Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

🎵 9.9 Rabbit แจกฟรี!! หูฟัง Apple Airpods Gen 3 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 12,790 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

ฟิวส์รถยนต์คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร?

ฟิวส์รถยนต์คืออะไร?

ฟิวส์รถยนต์ (Fuse) ถือว่าเป็นอุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงจรไฟฟ้าของรถยนต์ โดยในเว็บไซต์พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ฟิวส์” เอาไว้ว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง โดยที่จะคอยทำหน้าที่ป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจรและไม่ให้มีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินในวงจรนั้น ๆ ซึ่งฟิวส์รถยนต์นั้นจะมีการทำงานโดยใช้วิธีการหลอมละลายและตัดกระแสไฟฟ้าออกจากวงจร เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์นั้นได้รับความเสียหายนั่นเอง และฟิวส์รถยนต์จะมีส่วนประกอบที่ทำมาจากดีบุกผสมตะกั่วที่มีคุณสมบัติเป็นจุดหลอมเหลวต่ำ จึงทำให้มีความสามารถในการป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้เป็นอย่างดี

ฟิวส์รถยนต์มีความสำคัญอย่างไร?

สำหรับฟิวส์รถยนต์นั้นมีความสำคัญในการช่วยป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร หรือช่วยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์นั้นได้รับความเสียหายจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขีดจำกัดในวงจรนั้น ๆ อันเนื่องมาจากคุณสมบัติของส่วนประกอบต่าง ๆ ได้แก่ บิสมัท (Bi) 50% ตะกั่ว (Pb) 25% และดีบุก (Sn) 25% ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านฟิวส์มากเกินไป ก็จะเกิดเป็นพลังงานความร้อนจนทำให้ฟิวส์นั้นหลอมละลาย และเป็นการตัดกระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านในที่สุด ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ฟิวส์รถยนต์ที่มีค่าการทนกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมกับรถยนต์ของเรา แต่ทางผู้ผลิตก็จะมีการกำหนดค่ามาตรฐานเอาไว้ให้เป็นปกติอยู่แล้ว เพราะถ้าหากว่าเกิดเหตุการณ์ฟิวส์รถยนต์ขาดขึ้นมา ก็อาจจะส่งผลทำให้วงจรไฟฟ้าในรถยนต์นั้นเกิดการทำงานขัดข้องหรือหยุดการทำงานไปเลย

ฟิวส์รถยนต์ อยู่ตรงไหน?

ในรถยนต์ทุกคันนั้นจะมีกล่องฟิวส์อยู่แล้ว โดยจะมีทั้งกล่องพรีฟิวส์ กล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสาร กล่องฟิวส์ภายในห้องเครื่องยนต์ และกล่องฟิวส์กระแสไฟฟ้าสูง

  • กล่องพรีฟิวส์จะอยู่ในห้องเครื่องยนต์โดยการต่อพ่วงเข้ากับแบตเตอรี่ขั้วบวก ดังนั้นในกล่องนี้จึงจะมีฟิวส์อยู่หลายเส้น หากต้องการเปลี่ยนฟิวส์ก็จะแนะนำให้ช่างที่มีประสบการณ์ช่วยตรวจสอบดูให้
  • กล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสารจะอยู่ด้านหลังฝาครอบเพื่อป้องกันการเข้าถึงที่ด้านนอกสุดของแกนพวงมาลัยรถยนต์
  • กล่องฟิวส์ภายในห้องเครื่องยนต์จะมีกระแสไฟฟ้าที่สูงมาก และจะมีหน้าที่ให้การป้องกันระบบไฟฟ้าหลักของรถยนต์ให้เหมาะสม
  • กล่องฟิวส์กระแสไฟฟ้าสูงจะอยู่ในห้องเครื่องยนต์ใต้กล่องฟิวส์ของห้องเครื่องยนต์ ซึ่งในกล่องฟิวส์กระแสไฟฟ้าสูงนี้จะมีฟิวส์อยู่หลายเส้นเช่นเดียวกันกับกล่องพรีฟิวส์ ดังนั้นถ้าหากต้องการเปลี่ยนฟิวส์ก็จะแนะนำให้ช่างที่มีประสบการณ์ช่วยตรวจสอบดูให้จะดีที่สุด

ฟิวส์รถยนต์ขาด ดูยังไง?

อาการเบื้องต้นที่เราจะสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนเลย คือ รถยนต์จะสตาร์ทไม่ติด หรือรถยนต์ไม่ทำงานนั่นเอง เนื่องจากกระแสไฟฟ้าไม่สามารถวิ่งเข้าไปในวงจรไฟฟ้าของรถยนต์ได้นั่นเอง ดังนั้นถ้าเกิดปัญหาฟิวส์รถยนต์ขาดขึ้นมา ให้เรารีบนำรถยนต์เข้าอู่ไปให้ช่างช่วยตรวจสอบให้เร็วที่สุดเพื่อทำการเปลี่ยนฟิวส์รถยนต์ใหม่ หรือทำการเปลี่ยนฟิวส์รถยนต์ที่มีค่าการทนกระแสเท่าเดิมตามที่ในคู่มือรถยนต์ได้ระบุเอาไว้

ฟิวส์รถยนต์มีกี่ประเภท?

ฟิวส์รถยนต์ใหม่จะมีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • ฟิวส์รถยนต์แบบก้ามปูและขันนอต
    ฟิวส์ชนิดนี้จะเป็นฟิวส์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดและมีพิกัดกระแสที่แรงสูง (High current Fuse) อยู่ในช่วง 40-600A โดยที่ฟิวส์ชนิดนี้จะมีรูเพื่อเอาไว้ใช้ขันนอตในขั้นตอนของการติดตั้งที่แน่นหนาและปลอดภัย ซึ่งปกติแล้วจะใช้สำหรับป้องกันวงจรแบตเตอรี่ โฟล์คลิฟท์ และเจนเนอร์เรเตอร์ โดยที่ฟิวส์รถโฟล์คลิฟท์นั้นจะต้องมีการพิจารณาพิกัดกระแส ขนาดความยาว ขนาดความกว้าง ระยะรูที่ใช้ยึดนอต และขนาดของตัวนอตด้วย
  • ฟิวส์รถยนต์แบบหลอดแก้ว
    สำหรับฟิวส์ชนิดนี้จะเป็นฟิวส์ที่มีพิกัดกระแสแรงดัน 32VDC และจะมีพิกัดกระแสให้เลือกใช้งาน 4A-30A โดยแรกเริ่มเดิมทีนั้นได้มีการใช้งานอยู่ในรถยนต์โซนอเมริกาเหนือ และมีชื่อเรียกว่าฟิวส์ SFE เนื่องจากว่าฟิวส์ชนิดนี้ถูกออกแบบโดยสมาคมวิศวกรฟิวส์ (Society of Fuse Engineers) ซึ่งฟิวส์ SFE นั้นมีขนาด Dia ¼ นิ้ว หรือประมาณ 6.35 มิลลิเมตร ส่วนความยาวนั้นก็จะมีหลายขนาดให้ได้เลือกสรร และนอกจากฟิวส์รถยนต์ SFE ก็ยังมีฟิวส์รถยนต์ AG (Automobile Glass) ซึ่งจะมีการเขียนสัญลักษณ์ตัวอักษร AG ไว้ที่ตัวฟิวส์ด้วย
  • ฟิวส์รถยนต์แบบเสียบ
    ฟิวส์ชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นขาที่คล้ายกับใบมีด (Blade) เพื่อใช้เสียบลงใน Socket โดยมีขาที่ทำจากสังกะสีชุบดีบุก (Tin-plated Zinc) เพื่อให้มีคุณสมบัติที่ทนต่อการสึกกร่อนและช่วยเพิ่มความนำไฟฟ้าอีกด้วย โดยที่ในบางรุ่นนั้นอาจจะมีการชุบเงิน (Silver Plated) ลงไปด้วย บวกกับตัวโครงหุ้มฟิวส์ที่ทำมาจากพลาสติกเกรด PA66 ที่สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงได้มากถึง 105 องศาเซลเซียส อีกทั้งตัวพลาสติกที่มีลักษณะโปร่งแสง จึงช่วยทำให้เรานั้นสามารถมองเห็นเส้นฟิวส์ด้านในได้ เพื่อที่จะได้คอยเช็กว่าเส้นฟิวส์นั้นยังอยู่ในสภาพที่ปกติดีไหม หรือฟิวส์ขาดหรือเปล่า อีกทั้งที่ตัวฟิวส์ก็จะมีการเขียนพิกัดกระแสและรหัสสีเอาไว้เพื่อใช้ในการแบ่งแยกประเภทฟิวส์อีกด้วย เพื่อป้องกันการสับสนและความผิดพลาดในการเลือกใช้นั่นเอง

คำศัพท์ต่าง ๆ บนตัวฟิวส์ที่เราควรรู้มีอะไรบ้าง?

  • Head Lamp / Head Light คือ ไฟหน้า (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 10 แอมป์)
  • Clearance / Parking Light คือ ไฟหรี่ (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 10 แอมป์)
  • Tail คือ ไฟท้าย (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 10 แอมป์)
  • License Plate คือ ไฟส่องป้าย (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 10 แอมป์)
  • Instrument Cruiser / Meter & Gauge คือ ไฟหน้าปัด (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 10 แอมป์)
  • Stop Lamp คือ ไฟเบรก (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 15 แอมป์)
  • Turn Signal / Turn คือ ไฟเลี้ยว (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 15 แอมป์)
  • Hazard / Hazard Warning คือ ไฟฉุกเฉิน (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 15 แอมป์
  • Back-up Lamp คือ ไฟถอยหลัง (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 10 แอมป์)
  • Dome Light / Interior Lamp คือ ไฟในห้องโดยสาร (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 10 แอมป์)
  • Voltage Regulators / Charging System คือ ไฟชาร์จ (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 15 แอมป์)
  • Radio / Audio คือ วิทยุ (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 10 แอมป์)
  • Air condition / Air Cond คือ แอร์ (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 10 แอมป์)
  • Clock / Digital Clock คือ นาฬิกา (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 10 แอมป์)
  • Cigaratte Lighter / Cigar / Lighter คือ ที่จุดบุหรี่ (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 20 แอมป์)
  • Horn คือ แตร (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 15 แอมป์)
  • Wiper & Washer คือ ปัดน้ำฝน หรือที่ล้างกระจก (ส่วนมากกำหนดให้ใช้ขนาด 15 แอมป์)

หากฟิวส์รถยนต์เกิดความเสียหายขึ้นมา แบบนี้บริษัทประกันภัยจะรับเคลมไหม?

ในกรณีที่เกิดความเสียหายกับฟิวส์รถยนต์หรือเกิดปัญหาโดยที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ ในส่วนนี้ทางบริษัทประกันภัยจะไม่ได้ให้ความคุ้มครองหรือจะไม่ได้รับเคลม แต่ถ้าหากว่ามีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุหรือว่าภัยธรรมชาติ เช่น ขับรถตกหลุมแล้วรถยนต์ยางรั่ว ในกรณีนี้เองที่เราจะสามารถทำเรื่องขอเคลมกับทางบริษัทประกันภัยได้ เนื่องจากเป็นส่วนที่อยู่ในความคุ้มครองของแผนกรมธรรม์ คือจะคุ้มครองในส่วนที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือว่าเกิดจากภัยธรรมชาติเท่านั้น เลยจะแนะนำสำหรับท่านที่ต้องการจะได้รับความคุ้มครองแบบครอบคลุมมากที่สุดว่าให้เลือกทำเป็น ประกันภัยรถยนต์ ที่เป็นแผนประกันภัยชั้น 1 และนอกจากนี้ก็จะแนะนำสำหรับท่านที่ยังต้องการความคุ้มครองให้กับอะไหล่รถยนต์เพิ่มเติมว่าให้เลือกทำประกันอะไหล่รถยนต์ควบคู่ไปด้วย เพราะว่ามันจะช่วยทำให้คุณสามารถมั่นใจเพิ่มขึ้นไปได้อีกขั้นในทุกการขับขี่

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

ควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

ถ้าหากว่าคุณเพิ่งซื้อรถป้ายแดงมาใหม่ หรือกลัวว่ารถยนต์ของคุณนั้นจะโดนเฉี่ยวจนเป็นรอยต่าง ๆ ก็แนะนำว่าให้เลือกทำเป็นประกันชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพราะประกันภัยชั้นนี้จะให้ความคุ้มครองแบบครอบคลุมมากที่สุด และตอบโจทย์เราได้มากที่สุด เนื่องจากจะได้รับความคุ้มครองในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่รถยนต์ชนสิ่งของ หรือรถยนต์ชนรถยนต์ด้วยกันเอง จึงทำให้เรานั้นมีความมั่นใจและอุ่นใจทุกครั้งที่ขับขี่รถยนต์อย่างแน่นอน สามารถคลิกเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของแรบบิท แคร์ ที่หมวด ประกันรถยนต์ชั้น 1

ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

แรบบิท แคร์ มีบริการให้ลูกค้าได้เปรียบเทียบแผนประกันภัยและเบี้ยประกันภัยรถยนต์จากบริษัทชั้นนำของประเทศได้อย่างง่ายดาย ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 10 วินาที เพียงกรอกข้อมูลง่าย ๆ ระบบก็จะแสดงผลมาให้ได้ดูทันที อีกทั้งเบี้ยประกันภัยยังสามารถผ่อน 0% นานถึง 10 เดือนได้อีกด้วย สามารถเช็กราคาประกันภัยรถยนต์และบริการสุดพิเศษได้ที่เว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา