Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันออมทรัพย์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที  กับ  

Rabbit Care

Bonus.png
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Sep 12, 2023

บริหารเงินโบนัสอย่างไรให้เกิดประโยชน์

เมื่อได้รับเงินโบนัสแล้วจะบริหารอย่างไรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ที่สุด เพื่อเพิ่มคุณค่ากับเงินโบนัสของคุณที่เป็นค่าเหนื่อยของการทำงานของคุณทั้งปี

ช่วงสิ้นปีพนักงานที่เปรียบเสมือนมดงานอย่างใครหลาย ๆ คนรอคอย ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งนั้นคือเงินโบนัส เพราะบริษัทจะจ่ายเงินโบนัสให้กับพนักงานเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความตั้งใจทุ่มเททำงานมาตลอดทั้งปี และเมื่อได้รับเงินโบนัสก้อนโตแล้ว หลายคนมักจะนำเงินไปใช้กับการช้อปปิ้งหรือเที่ยวต่างประเทศจนหมด หากไม่อยากให้เงินโบนัสของเราต้องหมดไปอย่างรวดเร็วกับสิ่งเหล่านี้ เรามีแนวทางในการบริหารและใช้เงินโบนัสให้เกิดประโยชน์สูงสุดมาฝาก ไปดูกันเลย

โบนัส คือ อะไร

โบนัส นั้นคือเงินค่าตอบแทนพิเศษที่ทางบริษัทให้เป็นสินน้ำใจ มักจะมาจากผลประกอบการที่ดี แต่ปัจจุบันโบนัสกลายมาเป็นหนึ่งของเครื่องสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน กลายเป็นระบบมาตรฐานของบางบริษัท (โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ) ที่ไม่ว่าจะทำกำไรได้มากน้อยเพียงไรก็จำเป็นจะต้องจ่ายโบนัสให้กับพนักงานให้เป็นมาตรฐานปกติ เพียงแต่ว่าจำนวนเงินจะมากน้อยเพียงไรก็อาจจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการในปีนั้น ๆ ด้วยนั่นเอง

พนักงานส่วนใหญ่อาจมองว่าโบนัสเป็นเรื่องง่าย ๆ ก็แค่เงินที่ให้พิเศษเป็นของขวัญเท่านั้นเอง แต่ถ้าคุณเป็นฝ่ายบริหารหรือแม้กระทั่งอยู่ในฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ที่ต้องดูแลเรื่องนี้โดยตรงก็จะรู้ดีกว่าเรื่องโบนัสมีรายละเอียดหยุมหยิม ยิบย่อย และมีอะไรมากกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะเรื่องการประเมินโบนัสที่มีรายละเอียดต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย

การประเมินผลโบนัส

สูตรคำนวณโบนัส การคำนวณโบนัสไม่ได้มีวิธีการหรือสูตรที่ตายตัวเสมอไป แต่มาตรฐานที่นิยมกันก็คือ

โบนัส = ฐานเงินเดือน x ค่าที่บริษัทประเมินผลให้ (เดือน)

โดยพื้นฐานแล้วค่านี้ก็คือจำนวนเดือนที่บริษัทประเมินให้ ว่าคุณจะได้เงินเพิ่มเป็นโบนัสมาเป็นจำนวนกี่เดือน อย่างเช่น นาย A มีฐานเงินเดือนที่ 10,000 บาท/เดือน ปีนี้นาย A ได้ค่าที่บริษัทประเมินผลให้เท่ากับ 8 เดือน ก็จะเท่ากับว่านาย A ได้รับเงินโบนัสพิเศษประจำปีเป็นเงินรวม 80,000 บาท นั่นเอง

อย่างไรก็ดีบางบริษัทอาจมีวิธีการคำนวณโบนัสที่ละเอียดยิบย่อยขึ้น ทำให้ค่าที่บริษัทประเมินผลให้อาจเป็นจุดทศนิยมที่ทำให้ไม่เต็มเดือน หรือค่าที่ได้มาจากการแบ่งเกรดพนักงานประจำปี โดยมีรายละเอียดหรือเกณฑ์ในการพิจารณาที่ต่างกันไปอีก แต่ส่วนใหญ่แล้วก็คือตัวเลขที่จะกลายเป็น “ค่าที่บริษัทประเมิน”

เเนวทางการบริหารเงินโบนัสแบบง่ายๆ

1. ชำระหนี้สินระยะสั้น

คนที่มีหนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด การนำเงินโบนัสไปชำระหนี้ถือเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกเลยค่ะ เนื่องจากหนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดมีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 20-28% ต่อปี การชำระหนี้ดังกล่าวจึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของเราลงได้ในระยะยาว และหากเป็นไปได้ แนะนำให้นำเงินโบนัสไปชำระหนี้ทั้งหมดก่อนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายซื้อของที่อยากได้หรือท่องเที่ยว


2. ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี

สำหรับคนที่มีภาระต้องจ่ายภาษี ช่วงเดือนธันวาคมถือเป็นโค้งสุดท้ายในการลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อช่วยลดหย่อนภาษี โดยก่อนการลงทุน แนะนำให้ตรวจสอบยอดเงินที่สามารถลงทุนได้ ซึ่งยอดเงินลงทุนในกองทุนแต่ละประเภทต้องไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี และสำหรับกองทุนรวม RMF ยอดเงินลงทุนเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

อย่างไรก็ตาม การซื้อกองทุนรวม LTF ในเดือนธันวาคมเพียงเดือนเดียวอาจทำให้ซื้อหน่วยลงทุนได้ในราคาที่สูงกว่าการกระจายการลงทุนไปตลอดทั้งปี จึงแนะนำให้ลงทุนแบบรายเดือนสม่ำเสมอ (Dollar Cost Averaging) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน

แนวทางการบริหารเงินโบนัสโดยการทำประกันแบบสะสมทรัพย์

เมื่อท่านได้เงินโบนัสมาแล้ว การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นทางเลือกที่ดีมาก ๆ อีกทางหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการลงทุนที่ได้รับประโยชน์หลายทางมาก วันนี้เราจะยกประเด็นนี้มาบอกทุกท่านว่าการบริหารเงินโบนัสของท่านจะไม่เสียเปล่าอีกต่อไป

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือการลงทุนที่จะมอบทั้งความคุ้มค่าและความคุ้มครองให้กับคุณได้ในระยะยาว เราจะทำให้ท่านได้รู้จักกับประกันประเภทนี้ได้มากขึ้น เพื่อนเป็นแนวทางในใช้เงินโบนัสลงทุนเพื่อคุณในอนาคต เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียให้เห็นกันแบบชัด ๆ พร้อมแนะนำเทคนิคในการซื้อที่จะเป็นตัวช่วยประกอบการตัดสินใจของท่าน

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ?

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ ประกันชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งที่มาในรูปแบบของการเก็บออมเงิน และมีความคุ้มครองควบคู่ไปด้วยในเวลาเดียวกัน กรมธรรม์จะดำเนินไปตามสัญญา เมื่อส่งเบี้ยประกันครบตามจำนวนที่ได้เลือกไว้ ก็จะได้รับทุนประกันคืนพร้อมดอกเบี้ยที่ทางบริษัทประกันนั้น ๆ จะมอบให้ โดยจะเลือกรับเป็นก้อนเดียวเมื่อครบสัญญา หรือรับปันผลระหว่างการส่งเบี้ยประกันก็ได้เช่นกัน

หากเสียชีวิตในระหว่างปีกรมธรรม์ ทายาทของคุณก็จะได้รับผลประโยชน์ตามที่กรมธรรม์ได้ระบุไว้ ซึ่งปัจจุบันประกันรูปแบบนี้มีหลากหลายตัวเลือก มีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นก่อนที่จะทำประกันสะสมทรัพย์ต้องศึกษาถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจ ฟังแค่นี้แล้วท่านคงจะรู้ว่าเงินโบนัสของท่านจะทำได้ขนาดนี้ ไปฟังกันต่อเลย

ข้อดีของการนำเงินโบนัสมาซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า การทำประกันสะสมทรัพย์เป็นประกันชีวิตรูปแบบเงินออม ดังนั้นข้อดีของมันจะเหมือนกับการเก็บออมเงิน คือ

  • สร้างวินัยในการออมเงิน เพราะจะต้องส่งค่าเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอตามสัญญา
  • เป็นการวางแผนการเงินในอนาคตรูปแบบหนึ่ง และยังสามารถส่งต่อเป็นมรดกให้กับทายาทได้อีกด้วย (ได้ทั้งการออมเงินและยังได้รับความคุ้มครอง)
  • สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไข

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์มีให้เลือกหลากหลายแบบ สามารถเลือกให้เข้ากับไลฟ์สไตล์และความสามารถในการส่งค่าเบี้ยประกันของคุณได้ และเมื่อท่านได้รับโบนัสเป็นรายปี ก็เข้าทางเลยสามารถเลือกจ่ายเบี้ยแบบรายปีได้เลยง่าย ๆ

ใช้เงินโบนัสซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์อย่างไรให้คุ้มค่า?

ถึงแม้จะเป็นรูปแบบประกันชีวิตที่มีแต่ข้อดีเต็มไปหมด แต่การทำประกันจะต้องวางแผนเรื่องการเงินในระยะยาวของคุณด้วย ต้องทำความเข้าใจกับรูปแบบประกันให้ดีก่อนตัดสินใจ เราจึงได้รวบรวมเทคนิคในการซื้อประกันสะสมทรัพย์มาแนะนำดังนี้

1. ทำความเข้าใจรายละเอียดให้ดี

คุณต้องรู้ก่อนว่ารายละเอียดของประกันสะสมทรัพย์นั้นเป็นอย่างไร แยกระหว่างเรื่องการออมเงินในธนาคารกับประกันสะสมทรัพย์ที่เป็นการลงทุนในระยะยาว เมื่ออยู่ครบสัญญาจะได้ผลกำไรที่คุ้มค่ามากกว่าการหยุดไประหว่างทางมากน้อยแค่ไหน เพราะคุณจะไม่สามารถนำเงินส่วนนั้นออกมาใช้ได้เหมือนกับการออมเงินแบบปกตินั่นเอง

2. เลือกประกันสะสมทรัพย์ที่มีกำลังจ่ายค่าเบี้ย

เป็นข้อที่สำคัญสำหรับการซื้อประกันทุกประเภท คุณจำเป็นอย่างมากที่จะต้องประเมินความสามารถในการส่งค่าเบี้ยประกันให้ดี เพราะไม่เช่นนั้นเงินที่ชำระค่าเบี้ยประกันไปแล้วก็จะเสียเปล่าหากต้องหยุดส่งกลางคัน การเลือกกรมธรรม์ที่ต้องชำระเบี้ยสูงโดยขาดการพิจารณาในเรื่องนี้ อาจจะทำให้คุณเสียประโยชน์มากกว่า

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือประกันชีวิตที่มาในรูปแบบของการออมเงิน แต่มีข้อแตกต่างจากการออมเงินในธนาคารที่จะไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ก่อนครบกำหนดตามสัญญา ผลประโยชน์จะคุ้มค่าต่อเมื่ออยู่ครบตามสัญญาเท่านั้น เป็นประกันชีวิตที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ช่วยสร้างวินัยในการเก็บออม และการวางแผนการเงินในอนาคต ถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันผลประโยชน์ตรงนั้นยังสามารถส่งต่อให้กับทายาทได้อีกด้วย จึงเป็นประกันที่หลายคนตัดสินใจทำได้ง่ายที่สุด

รับเงินโบนัสมาต้องเสียภาษีหรือไม่?

พนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับเงินโบนัสนั้นจะต้องเสียภาษีอากรให้แก่กรมสรรพากรเช่นเดียวกับเงินเดือนที่ได้รับทุกๆเดือน ต้องนำเงินโบนัสที่ตนได้รับมานั้นมาถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทเดียวกับเงินเดือนที่ได้รับซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงินโบนัสที่พนักงาน/ลูกจ้างได้รับในปีภาษีใดให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นตามเกณฑ์เงินสด กล่าวคือหากได้รับเงินโบนั้นปลายปี 25X1 ให้นำไปคิดปีภาษี 25X1 แต่ถ้าหากได้รับเงินโบนัสต้นปี 25X2 ให้นำเงินที่ได้ไปคำนวณภาษีปี 25X2 สรุปคือเมื่อพนักงาน/ลูกจ้างได้รับเงินในปีใดให้นำไปคำนวณภาษีในปีนั้น

เมื่อท่านได้รับโบนัสแล้วถือเป็นรายรับก้อนใหญ่แยกกันจากเงินเดือนสิ่งที่ตามมาคือการที่ท่านจะต้องจ่ายภาษีที่มากขึ้น เราจึงขอแนะนำการลงทุนแบบไม่สูญเปล่านั้นคือ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) ประกันชีวิตที่เน้นเรื่องการออมเงิน โดยจะได้ผลตอบแทนตามอัตราที่กำหนดไว้ซึ่งจะมากกว่าเบี้ยประกันชีวิตที่เราจ่ายไป พร้อมทั้งได้รับความคุ้มครองชีวิตด้วย

สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตทั่วไป : สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทตามจำนวนที่จ่ายจริง หากมีประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ก็จะลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

เงื่อนไข : ต้องเป็นประกันชีวิตโดยบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น และต้องมีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป กรณีที่ประกันมีการจ่ายเงินคืนทุกปี จำนวนเงินต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี หรือหากเป็นการจ่ายเงินคืนตามช่วงเวลา จำนวนเงินต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา แต่ถ้ามีการเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของกรมธรรม์ฉบับนั้นได้อีก พร้อมคืนภาษีย้อนหลังทั้งหมดที่ได้รับการลดหย่อนไป บวกกับดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนของยอดภาษีที่ต้องจ่าย

จะเห็นได้ว่าที่กล่าวมานี้โบนัสของท่านที่ได้รับมาเกิดประโยชน์อย่างมาก เพราะการลงทุนกับการซื้อประกันชีวิต จัดเป็นผลิตภัณฑ์การเงินที่ให้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งได้ความคุ้มครองชีวิต ช่วยรับมือจากความเสี่ยง และยังช่วยให้บริหารเงินโบนัสได้ดียิ่งขึ้นจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ หากใครที่ต้องการความคุ้มค่าจากการทำประกันชีวิต และอยากได้ความอุ่นใจจากบริษัทประกันที่ไว้ใจได้ เราขอแนะนำ ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ แรบบิท แคร์ เราคัดสรรประกันสะสมทรัพย์ที่เหมาะสมมาให้คุณ ณ ที่นี้แล้ว คุณสามารถอ่านรายละเอียดความคุ้มครองแล้วเลือกแผนที่เหมาะสมได้ทันที

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

 แฮปปี้มีเงินใช้แฮปปี้มีเงินใช้

ไทยประกันชีวิต

  • จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครอง 15 ปี
  • ตลอดสัญญา รับเงินคืน 521%
  • 3% เงินคืน ทุก 2 ปี การันตี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท ต่อปี
  • อายุ 1 เดือน ถึง 65 ปี สมัครได้
  • เลือกชำระเบี้ย รายเดือน, 3 เดือน, ปี
  • สมัครได้ทุกอาชีพ อายุ
ทุนทวี พลัส 20/20 ไทยประกันชีวิตทุนทวี พลัส 20/20

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ยเริ่ม 16 บาท/วัน (500 บาท/เดือน)
  • เงินคืนครบสัญญา 174% พร้อมส่วนลดเบี้ย
  • เงินคืน 8% ครบสัญญา 174% ค่ารักษาหลักแสน
  • ลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน - 55 ปี
  • ชดเชย 500 บาท/วัน
  • สมัครง่าย เบี้ยหลักสิบ/วัน คุ้มครอง 20 ปี
ฟอร์ เพนชัน 85/7 เอฟดับบลิวดีฟอร์ เพนชัน 85/7

เอฟดับบลิวดี

  • วางแผนเกษียณ จ่ายเบี้ย 7 ปี รับคุ้มครองยาว
  • รับเงินเพิ่มตามอายุ สูงสุด 24%
  • เสียชีวิต รับเงินก้อน 110%
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 300,000 บาท
  • สมัคร 20-52 ปี เบี้ย 7 ปี
  • สมัครประกันขั้นต่ำ 50,000 บาท
  • รับบำนาญยาวถึง 85 ปี
Gen Senior 55 GeneraliGen Senior 55

Generali

  • เบี้ย 11 บาท/วัน เริ่มต้น
  • คุ้มครองยาวถึง 90 ปี
  • ผลประโยชน์ 350,000 บาท สูงสุด
  • จ่ายรายปี ลดค่าเบี้ย 7%
  • สมัครได้ตั้งแต่อายุ 55-70 ปี
  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สมัครง่าย
  • สบายวัยเกษียณ เงินก้อนส่งต่อให้ลูกหลาน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา