เกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ กรณีคนขับไม่ใช่เจ้าของรถมอเตอร์ไซค์
สำหรับผู้ขับขี่ คงไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ หรืออยากให้รถล้มจนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งหากเกิดในช่วงกลางคืน ก็จะยิ่งเป็นอันตรายต่อตัวผู้ขับขี่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และการทำเรื่องเคลมประกันหรือเบิกเงินจาก พ.ร.บ. ก็อาจจะยิ่งยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีก หากเป็นกรณีคนขับไม่ใช่เจ้าของรถมอเตอร์ไซค์ หรือกรณีรถชื่อเรา คนอื่นขับ แล้วประสบอุบัติเหตุ ซึ่งน่าจะสร้างความลำบากใจให้กับเจ้าของรถไม่น้อย
เอกสารรถมอไซค์ เกิดอุบัติเหตุ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ รถล้มจนได้รับบาดเจ็บ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลกับ พ.ร.บ. ได้ แม้ว่าจะไม่มีใบขับขี่ หรือใบขับขี่จะหมดอายุไปแล้วก็ตาม แต่ที่สำคัญคือ พ.ร.บ. จะต้องไม่หมดอายุ จึงจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้
สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ในการเบิกค่ารักษากับ พ.ร.บ. เมื่อเกิดเหตุรถล้มโดยไม่มีคู่กรณี มีดังนี้
1. กรณีบาดเจ็บ เบิกค่ารักษาพยาบาล
- สำเนาบัตรประชาชน
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ตัวจริง)
2. กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร
- สำเนาบัตรประชาชน
- ใบรับรองแพทย์
- หนังสือรับรองคนพิการ
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
3. กรณีเสียชีวิต
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประชาชนของทายาทโดยธรรม
- สำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
แต่หากเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์โดยมีคู่กรณี ก็ยังสามารถใช้สิทธิ พ.ร.บ. เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เช่นกัน
แจ้งความรถล้ม ใช้อะไรบ้าง ค่าเสียหายเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม
หากต้องการเบิกค่าเสียหายจาก พ.ร.บ. จะต้องมีการแจ้งความและนำหลักฐานไปยื่น หากเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ หรือรถล้มโดยไม่มีคู่กรณี จะต้องไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ โดยแจ้งรายละเอียดของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น วันและเวลาเกิดเหตุ และนำหลักฐานที่ได้จากการลงบันทึกประจำวันไปยื่นกับ พ.ร.บ.ภายใน 180 วัน นับจากวันเกิดเหตุที่ได้ระบุไว้ในใบลงบันทึกประจำวัน
มอเตอร์ไซค์ล้มเอง ไม่มีคู่กรณี เบิกค่าเสียหายจากไหนได้บ้าง
หากรถล้มเอง ไม่มีคู่กรณี เช่น เสียหลักลื่นล้มจนบาดเจ็บ หรือรถชื่อเรา คนอื่นขับ อย่างในกรณีที่เพื่อนยืมรถเราไปขับแล้วรถล้มบาดเจ็บ จะจัดเป็นอุบัติเหตุแบบไม่ต้องพิสูจน์ความผิด สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ และค่าสินไหมทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะและเสียชีวิตได้จาก พ.ร.บ. โดยผู้ขับขี่ ผู้ประสบภัย ผู้โดยสารและบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบจากรถคันดังกล่าว จะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น นั่นก็คือค่าสินไหมทดแทน และค่ารักษาพยาบาลนั่นเอง
- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับวงเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ จะได้รับวงเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 35,000 บาท/คน
- หากเข้าข่ายทั้ง 2 กรณี จะได้รับวงเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท/คน
โดยจะต้องเบิกเงินชดเชยจาก พ.ร.บ. ภายในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน หลังจากวันที่เกิดเหตุ และเมื่อยื่นเอกสารเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินชดเชยภายใน 7 วันทำการ ซึ่งสามารถเบิกค่าเสียหายกับ พ.ร.บ. ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ บริษัทประกันภัย และ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
สำหรับการเบิกกับบริษัทประกันภัย จะต้องแจ้งขอเบิกกับบริษัทประกันภัยที่ผู้เอาประกันเลือกทำ พ.ร.บ. เอาไว้ หรืออีกช่องทาง คือ การเบิกผ่านบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด จะรับเฉพาะประกันภัยรถจักรยานยนต์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเท่านั้น
คนขับไม่ใช่เจ้าของรถ ประกันจ่ายไหม
ในกรณีที่รถชื่อเรา คนอื่นขับ เช่น รถของพ่อแม่ แต่ลูกยืมไปขับ หรือเพื่อนยืมรถเราไปขับจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา จะแบ่งการชดเชยเป็นกรณีต่าง ๆ ได้ดังนี้
- กรณีรถมีประกัน ประกันจะรับเคลม แล้วจะเป็นฝ่ายตามเก็บค่าเสียหายจากผู้ที่ต้องรับผิดชอบ นั่นก็คือ ผู้ขับขี่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนั่นเอง
- กรณีรถไม่มีประกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์รถชื่อเรา คนอื่นขับ แล้วประสบอุบัติเหตุ เพื่อนที่ยืมรถไปขับจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด ทั้งค่าซ่อมรถของเรา และค่าเสียหายของคู่กรณี
อีกหนึ่งกรณีที่น่าสนใจ คือ หากเจ้าของรถวานให้คนใกล้ชิดไปทำธุระให้ โดยขับรถของตนไป หากเกิดอุบัติเหตุ จะถือว่าเจ้าของรถเป็นผู้มีส่วนรู้เห็น และจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ขับรถขณะเกิดเหตุก็ตาม
ตามเงื่อนไขของประกัน หากเป็นอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี แล้วเราเป็นฝ่ายถูก ประกันจะเคลมค่าเสียหายให้ตามปกติ แต่หากเราเป็นฝ่ายผิด ก็ยังสามารถเคลมประกันได้ แต่ค่าเบี้ยประกันอาจจะสูงขึ้นในปีถัดไป และในบางกรณีอาจจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (ค่า Excess) เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน
ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นคำตอบที่ช่วยคลายข้อสงสัยในกรณีรถชื่อเรา คนอื่นขับ ให้กับผู้ขับขี่ทุกท่านได้ไม่มากก็น้อย ดังนั้น ก่อนที่จะให้ใครยืมรถไปขับ ควรจะสอบถามให้ชัดเจนถึงจุดประสงค์ในการยืมรถของเราไปใช้ ทั้งยังต้องมั่นใจในทักษะการขับขี่ของผู้ที่จะยืมรถของเราก่อนที่จะให้ยืมรถ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์รถชื่อเรา คนอื่นขับ จนเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหาย
เพื่อนยืมรถไปขับ แล้วชน ใครต้องรับผิดชอบ
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า หากรถชื่อเรา คนอื่นขับ จนเกิดอุบัติเหตุ ผู้ที่ต้องรับผิดชอบจะแบ่งได้หลายกรณี หากเพื่อนยืมไปขับแล้วเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ เพื่อนจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบความเสียหาย โดยหากมีประกัน บริษัทประกันจะรับเคลม แต่เพื่อนที่เป็นผู้ขับจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ เว้นแต่ว่าเจ้าของรถจะเป็นผู้วานให้เพื่อนนำรถของตนไปทำธุระให้ หากเป็นกรณีนี้เจ้าของรถจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง
คนขับไม่มีใบขับขี่ มอเตอร์ไซค์เกิดอุบัติเหตุ ประกันจ่ายไหม
หากเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ แล้วคนขับไม่มีใบขับขี่ ใบขับขี่หมดอายุ ไม่ได้พกใบขับขี่ หรือแม้แต่ใบขับขี่ถูกยึด จะสามารถเคลมประกันได้ตามปกติ หากเป็นอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิดก็ตาม แต่ผู้ขับขี่จะต้องถ่ายรูปใบขับขี่ของตนแล้วส่งให้บริษัทประกันในภายหลัง
แต่หากรถล้มหรือประสบอุบัติเหตุ โดยที่ยังไม่เคยมีใบขับขี่มาก่อน จะแบ่งได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ ไม่มีใบขับขี่แล้วเป็นฝ่ายผิด กับไม่มีใบขับขี่แล้วเป็นฝ่ายถูก
หากเป็นฝ่ายถูก แล้วรถมีประกันชั้น 1, 2+, 3+ บริษัทประกันจะรับผิดชอบในส่วนของค่าซ่อมรถของผู้ขับขี่ และจะดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายกับคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดให้
แต่หากเป็นฝ่ายผิด บริษัทประกันจะไม่รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเราในทุกกรณี แต่จะรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์สินและร่างกายของคู่กรณีตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์
นั่งวินมอเตอร์ไซค์แล้วรถล้ม ทำอย่างไรได้บ้าง เรียกค่าเสียหายได้ไหม
หากนั่งวินมอเตอร์ไซค์แล้วรถเสียหลักล้มโดยไม่มีคู่กรณี เราจะต้องขอเอกสาร พ.ร.บ. จักรยานยนต์จากวินมอเตอร์ไซค์ที่เป็นคนขับ เพื่อเคลมค่ารักษากับโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลจะถูกเรียกเก็บจาก พ.ร.บ. ก่อน หากเกินยอดที่กำหนดจึงจะเรียกเก็บกับประกันภาคสมัครใจ หรือประกันอุบัติเหตุที่ผู้ขับขี่ได้ทำไว้ ตามด้วยประกันสังคม หรือประกันกลุ่มที่เป็นสวัสดิการพนักงานสำหรับบางบริษัท รวมไปถึงสิทธิอื่น ๆ ที่สามารถเบิกได้
แต่หากวินมอเตอร์ไซค์ไม่ยอมให้เอกสาร พ.ร.บ. กับเรา เพื่อเบิกค่ารักษาพยาบาล สามารถแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจได้ โดยจะต้องจำป้ายทะเบียนคนขับ หรือให้รายละเอียดของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่มั่นใจได้เลยว่า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะคุ้มครองผู้บาดเจ็บในทุกกรณีโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี อุบัติเหตุที่เราเป็นฝ่ายผิด หรือแม้แต่กรณีรถชื่อเรา คนอื่นขับแล้วประสบอุบัติเหตุ ก็จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ทั้งสิ้น
แต่หากต้องการเพิ่มความมั่นใจในทุกครั้งที่ขับขี่ การทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ ก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม เช่นเดียวกับ ประกันรถมอเตอร์ไซค์ จาก แรบบิท แคร์ ที่มีแผนประกันหลากหลายให้เลือก มีศูนย์ซ่อมทั่วไทย พร้อมโปรโมชันสุดพิเศษ ให้คุณซื้อประกันในราคาที่ถูกกว่าเจ้าอื่นอย่างแน่นอน พร้อมรับความคุ้มครองในราคาสุดคุ้ม หรือหากต้องการที่ปรึกษาในการเลือกแผนประกัน แรบบิท แคร์ ก็มีให้ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์มือสองหรือรถรุ่นเก่า ก็สามารถซื้อประกันกับเราได้ คุ้มครองครอบคลุม ในราคาคุ้มค่า ขอคำปรึกษาและเปรียบเทียบแผนประกันด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ได้เลย
ความคุ้มครองประกันรถยนต์