สัญญาเพิ่มเติมคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง?
สัญญาเพิ่มเติม คืออะไร?
<a href="https://www.southeastlife.co.th/blog/detail/additional-contract"rel="nofollow,noopener,noreferrer">จากข้อมูลในเว็บไซต์ของอาคเนย์ประกันชีวิต ได้กล่าวถึงความหมายของสัญญาเพิ่มเติมไว้ว่า สัญญาเพิ่มเติม คือ สัญญาประกันภัยที่จะให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมจากสัญญาหลัก เพื่อเป็นการขยายความคุ้มครองตามความต้องการในการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น หากคุณทำประกันชีวิตเป็นสัญญาหลัก แต่ต้องการความคุ้มครองเรื่องสุขภาพด้วย จึงทำสัญญาเพิ่มเติมเพื่อขยายความคุ้มครองนั่นเอง โดยที่คุณจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นสำหรับตัวสัญญาเพิ่มเติม
สัญญาเพิ่มเติม ประกันชีวิต คืออะไร?
สำหรับสัญญาเพิ่มเติมของประกันชีวิตนั้นจะมีข้อยกเว้น คือ เมื่อสิ้นสุดสัญญาประกันภัยก็จะไม่มีการคืนเบี้ยประกันในส่วนนี้คืนให้ ซึ่งทางบริษัทประกันภัยจะมีการระบุเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันของสัญญาเพิ่มเติมแยกออกจากกันอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น
สัญญาเพิ่มเติมมีความสำคัญอย่างไร?
เนื่องจากว่าสัญญาเพิ่มเติมนั้นจะช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ที่ทำประกันจึงสามารถเลือกทำสัญญาเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาหลักได้เลย และทั้งนี้ควรจะต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะทำสัญญาเพิ่มเติมด้วย
สัญญาเพิ่มเติมมีอะไรบ้าง?
- Accidental Death and Dismemberment : ADD เป็นสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์อันพึงได้รับ เนื่องจากมรณกรรมโดยอุบัติเหตุและการสูญเสียอวัยวะ
- Critical Illness : CI เป็นสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์โรคร้ายแรงต่อเนื่อง (ประมาณ 30 กว่าโรค) ซึ่งจะมีทั้งแบบที่จ่ายตั้งแต่เป็นโรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น หรือจ่ายเมื่อเป็นในระยะที่ร้ายแรงแล้ว ดังนั้นเพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุม เราควรเลือกแบบที่จ่ายตั้งแต่เป็นโรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น
- Accidental Death Benefit : ADB เป็นสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์อันพึงได้รับ เนื่องจากการมรณกรรมโดยอุบัติเหตุ
- Cancer Rider : CR เป็นสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์มรณกรรมและการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากโรคมะเร็ง โดยจะจ่ายชดเชยให้เมื่อเป็นมะเร็ง และในกรณีที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจากการเป็นโรคในกลุ่มโรคมะเร็ง (ยกเว้นที่ผิวหนัง)
- Accidental Death and Indemnity : AI เป็นสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์อันพึงได้รับ เนื่องจากอุบัติเหตุในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และการทุพพลภาพ
- Waiver of Premium : WP เป็นสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์การยกเว้นเบี้ยประกันภัย โดยที่บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตตัวหลักแทนคนทำประกันให้ หากคนที่ทำประกันกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร และการทุพพลภาพนั้นเกิดขึ้นก่อนที่ผู้เอาประกันภัยจะมีอายุครบ 60 ปี
- Hospital Benefit : HB เป็นสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันสำหรับการเข้ารักษาในโรงพยาบาล
- Payer Benefit : PB หากคนทำประกันเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และมีผู้ปกครองเป็นคนจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ เมื่อผู้ปกครองที่จ่ายเบี้ยประกันเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนให้
- Hospitality & Surgery : HS เป็นสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์จากการรักษาตัวในโรงพยาบาลและศัลยกรรม โดยจะได้รับการชดเชยในกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าห้อง ค่าหมอ ค่ายา ค่าผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันจะมีทั้งแบบแยกจ่ายตามรายการ และแบบเป็นวงเงินเหมาจ่ายรายปี
- HSA เป็นสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์จากการรักษาในโรงพยาบาลและศัลยกรรม แบบเหมาจ่าย
- Riot and Civil Commotion : RCC เป็นบันทึกเพิ่มเติมคุ้มครองการฆาตกรรม จลาจล และสงครามกลางเมือง
- HSC เป็นสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์จากการรักษาในโรงพยาบาลและศัลยกรรม แบบ COPAY ที่ผู้เอาประกันมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วย
สัญญาเพิ่มเติมที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง?
เบื้องต้นสัญญาเพิ่มเติมจะไม่ได้มีรูปแบบหรือประเภทที่เฉพาะเจาะจง แต่ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของในแต่ละบริษัทประกันภัยเป็นหลัก ซึ่งสัญญาเพิ่มเติมที่พบเห็นส่วนมากจะมีดังนี้
1.สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
- ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) เป็นประกันสุขภาพที่จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่คุณต้องนอนโรงพยาบาลตามที่แพทย์สั่ง ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาทั่วไป เช่น ค่าห้องพัก ค่าปรึกษาแพทย์ ค่าอาหาร ค่าบริการทั่วไป ค่ารถพยาบาล ค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีการรักษาพยาบาล หรือผ่าตัดฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมง (หลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ)
- ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) เป็นประกันสุขภาพที่จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่คุณเข้ารักษาตัวโดยที่ไม่มีการนอนโรงพยาบาล ซึ่งจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาทั่วไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าปรึกษาพบแพทย์ และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะฉะนั้นจึงเป็นประกันสุขภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
2. สัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง (Critical Illness Rider หรือ CI)
หรือประกันสุขภาพโรคร้ายแรง เป็นประกันสุขภาพที่จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่ตรวจพบว่าคุณเป็นบุคคลในกลุ่มโรคร้ายแรง ซึ่งจะต้องมีระยะเวลารอคอย 90 วัน (นับจากวันที่สัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงได้รับการอนุมัติ) ทางบริษัทประกันจึงจะเริ่มต้นคุ้มครอง โดยส่วนใหญ่มักจะคุ้มครองโรคร้ายแรง 28 โรค ยกตัวอย่างเช่น โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น
3. สัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้ (Hospital Income protection หรือ HIP)
จะให้ความคุ้มครองรายได้ของคุณ ในกรณีที่จะต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และไม่สามารถออกไปทำงานหารายได้ได้ตามปกติ ซึ่งบริษัทประกันภัยจะจ่ายเป็นเงินชดเชยแบบรายวันให้ โดยจำนวนเงินจะขึ้นอยู่กับแผนประกันนั่นเอง
สัญญาหลัก สัญญาเพิ่มเติม แตกต่างกันอย่างไร?
“สัญญาเพิ่มเติม” เป็นสัญญาที่ให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมจากสัญญาหลัก เพื่อขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ที่ทำประกันภัยจึงจะต้องมีสัญญาหลักก่อนเสมอ และในส่วนของสัญญาเพิ่มเติมนั้น เมื่อสิ้นสุดสัญญาก็จะไม่มีการคืนเบี้ยประกันให้แก่ผู้ที่ทำประกันภัยนั่นเอง
ประกันอะไรบ้างที่สามารถมีสัญญาเพิ่มเติมได้?
ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันภัยอุบัติเหตุ ก็สามารถทำสัญญาเพิ่มเติมอีกได้ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของเราได้มากที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วสัญญาเพิ่มเติมจะสามารถแบ่งออกได้ตามความคุ้มครองเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ค่าเบี้ยประกันเพิ่มสูงขึ้นตามความเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลา และแบบที่ค่าเบี้ยประกันคงที่ตลอดอายุสัญญา
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
ค่าเบี้ยประกันสัญญาเพิ่มเติม สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ไหม?
ค่าเบี้ยประกันสัญญาเพิ่มเติมจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172) ที่ว่า “กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม ค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมดังกล่าว ไม่สามารถยกเว้นภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยดังกล่าวได้”
ควรเลือกทำประกันสุขภาพแบบไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?
เรื่องสุขภาพถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ เพราะในปัจจุบันนี้คนเราต่างใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ที่เรานั้นไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเราเจ็บป่วยขึ้นมาเมื่อใด สิ่งสำคัญที่เราจะต้องเตรียมนั่นก็คือในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งถ้าหากใครที่ไม่ได้มีเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็อาจจะลำบากได้ ดังนั้นการเลือกทำ ประกันสุขภาพ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะประกันสุขภาพจะช่วยรองรับความเสี่ยงด้วยวงเงินคุ้มครองด้านสุขภาพในยามฉุกเฉิน ช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท อีกทั้งยังช่วยคลายกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาได้อีกด้วย เจ็บป่วยเล็กน้อยก็เคลมได้
ซื้อประกันผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
เมื่อซื้อประกันภัยผ่านโบรกเกอร์ชั้นนำอย่างแรบบิท แคร์ คุณจะสามารถเข้าถึงความคุ้มครองได้อย่างรวดเร็วและได้รับความคุ้มครองอย่างง่าย ๆ โดยที่เบี้ยประกันนั้นมีราคาที่ถูก เพราะคุณจะได้รับแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพที่หลากหลาย อีกทั้ง แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษให้คุณอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพรายปี ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ประกันสุขภาพรายเดือน ประกันสุขภาพแบบไม่ต้องสำรองจ่าย หรือประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี และนอกจากนี้ก็ยังมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ง่ายดาย และสะดวกรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องไปเสียเวลาติดต่อตัวแทนขายประกันสุขภาพทีละบริษัทแต่อย่างใด
ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

ประกันชดเชยรายได้
- ชดเชยรายได้สูงสุด 1,500 บาท/วัน มากสุด 365 วัน
- ผ่าตัดใหญ่ รับเงินก้อนสูงสุด 30,000 บาท/ครั้ง
- รับเงินปลอบขวัญสูงสุด 1,500 บาท/ครั้ง หลังออกจาก รพ.
- กรณีเสียชีวิต รับเงินก้อน สูงสุด 3 แสนบาท
- เบี้ยประกันภัย เริ่มต้นเพียง 4 บาท/วัน
- ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
- ชำระเบี้ยสั้น 5 ปี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย
- เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 5 ล้านบาท/ปี
- เบี้ยประกันภัย เริ่มต้นวันละไม่เกิน 30 บาท
- รับเงินชดเชยสูงสุด 2,000 บาท/วัน
- ค่าห้อง ค่าอาหารใน รพ. สูงสุด 3,000 บาท/วัน
- สมัครได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี - 70 ปี
- ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
- ลดหย่อนภาษีได้

ประกันสุขภาพ
- เหมาจ่าย สูงสุด 1 ล้าน ไม่จำกัดวงเงิน
- ค่าห้อง สูงสุด 8,000 บาท/วัน รวมถึงห้องจากรพ.ในเครือ BDMS
- คุ้มครองกว่า 100 อาการ รวมโรคร้าย และ โควิด-19
- ค่ารักษาทั่วไป สูงสุด 1,500 บาท (สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้ง/ปี)
- คุ้มครองค่าจ้างพยาบาลพิเศษ สูงสุด 1,000 บาท/วัน (สูงสุดไม่เกิน 15 วัน/ปี)
- สมัครได้ตั้งแต่ อายุ 6-65 ปี (ต่ออายุถึง 70 ปี)
- เบี้ยประกันภัยเริ่มต้น เพียง 22 บาท/วัน

ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ
- คุ้มครองผู้ป่วยใน สูงสุด 5 ล้านบาท/ครั้ง
- คุ้มครองผู้ป่วยนอก สูงสุด 2,500 บาท/วัน (เมื่อซื้อความคุ้มครองเพิ่ม)
- คุ้มครองค่าห้องผู้ป่วย สูงสุด 15,000 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 365 วัน)
- ไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน เมื่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาล กรุงเทพและในเครือ BDMS
- คุ้มครองการรักษา ด้วยเคมีบำบัด สูงสุด 100,000 บาท/ปี (เฉพาะผู้ป่วยนอก)
- สมัครได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน - 65 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนสมัคร