ ค่าเคลื่อนย้ายในกรณีมีการเคลื่อนย้าย และค่าดูแลรักษารถในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2564
ประกาศกองบังคับการตำรวจจราจร
ประกาศหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจจราจร เรื่อง กำหนดพื้นที่ใช้เครื่องมือบังคับล้อไม่ให้เคลื่อนย้ายรถ พ.ศ. 2565
ถนนใดบ้างในกรุงเทพฯ ที่จอดแล้วโดนล็อคล้อ?
หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรระบุ 26 เขตพื้นที่ถนนกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่โดนล็อคล้อเมื่อพบการหยุดรถ หรือจอดรถโดยไม่มีเหตุอันควร โดยกองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจจราจร เรื่องกำหนดพื้นที่ใช้เครื่องมือบังคับล้อไม่ให้เคลื่อนย้ายรถ พ.ศ. 2565 มีรายชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่จราจรล็อคล้อเมื่อพบการหยุดหรือจอดในพื้นที่พื้นที่ห้ามหยุดหรือห้ามจอดรถ ดังต่อไปนี
เขตพื้นที่ที่ 1 หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรระบุ 26 เขตพื้นที่ถนนกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่ล็อคล้อเมื่อพบการหยุดรถ หรือจอดรถโดยไม่มีเหตุอันควร
- ถนนราชปรารภ ตั้งแต่แยกถนนเพชรบุรี ถึงแยกถนนศรีอยุธยา
- ถนนกำแพงเพชร 1 ตั้งแต่แยกถนนกำแพงเพชร ถึงแยกถนนกำแพงเพชร 3
- ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 6 ถึงสะพานยมราช
- ถนนลาดพร้าว ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกซอยลาดพร้าว 1
- ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่แยกถนนจรัสเมือง ถึงแยกถนนเพชรบุรี โดยเริ่มจากทางแยกเข้ามาในระยะไม่เกิน 20 เมตร และรถก่อนออกทางแยก ในระยะไม่เกิน 60 เมตร ทั้งสองฝั่ง
- ถนนรัชดาภิเษกทุกสาย (วงแหวนรอบกลาง)
- ถนนขาว
- ถนนราชวิถี ตั้งแต่แยกถนนราชสีมาถึงสะพานกรุงธน และตั้งแต่แยก ถนนพระรามที่ 5 ถึงแยกถนนสวรรคโลก ถนนสุโขทัย ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงท่าน้ำฝั่งทิศเหนือ
- ถนนสังคโลก
- ถนนวงศ์สว่าง (เส้นทางถนนวงเวียนรอบกลาง)
- ถนนพระรามที่ 9
- ถนนสุทธิสารวินิจฉัย
- ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 5 ถึงถนนพระรามที่ 6
- ถนนพระรามที่ 5 ตั้งแต่แยกถนนพิษณุโลก ถึงสะพานดุสิต
- ถนนสวรรคโลก ตั้งแต่แยกถนนราชวิถี ถึงถนนศรีอยุธยา
- ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่แยกถนนกำแพงเพชร ถึงแยกถนนเตชะวณิช
- ถนนประชาชื่น ฝั่งทิศตะวันออก (ริมคลองประปา)
- ถนนประดิพัทธ์ ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 6 ถึงทางรถไฟสายเหนือ
- ถนนกำแพงเพชร 1 ตั้งแต่แยกถนนกำแพงเพชร 3 ถึงแยกถนนวิภาวดีรังสิต
- ถนนกำแพงเพชร 2
- ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ตั้งแต่แยกถนนรัชดาภิเษก ถึงแยกถนนประชาอุทิศ
- ถนนอโศก - ดินแดง ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 9 ถึงแยกถนนเพชรบุรี
- ถนนเทอดดำริ ตั้งแต่แยกถนนประดิพัทธ์ ถึงแยกสถานีรถไฟบางซื่อ
- ถนนพิชัย ตั้งแต่แยกถนนนครไชยศรี ถึงแยกถนนราชวิถี
- ถนนกำแพงเพชร ตั้งแต่แยกถนนกำแพงเพชร 2 ถึงถนนกำแพงเพชร 1 ฝั่งทิศเหนือ
- ถนนดินแดง
- ถนนอโศก - ดินแดง ตั้งแต่แยกถนนประชาสงเคราะห์ ถึงแยกถนนรัชดาภิเษก
- ถนนราชวิถี ตั้งแต่แยกถนนราชปรารภ ถึงแยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- ถนนราชปรารภ ตั้งแต่แยกถนนศรีอยุธยา ถึงแยกถนนดินแดง
- ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 6 ถึงแยกถนนอโศก
- ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่แยกถนนพญาไท ถึงแยกถนนราชปรารภ ฝั่งทิศเหนือ
- ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่แยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึงแยกถนนงามวงศ์วาน
- ถนนลาดพร้าว ตั้งแต่แยกซอยลาดพร้าว 1 ถึงแยกซอยโชคชัย 4
- ถนนพญาไท ตั้งแต่แยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึงแยกถนนพระรามที่ 1
- ถนนพระรามที่ 1 ตั้งแต่แยกถนนพญาไท ถึงแยกถนนพระรามที่ 6
- ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่แยกถนนอโศก ถึงแยกถนนรามคำแหง
- ถนนเศรษฐศิริ
- ถนนนครไชยศรี ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงท่าน้ำพายัพ
- ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ตั้งแต่โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ ถึงแยกถนนประชาอุทิศ (บริเวณหน้าสำนักงานเขตห้วยขวาง)
- ถนนประชาอุทิศ ตั้งแต่แยกถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ถึงแยกถนนเทียมร่วมมิตร
- ถนนประดิพัทธ์ ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกถนนพระรามที่ 6
- ถนนประชาสงเคราะห์ ตั้งแต่แยกถนนดินแดง ถึงแยกถนนมิตรไมตรี
- ถนนอินทามระ (ถนนเชื่อมระหว่างถนนสุทธิสารวินิจฉัย และถนน ประชาราษฎร์บำเพ็ญ
- ถนนเทศบาลสงเคราะห์
- ถนนประชาชื่น ด้านทิศตะวันตก
- ถนนประชาราษฎร์
- ถนนประชาราษฎร์สาย 1
- ถนนประชาราษฎร์สาย 2
- ถนนเตชะวณิช
- ถนนพระรามที่ 5 ตั้งแต่แยกถนนประดิพัทธ์ ถึงสะพานดุสิต
- ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่แยกถนนเพชรบุรี ถึงแยกถนนกำแพงเพชร
- ถนนประดิพัทธ์ ตั้งแต่แยกถนนเตชะวณิช ถึงแยกถนนเทอดดำริ
- ถนนกำแพงเพชร ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 6 ถึงแยกถนนกำแพงเพชร 2 ทั้งสองฝั่ง และตั้งแต่แยกทางเข้า -ออก องค์การตลาดเพื่อการเกษตร ถึงแยกถนนกำแพงเพชร 2 ฝั่งทิศใต
- ถนนเทอดดำริ ตั้งแต่แยกถนนนครไชยศรี ถึงแยกถนนประดิพัทธ์
- ถนนพิชัย ตั้งแต่แยกถนนนครไชยศรี ถึงแยกถนนอำนวยสงคราม
- ถนนนครไชยศรี ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงแยกถนนพระรามที่ 6
- ซอยอารีย์สัมพันธ์
- ถนนสุโขทัย ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงแยกถนนสวรรคโลก และตั้งแต่ แยกถนนขาว ถึงแยกถนนสามเสน ฝั่งทิศใต้
- ถนนราชวิถี ตั้งแต่แยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึงทางรถไฟสายเหนือ และตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 5 ถึงแยกถนนนครราชสีมา
- ถนนสามเสน ตั้งแต่แยกถนนสุโขทัย ถึงเชิงสะพานบางลำพูฝั่งทิศตะวันออก
- ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่แยกถนนสามเสนถึงแยกถนนพระรามที่ 5 และ ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 6 ถึงแยกถนนพญาไท และถนนราชปรารภ ฝั่งทิศใต้
- ถนนมิตรไมตรี
- ถนนสาลีรัฐวิภาค
เขตพื้นที่ที่ 2
- ถนนโยธี
- ซอยราชวิถี 15 (ซอยเสนารักษ์)
เขตพื้นที่ที่ 3
- ซอยวิภาวดีรังสิต 5 (ซอยยาสูบ 1)
เขตพื้นที่ที่ 4
- ซอยราชวิถี 4
เขตพื้นที่ที่ 5
- ซอยรัชดาภิเษก 32 จากปากซอยเข้าไปเป็นระยะ 50 เมตร
- ซอยรัชดาภิเษก 36 จากปากซอยเข้าไปเป็นระยะ 50 เมตร
เขตพื้นที่ที่ 6
- ซอยพหลโยธิน 1 ตั้งแต่ปากซอยจนถึงทางออกถนนพระราม 6
- ซอยอินทามระ 47 ถนนประชาสุข
- ซอยสัมมากร 1
- ซอยสัมมากร 2
- ถนนเทศบาลนิมิตรเหนือ
เขตพื้นที่ที่ 7
- ซอยวงศ์สว่าง 11 ตั้งแต่ปากซอยเข้ามาในระยะ 50 เมตร
เขตพื้นที่ที่ 8
- ซอย ส.ธรณินทร์ 1 จากปากซอยเข้าไปประมาณ 50 เมตร
- ซอย ส.ธรณินทร์ 7 จากปากซอยเข้าไปประมาณ 50 เมตร
- ซอย ส.ธรณินทร์ 8 จากปากซอยเข้าไปประมาณ 50 เมตร
- ซอย ส.ธรณินทร์ 10 จากปากซอยเข้าไปประมาณ 50เมตร
- ซอยรัชดาภิเษก 36
เขตพื้นที่ที่ 9
- ถนนกรุงเทพ - นนทบุรี ตั้งแต่สามแยกเตาปูนตัดกับถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ถึงแยกวงศ์สว่าง
เขตพื้นที่ที่ 10
- ซอยบุญช่วย
เขตพื้นที่ที่ 11
- ซอยหมอเหล็ง
เขตพื้นที่ที่ 12
- ซอยโพธิ์ปั้นตั้งแต่ปากซอยแยก 2 ถึงปากซอย 20
เขตพื้นที่ที่ 13
- ถนนนิคมมักกะสัน
เขตพื้นที่ที่ 14
- ถนนเลียบทางรถไฟสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
เขตพื้นที่ที่ 15
- ซอยอินทามระ 3
- ซอยลาดพร้าว 3
เขตพื้นที่ที่ 16
- ซอยอารีย์สัมพันธ์ 3
- ซอยอารีย์สัมพันธ์ 4
- ซอยอารีย์สัมพันธ์ 5
- ซอยอารีย์สัมพันธ์ 6
เขตพื้นที่ที่ 17
- ถนนพญาไท ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 1 ถึงแยกถนนจุฬาซอย 12
- ถนนสาธรเหนือ ตั้งแต่แยกซอยศาลาแดง 1 ถึงแยกถนนพระรามที่ 4
- ถนนมหานคร ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 4 ถึงตรอกนายห้าง
- ถนนรองเมือง ตั้งแต่ทางแยกสถานีรถไฟกรุงเทพ เข้ามาในระยะ 60 เมตร และก่อนออกทางแยกถนนเจริญเมืองในระยะ 60 เมตร
- ถนนรัชดาภิเษกทุกสาย (วงแหวนรอบกลาง)
- ซอยอารีย์ (สุขุมวิท 26)
- ซอยกล้วยน้ำไท (สุขุมวิท 42)
- ซอยสุรเสนา
- ซอยพิพัฒน์ 2
- ซอยศิริจุลเสวก
- ถนนศาลาแดง ฝั่งทิศตะวันออก
- ถนนรองเมือง ตั้งแต่แยกหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ ถึงแยกถนนเจริญเมือง ฝั่งทิศตะวันตก
- ถนนปั้น ฝั่งทิศใต้
- ถนนประมวล ฝั่งทิศใต้
- ถนนสุรศักดิ์
- ถนนมเหสักข์
- ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่แยกถนนสาธรใต้ ถึงแยกถนนรัชดาภิเษก
- ถนนนานาเหนือ
- ถนนเจริญกรุงตั้งแต่แยกถนนมหาพฤฒาราม ถึงแยกถนนสาธรเหนือ
- ถนนสาธรเหนือ
- ถนนสาธรใต้ถนนพระรามที่ 1 ตั้งแต่แยกถนนพญาไท ถึงแยกถนนพระรามที่ 6
- ถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกถนนเพลินจิต ถึงแยกถนนเพชรบุรี
- ถนนมหาพฤฒาราม
- ถนนพระรามที่ 4
- ถนนศาลาแดง ฝั่งทิศตะวันตก
- ถนนคอนแวนต์ ตั้งแต่แยกซอยศาลาแดง 2 ถึงซอยพิพัฒน์ 2 ฝั่งทิศใต้
- ซอยสวนพลู
- ถนนราชดำริ ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 1 ถึงแยกถนนพระรามที่ 4
- ถนนพญาไท ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 4 ถึงแยกถนนจุฬาซอย 12
- ถนนอังรีดูนังต์
- ถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกถนนเพลินจิต ถึงแยกถนนพระรามที่ 4
- ถนนสารสิน
- ถนนหลังสวน
- ถนนนางลิ้นจี่
- ถนนสาธุประดิษฐ์
- ถนนจันทน์
- ถนนสุนทรโกษา
- ถนนรองเมือง
- ถนนเอกชัย ตั้งแต่สะพานบางขุนเทียน ถึงแยกสวัสดิ์
- ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่แยกราชดำเนินกลาง ถึงถนนอรุณอมรินทร์
- ถนนสุขาภิบาล 1 (บางแค) ตั้งแต่แยกเพชรเกษม ถึงสะพานข้ามคลองภาษีเจริญ
- ถนนบางกอกน้อย -ตลิ่งชัน ตั้งแต่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ เข้าไป 200 เมตร
- ถนนชัยพฤกษ์ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองชักพระ ถึงแยกถนนชักพระ
- ถนนเทอดไท ตั้งแต่สะพานข้ามคลองวัดนางชี ถึงท่าน้ำภาษีเจริญ
- ถนนปิ่นเกล้านครชัยศรี ตั้งแต่แยกจรัญสนิทวงศ์ ถึงสะพานข้ามคลองบางกอกน้อย
- ถนนพรานนก ตั้งแต่ถนนอิสรภาพ ถึงแยกอรุณอมรินทร์
- ถนนวังเดิม
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่แยกถนนเพชรเกษม ถึงแยกราชวิถี
- ถนนเทอดไท ตั้งแต่แยกอินทรพิทักษ์ ถึงสะพานข้ามคลองวัดนางชี
- ถนนเพชรเกษม ตั้งแต่สะพานข้ามคลองราชมนตรี ถึงแยกถนนสุขาภิบาล 1 (บางแค)
- ถนนวุฒากาศ
- ถนนจอมทอง
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ 12 (ซอยพานิชยการธนบุรี)
- ถนนชัยพฤกษ์ ตั้งแต่ถนนชักพระ ถึงสุดเขตถนนชัยพฤกษ์
- ถนนสวนผัก ตั้งแต่ถนนทุ่งมังกร เข้าไประยะ 480 เมตร
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่แยกถนนราชวิถี ถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนเพชรเกษม ตั้งแต่สะพานบางไผ่ ถึงสะพานข้ามคลองราชมนตรี และตั้งแต่แยกถนนสุขาภิบาล 1 (บางแค) ถึงถนนวงแหวนรอบนอก
- ถนนราษฎร์บูรณะ
- ถนนสุขสวัสดิ์
- ถนนประชาอุทิศ (ราษฎร์บูรณะ)
- ถนนพรานนก ตั้งแต่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงแยกพรานนก และตั้งแต่ แยกถนนอรุณอมรินทร์ ถึงท่าน้ำศิริราช
- ถนนอรุณอมรินทร์
- ถนนเอกชัย ตั้งแต่แยกซอยบังสวัสดิ์ ถึงแยกซอยเข้าสถานีตำรวจนครบาล บางขุนเทียน
- ถนนสุขาภิบาล 1 (บางแค) ตั้งแต่สะพานข้ามคลองภาษีเจริญ ถึงแยกถนนเอกชัย
- ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่แยกอรุณอมรินทร์ ถึงแยกจรัญสนิทวงศ์
- ถนนบางกอกน้อยตลิ่งชัน ตั้งแต่สุดเขตห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ระยะทางเข้าไป 200 เมตร ในถนนเส้นนี้ ถึงสะพานข้ามคลองชักพระ
เขตพื้นที่ที่ 18
- ซอยทวีวัฒนา 9 (ซอยอำนวยโชค) ถึงเขตติดต่อทางเข้าหมู่บ้าน สินพัฒนาธานี
- ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ เริ่มจากถนนหน้าโรงเรียนวัดหนองแขม ถึงแยกหนองแขมฝั่งใต้
- ถนนเลียบคลองภาษีเจริญ
- ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ 6 (เอี่ยมถาวร)
เขตพื้นที่ที่ 19
- ถนนอรุณอมรินทร์
เขตพื้นที่ที่ 20
- ถนนชัยพฤกษ์ ตั้งแต่ถนนบรมราชชนนี ถึงซอยชัยพฤกษ์ 18
เขตพื้นที่ที่ 21
- ถนนเลียบทางรถไฟสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (Local Road)
เขตพื้นที่ที่ 22
- ซอยเพชรเกษม 40 แยก 9
เขตพื้นที่ที่ 23
- ถนนจักรเพชร ตั้งแต่แยกถนนพาหุรัด ถึงแยกถนนพีระพงษ์
- ถนนข้างสะพานและลอดใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า และสะพานสมเด็จพระปกเกล้า ฝั่งพระนครทั้งหมด
- ถนนอัษฎางค์ ตั้งแต่แยกถนนราชบพิธถึงแยกถนนพระพิทักษ์ฝั่งทิศตะวันออก และตั้งแต่แยกซอยสาเกถึงแยกถนนบำรุงเมืองฝั่งทิศตะวันออก และตั้งแต่แยกถนนจักรเพชรถึงแยกถนน พระพิทักษ์ฝั่งทิศตะวันออก
- ถนนกรุงเกษม จากแยกนพวงศ์ ถึงแยกสะพานเจริญสวัสดิ์
- ถนนไมตรีจิตต์ ตั้งแต่แยกวงเวียน 22 กรกฎา เข้ามาในระยะ 20 เมตร และก่อนออกทางแยกถนนกรุงเกษมในระยะ 60 เมตร
- ถนนพระพิทักษ์
- ถนนจักรเพชร ตั้งแต่แยกทางลงสะพานพระพุทธยอดฟ้าถึงแยกถนนอัษฎางค์ และตั้งแต่ทางลงสะพานสมเด็จพระปกเกล้าถึงแยกถนนพาหุรัด
- ถนนจักรวรรดิ
- ถนนวรจักร ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุงถึงแยกถนนเยาวราช
- ถนนมหาไชย ตั้งแต่แยกถนนจักรเพชรถึงแยกถนนเจริญกรุง
- ถนนบำรุงเมือง ตั้งแต่แยกถนนเฟื่องนคร (สี่กั๊กเสาชิงช้า) ถึงแยกถนนตีทอง และตั้งแต่แยกถนนศิริพงษ์ถึงแยกถนนมหาไชย และตั้งแต่แยกถนนพลับพลาไชยถึงแยกถนนกรุงเกษม
- ถนนพีระพงษ์ ตั้งแต่แยกภาณุรังสี ถึงแยกถนนบูรพา
- ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่แยกวงเวียนใหญ่ ถึงสะพานตากสิน 1
- ถนนหลานหลวง ตั้งแต่แยกสะพานยมราช ถึงแยกถนนลูกหลวง
- ถนนอัษฎางค์ ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมืองถึงแยกบูรณะศิริฝั่งทิศตะวันตก (ริมคลองหลอด) และตั้งแต่แยกถนนราชบพิธถึงแยกถนนจักรเพชรฝั่งทิศตะวันตก (ริมคลองหลอด) และตั้งแต่แยกบำรุงเมืองถึงแยกถนนราชบพิธฝั่งทิศตะวันออก
- ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่แยกถนนอัษฎางค์ถึงแยกถนนตรีเพชร และตั้งแต่ แยกถนนวรจักรถึงแยกถนนข้าวหลาม
- ถนนดินสอ
- ถนนตานี
- ถนนบวรนิเวศ
- ถนนสิบสามห้าง
- ถนนเยาวราช
- ถนนตะนาว
- ถนนมหาไชย ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลาง ถึงแยกถนนเจริญกรุง
- ถนนประชาธิปก
- ถนนสมเด็จเจ้าพระยา
- ถนนจักรพรรษดิพงษ์ ตั้งแต่แยกถนนหลานหลวง ถึงแยกถนนบำรุงเมือง
- ถนนวรจักร ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมือง ถึงแยกถนนเจริญกรุง
- ถนนรามบุตรี
- ถนนเฟื่องนคร ตั้งแต่แยกถนนราชบพิธ ถึงแยกซอยพระยาศรี
- ถนนเพาะพานิช
- ถนนบริพัตร
- ถนนเจ้าคำรพ
- ถนนหลวง ตั้งแต่แยกถนนเสือป่า ถึงแยกถนนบริพัตร
- ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่แยกสะพานทิพยเสถียร ถึงแยกถนนข้าวหลาม
- ถนนพาดสาย
- ถนนพญาไม้
- ถนนท่าดินแดง ตั้งแต่แยกถนนสมเด็จเจ้าพระยา ถึงท่าน้ำดินแดง
- ถนนราชบพิธ ตั้งแต่แยกถนนตีทอง ถึงแยกถนนเฟื่องนคร
- ถนนประชาธิปไตย ตั้งแต่เชิงสะพานวันชาติ ถึงแยกถนนกรุงเกษม ฝั่งทิศตะวันตก
- ถนนจักรพงษ์ ตั้งแต่แยกถนนพระสุเมรุ ถึงแยกถนนเจ้าฟ้า
- ถนนวิสุทธิกษัตริย์
- ถนนพระสุเมรุ
- ถนนพระอาทิตย์
- ถนนตีทอง
- ถนนพาหุรัด
- ถนนมหรรณพ
- ถนนพีระพงษ์ ตั้งแต่แยกถนนมหาไชย ถึงแยกภาณุรังษี ฝั่งทิศใต้
- ถนนภาณุรังษี
- ถนนราชวงศ์
- ถนนอิสรภาพ ตั้งแต่แยกถนนประชาธิปก ถึงแยกถนนลาดหญ้า
- ถนนลาดหญ้า
- ถนนอรุณอมรินทร์
- ถนนท่าน้ำดินแดง ตั้งแต่แยกถนนลาดหญ้า ถึงแยกถนนสมเด็จเจ้าพระยา
- ถนนไมตรีจิตต์
- ถนนมิตรพันธ์
- ถนนสันติภาพ
- ถนนทรงวาด
เขตพื้นที่ที่ 24
- ถนนเสือป่า
เขตพื้นที่ที่ 25
- ถนนหลานหลวง ตั้งแต่แยกสะพานขาว ถึงแยกผ่านฟ้า
- ถนนเยาวราช ฝั่งซ้าย
- ถนนทรงสวัสดิ์ ตั้งแต่แยกท่าน้ าสวัสดี ถึงแยกเฉลิมบุรี
- ถนนบูรพา
- ถนนตะนาว ตั้งแต่แยกคอกวัว ถึงสี่กั๊กเสาชิงช้า
- ซอยเศรษฐการ
เขตพื้นที่ที่ 26
- ถนนตรีเพชร ตั้งแต่แยกพาหุรัด ถึงเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า
การจอดรถในที่ห้ามจอดนอกจากจะเป็นการทำผิดกฎหมาย เสี่ยงโดนล็อคล้อโดยตำรวจแล้ว ยังเสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถอีกด้วย ดังนั้นควรเลือกจอดรถในที่ที่มั่นใจว่าปลอดภัย จะได้ไม่ต้องมาคอยกังวล และอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่อยากฝากถึงเจ้าของรถ หรือผู้ขับขี่ คือควรทำประกันรถยนต์เอาไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในความเสี่ยงขณะขับขี่ อย่างน้อยจะได้อุ่นใจว่ามีประกันคอยดูแล
อยากทำประกันรถยนต์แต่ไม่รู้จะทำที่ไหนดี ต้องนี่เลย แรบบิท แคร์ ทำประกันรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่ายๆ กับ แรบบิท แคร์ เว็บไซต์ที่จะช่วยให้คุณเลือกประกันรถยนต์ที่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ในการขับขี่มากที่สุด และยังเสริมทัพความคุ้มค่า ด้วยเบี้ยประกันสุดถูก โปรโมชั่นที่จะช่วยให้คุณประหยัดได้สูงสุดถึง 70% ข้อเสนอดี ๆ แบบนี้ห้ามพลาดเด็ดขาด โทรเลย. 1438
จอดในที่ห้ามจอดแล้วเกิดอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์คุ้มครองไหม
การจอดรถในที่ห้ามจอดแล้วเกิดอุบัติเหตุ จะส่งผลต่อความคุ้มครองจากการต่อประกันภัยรถยนต์ตามเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้
1. ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
พ.ร.บ. ยังคงให้ความคุ้มครองสำหรับผู้ขับขี่และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยไม่ขึ้นกับว่ารถยนต์จอดในที่ห้ามจอดหรือไม่ พ.ร.บ. จะคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก
2. ประกันภาคสมัครใจ (ชั้น 1, 2+, 3+)
ประกันภาคสมัครใจ เช่น ประกันชั้น 1, 2+, 3+ มีความคุ้มครองที่แตกต่างกัน แต่ทั่วไปยังคงให้ความคุ้มครองในกรณีที่จอดรถในที่ห้ามจอด และเกิดอุบัติเหตุ ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันและสถานการณ์ ดังนี้
- ประกันชั้น 1 : ให้ความคุ้มครองทั้งตัวรถของคุณและรถคู่กรณี แม้ว่ารถจะจอดในที่ห้ามจอด ประกันจะยังคงรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถคุณและคู่กรณี แต่ อาจมีการพิจารณาความผิดร่วม เนื่องจากการจอดในที่ห้ามจอดถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ทำให้คุณต้องรับผิดชอบบางส่วน เช่น ค่าเสียหายส่วนแรกหรือเบี้ยประกันอาจปรับเพิ่มในปีถัดไป
- ประกันชั้น 2+ และ 3+ : มักจะคุ้มครองในกรณีเกิดความเสียหายที่เกิดจากรถคู่กรณี เช่น รถชน แต่ไม่คุ้มครองความเสียหายของรถคุณเอง ดังนั้น หากเกิดอุบัติเหตุและรถของคุณเสียหาย อาจไม่ได้รับการคุ้มครอง แต่หากรถคู่กรณีเสียหาย ประกันยังคงคุ้มครองค่าเสียหายสำหรับคู่กรณี
- ประกันชั้น 2 และชั้น 3 : คุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถคู่กรณี แต่จะไม่คุ้มครองรถของคุณเองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
3. ผลทางกฎหมายและความผิดร่วม
การจอดรถในที่ห้ามจอดถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายจราจร ดังนั้น หากเกิดอุบัติเหตุ คุณอาจถูกพิจารณาว่ามี ความผิดร่วม (Contributory negligence) ซึ่งอาจส่งผลดังนี้
- คุณต้องรับผิดชอบส่วนหนึ่งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่ใช่ผู้ขับรถชนก็ตาม เช่น ในกรณีที่รถของคุณจอดในที่ห้ามจอดแล้วถูกรถคันอื่นชน บริษัทประกันอาจพิจารณาให้คุณรับผิดชอบค่าเสียหายบางส่วน
- คุณอาจถูกปรับหรือถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย เนื่องจากการจอดในที่ห้ามจอดเป็นการฝ่าฝืนกฎจราจร
4. ค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible)
หากคุณมีประกันชั้น 1 คุณอาจต้องจ่าย ค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) หากการจอดรถในที่ห้ามจอดถือว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือทำให้ความเสียหายรุนแรงขึ้น
โดยสรุปแล้ว ประกันภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. จะยังคงให้ความคุ้มครองสำหรับผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และในส่วนประกันภาคสมัครใจ เช่น ประกันชั้น 1, 2+ หรือ 3+ จะยังคงให้ความคุ้มครองในบางกรณี อย่างไรก็ตาม การจอดในที่ห้ามจอดอาจทำให้คุณมี ความผิดร่วม และต้องรับผิดชอบค่าเสียหายบางส่วน อีกทั้งอาจต้องเผชิญกับ ค่าปรับทางกฎหมาย หรือค่าดำเนินการจากการฝ่าฝืนกฎจราจรในกรณีจอดในที่ห้ามจอด ดังนั้น การจอดรถในที่ห้ามจอดอาจไม่ได้ทำให้ประกันรถยนต์ปฏิเสธความคุ้มครองโดยตรง แต่ผลกระทบของความผิดร่วมและกฎหมายจราจรอาจทำให้คุณมีภาระเพิ่มขึ้น
ความคุ้มครองประกันรถยนต์