Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

🎵 โปร 11.11 Rabbit Care แจกหูฟัง Marshall Minor 4 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 10,990 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

เปรียบเทียบประกันออมทรัพย์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที  กับ  

Rabbit Care

2023_Feb_105.jpg
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Sep 29, 2023

APR VS APY คืออะไร ? ทำไมนักลงทุนทุกคนควรรู้จัก

หลายคนอาจคิดว่า APR และ APY เป็นสิ่งที่ควรจะศึกษาเป็นที่รู้กันอยู่ว่าการลงทุนควรรู้ แต่ความจริงแล้วหลักการเป็นสิ่งที่คนทั่วไปก็ควรจะรู้ไว้ เพราะไม่ได้มีความสำคัญกับแค่หุ้น หรือคริปโตฯ หากแต่ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีออมเงินธรรมดา ๆ หรือบัตรเครดิตทั่วไป ฉะนั้นเรามาหาคำตอบกันเลยว่าเจ้า APR และ APY คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไรกันแน่ ?

APR คือ ?

APR หรือ ‘Annual Percentage Rate’ คือคือ อัตราร้อยละต่อปี ที่เราจะต้องจ่ายให้กับเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ โดยคิดคำนวณโดยปราศจาก ดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest) ฉะนั้นถึงแม้ว่าต้นทุนจะไม่เท่ากัน แต่การจ่ายก็จะเป็นไปในอัตราที่เท่ากันในทุก ๆ ปี

ยกตัวอย่างผลิตภัณธ์ทางการเงินที่นิยมใช้ Annual Percentage Rate : บัตรเครดิต / เงินกู้ / จำนองบ้าน

Annual Percentage Rate มีกี่ประเภท ?

มี 2 ประเภท จึงจะต้องสังเกตดี ๆ เพราะถึงแม้ว่าบัตรเครดิตจะมีการเก็บดอกเบี้ยคงที่เหมือนกัน แต่ก็อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ฉะนั้นจึงจะต้องดูให้ลึกถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของเงินกู้ หรือบัตรเครดิตที่เรากำลังจะทำ

1. Fixed APR

Fixed APR คือ อัตราดอกเบี้ยร้อยละคงที่หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คงที่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในสภาวะตลาดหรืออัตราดอกเบี้ยที่อื่น ๆ อัตราดอกเบี้ยจะคงที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา

ตัวอย่าง Fixed APR

บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละคงที่ 15% นี้หมายความว่าโดยไม่ว่าสภาวะของตลาดหรือการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยคุณภาพจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต่อยอดยอดคงเหลือในบัตรเครดิตของคุณจะคงที่ที่ 15% ตลอดปี ไม่ว่าคุณจะค้างชำระค่าใช้จ่ายเป็นเวลาหนึ่งเดือนหรือหลายเดือนอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากยอดคงเหลือของคุณจะคงเดิม

2. Variable APR

Variable APR คือ อัตราดอกเบี้ยร้อยละเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ยพรายหลัก และสามารถเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงนั้น โดยอัตราดอกเบี้ยจะเรียกเก็บโดยการบวกอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกับเงื่อนไขเสริมที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่ออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยร้อยละเปลี่ยนแปลงก็จะปรับตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ตัวอย่าง Fixed APR

บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละเปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยร้อยละเปลี่ยนแปลงนี้มักเกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ยพรายหลักหรือ LIBOR (London Interbank Offered Rate) ตัวอย่างเช่น พิจารณาว่าคุณมีบัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละเปลี่ยนแปลงโดยอ้างอิงไปยังอัตราดอกเบี้ยพรายหลัก + 3%

APY คือ ?

APY ย่อมาจาก ‘Annual Percentage Yield’ แนวคิดคล้ายกับ APR อย่างมาก นั่นคืออัตราร้อยละต่อปีที่เราจะต้องจ่าย หรือได้รับในการลงทุน หรือการใช้เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ หากแต่เป็นการคิดคำนวณโดยนำดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest) มารวมด้วย นั่นก็คือยิ่งมีการฝากเงิน หรือใช้เงิน อัตราร้อยละที่จะต้องจ่าย หรือได้รับตอบแทน ก็จะยิ่งเยอะมากขึ้น

ยกตัวอย่างผลิตภัณธ์ทางการเงินที่นิยมใช้ Annual Percentage Yield : บัญชีออมทรัพย์ ฝากประจำ / บัตรเงินฝาก / บัญชีเงินเกษียณส่วนบุคคล

APY มีกี่ประเภท ?

เช่นเดียวกับ APR รูปแบบประเภทของ Annual Percentage Yield ก็มีด้วยกัน 2 ประเภทเช่นกัน นั่นก็คือ Fixed และ Variable โดยความหมายก็ไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไหร่ ดังนี้

1. Fixed APY

Fixed Annual Percentage Yield คือ อัตราผลตอบแทนร้อยละคงที่หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คงที่ตลอดระยะเวลาที่กำหนด เมื่อคุณเปิดบัญชีที่มีอัตราผลตอบแทนร้อยละคงที่ เช่น เงินฝากระยะสั้นหรือใบรับรองการฝาก (CD) อัตราดอกเบี้ยถูกกำหนดล่วงหน้าและคงที่ตลอดระยะเวลาการลงทุน ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในสภาวะตลาดหรือการผันผวนในอัตราดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทนร้อยละคงที่จะคงที่จนถึงวันที่หมดอายุของบัญชี นี้จะช่วยให้ได้รับผลตอบแทนที่มั่นคงและแน่นอนจากการลงทุนของคุณ

2. Variable APY

Variable Annual Percentage Yield คืออัตราผลตอบแทนร้อยละเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนแปลงตามสภาวะตลาด โดยมักเกี่ยวข้องกับบัญชีเช่นบัญชีเงินฝากหรือบัญชีตลาดเงิน อัตราดอกเบี้ยบนบัญชีเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เช่น อัตราเงินทุนรัฐบาลหรืออัตราดอกเบี้ยพรายหลัก เมื่ออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเปลี่ยนแปลง

ความแตกต่างของ APR และ APY

สังเกตแล้วจะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนของการนำ APR และ APY มาใช้ โดย Annual Percentage Rate จะใช้กรณีที่เป็นค่าใช้จ่าย เช่นเงินกู้ บัตรเครดิต เพราะเหมือนกับเป็นการจูงใจ ให้ไม่ว่าผู้ทำธุรกรรมจะจ่ายเท่าไหร่ ก็ยังมีอัตราดอกเบี้ยรายปีเท่าเดิม ตามหลักของ Annual Percentage Rate แต่ในทางกลับกัน Annual Percentage Yield จะเจอได้บ่อยในหมู่ของช่องทางการลงทุน หรือการออมเงิน เช่นบัญชีเงินฝาก หุ้น ที่ยิ่งลงทุนเยอะ ออมเยอะ ก็จะยิ่งได้ผลตอบแทนที่เยอะ จึงถูกใช้เป็นจุดขายนั่นเอง

ฉะนั้นการเข้าใจหลักของ Annual Percentage Rate และ Annual Percentage Yield คือจะต้องเข้าใจว่าในบริบทที่แตกต่าง มุมมองที่มีต่อค่าทั้ง 2 อย่างก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ฉะนั้นหากเราเป็นฝ่ายลงทุนการเงิน เราย่อมอยากได้ผลตอบแทนรายปีแบบ Annual Percentage Yield ที่มีการนำดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest) มารวมด้วย แต่หากเป็นขอทุน เราจะอยากได้ข้อตกลงรูปแบบ Annual Percentage Rate ที่มีค่าดอกเบี้ยรายปีเท่ากันทุกปีไม่ว่าเราจะขอเยอะ หรือใช้เยอะเท่าไหร่

วิธีการคำนวณ Annual Percentage Rate (กรณีขอเงินกู้)

Annual Percentage Rate = ((Fee+Interest / Principal / N) X 365) X 100

  • Fee = เงื่อนไขต่าง ๆ ในการขอสินเชื่อ
  • Interest = ดอกเบี้ยทั้งหมดที่จะต้องจ่าย
  • Principle = จำนวนเงินทั้งหมดที่ได้จากการกู้
  • N = วันที่ใช้ในการกู้เงินทั้งหมด

วิธีการคำนวณ Annual Percentage Yield (กรณีฝากเงิน)

Annual Percentage Yield = (1+R/N)N -1

  • R = อัตราดอกเบี้ย
  • N = จำนวนรอบของการจ่ายต่อปี

แปลงค่า APR และ APY อย่างไร ?

เมื่อได้ข้อตกลงทางการเงินมาแล้ว เราสามารถคำนวณกลับไปกลับมาได้เลยว่าหากการคิดดอกเบี้ยแบบ APR เปลี่ยนเป็น APY แล้วจะเป็นอย่างไร ? ค่าดอกเบี้ยโดยรวมน้อยลง หรือมากขึ้น ? ซึ่งสูตรวิธีการคิดอาจจะค่อนข้างมีความซับซ้อน หากแต่ปัจจุบันมีการคิดคำนวณผ่านโปรแกรม ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ

เว็บไซต์แปลง Annual Percentage Rate และ Annual Percentage Yield : https://mindyourdecisions.com/blog/apr-to-apy-converter/

APR และ APY กับคริปโต ฯ

APY (อัตราผลตอบแทนร้อยละต่อปี) และ Annual Percentage Rate (อัตราดอกเบี้ยร้อยละต่อปี) มีการใช้งานในการอธิบายผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่คงที่ เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์และเงินกู้ โดย Annual Percentage Rate เน้นที่อัตราดอกเบี้ยและ Annual Percentage Yield เน้นที่ผลตอบแทนรวมรวมการผันผวนของเงินทบต้น ในการ Stake เหรียญ ETH สามารถคำนวณ Annual Percentage Yield โดยใช้สูตร Annual Percentage Yield = (1 + 0.06/12)¹² — 1 ซึ่งช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลเป็นเรื่องที่เสี่ยงและมีความผันผวนสูง จึงควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาความเสี่ยงให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ อีกทั้งการใช้แพลตฟอร์ม DeFi ก็ควรตระหนักถึงความน่าเชื่อถือและโอกาสในอนาคตของการบริการด้วย

APR และ APY กับประกันออมทรัพย์

ตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ APR และ APY ก็คือประกันออมทรัพย์ หรือประกันสะสมทรัพย์ ที่เป็นรูปแบบการลงทุน ออมเงินที่ได้รับความสนใจอย่างมากในยุคสมัยนี้ เพราะเป็นการคิดคำนวณผลตอบแทนแบบ Annual Percentage Yield โดยนำดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest) มารวมด้วย ยิ่งเราจ่ายเบี้ยประกันแต่ละงวด แต่ละเดือนมากเท่าไหร่ เงินทุนประกันก็จะยิ่งเยอะขึ้น ดอกเบี้ยที่เราได้ในแต่ละปีก็จะยิ่งเยอะขึ้น ซึ่งนั่นก็ยิ่งทำให้จุดเด่นของประกันออมทรัพย์เป็นแรงจูงใจอีกรูปแบบหนึ่ง


สำหรับใครที่กำลังหาประกันสะสมทรัพย์ดี ๆ ซักตัว เพื่อการลงทุนระยะยาวที่คุ้มค่า คุ้มครอบครอบคลุม และตอบโจทย์ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ ประกันสะสมทรัพย์จากบริษัทประกันชั้นนำ ที่ให้คุณได้เลือก ซื้อง่าย ไม่มีโทรจิก คลิกเลย!

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

 แฮปปี้มีเงินใช้แฮปปี้มีเงินใช้

ไทยประกันชีวิต

  • จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครอง 15 ปี
  • ตลอดสัญญา รับเงินคืน 521%
  • 3% เงินคืน ทุก 2 ปี การันตี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท ต่อปี
  • อายุ 1 เดือน ถึง 65 ปี สมัครได้
  • เลือกชำระเบี้ย รายเดือน, 3 เดือน, ปี
  • สมัครได้ทุกอาชีพ อายุ
Gen Life Plus 10 GeneraliGen Life Plus 10

Generali

  • จ่ายเบี้ย 10 ปี คุ้มครอง 20 ปี
  • รับเงิน 270% เสียชีวิต 310% มีชีวิต
  • เงินคืน 3% ทุกปี ตลอดสัญญา
  • ลดหย่อนภาษี 100,000 บาท สูงสุด
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • ค่าเบี้ยคงที่ ไม่เพิ่มตามอายุ
  • ตอบโจทย์ทุกวัย สมัครได้ทุกอาชีพ
ประกันบำนาญ 90/2 ทิพยประกันชีวิตประกันบำนาญ 90/2

ทิพยประกันชีวิต

  • เงินบำนาญรวม 465%
  • 2 ปี เบี้ย รับบำนาญ 31 ปี
  • เบี้ยเริ่ม 2 ปี จ่ายสั้น
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท
  • สมัครได้ 20-54 ปี
  • ชดเชยรายได้ รพ. รับบำเหน็จ
  • เบี้ยสั้น รับเงินนาน
ฟอร์ เพนชัน 85/7 เอฟดับบลิวดีฟอร์ เพนชัน 85/7

เอฟดับบลิวดี

  • วางแผนเกษียณ จ่ายเบี้ย 7 ปี รับคุ้มครองยาว
  • รับเงินเพิ่มตามอายุ สูงสุด 24%
  • เสียชีวิต รับเงินก้อน 110%
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท
  • สมัคร 20-52 ปี เบี้ย 7 ปี
  • สมัครประกันขั้นต่ำ 50,000 บาท
  • รับบำนาญยาวถึง 85 ปี

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา