Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

ทำ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

ที่ แรบบิท แคร์

ถูกกว่าซื้อตรงแน่นอน !

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

PorRorBor Bike_slider_Top banner mb.jpg

ซื้อประกันรถกับแรบบิท แคร์ แคร์คุณเรื่องอะไรบ้าง

การันตีราคาคุ้มค่า

ข้อเสนอจากบริษัทชั้นนำ

สิทธิประโยชน์เฉพาะจากแรบบิท แคร์

ซื้อประกันกับเราง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน

ขั้นตอน 1 เปรียบเทียบ & เลือก

เปรียบเทียบประกันภัยจากบริษัทชั้นนำ และเลือกกรมธรรม์ที่ดีที่สุด ตามความต้องการ

ขั้นตอน 2 จ่ายเงิน

ระบุข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้า และชำระเงิน

ขั้นตอน 3 รอรับกรมธรรม์

คุ้มครองทันทีเมื่อรับกรมธรรม์

รีวิวจากลูกค้าที่ซื้อประกันรถจักรยานยนต์ของเรา

คุณปราง
ฮอนด้า PCX , ประกันชั้น 3+

เพิ่งลองซื้อแบบออนไลน์ครั้งแรก สะดวกและซื้อง่ายมากค่ะ ไม่นึกว่ามอเตอร์ไซค์จะมีประกันให้เลือกเยอะขนาดนี้ เจ้าหน้าที่ก็ติดต่อเร็วมาก เป็นกันเองแนะนำดีค่ะ

4.7

คุณโบ้ท
ฮอนด้า คลิก, ประกันชั้น 2+

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมประสบอุบัติเหตุกับรถมอเตอร์ไซค์ของผม ก็ได้เอเชียประกันภัยนี่แหละที่เข้ามาช่วยซ่อมรถของผม ผมรู้สึกดีใจมากที่ตัดสินใจทำประกันกับที่นี่เมื่อเดือนที่ผ่านมา ขอบคุณแรบบิทที่ช่วยแนะนำประกันภัยให้ผมครับ

5

คุณพีท
ฮอนด้า ฟีโน่, ประกันชั้น 2+

ผมได้รับข้อเสนอจากเอเชียประกันภัยในราคาที่ถูกมากกับแรบบิท ทีแรกผมไปที่สาขาแต่มาพบว่าราคาเบี้ยประกันของแรบบิทไฟแนนซ์นั้นถูกกว่ามาก ผมเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงมีข้อเสนอที่ประหยัดกว่า แต่มันทำให้เราได้ความคุ้มครองเท่าเดิมในราคาประหยัดกว่า แถมบริการก็ดี

4.72

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ แตกต่างจาก พ.ร.บ. รถยนต์ อย่างไร?

ความเหมือนของ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ คือ เป็นประกันภาคบังคับตามกฎหมาย หากไม่ทำจะถือว่ามีความผิด และจะให้วงเงินที่จำกัด ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ทันท่วงที และหากไม่ต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถ ส่งผลให้ถูกปรับหรือโดนระงับป้ายทะเบียนได้!

 

ส่วนความแตกต่างคือ ทั้งสอง พ.ร.บ. แบ่งความคุ้มครองตามประเภทยานพาหนะ อย่าง พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ก็จะคุ้มครองรถจักรยานยนต์ที่ทำ พ.ร.บ. เท่านั้น และอาจแตกต่างกันในแง่วงเงิน เนื่องจากทั้งสองเป็นยานพาหนะที่แตกต่างกันนั่นเอง

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ คุ้มครองเหมือนประกันรถมอเตอร์ไซค์หรือไม่?

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะเน้นคุ้มครองอุบัติเหตุ และค่าเสียหายต่าง ๆ เบื้องต้น เช่น รถล้มเพราะถนนลื่น, ขับรถไปชนเสาจนได้รับบาดเจ็บ หรือกรณีที่รถชนกันจะให้ความคุ้มครองค่าเสียหายในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยเท่านั้น แต่จะไม่คุ้มครองในส่วนของการซ่อมแซมรถมอเตอร์ไซค์

 

ซึ่งถ้าต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมและครอบคลุมถึงเรื่องค่าซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ มอไซค์ถูกขโมย หรือถูกไฟไหม้ โดนน้ำท่วม ก็สามารถทำประกันรถจักรยานยนต์เสริมได้

ซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ได้ความคุ้มครองเท่าเทียมซื้อ พ.ร.บ. ปกติหรือไม่?

แม้ว่า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ที่ซื้อจะมาจากการซื้อผ่านออนไลน์ แต่ความคุ้มครองเทียบเท่ากันไม่แตกต่างจากการซื้อ พ.ร.บ. แบบปกติ โดยคุณสามารถซื้อหรือต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ได้เองจากที่บ้าน ลดความยุ่งยาก สะดวกสบาย แถมยังสามารถต่อภาษีได้เลยด้วย หมดปัญหากับการลืม ต่อ พ.ร.บ. หรือต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์แน่นอน!

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์สำคัญอย่างไร?

สำหรับคนที่ใช้งานรถจักรยานยนต์ สิ่งที่ต้องเผชิญก็คือความเสี่ยงต่าง ๆ บนท้องถนน ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางร่างกายและทรัพย์สินตามมา ด้วยเหตุนี้ ทางกฎหมายจึงได้กำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องทำประกันรถจักรยานยนต์ภาคบังคับเพื่อช่วยรองรับความเสี่ยงในเบื้องต้น

 

พ.ร.บ รถจักรยานยนต์ หรือประกันรถจักรยานยนต์ภาคบังคับ เป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำประกันภัยนี้เอาไว้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยหากได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล

ต่อ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ แต่ไม่ใช้ชื่อตัวเอง ต้องทำอย่างไร?

ถ้าคุณเป็นเจ้าของมอเตอร์ไซค์แต่กลับไม่ว่างไปต่อ พ.ร.บ. แบบนี้สามารถหาคนไปต่อแทนได้หรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ชื่อไม่ตรงกับใบขับขี่ ทางเจ้าหน้าที่จะทำเรื่องให้หรือไม่ คำตอบคือ สามารถทำได้ โดยแนะนำให้เตรียมการตามแนวทางดังต่อไปนี้

 

  • สมุดรายการจดทะเบียนรถ/สำเนา เอกสารใบนี้จะเป็นตัวระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นเลขเครื่อง ชื่อเจ้าของมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเอกสารนี้ถือเป็นเอกสารสำคัญ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจมักจะขอดูข้อมูลส่วนนี้
     
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ในกรณีที่มอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปีขึ้นไป เราจำเป็นต้องตรวจสอบสภาพมอเตอร์ไซค์ของเราว่ามีสมรรถนะที่ดี ใช้งานได้ตามปกติอยู่หรือไม่ โดยคุณสามารถขอเอกสารตรวจสอบได้ที่ กรมขนส่งทางบก หรือ สถานตรวจสภาพเอกชน (ตรอ.)

 

กล่าวคือ บุคคลอื่นสามารถไปต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ให้คุณได้ ทั้งที่ชื่อไม่ตรงกับเอกสารยื่นต่อ พ.ร.บ. เพียงแค่มีหลักฐานดังกล่าว ปัจจุบันนี้ก็มีบริการรับจ้างต่อ พ.ร.บ. หรือแม้กระทั่งต่อพ.ร.บ. ออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ไม่มีเวลาหรือไม่สะดวกออกไปดำเนินการเองอีกด้วย

จะเกิดอะไรขึ้น หากไม่ต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์?

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดให้เจ้าของรถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการต่อภาษีรถประจำปี หากไม่ทำ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ยิ่งไปกว่านั้นกรมการขนส่งจะไม่รับจดหรือต่อภาษีให้อีกด้วย

 

ส่วนใครที่ทะเบียนขาดต่อภาษี หรือการต่อทะเบียนล่าช้า จะมีอัตราค่าปรับจะอยู่ที่ ร้อยละ 1% ของค่าภาษีมอเตอร์ไซค์ต่อเดือน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา