Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบบัตรเครดิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Joint loan to buy a car _DESKTOP.png
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Aug 02, 2023

3 เรื่องที่คู่รักอยากกู้ร่วมซื้อรถควรรู้ก่อนตัดสินใจ!

นอกจากการกู้ร่วมซื้อบ้านแล้วทุกคนรู้หรือไม่ว่า ยังมีผู้ให้บริการทางการเงินบางแห่งบริการเปิดให้สามารถกู้ร่วมซื้อรถด้วยเช่นกัน โดยแต่ละที่อาจจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างจากการกู้เพื่อซื้อบ้านอยู่บ้าง ทั้งนี้การกู้ร่วมซื้อรถก็จะมี 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่อยากจะให้คนที่สนใจจะกู้ร่วมซื้อรถได้อ่านก่อนการตัดสินใจ โดยเฉพาะคู่รักที่กำลังอยากจะเริ่มมีสินทรัพย์ร่วมกัน เพราะจะมีสิ่งที่ควรต้องศึกษามากกว่าการกู้ร่วมสินเชื่อซื้อรถกับคนในครอบครัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะสามารถอ่านได้ครบเลยในบทความนี้ที่เดียว

1. รู้จักการกู้ร่วมซื้อรถ คืออะไร ทำความเข้าใจให้ดีก่อนยื่นกู้

การกู้ร่วมซื้อรถ คือ การขอสินเชื่อเพื่อการซื้อรถจากสถาบันการเงินร่วมกับคนอีกคน โดยจะเรียกผู้ขอยื่นกู้ว่า “ผู้กู้หลัก” และเรียกผู้กู้อีกคนว่า “ผู้กู้ร่วม” ซึ่งสถาบันการเงินจะถือว่าผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมเป็นคน ๆ เดียวกัน รวมถึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันในการกู้ครั้งนี้ ขั้นตอนของการยื่นกู้ร่วมซื้อรถในเบื้องต้นจะประกอบไปด้วย การตรวจสอบประวัติทางการเงิน, เครดิตบูโร, รวมถึงเงินเดือนและภาระหนี้สินในขณะนั้นของผู้กู้ร่วมซื้อรถทั้งคู่เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเช่นเดียวกันกับสินเชื่อทั่วไป ร่วมไปกับการพิจารณารายละเอียดของรถยนต์ที่ผู้กู้ต้องการซื้อ ทั้งเรื่องยี่ห้อ, รุ่น, ราคา และค่างวดรถ

1.1 ทำไมการกู้ร่วมซื้อรถ จึงดีกว่ากู้คนเดียว?

จุดประสงค์หลักของการกู้ร่วมซื้อรถ คือ ธนาคารต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์การยื่นกู้ธรรมดาสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น อาทิ ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนน้อย, ผู้ที่เกษียณแล้วแต่อายุยังไม่เกินที่สถาบัน ฯ กำหนด, ฐานเงินเดือนไม่เข้าเกณฑ์ หรือมีภาระหนี้สินมากเกินไปจนธนาคารไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อให้ได้ โดยการยื่นกู้ร่วมซื้อรถจะทำให้ผู้กู้หลักมีประกันและความสามารถในการชำระหนี้ได้มากขึ้นจากฐานรายได้ของผู้กู้ร่วม ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับผู้ที่เข้าเกณฑ์ยื่นกู้ปกติอยู่แล้วก็สามารถทำการขอยื่นกู้ร่วมซื้อรถได้เช่นเดียวกัน เพราะจะทำให้ยื่นกู้ผ่านได้ง่ายกว่าเมื่อมีผู้กู้ร่วม ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากเป็นการกู้ร่วมซื้อรถที่มีการวางเงินดาวน์ไว้ก็จะยิ่งทำให้เงินต้นและดอกเบี้ยในการกู้น้อยลง นอกจากนี้ถ้าเป็นการกู้ร่วมซื้อรถมือสองก็จะยิ่งทำให้สามารถยื่นกู้ผ่านได้ง่ายขึ้นไปอีก เนื่องจากรถมือสองจะมีราคาต่ำกว่ารถใหม่ ทางที่ดีผู้กู้ควรเลือกรถที่มีค่างวดน้อยกว่าเงินเดือนประมาณ 2 เท่าเพิ่มโอกาสการในการพิจารณาสินเชื่ออีกต่อหนึ่ง และไม่ควรเลือกรถที่ตลาดไม่นิยม เช่น รถยุโรป เพราะจะราคาตกค่อนข้างเร็ว ทำให้ในกรณีที่ผ่อนไม่ไหวต่อให้ขายรถแล้วก็อาจจะได้เงินมาไม่พอค่างวดที่ค้างชำระเลยด้วยซ้ำ

1.2 อย่าสับสน! “ผู้กู้ร่วม” ไม่ใช่ “ผู้ค้ำประกัน”

การกู้ร่วมซื้อรถไม่เหมือนกับการสินเชื่อโดยทั่วไปที่ต้องมีผู้ค้ำประกัน เพราะผู้กู้ร่วมกับผู้ค้ำประกันนั้นทำหน้าที่แตกต่างกัน ผู้กู้ร่วมถือว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับผู้กู้หลัก ที่มีหน้าที่จ่ายหนี้ร่วมกับผู้กู้หลักไปจนกว่าจะครบอายุสินเชื่อ แต่ผู้ค้ำประกันไม่ถือเป็นลูกหนี้ เป็นเพียงผู้ที่ลงนามว่าจะเป็นผู้ชำระหนี้แทนหากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้เกินกำหนดตามสัญญา โดยผู้ค้ำประกันสามารถเป็นใครก็ได้ ในขณะที่ผู้กู้ร่วมซื้อรถมีข้อจำกัดที่มากกว่านั้น

2. เราจะสามารถกู้ร่วมซื้อรถกับใครได้บ้าง?

สถาบันการเงินกำหนดให้ผู้ที่สามารถกู้ร่วมซื้อรถได้จะต้องมีความสัมพันธ์ฉันเครือญาติ คือ พ่อ แม่ ลูก พี่น้องสายเลือดเดียวกันที่มีสูจิบัตรระบุพ่อแม่เดียวกันโดยไม่ต้องใช้นามสกุลเดียวกันก็ได้ หรือ เป็นสามีภรรยาที่มีทะเบียนสมรส ดังนั้นคู่รักที่ยังไม่ได้แต่งงาน หรือไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะไม่สามารถกู้ร่วมซื้อรถได้ แต่ในบางธนาคารก็อนุโลมให้คู่สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรถสามารถใช้หลักฐานความสัมพันธ์มาเป็นเอกสารทดแทนได้ เช่น ใบสูจิบัตรหรือใบรับรองบุตรที่ระบุชื่อผู้กู้ร่วมซื้อรถทั้งสองเป็นผู้ให้กำเนิด ภาพถ่ายหรือการ์ดงานแต่งงาน หรือทะเบียนบ้านปัจจุบันที่มีชื่อผู้กู้ทั้งคู่อยู่ด้วยกัน ซึ่งในกรณีนี้คู่รัก LGBTQ+ ก็อาจจะยังไม่มีธนาคารใดแสดงความจำนงให้การอนุมัติกู้ร่วมซื้อรถ แต่เมื่อการสมรสของเพศเดียวกันถูกกฎหมายก็ย่อมต้องกู้ร่วมซื้อรถได้ไม่ต่างกัน ทุกคนจึงควรศึกษาเงื่อนไขของแต่ละสถาบันให้ดีก่อนว่าเข้าเกณฑ์กู้ร่วมซื้อรถหรือไม่ในทุกกรณี

สำหรับผู้ที่เกษียณอายุแล้วแต่มีอายุไม่เกิน 60-70 ปีตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคารและต้องมีอายุอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดในวันที่ทำสัญญาเท่านั้น ส่วนใหญ่สถาบันการเงินจึงมักกำหนดอายุผู้กู้ร่วมซื้อรถสูงสุดแค่ 60 ปี เพื่อให้มีเวลาผ่อนชำระตามสัญญาของสินเชื่อได้สูงสุด 5 ปี โดยสามารถเป็นได้ทั้งผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมที่จะพิจารณาประวัติทางการเงินร่วมกับอาชีพ หากว่าเป็นผู้เกษียณอายุที่ไม่มีรายได้ประจำ อาทิ เงินบำนาญ ก็อาจต้องใช้สำเนาใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคารย้อนหลัง 6 เดือนแทน เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีรายได้เพียงพอสำหรับการผ่อนชำระตามสัญญาสินเชื่อได้

3. วิธีรับมือสารพัดปัญหาการเลิกราระหว่างกู้ร่วมซื้อรถ

คู่รักที่กำลังคิดจะกู้ร่วมซื้อรถด้วยกันควรจะพิจารณาวิธีการรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันจากการเลิกราให้ดี แม้จะมั่นใจว่ารักของตนเองนั้นมั่นคงเพียงใด แต่ความสัมพันธ์ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ไม่แม้กระทั่งกับความสัมพันธ์ฉันเครือญาติที่ดูจะเหนียวแน่นกว่าเช่นกัน เพราะเรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร และบางครั้งเลือดก็ไม่ได้ข้นกว่าน้ำเสมอไป ดังนั้นสิ่งที่ใครก็ตามที่คิดจะกู้ร่วมซื้อรถต้องศึกษาไว้จึงมี ดังนี้

3.1 ควรทำสัญญาเพื่อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์และการผ่อนชำระเอาไว้ก่อน

ก่อนจะคิดกู้ร่วมซื้อรถทั้งคู่จะต้องตกลงเรื่องรถกันเสียก่อนว่า หนึ่ง คือ กรรมสิทธิ์รถจะเป็นชื่อของใคร เนื่องจากรถยนต์ไม่สามารถใช้ชื่อของทั้งสองคนได้ในขณะผ่อนอยู่ สอง คือ จะแบ่งกันผ่อนชำระอย่างไรให้ลงตัว สาม คือ หากเกิดเหตุสุดวิสัย อาทิ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถผ่อนชำระต่อได้ หรือ เลิกรา จะขายรถหรือถอนชื่ออีกฝ่ายจากการเป็นผู้กู้ร่วมซื้อรถ ภายในกี่วัน สาเหตุที่ต้องระบุให้ชัดเจนในเรื่องนี้เป็นเพราะถ้าหากตกลงปากเปล่าให้ฝ่ายที่ต้องการผ่อนรถต่อนำรถไปใช้ อาจเกิดกรณีที่ผู้กู้ร่วมอีกคนไม่ไปถอนชื่ออีกฝ่ายออกจากการกู้ร่วมซื้อรถทำให้อีกฝ่ายถูกหักเงินเดือนไปชำระค่างวดได้ นอกจากนั้นหากฝ่ายที่ต้องการผ่อนรถต่อผ่อนไม่ไหว มีการค้างชำระร้ายแรงไปจนถึงการถูกยึดรถ อีกคนที่ยังไม่ถูกถอนชื่อออกจากการเป็นผู้กู้ร่วมก็จะมีประวัติด่างพร้อยทางการเงินไปด้วย ดังนั้นก่อนกู้ร่วมซื้อรถควรทำหนังสือสัญญาให้ชัดเจนและหาพยานมาเซ็นรับรู้อีก 2 คน เท่านี้ก็จะเป็นสัญญาที่มีผลผูกพันทางกฎหมายและมีน้ำหนักในชั้นศาลมากขึ้นหากถูกเอาเปรียบจนต้องฟ้องร้องกัน

3.2 สามารถถอนชื่ออีกฝ่ายจากการกู้ร่วมซื้อรถแล้วหาผู้กู้ร่วมแทน หรือ ขายรถหากผ่อนเองไม่ไหว

หลังจากตัดสินใจยุติการกู้ร่วมซื้อรถแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ สรุปค่าใช้จ่ายที่เหลือที่ต้องจ่ายไฟแนนซ์และดอกเบี้ยกรณีที่เคยมีการชำระค่างวดเกินกำหนด แล้วตกลงเรื่องเงินรวมถึงผู้ที่จะผ่อนชำระต่อให้เรียบร้อยก่อนไปถอนชื่อของอีกฝ่ายออกจากการกู้ร่วม สำหรับคู่รักที่จดทะเบียนสมรสให้นำใบหย่าและสัญญาจะซื้อจะขายไปที่ธนาคารแล้วจัดทำสัญญาสินเชื่อใหม่ให้ในกรณีจะผ่อนต่อเองคนเดียว หรือสามารถยื่นขอเปลี่ยนผู้กู้ร่วมซื้อรถเป็นญาติพี่น้องคนอื่นที่เข้าเกณฑ์ก็ได้ แต่ถ้าหากว่าธนาคารไม่อนุมัติให้ถอนชื่ออีกฝ่าย เนื่องจากประเมินแล้วว่าผู้ที่ประสงค์จะผ่อนต่อไม่มีความสามารถชำระหนี้เพียงคนเดียวได้แน่นอน ผู้กู้จะต้องทำการรีไฟแนนซ์กับธนาคารแห่งใหม่ แล้วลงประกาศขายรถปิดไฟแนนซ์ด้วยตนเอง ปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการหลายแห่งรับซื้อรถเพื่อปิดไฟแนนซ์ให้ขึ้นอยู่กับยอดผ่อนรถคงเหลือและราคารับซื้อปัจจุบันที่คำนวณแล้วสามารถปิดไฟแนนซ์ได้หรือไม่

3.3 ดำเนินการทางกฎหมายถ้าหากอีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ตามตกลง หรือไม่คืนรถ

อาจจะฟังดูเป็นไปได้ยากแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ในกรณีที่ผู้กู้ร่วมซื้อรถฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ธนาคารสามารถเรียกเก็บเงินจะผู้กู้ร่วมอีกคนได้เนื่องจากถือว่าเป็นผู้กู้ร่วมซื้อรถกัน และถ้าหากเราเป็นฝ่ายที่จ่ายเงินค่างวดทั้งหมดแต่กรรมสิทธิ์ชื่อรถเป็นของอีกฝ่ายแล้วเราต้องการรถคืน ฝ่ายที่จ่ายเงินตัวจริงสามารถรวบรวมหลักฐานฟ้องให้ต้องโอนชื่อใด้ ในกรณีอื่น ๆ เช่น ฝ่ายหนึ่งต้องการถอนชื่อ แต่อีกฝ่ายไม่ถอน ก็อาจจะต้องฟ้องศาลด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้วการทำสัญญาระหว่างทั้งคู่ก่อนยื่นกู้ซื้อรถจึงสำคัญและมีประโยชน์มากทีเดียวในสถานการณ์แบบนี้

แม้ว่าการยื่นกู้ร่วมซื้อรถจะฟังดูมีข้อจำกัดและปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายอย่างแต่ถ้าลองวางแผนให้ดี นี่ก็เป็นสินเชื่อที่เปิดโอกาสให้กับทุกคนในการผ่อนรถเป็นของตัวเองได้ไม่ยาก และหากใครกำลังต้องการ สินเชื่อส่วนบุคคล ที่วงเงินสูง อนุมัติไว ไว้ใช้จ่ายหรือผ่อนค่างวดรถ แรบบิท แคร์ โบรกเกอร์เรื่องสินเชื่อตัวจริงก็พร้อมช่วยเปรียบเทียบราคา เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้การเงินของคุณไหลลื่นไม่มีสะดุดในทุกช่วงเวลาของชีวิต

สินเชื่อรถยนต์ที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

My Car My Cash ไทยพาณิชย์My Car My Cash

ไทยพาณิชย์

  • สูงสุด 5 ล้าน
  • เริ่มต้นแสนละ 2,700 บาท
  • อนุมัติ SCB รถ 1 วันทำการ
  • รับรถอายุไม่เกิน 15 ปี
  • รายได้ 30,000 บาท ผ่อนไม่เกิน 65 ปี
  • มีรายได้ประจำ จดทะเบียนส่วนตัว
เงินติดล้อเงินติดล้อ

เงินติดล้อ

  • สินเชื่อรถเก๋ง-กระบะ ดอกเบี้ย 0.94% ต่อเดือน
  • ผ่อน 4,068 บาท/เดือน สำหรับวงเงิน 10,000 บาท
  • ได้วงเงินแสน อนุมัติไว
  • รับรถอายุสูงสุด 18 ปี
  • 21-60 ปี ทุกอาชีพกู้ได้กู้ได้ทุกอาชีพ
  • รถทั่วประเทศ ยกเว้น 7 อำเภอ
พี่เบิ้ม รถแลกเงิน KTCพี่เบิ้ม รถแลกเงิน

KTC

  • ดอกเบี้ย 21% - 24% ต่อปี
  • วงเงินสูงสุด 1,000,000 บาท นำเล่มมาแลก
  • รายได้ 8,000 บาท มีรถยนต์ชื่อ
  • ยอดขาย 30,000 บาท ดำเนินธุรกิจ 6 เดือน
  • 20-65 ปี ทุกอาชีพกู้ได้กู้ได้ทุกอาชีพ
  • บริการถึงที่ อนุมัติไว ตลอด 7 วัน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา