Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

ประกันรถบ้านมีกี่ประเภท คุ้มครองอะไรบ้าง?

โดยทั่วไปแล้วการทำประกันรถยนต์ จะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่รู้จักกันนามของ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่เจ้าของรถจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ไม่มีผลทางกฎหมาย โดยประกันรถยนต์ภาคสมัครใจสำหรับรถบ้าน จะสามารถแบ่งแยกย่อยออกมาเป็น 5 ประเภท ได้แก่

ประกันรถประเภท 1, ประกันรถชั้น 1

  • ให้ความคุ้มครองรถคุณทุกกรณี ไม่ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะมีคู่กรณีหรือไม่ก็ตาม
  • ให้ความคุ้มครองรถกรณีสูญหายจากการโจรกรรม
  • ให้ความคุ้มครองรถกรณีการเกิดอัคคีภัยหรือภัยธรรมชาติ
  • ให้ความคุ้มครองบุคคลและทรัพย์สินอื่นภายนอกที่เสียหาย รวมถึงผู้ขับขี่โดยสารในคันเอาประกันภัย
  • ให้ความคุ้มครองค่าประกันตัว
  • ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลบุคคลภายนอก

ประกันรถประเภท 2+, ประกันรถชั้น 2+

  • ให้ความคุ้มครองรถคุณเฉพาะกรณีที่มีคู่กรณีเท่านั้น
  • ให้ความคุ้มครองรถกรณีสูญหายจากการโจรกรรม
  • ให้ความคุ้มครองเหตุไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ
  • ให้ความคุ้มครองบุคคลและทรัพย์สินอื่นภายนอกที่เสียหาย รวมถึงผู้ขับขี่โดยสารในคันเอาประกันภัย
  • ให้ความคุ้มครองค่าประกันตัว
  • ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลบุคคลภายนอก

ประกันรถประเภท 2, ประกันรถชั้น 2

  • ให้ความคุ้มครองรถกรณีการเกิดอัคคีภัยหรือภัยธรรมชาติ
  • ให้ความคุ้มครองบุคคลและทรัพย์สินอื่นภายนอกที่เสียหาย
  • ให้ความคุ้มครองรถกรณีสูญหายจากการโจรกรรม
  • ให้ความคุ้มครองค่าประกันตัว
  • ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลบุคคลภายนอก

ประกันรถประเภท 3+, ประกันรถชั้น 3+

  • ให้ความคุ้มครองกรณีความเสียหายต่อรถยนต์คู่กรณี
  • ให้ความคุ้มครองบุคคลและทรัพย์สินอื่นภายนอกที่เสียหาย
  • ให้ความคุ้มครองค่าประกันตัว
  • ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลบุคคลภายนอก

ประกันรถประเภท 3, ประกันรถชั้น 3

  • ให้ความคุ้มครองบุคคลและทรัพย์สินอื่นภายนอกที่เสียหาย
  • ให้ความคุ้มครองค่าประกันตัว
  • ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลบุคคลภายนอก

รถบ้านเคลื่อนที่ รถแคมป์ปิ้งจัดอยู่ในรถยนต์ประเภทไหน ถูกกฎหมายหรือไม่?

อ้างอิงการแบ่งประเภทรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 จะสามารถจำแนกออกเป็น 17 ประเภท ได้แก่

ประเภท 1 : รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รย.1)
มีขนาดความกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 12 เมตร เช่น รถเก๋งตอนเดียว รถเก๋งสองตอน เป็นต้น

ประเภท 2 : รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (รย.2)
มีขนาดความกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 12 เมตร ความยาวของตัวถังจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึงท้ายรถ ไม่เกิน 2 ใน 3 ของความยาววัดจากศูนย์กลางเพลงล้อหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง เช่น รถเก๋งสามตอน รถนั่งสองแถว รถตู้นั่งสามตอน เป็นต้น

ประเภท 3 : รถบรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
เป็นรถที่ไม่ได้ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคล มีขนาดความกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 12 เมตร ความยาวของตัวถังจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึงท้ายรถ ไม่เกิน 3 ใน 5 ของความยาววัดจากศูนย์กลางเพลงล้อหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง เช่น รถกระบะบรรทุก รถกระบะบรรทุกมีหลังคา เป็นต้น

ประเภท 4 : รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (รย.4)
ต้องเป็นรถที่มีขนาดความกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 4 เมตร ส่วนของเครื่องยนต์มีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 550 ลบ.ซม.

ประเภท 5 : รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด (รย.5)
เป็นรถเก๋งสองตอน 4 ประตูขึ้นไป มีขนาดความกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 6 เมตร น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม เครื่องยนต์มีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลบ.ซม. บรรทุกโดยสารไม่เกิน 7 คน

ประเภท 6 : รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รย.6)
เป็นรถเก๋งสองตอน ขนาดความกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 6 เมตร มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู และต้องเป็นประตูที่ไม่ได้ติดตั้งระบบควบคุมการปิดเปิดประตูรถจากศูนย์กลาง (CENTRAL LOCK)เท่านั้น กระจกกันลมต้องโปร่งใสสามารถมองเห็นในรถและนอกรถได้ชัดเจน ส่วนของเครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 1,000 ลบ.ซม.ขึ้นไป

ประเภท 7 : รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง (รย.7)
เป็นรถสองตอนมีประตูไม่ต่ำกว่า 2 ประตู ขนาดความกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 800 ลบ.ซม.

ประเภท 8 : รถยนต์รับจ้างสามล้อ (รย.8)
ต้องเป็นรถที่มีลักษณะประทุน มีที่นั่ง 2 ตอน หรือ 2 แถว ขนาดความกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 550 ลบ.ซม.

ประเภท 9 : รถยนต์บริการธุรกิจ (รย.9)
เป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่า 4 ประตู บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่ารถบ้าน บรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน น้ำหนักรถไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม ขนาดความกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลบ.ซม. ใช้บรรทุกคนโดยสารระหว่างท่าอากาศยาน สถานีขนส่ง เป็นต้น

ประเภท 10 : รถยนต์บริการทัศนาจร (รย.10)
เป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่า 4 ประตู บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่ารถบ้าน บรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน น้ำหนักรถไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม ขนาดความกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลบ.ซม. เป็นรถยนต์ใช้ในธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวรับ-ส่งคนโดยสารท่องเที่ยว

ประเภท 11 : รถยนต์บริการให้เช่า (รย.11)
เป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่า 4 ประตู บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่ารถบ้าน บรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน น้ำหนักรถไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม ขนาดความกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลบ.ซม. เป็นรถยนต์สำหรับให้เช่าที่ไม่ใช่เป็นการเช่าเพื่อนำไปรับจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือสิ่งของ

ประเภท 12 : รถจักรยานยนต์ (รย.12)

ประเภท 13 : รถแทรกเตอร์ (รย.13)
เป็นรถที่มีล้อหรือสายพาน มีเครื่องยนต์ มีขนาดความกว้างไม่เกิน 4.40 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 16.20 เมตร เป็นเครื่องจักรกลในงานเกี่ยวกับการขุด ตัก ดัน ฉุดลาก ลากจูง และต้องไม่ได้ใช้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล

ประเภท 14 : รถบดถนน ไม่ต้องกำหนดลักษณะ (รย.14)

ประเภท 15 : รถใช้งานเกษตรกรรม ไม่ต้องกำหนดลักษณะ (รย.15)

ประเภท 16 : รถพ่วง (รย.16)
ความกว้างวัดจากส่วนที่กว้างที่สุดของตัวพ่วง (ไม่รวมกระจกมองข้าง) ต้องมีขนาดความกว้างไม่เกิน 2.55 เมตร ส่วนต่อเติมที่ยื่นเกินขอบยางด้านนอกของเพลาล้อหลังต้องไม่เกิน 15 เซนติเมตร ความสูงวัดในแนวดิ่งจากพื้นถึงส่วนที่สูงที่สุดของรถพ่วง ให้มีขนาดความสูงไม่เกิน 4 เมตร (ถ้าพ่วงมีขนาดความกว้างไม่ถึง 2.3 เมตร ขนาดความสูงต้องห้ามเกิน 3 เมตร)

ประเภท 17 : รถจักรยานยนต์สาธารณะ ไม่ต้องกำหนดลักษณะ (รย.17)
เป็นรถจักรยานยนต์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ขนาดความกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ขนาดความยาวไม่เกิน 2.50 เมตร สูงไม่เกิน 2 เมตร เครื่องยนต์มีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 125 ลบ.ซม. (ไม่นับรวมถึงรถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้างและจักรยานที่ติดเครื่องยนต์)

โดยรถบ้านเคลื่อนที่ รถแคมป์ปิ้ง ส่วนใหญ่จะถูกจัดอยู่ในรถยนต์ประเภท 16 (รย.16) หรือรถพ่วง และเมื่อวัดจากส่วนหน้าสุดไม่รวมแขนพ่วงถึงส่วนท้ายสุดของรถ จะต้องมีความยาวไม่เกิน 8 เมตร หรือหากเป็นรถบ้านเคลื่อนที่ รถแคมป์ปิ้ง ที่ใช้รถตู้นั่งสามตอนหรือสี่ตอน จะถูกจัดอยู่ในรถยนต์ประเภท 2 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) รวมไปถึงหากเป็นรถบ้านเคลื่อนที่ รถแคมป์ปิ้ง ที่ใช้รถกระบะบรรทุกมีหลังคาฝาปิดด้านข้างด้านท้าย จะถูกจัดอยู่ในรถยนต์ประเภท 3 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) ซึ่งหากมีขนาดเป็นไปตามกฎหมายกำหนดก็จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกกฎหมาย

ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจประเภทใดบ้าง? ที่รถบ้านเคลื่อนที่ รถแคมป์ปิ้งสามารถทำได้

สำหรับรถบ้านเคลื่อนที่ หรือ รถแคมป์ปิ้ง สามารถเลือกทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจได้เช่นเดียวกับรถยนต์ทั่วไป เนื่องจากรถบ้านเคลื่อนที่ รถแคมป์ปิ้งที่พบเห็นกันโดยทั่วไปในปัจจุบัน เป็นรถยนต์ประเภทรถพ่วง หรือรถตู้นั่งสามตอน-สี่ตอน รวมไปถึงรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อย่างเช่น รถกระบะบรรทุกมีหลังคาฝาปิดด้านข้างด้านท้าย ดังนั้นการจะสมัครทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจึงสามารถเลือกทำประกันได้ตั้งแต่ ประกันรถประเภท 1, 2+, 2, 3+, 3 โดยสามารถพิจารณาเลือกทำประกันรถประเภทต่าง ๆ จากข้อมูลดังนี้

- ประกันรถประเภท 1 , ประกันรถชั้น 1 : เหมาะกับรถบ้านเคลื่อนที่ หรือรถแคมป์ปิ้ง ที่เป็นรถใหม่ป้ายแดง มีมูลค่าสูง มีการใช้งานรถเป็นประจำ เป็นต้น - ประกันรถประเภท 2+ , ประกันรถชั้น 2+ : เหมาะกับรถตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป หรือต้องการลดค่าเบี้ยแต่ยังต้องการความคุ้มครองครอบคลุมเหมือนประกันชั้น 1 - ประกันรถประเภท 2 , ประกันรถชั้น 2 : เหมาะกับรถบ้านเคลื่อนที่ รถบ้านที่เป็นรถเก่า มีอายุมากกว่า 3 ปี มีการใช้งานรถไม่บ่อยมากนัก - ประกันรถประเภท 3+ , ประกันรถชั้น 3+ : เหมาะกับรถบ้านที่เป็นรถเก่าอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป - ประกันรถประเภท 3 , ประกันรถชั้น 3 : เหมาะกับรถบ้านเคลื่อนที่ รถแคมป์ปิ้ง ที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน มีที่จอดที่ปลอดภัย มูลค่าราคารถเหลือน้อย

ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการนำรถเก่าอายุการใช้งานเยอะมาตกแต่งเป็นรถบ้าน แล้วมีมูลค่ามากขึ้น ก็สามารถเลือกทำประกันรถประเภทที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมได้ตามสมควรและตามเงื่อนไขการรับประกันภัยของบริษัทประกัน

ทำไมต้องมีประกันรถบ้าน?

ไม่ว่าจะเป็นรถบ้าน รถแคมป์ปิ้ง หรือรถยนต์ทั่วไป การทำประกันรถยนต์ยังคงเป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณสบายใจไร้กังวลจไม่ว่าจะต้องขับรถเดินทางไกลแค่ไหน เพราะการมีประกันรถยนต์จะให้ความคุ้มครองรถบ้านเคลื่อนที่ของคุณทั้งด้านการเกิดอุบัติเหตุกับรถและคนโดยสาร ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ หรือให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ อย่างเช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ กิ่งไม้ใหญ่หล่นใส่ เป็นต้น นอกจากนี้การมีประกันรถบ้านยังให้ความคุ้มครองในการถูกโจรกรรม ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ที่เป็นผลทำให้รถของคุณเกิดการสูญหายอีกด้วย

ทั้งนี้การเลือกทำประกันรถบ้านภาคสมัครใจควรเลือกตามความเหมาะสมของผู้ใช้รถแต่ละคน รวมไปถึงควรพิจารณาผลประโยชน์ความคุ้มครองที่คุณจะได้รับเป็นหลักร่วมด้วย

สมัครทำประกันประเภท 3 รถบ้านเคลื่อนที่ รถแคมป์ปิ้งกับแรบบิท แคร์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

หากคุณต้องการสมัครทำประกันรถบ้านเคลื่อนที่ รถแคมป์ปิ้งกับแรบบิท แคร์ คุณสามารถดำเนินการสมัครทำประกันได้ง่าย ๆ และสะดวกรวดเร็ว เพียงยื่นเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการสมัครทำประกัน ดังนี้

  • เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอเอาประกัน
  • เอกสารสำเนาใบขับขี่
  • เอกสารสำเนาหนังสือจดทะเบียนรถยนต์
  • เอกสารสำเนากรมธรรม์ประกันภัยปัจจุบัน หรือใบเตือนต่ออายุจากบริษัทประกันปัจจุบัน

ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันฯและกรมธรรม์ที่เลือก หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ด้วยตนเองที่ Line Official : @rabbitcare หรือ โทร.1438 พร้อมบริการตลอด 24 ชม.

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา