ประกันชดเชยรายได้ คืออะไร?
แผนประกันชดเชยรายได้ หรือประกันชดเชยรายวัน เป็นประกันที่มีทั้งรูปแบบการซื้อเป็นสัญญาเพิ่มเติมหลังจากทำประกันชีวิต และรูปแบบซื้อเป็นประกันชดเชยรายได้โดยเฉพาะ โดยไม่ต้องทำพ่วงกับประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการทำประกันชดเชยรายได้ ก็คือ การโอนความเสี่ยงให้กับบริษัทประกัน เป็นผู้จ่ายเงินชดเชยให้กับคุณเมื่อเกิดเหตุในกรณีที่คุณเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุจนจะต้องเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (นอนโรงพยาบาล) หรือแอดมิด ไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ บริษัทประกันจะมีการจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้กับคุณตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือตามแผนประกันที่คุณเลือก เช่น ชดเชยรายได้วันละ 1,000 บาท เมื่อต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นต้น
โดยการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในจะนับจำนวนวันสำหรับการจ่ายเงินชดเชยรายได้ ตั้งแต่เวลาที่โรงพยาบาลรับเป็นผู้ป่วยในจนถึงเวลาที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล นับ 24 ช.ม. เป็น 1 วัน หากไม่ถึง 24 ช.มแต่นับจำนวนชั่วโมงที่อยู่ในกระบวนการรักษาในโรงพยาบาลได้เกิน 6 ช.ม. ให้ถือเป็น 1 วัน
ในบางแผนประกันชดเชยรายได้ ยังสามารถให้ความคุ้มครองครอบคลุมการจ่ายค่าชดเชยรายได้ในการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ต่อเนื่องจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วย ที่คุณไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติและต้องมาทำการรักษาตัวหรือพักรักษาตัวต่อเนื่องอีกด้วย แม้คุณจะไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ แต่คุณจะไม่สูยเสียรายได้ เนื่องจากบริษัทประกันจะจ่ายผลประโยชน์ในส่วนนี้ให้กับคุณตามแผนความคุ้มครองที่คุณเลือก
ใครบ้างที่ควรทำประกันชดเชยรายได้?
อย่างที่ทราบกันแล้วว่า ประกันชดเชยรายได้ คือ ผลิตภัณฑ์ประกันที่มีวัตถุประสงค์หลักในการโอนความเสี่ยงให้กับบริษัทประกัน เป็นผู้จ่ายเงินชดเชยให้กับคุณเมื่อเกิดเหตุในกรณีที่คุณเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุต้องเข้ารับการรักษาตัวทั้งในฐานะผู้ป่วยในที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและผู้ป่วยนอก จนไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นการทำประกันชดเชยรายได้ ชดเชยรายวัน จึงเหมาะกับบุคคลดังต่อไปนี้
บุคคลที่มีอาชีพอิสระไม่มีเงินเดือนประจำ และจำเป็นจะต้องมีรายได้เข้ามาทุกวันแม้จะมีเหตุไม่คาดคิดให้ต้องหยุดงานหรือไม่สามารถทำงานได้ อย่างเช่น พ่อค้าแม่ค้า ฟรีแลนซ์ (Freelance) รับทำงานเป็นจ็อบ ๆ เป็นต้น
หัวหน้าครอบครัว ที่เป็นผู้หารายได้เข้าบ้านเพื่อดูแลสมาชิกของบ้านทุกคนทั้งครอบครัว แม้จะมีรายได้ประจำจากเงินเดือน แต่ยังมีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบในทุก ๆ เดือน เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เป็นต้น หากเกิดเหตุไม่คาดคิดจนทำให้สูญเสียรายได้ ที่อาจทำให้กระทบกับรายรับของครอบครัว
เจ้าของกิจการ ที่มีภาระค่าใช้จ่ายที่ยังคงต้องรับผิดชอบในแต่ละเดือน หากมีเหตุต้องเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถทำงานได้ แม้เจ้าของกิจการจะมีพนักงานที่ช่วยคุณทำงานในระหว่างที่คุณเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บได้ แต่หากมีการวางแผนทำประกันชดเชยรายได้ เอาไว้ด้วย ก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย เสริมสภาพคล่องให้ไม่กระทบกับธุรกิจ ในระหว่างที่คุณพักรักษาตัว
นอกจากนี้ประกันชดเชยรายได้ ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้คุณวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในเรื่องของการออมเงิน ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินเพื่อการเกษียณ หรือออมเงินเพื่อธุรกรรมอื่น ๆ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงการสูญเสียเงินออมจากการขาดรายได้ เนื่องจากคุณจะมีเงินชดเชยจากประกันมาเป็นค่าใช้จ่ายหรือเป็นเงินออมตามเดิม เสมือนคุณยังทำงานตามปกติ ไม่ต้องนำเงินเก็บเพื่อเป้าหมายในอนาคตมาใช้จ่ายทดแทนรายได้ที่สุญเสียไปในระหว่างเจ็บป่วย
สามารถทำประกันชดเชยรายวัน ได้กี่กรมธรรม์?
โดยทั่วไปผู้เอาประกันสามารถที่จะทำประกันชดเชยรายได้ ประกันชดเชยรายวันได้พร้อม ๆ กันครั้งหนึ่งหลายบริษัทประกัน หากมีความพร้อมทางการเงินที่จะนำมาซื้อประกันโดยไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ก็สามารถทำได้ ซึ่งเราจะสามารถซื้อประกันชดเชยรายได้ได้มากเท่าไหร่ ก็จะขึ้นอยู่รายได้จริงต่อปี สามารถคำนวณได้โดย นำจำนวนรายได้ต่อปีหาร 12 เดือน จากนั้นนำมาหารด้วย 22 (จำนวนวันทำงานต่อเดือน) ก็จะทราบได้ว่าสามารถซื้อประกันชดเชยรายได้ต่อหนึ่งกรมธรรม์เป็นจำนวนกี่บาท เช่น สามารถซื้อเงินชดเชยรายวัน ได้ 500 บาท ต่อวัน และซื้อพร้อมกันหลาย ๆ บริษัท เป็นจำนวน 5 กรมธรรม์ ฉะนั้นหากเกิดเหตุที่ทำให้ต้องหยุดงานเพื่อรักตัวที่โรงพยาบาล 2 วัน คุณจะได้รับเงินชดเชยรวมกันจากทุกกรมธรรม์ของแต่ละบริษัทประกัน เท่ากับ 500×2×5 = 5,000 บาท นั่นหมายความว่าแม้คุณจะต้องหยุดงานเพื่อรักษาตัว คุณก็ยังจะมีรายได้ที่ได้รับจากเงินชดเชยตามจำนวนวันที่คุณเข้ารับการรักษาตัวนั่นเอง
สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อแผนประกันชดเชยรายได้ก็คือ การพิจารณาหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชยของแต่ละบริษัทประกันให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจ หากคุณกำลังสนใจเลือกซื้อแผนประกันชดเชยรายวัน คุณสามารถเข้ามาดูรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์ แรบบิท แคร์ หรือโทรสอบถามที่เบอร์ 1438 ตลอด 24 ชั่วโมง ก่อนตัดสินใจทำประกัน
บริษัทประกันจะจ่ายเงินชดเชย จากประกันชดเชยรายได้อย่างไร?
การจ่ายผลประโยชน์เงินชดเชยรายได้ โดยส่วนมากบริษัทประกันจะมีการแบ่งการจ่ายเงินตามลักษณะของประกันชดเชยรายได้ที่ผู้เอาประกันซื้อไว้ ดังนี้
เงินชดเชยประกันชดเชยรายวัน
บริษัทประกันจะมีการจ่ายผลประโยชน์เงินชดเชยรายได้เป็นรายวัน ตามจำนวนวันที่ผู้เอาประกันเข้าพักรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในในโรงพยาบาล หรือการพักรักษาตัวต่อเนื่องจากการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในตามคำสั่งแพทย์ (แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน) และขาดรายได้หรือต้องหยุดการทำงานตามปกติ จากการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
เงินชดเชยประกันชดเชยรายได้จากการทุพพลภาพ
บริษัทประกันจะจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้กับผู้เอาประกันจากการทุพพลภาพ 2 กรณี คือ
- 1. กรณีทุพพลภาพชั่วคราว ที่ต้องมีการพักรักษาตัวต่อเนื่องที่บ้านเป็นระยะเวลานานจากการเกิดอุบัติเหตุ อย่างเช่น อุบัติเหตุจากรถยนต์ที่มีผลทให้ขาหักไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ จนทำให้ขาดรายได้ ถือเป็นการทุพพลภาพชั่วคราวที่บริษัทประกันต้องจ่ายเงินชดเชยให้ตามเงื่อนไข
- 2. กรณีทุพพลภาพถาวร โดยการจ่ายเงินชดเชยในกรณีนี้ โดยมากบริษัทประกันจะมีเงื่อนไขการคุ้มครองจากการเจ็บป่วย 2 ข้อ คือ การทุพพลภาพถาวรที่เกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง และการทุพพลภาพถาวรที่เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ซึ่งอัตราส่วนในการจ่ายเงินชดเชยรายได้ จะขึ้นอยู่กับรายละเอียดและเงื่อนไขกรมธรรม์ของแต่ละบริษัทประกัน
ผลประโยชน์จากประกันชดเชยรายวัน?
เมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จนทำให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หากคุณทำประกันชดเชยรายวัน บริษัทประกันผู้ออกกรมธรรม์จะดำเนินการจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองเงินชดชเยรายได้ตามจำนวนที่คุณซื้อแผนประกันและตามจำนวนวันที่คุณเข้ารับการรักษาตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ โดยกรมธรรม์ประกันประเภทนี้ จะสามารถรับความคุ้มครองเงินชดเชยขณะรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในได้สูงสุด 365 วัน ต่อการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในแต่ละครั้ง
โดยบริษัทประกันจะมีการกำหนดเงื่อนไขที่บริษัทไม่ให้ความคุ้มครองเหมือนกันทุกบริษัทประกัน ดังนี้
- ไม่คุ้มครองกรณีการเป็นโรคหรือสภาพที่เป็นมาการก่อนการรับประกัน (Pre-Existing Condition)
- ระยะเวลารอคอย 30 วัน สำหรับการเจ็บป่วยทั่วไป และระยะเวลารอคอย 120 - 180 วัน ที่มีโอกาสเป็นมาก่อนหน้าการทำประกันเนื่องยังไม่แสดงอาการ เช่น เนื้องอกหรือมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อน ต้อเนื้อ ต้อลม หรือต้อกระจก การตัดทอนซิลหรืออดีนอยด์ นิ่วทุกระบบ และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ผู้เอาประกันต้องมีสุขภาพร่างการแข็งแรงสมบูรณ์ ณ วันที่ขอทำประกัน