OTP มาตรการความปลอดภัยอีกขั้นของโลกไซเบอร์
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยเฉพาะในปัจจุบัน ผู้คนสามารถเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส และในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแบบใด บริการแบบใดก็ตาม ทั้งข้อมูลและบริการต่าง ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้เพียงแค่ใช้อุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แลกมากับการเข้าถึงที่ง่ายดายนั่นก็คือความปลอดภัยที่มักมีมิจฉาชีพหรือผู้ไม่หวังดีคอยโจมตีความปลอดภัยในโลกไซเบอร์เพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะพูดถึงว่ามาตรการอย่าง OTP คืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับความปลอดภัย วิธีการใช้งานรหัส OTP คืออะไร ช่องทางในการรับ OTP คือช่องทางใด รหัส OTP ดูตรงไหน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการความปลอดภัยอื่น ๆ นอกจาก OTP
OTP คืออะไร
อ้างอิงจากสำนักดิจิทัลเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงความหมายของ OTP ว่า OTP หรือรหัส OTP ย่อมาจากคำจากภาษาอังกฤษว่า “One Time Password” ซึ่งมีความหมายว่า รหัสผ่านที่ใช้เพียงครั้งเดียว OTP เป็นชุดรหัสผ่าน 6 หลักที่ใช้เพื่อเป็นการยืนยันการเป็นเจ้าของบัญชีผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นบัญชีผู้ใช้งานการบริการด้านการเงิน ด้านโซเชียลมีเดีย ด้านการบริการอีเมล และอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถใช้ระบบเข้าถึงด้วยรหัส ได้ทั้งสิ้น
โดยเบื้องต้นแล้ว เมื่อเราต้องการลงชื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ หากบริการนั้น ๆ มีบริการหรือฟังก์ชันที่รองรับ OTP ผู้ใช้งานจะต้องใส่เบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลของตัวเองเพื่อให้ทางระบบส่งรหัสเข้ามาผ่านทางข้อความโทรศัพท์หรืออีเมลที่ทำการกรอกข้อมูลไว้ หลังจากนั้น ผู้ใช้งานจะต้องกรอกรหัส เข้าไปในระบบภายในระยะเวลาที่ระบบกำหนดไว้ เช่น 1 นาที 3 นาที และ 5 นาที เป็นต้น หากเลยเวลาที่ระบบกำหนดไว้ จะไม่สามารถใช้งานรหัสนั้นได้อีก และจำเป็นต้องทำการขอรหัสใหม่ โดยจะได้รหัส ชุดใหม่ ทำให้ OTP เป็นมาตรการป้องกันภัยไซเบอร์อีกหนึ่งขั้นที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน สรุปแล้ว ขั้นตอนในการเข้าใช้งานบริการใดบริการหนึ่งผ่านช่องทางออนไลน์ มีดังต่อไปนี้
ดำเนินการขอรหัส OTP จากระบบที่ต้องการใช้บริการ
เมื่อต้องการเข้าใช้งานบริการใดบริการหนึ่งแล้ว ขั้นตอนแรกให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน (Account ID) และรหัสผ่าน (Password) ก่อน หลังจากนั้น ทางระบบจะมีกล่องข้อความขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกช่องทางในการรับ OTP ไม่ว่าจะเป็นช่องทางอีเมล หรือช่องทางข้อความผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ
รับ OTP จากช่องทางที่เลือกไว้
เมื่อเลือกช่องทางในการรับ OTP แล้ว ให้ตรวจสอบว่ารหัสได้เข้ามาถึงช่องทางที่เลือกไว้หรือไม่ หากเลือกไว้ว่าต้องการรับรหัสผ่านช่องทางอีเมล ให้ตรวจสอบอีเมลว่ามีรหัสส่งเข้ามาหรือไม่ หากไม่มี สามารถตรวจสอบว่ามีรหัสถูกส่งเข้ามาภายในอีเมลขยะหรือไม่ เพราะในบางครั้ง ระบบของอีเมลอาจส่งรหัสดังกล่าวเข้ามาภายในอีเมลขยะอัตโนมัติ ซึ่งเป็นมาตรการเบื้องต้นของระบบอีเมล หรือถ้าหากเลือกไว้ว่าต้องการรับรหัสผ่านทางข้อความในโทรศัพท์มือถือ ให้ทำการรอสักครู่ เพราะระบบอาจต้องใช้เวลาสักพักในการสร้างรหัสและส่งรหัสเข้ามาที่ข้อความของโทรศัพท์มือถือ
กรอก OTP เข้าสู่ระบบ
เมื่อได้รับรหัสแล้ว ให้ทำการกรอก OTP เข้าสู่ระบบ โดยจะต้องตรวจสอบว่ามีรหัส Reference ตรงกันหรือไม่ หากตรงกัน ให้ทำการกรอกรหัสภายในระยะเวลาที่ระบบกำหนดไว้ เมื่อทำการกรอกรหัสแล้ว จึงสามารถเข้าสู่ระบบของบริการต่าง ๆ ได้
รหัส OTP ดูตรงไหน
สำหรับผู้ที่อาจไม่ชำนาญเรื่องเทคโนโลยีในปัจจุบัน อาจสงสัยว่ารหัสOTPดูตรงไหน สำหรับการสังเกตว่ารหัสOTPดูตรงไหน ให้สังเกตหรือเข้าไปที่ช่องทางที่เราทำการเลือกว่าจะให้ระบบส่งรหัสมาทางช่องทางใด หากเลือกไว้ว่าให้ส่งรหัสโดยช่องทางอีเมล ให้ทำการตรวจสอบอีเมลที่ได้กรอกไว้กับระบบ หากไม่พบรหัสที่ส่งมา สามารถตรวจสอบได้ที่เมนู “Junk” หรือ “อีเมลขยะ” เพราะระบบอีเมลอาจคัดกรองรหัสให้ส่งมาที่เมนูอีเมลขยะโดยอัตโนมัติ
หรือถ้าหากเลือกไว้ว่าให้ส่ง OTP โดยช่องทางเบอร์โทรศัพท์ สามารถตรวจสอบรหัสได้ที่เมนู “Messages” หรือ “ข้อความ” ในโทรศัพท์มือถือ หรือในบางครั้ง บริการบางแห่งอาจสามารถส่งรหัสผ่านทางการโทรเข้ามาที่เบอร์มือถือของเรา โดยจะส่งตัวรหัสมาเป็นข้อความเสียง อย่างไรก็ตาม การส่งรหัสด้วยการโทรเข้ามาอาจพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก และบริการทุกแห่งจะไม่มีการขอรหัสจากผู้ใช้งานเด็ดขาด เพราะบริการต่าง ๆ มีหน้าที่แค่ส่งรหัสให้กับผู้ใช้บริการเท่านั้น
รหัส OTP ไม่เข้า ทำอย่างไรดี
หากทำการเลือกช่องทางในการรับ OTP แล้วระบบส่งรหัสมา แต่เราไม่พบรหัสใดใด ที่ระบบส่งมา ในเบื้องต้นแล้ว หรือรหัส OTP ไม่เข้า อาจต้องใช้เวลาสักพักเพื่อให้ระบบเตรียมข้อมูลและรหัสเพื่อส่งมาให้ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะหากผู้ใช้บริการนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก อาจต้องใช้เวลารอนานกว่าปกติ แต่ระบบมักส่ง OTP ให้กับผู้ใช้งานภายในระยะเวลาที่ระบบกำหนดไว้ เช่น ภายใน 1 นาที 3 นาที หรือ 5 นาที เป็นต้น หากเกินระยะเวลาที่ระบบกำหนดไว้ สามารถทำการขอรหัสได้ใหม่ โดยที่ระบบจะสร้างชุดรหัสขึ้นมาใหม่ทั้งหมด รวมถึงรหัส Reference เช่นกัน
แต่ถ้าหากทำการขอรหัสแล้วไม่มีรหัสส่งเข้ามาทางช่องทางนั้น ๆ อาจต้องตรวจสอบว่าเรากรอกข้อมูลของช่องทางที่ต้องการให้ส่งเข้ามาถูกต้องหรือไม่ เช่น กรอกอีเมลถูกต้องและครบทุกตัวอักษรหรือไม่ กรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ต้องการให้ส่งรหัสมาถูกต้องหรือไม่ เพราะตามระบบการส่งรหัสแล้ว ระบบจะทำการส่งรหัสให้กับผู้ใช้บริการทุกครั้งเสมอ หรือในบางกรณี อาจต้องตรวจสอบการตั้งค่าที่เกี่ยวกับการรับข้อความในโทรศัพท์มือถือว่ามีการปิดกั้นการส่งข้อความไว้หรือไม่ หากทำการตั้งค่าโดยที่ปิดกั้นการส่งข้อความไว้ จะทำให้ไม่สามารถเห็นรหัสได้นั่นเอง
มาตรการความปลอดภัยอื่น ๆ นอกเหนือจาก OTP
สำหรับมาตรความปลอดภัยในการใช้บริการในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีมาตรการอื่น ๆ ที่สามารถใช้ได้นอกเหนือจากการใช้ OTP เพื่อยืนยันว่าเราเป็นผู้ใช้งานบัญชีนั้นจริง ๆ โดย OTP เป็นเพียงแค่วิธีหนึ่งของมาตรการความปลอดภัยเท่านั้น เพราะเป็นประเภทหนึ่งของการยืนยันตัวตน 2 ชั้น หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Two-Factor Authenticator” หรือ 2FA โดยการยืนยันตัวตัน 2 ชั้น หรือ 2FA เป็นสิ่งที่เราอาจคุ้นเคยกันดี เช่น การตั้งค่า PIN (Personal Identification Number) สำหรับบัตรเดบิต บัตรเครดิต การใช้ OTP เพื่อยืนยันตัวตน หรือแม้แต่การสแกนใบหน้าหรือสแกนลายนิ้วมือในโทรศัพท์หลาย ๆ รุ่นก็ถือว่าเป็นการยืนยันตัวตน 2 ชั้นทั้งสิ้น
และในปัจจุบัน มีการใช้แอปพลิเคชันจำพวก Authenticator เพื่อสร้างรหัสบนมือถือได้ในบริการที่รองรับการใช้แอปพลิเคชันเหล่านี้ เช่น Google Authenticator และ Microsoft Authenticator เป็นต้น ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่าการยืนยันตัวตน 2 ชั้น เป็นที่คุ้นเคยกับเรามาค่อนข้างนานพอสมควรแล้ว แต่เราอาจไม่ทราบถึงรายละเอียดของมาตรการความปลอดภัยเหล่านี้
จากข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ OTP ทำให้เราได้ทราบถึงการใช้งานรหัสต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของข้อมูลของผู้ใช้งานบริการต่าง ๆ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ อย่างไรก็ตาม รหัสดังกล่าวถือเป็นรหัสส่วนบุคคลที่ไม่ควรให้ผู้อื่นทรายโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีผู้ไม่หวังดีนำรหัสไปใช้เพื่อขโมยข้อมูลหรือขโมยทรัพย์สิน โดยเฉพาะในบริการด้านการเงิน เช่น แอปพลิเคชันธนาคาร Mobile Banking แอปพลิเคชัน Online Shopping รวมไปถึงบริการบัตรเครดิต ซึ่งเราสามารถพบเจอกรณีต่าง ๆ ที่ถูกขโมยข้อมูลและทรัพย์สินต่าง ๆ โดยมิจฉาชีพ
ดังนั้น เราจึงไม่ควรบอกรหัสกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด อีกทั้งยังต้องป้องกันการขโมยข้อมูลผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากองค์กรต่าง ๆ เพื่อขอรหัส ข้อมูล หรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับตัวเรา หากเราป้องกันข้อมูลต่าง ๆ เป็นอย่างดี จะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกขโมยข้อมูลได้เป็นอย่างมาก
หรือในปัจจุบัน ยังมีประกันไซเบอร์ที่คอยคุ้มครองผู้ถือประกันในกรณีที่ถูกโจรกรรมเงินออนไลน์ ถูกโกงเงินผ่านบัญชีธนาคารและ Online Wallet ถูกโกงหลังซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ รวมไปถึงคุ้มครองการขายของผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย หากต้องการตัวช่วยเรื่องความคุ้มครองด้านไซเบอร์เมื่อประเมินว่าต้องแบกรับความเสี่ยงที่มาก การซื้อประกันไซเบอร์ก็ถือเป็นหนึ่งตัวเลือกที่ช่วยแบ่งเบาภาระของเราได้เป็นอย่างดี สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกคนปลอดภัยจากความเสี่ยงบนโลกออนไลน์กันนะ
สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ