ไปโรงพยาบาล ผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ไหม?
ขึ้นชื่อว่าการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ ล้วนเป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้แบบที่เราไม่ทันตั้งตัว สำหรับใครที่ไม่ได้ทำประกันสุขภาพเอาไว้ สิ่งที่อาจตามมาอย่างหนักหน่วงหลังจากเข้าโรงพยาบาลคือ ‘ค่ารักษาพยาบาล’ แล้วถ้าเกิดวันหนึ่งเงินเก็บไม่พอจ่ายขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไรดีนะ ? เราสามารถผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่ ? สามารถใช้บัตรเครดิตมาใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลได้แทนรึเปล่า? วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบ!
โรงพยาบาลรัฐ และ โรงพยาบาลเอกชน แตกต่างกันอย่างไร?
เบื้องต้นแล้ว ทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและโรงพยาบาลเอกชนจะแตกต่างกัน ดังนี้
โรงพยาบาลรัฐ
การรักษากับโรงพยาบาลรัฐ ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิ์และสวัสดิการของรัฐหรือสวัสดิการของที่ทำงานได้ตามสิทธิ์ที่มี ข้อดีคือค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทุกคน และบางคนยังสามารถใช้สิทธิ์บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ครอบคลุมทั้งค่าตรวจ ค่ารักษา ค่ายา และค่าเจาะเลือดตรวจผลแล็ปต่าง ๆ หากต้องเสียเงินเพิ่ม จะอยู่ในราคาที่จับต้องได้
แต่การไปโรงพยาบาลรัฐในแต่ละครั้งอาจต้องรอคิวรักษานานอยู่บ้าง เนื่องจากมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาเป็นจำนวนมาก ในบางโรงพยาบาลคุณอาจจะต้องตื่นแต่เช้าเพื่อเข้าคิวรับการรักษา
โรงพยาบาลเอกชน
การรักษากับโรงพยาบาลเอกชน ข้อดีคือจะมีอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ ครบครัน ค่อนข้างทันสมัย ครบวงจร เน้นบริการประทับใจ และมีการบริหารจัดการผู้ป่วยที่ดี ผู้ป่วยน้อย สะดวกสบาย ดังนั้นเมื่อเข้าไปโรงพยาบาลเอกชนจึงไม่ต้องรอคิวนานเสมอไป มักจะมีบริการจากประกันสุขภาพจากบริษัทฯเจ้าอื่น ๆ แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ เหมาะสำหรับผู้ที่มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว หรือมีทุนทรัพย์พร้อมจ่ายนั่นเอง
ไม่เพียงแต่การดูแล การจัดการต่าง ๆ และราคาเท่านั้น แต่ทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนนั้น ยังมีความแตกต่างในเรื่องของการใช้ประกันสังคมและประกันสุขภาพอีกด้วย โดยโรงพยาบาลทั้งสองแบบ จะสามารถใช้ประกันสังคมได้ แต่เงื่อนไขการใช้ประกันสังคมกับโรงพยาบาลเอกชนอาจจะมีเงื่อนไขที่ยิบย่อยกว่า รับจำนวนประกันสังคมน้อยกว่า เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลรัฐ ในขณะที่ประกันสุขภาพภาคสมัครใจ ทางบริษัทประกันฯจะให้รายชื่อที่สามารถนำไปเบิกเคลมได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน และในปัจจุบัน ทั้งสองโรงพยาบาลหลายแห่ง เปิดโอกาสในการชำระเงินค่าเข้ารับบริการรักษาพยาบาล
สรุปแล้ว นอกจากความเร็วในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลแล้ว ทั้งโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนไม่แตกต่างกันมากนัก อาจจะแตกต่างกันบ้างในแง่ของการใช้ประกันสังคม หรือประเภทของประกันสุขภาพที่รับรองการเคลม ส่วนการผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลนั้น สามารถทำได้ทั้งสองโรงพยาบาล แต่มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน
โรงพยาบาลรัฐ ผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่ ?
แม้โรงพยาบาลรัฐจะมีค่ารักษาพยาบาลที่จับต้องได้มากกว่า แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในบางการรักษาอาจจะใช้เงินสูงไม่แตกต่างไปจากโรงพยาบาลเอกชน เช่น การฟอกไต การรักษาโรคมะเร็ง หรือการผ่าตัดต่าง ๆ ในกรณีที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ หากการเงินยังไม่พร้อมสำหรับการจ่ายค่ารักษา ผู้ป่วยสามารถเจรจาขอลดราคา ขอผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ หรือบางกรณีอาจไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลก็ได้ (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่) ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยต้องการผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐ สามารถติดต่อได้ที่หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลได้เลย
หน้าที่ของหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล มีหน้าที่ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเงิน สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถจ่ายเงินค่ารักษาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยต้องยื่นคำร้องและกรอกแบบฟอร์ม “คำร้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน” ก็จะมีสิทธิ์ได้รับการลดค่ารักษา ผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือรักษาฟรีได้ (แล้วแต่กรณี)
เอกสารในการขอผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาล
จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว (จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ในบ้าน)
- ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว
- ทำการเปิดเผยทรัพย์สิน
- เอกสารใบรับรองเงินเดือน 3 เดือนล่าสุด
นอกจากนี้ยังมีบัตรเครดิตของบางธนาคารสามารถใช้รูดกับโรงพยาบาลรัฐบาล รวมไปถึงโรงพยาบาลเอกชนได้ และผู้ป่วยอาจติดต่อกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อผ่อนชำระค่ารักษาพยาบาลเหล่านั้นต่อ โดยอาจเลือกผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาล ชำระพร้อมดอกเบี้ย หรือผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาล 0% ได้นาน 3 - 10 เดือน สำหรับบางบัตรเครดิตที่มีโปรโมชั่น โดยคุณอาจลองติดต่อสอบถามว่า สามารถนำคะแนนสะสมต่าง ๆ มาช่วยในการขอเครดิตแลกเงินคืนได้หรือไม่ แม้จะไม่ใช่เงินจำนวนมาก แต่ถือเป็นส่วนลดเล็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี แถมบางแห่งยังมีบริการเสริมต่าง ๆ ให้คุณสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วย
โรงพยาบาลเอกชน ผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่?
การขอผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลเอกชนจะเป็นคนละวิธีกับโรงพยาบาลรัฐ แต่ยังคงขอเจรจาได้ โดยผู้ป่วยสามารถคุยกับฝ่ายการเงินเพื่อให้ลดทอน หรือตัดการบริการบางส่วนที่ไม่จำเป็นออก เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น (แต่ไม่สามารถขอลดราคาหรือขอผ่อนได้)
ตามปกติแล้วการผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนจะมาในรูปแบบผ่อน 0% ผ่านบัตรเครดิต หรือสถาบันการเงินบางรายก็จะมีบัตรเครดิตสำหรับโรงพยาบาลเอกชนนั้น ๆ เลย ซึ่งสะดวกสบายมาก เหมาะสำหรับใครที่มีโรงพยาบาลประจำ หรือเดินทางไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลดั่งกล่าวบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีบริการพิเศษสำหรับผู้ถือบัตรเครดิตของโรงพยาบาลนั้นโดยเฉพาะอีกด้วย อย่าง บริการที่จอดรถ หรือแต้มสะสมที่สูงกว่าเมื่อใช้รูดจ่ายค่ารักษาพยาบาล
เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ต้องมีการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง การเลือกโรงพยาบาลที่รองรับบัตรเครดิตดั่งกล่าวโดยเฉพาะ จะช่วยให้คุณหมดห่วงในเรื่องค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ยังไม่สามารถเบิกเคลมประกันสุขภาพได้ หรือค่ารักษาพยาบาลมีราคาที่สูงเกินกว่าจะจ่ายด้วยเงินก้อนในครั้งเดียว
นอกจากนี้ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ บัตรกดเงินสด สำหรับบางโรงพยาบาลที่ไม่เปิดรับบัตรเครดิต หรือจำเป็นต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน จึงค่อยนำใบเสร็จไปเบิกเคลมกับประกันสุขภาพได้ เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณไม่ต้องใช้เงินออม มีเงินก้อนโตจ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้ว ปัจจุบัน บัตรกดเงินสดเองก็มีโปรโมชั่นสำหรับการผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้เช่นกัน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต้องรับเข้ารักษาอย่างเร่งด่วน
ส่วนในกรณีของสินเชื่อส่วนบุคคล อาจจะได้เงินก้อนโตที่มากกว่าทั้งบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด แต่จะมีระยะเวลาในการพิจารณา ทำให้ล่าช้า เหมาะสำหรับการรักษาที่มีการวางแผนไว้ก่อนแล้ว เช่น การคีโมที่ต้องรักษาโรคมะเร็ง ต้องเข้าพบแพทย์เป็นประจำ หรือการรักษาโรคจิตเวชที่ยามีราคาแพง และต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา เป็นต้น
3 แนวทางวางแผนรับมือค่ารักษาพยาบาล
เรื่องค่ารักษาพยาบาลนับได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่อย่างมาก เพราะเป็นหนี้ก้อนโตที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้จะหาทางป้องกันแล้ว แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยทาง แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ 3 แนวทางวางแผน หากต้องเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นในอนาคต ดังนี้
1. เลือกโรงพยาบาลที่เหมาะสมกับการเงินตัวเอง
โรงพยาบาลมีหลายราคา ทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน โดยเราสามารถเลือกโรงพยาบาลได้ว่าจ่ายไหวที่โรงพยาบาลไหน และอย่าลืมศึกษาเรื่องการผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่ารักษาโรค ทางโรงพยาบาลที่เราต้องเข้ารักษาสามารถรูดจ่ายผ่านบัตรเครดิตได้หรือไม่ สามารถผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้หรือเปล่า มีโรงพยาบาลอื่นที่รับรักษาโรคที่เป็นประจำอยู่ไหม? เพื่อเตรียมตัวไว้เบื้องต้นจะช่วยให้คุณคำนวนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ครอบคลุม เตรียมตัวได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
2. ใช้ประโยชน์จากสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่ที่ทำงานมีให้
ไม่เพียงแต่ประกันสังคมเท่านั้น ตามกฎหมายแรงงาน บริษัทจะต้องมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลเพื่อรองรับพนักงาน แต่บริษัทบางแห่งยังมีประกันสุขภาพกลุ่มที่ช่วยผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้อีกทาง โดยเราสามารถตรวจสอบสวัสดิการที่ตัวเองได้รับ และใช้สิทธิ์นั้นได้ตามกฎหมาย ก็จะช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาลได้ระดับหนึ่ง ช่วยให้เราผ่อนค่ารักษาพยาบาลไม่สูงเท่าเดิม
3. วางแผนทำประกันสุขภาพที่เหมาะกับตัวเอง
การวางแผนทำประกันสุขภาพที่เหมาะสม จะช่วยรองรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้อย่างอุ่นใจ จนบางครั้งเราไม่ต้องสำรองจ่าย หรือผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ สำหรับคนที่ใส่ใจสุขภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลือกทำประกันสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากจะได้เบี้ยประกันราคาถูกแล้ว ยังมีแผนประกันหลากหลายให้เลือกมากกว่า ทั้งประกัน IPD-OPD รวมไปถึงประกันโรคร้ายแรง ช่วยผ่อนค่ารักษาพยาบาลที่มีราคาสูงได้ และในบางประกันยังให้ค่าชดเชยในกรณีที่ต้องหยุดงานอีกด้วย หรือหากคุณเป็นฟรีแลนซ์ ก็อาจเลือกทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายควบคู่ไปกับประกันสังคมก็น่าสนใจเช่นกัน
ผ่อนจ่ายค่ารักษพายาบาลง่าย ๆ โดยการรูดบัตรเครดิต อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่มีปัญหาทางการเงินในยามฉุกเฉิน หรือบางคนที่ไม่อยากจ่ายเงินก้อนใหญ่ในทีเดียว อยากเก็บเงินไว้หมุนในส่วนอื่นก่อน ก็สามารถใช้บริการบัตรเครดิตได้ แถมยังมีโอกาสในการผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่ต้องลำบากหยิบยืมเงินคนรอบตัวให้เสียความสัมพันธ์ หรือเสี่ยงกับหนี้นอกระบบดอกเบี้ยแพง ๆ ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน เอกสารไม่ยุ่งยาก
โดยคุณสามารถเลือกบัตรเครดิตที่ตรงใจได้กับ แรบบิท แคร์ แหล่งรวมหลากหลายสถาบันทางการเงิน ทั้งบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือแม้แต่สินเชื่อส่วนบุคคล พร้อมโปรโมชันดี ๆ อีกเพียบ ตอบโจทย์ทุกความต้องการเรื่องเงิน นอกจากผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้แล้ว ยังผ่อนจ่ายกับสินค้า หรือบริการอื่น ๆ ได้อีกมากมาย
บัตรเครดิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ