Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันชีวิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

2023_JAN_032_dekstop_par-whole.jpg

ประกันชีวิตแบบมีเงินปันผล เป็นอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้วกรมธรรม์ประกันชีวิต จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. ชนิดมีเงินปันผล
  2. ชนิดไม่มีเงินปันผล

โดยประกันชีวิต แบบมีเงินปันผล (Participating Life Insurance) หรือเรียกแบบย่อว่า Par จะเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ให้ผลประโยชน์ความคุ้มครองชีวิต โดยมีการให้ผลประโยชน์เพิ่มเติมในเรื่องของผลตอบแทนที่จะได้รับจากกรมธรรม์ในรูปแบบเงินปันผลให้กับผู้เอาประกัน เป็นจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน เนื่องจากเงินปันผล ที่บริษัทประกันนำจ่ายให้กับผู้เอาประกัน จะเป็นเงินที่มาจากกำไรส่วนเกินจากการดำเนินการของบริษัทประกัน บริษัทประกันจะจ่ายให้กับผู้เอาประกันในระหว่างสัญญา โดยที่มาของเงินปันผลของบริษัทประกันมาจาก

  • อัตรามรณะของผู้เอาประกันที่เกิดขึ้นจริง น้อยกว่าที่บริษัทคาดการณ์ไว้
  • อัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริง มากกว่าที่บริษัทคาดการณ์ไว้
  • อัตราค่าใช้จ่ายของบริษัทประกันที่เกิดขึ้นจริง น้อยกว่าที่บริษัทคาดการณ์ไว้
  • อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนตามนโยบายของบริษัท (หลังหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ)

และบริษัทประกันจะมีวิธีการจ่ายเงินปันผล ที่ผู้เอาประกันสามารถรับเงินปันผล ได้ดังนี้

  1. ผู้เอาประกันติดต่อบริษัทประกันเพื่อขอรับเงินปันผลเป็นเงินสด
  2. นำเงินปันผล หักชำระเบี้ยประกันภัย โดยผู้เอาประกันให้บริษัทประกันนำเงินปันผลที่จะต้องนำจ่าย ไปใช้ในการจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์นั้นแทน
  3. สะสมเงินปันผลไว้กับบริษัทประกัน โดยผู้เอาประกันเลือกไม่รับเงินปันผลจากบริษัท แต่สะสมไว้กับบริษัท เพื่อรับดอกเบี้ยในอัตราที่บริษัทประกันกำหนด
  4. นำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทประกันมาซื้อทุนประกันชีวิตเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มวงเงินความคุ้มครองของผู้เอาประกัน

แบบประกันชีวิตที่มีเงินปันผลทำงานอย่างไร?

ประกันชีวิตแบบมีเงินปันผล โดยทั่วไปจะมีทั้งแบบประกันชีวิตปกติและแบบประกันสะสมทรัพย์ ซึ่งการทำงานของประกันชีวิตแบบมีเงินปันผล จะมีขั้นตอนดังนี้

  1. เมื่อผู้เอาประกันสมัครทำประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผลกับบริษัทประกันเรียบร้อยแล้ว ค่าเบี้ยที่ผู้เอาประกันจ่ายให้กับบริษัทประกัน หลังหักค่าใช้จ่ายในการประกันภัยแล้วบริษัทประกันจะนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามนโยบายหรือกลยุทธ์การลงทุนสำหรับแบบประกันปันผลของบริษัทประกัน
  2. บริษัทประกันจะมีการประกาศอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการนำค่าเบี้ยหลังหักค่าใช้จ่ายในการประกันภัยไปลงทุนในพอร์ตการลงทุนสำหรับแบบประกันปันผล ให้ผู้เอาประกันผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบมีเงินปันผลรับทราบในทุก ๆ ปี

ซึ่งเงินปันผลที่ผู้เอาประกันจะได้รับในแต่ละปีบริษัทประกันจะมีการคำนวณจากอัตราผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนที่ใช้ประกาศในปีนั้น ๆ หักลบกับต้นทุนของแบบประกัน จากนั้นจึงนำมาจัดสรรให้กับผู้เอาประกันผู้ถือกรมธรรม์ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามแต่ละแผนประกัน

ข้อแตกต่างของเงินคืนและเงินปันผลประกันชีวิต?

เนื่องจากประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผลนั้น หมายความรวมไปถึงประกันชีวิตแบบปกติทั่วไปและประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ดังนั้นนอกเหนือจากแบบประกันที่ให้ผลตอบแทนเรื่องเงินปันผลแล้ว ยังมีผลตอบแทนในรูปแบบของเงินคืนด้วย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสน สงสัยในผู้เอาประกันเกี่ยวกับความแตกต่างกันระหว่างประกันแบบมีเงินคืนและประกันแบบมีเงินปันผล หากซื้อประกันจนครบสัญญาแล้วไม่ได้ผลตอบแทนตามคาด ดังนั้นก่อนการตัดสินใจทำประกัน ผู้เอาประกันจึงจำเป็นต้องรับทราบข้อมูลความแตกต่างกันเบื้องต้นระหว่างประกันแบบมีเงินคืนและประกันแบบมีเงินปันผล ดังต่อไปนี้

เงินคืนตามกรมธรรม์
เงินคืนตามกรมธรรม์ คือ เงินที่ผู้เอาประกันจะได้รับจากบริษัทประกันตามกำหนดสัญญาอย่างแน่นอน เป็นจำนวนเงินที่มีมูลค่าแน่นอนในรูปแบบเปอร์เซ็นต์และได้รับคืนทุกปีตามเงื่อนไขที่กรมธรรม์ระบุ มีการการันตีการรับผลตอบแทนจากบริษัทประกัน โดยที่ผู้เอาประกันสามารถรับรู้จำนวนเงินคืนที่ต้องได้รับล่วงหน้าได้จากเงื่อนไขกรมธรรม์หรือตามแบบประกันที่ซื้อ

เงินปันผล
เงินปันผล คือ เงินที่เกิดจากการที่บริษัทประกันนำเงินไปลงทุนตามนโยบายหรือกลยุทธ์ที่กำหนด ดังนั้นผลตอบแทนที่บริษัทประกันจะจ่ายให้กับผู้เอาประกันจะเป็นจำนวนที่ไม่แน่นอนและไม่มีการการันตี เงินปันผลจากบริษัทประกันจะมาก น้อย หรือไม่นำจ่ายเลย จะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทประกันในปีนั้น ๆ หากบริษัทประกันมีกำไรจากการประกอบการเยอะ ก็นำจ่ายเงินปันผลผู้เอาประกันเยอะ หรือหากน้อยก็อาจจะมีการนำจ่ายเงินปันผลน้อยหรืออาจะไม่นำจ่ายเลยก็เป็นได้

แม้ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตจะมีการจ่ายผลประโยชน์เงินคืนหรือเงินปันผลให้กับผู้เอาประกัน แต่วัตถุประสงค์หลักที่ผู้เอาประกันควรพิจารณาเป็นสำคัญควรเป็นเรื่องของผลประโยชน์ความคุ้มครองด้านชีวิตมากกว่าเพราะผลประโยชน์เงินคืนหรือเงินปันผล ถือเป็นผลพลอยได้ที่จะได้รับมากขึ้นนอกเหนือจากผลประโยชน์ความคุ้มครองด้านชีวิต

ใครบ้างที่ควรมีประกันชีวิตแบบมีเงินปันผล?

สำหรับบุคคลที่เหมาะกับการซื้อประกันชีวิตแบบมีเงินปันผล คือ บุคคลที่มีความต้องการทางเลือกที่ช่วยในการสร้างเงินออมให้เพิ่มมากขึ้นจากการทำประกันชีวิตโดยที่บริษัทประกันการันตีได้ว่าเงินต้นไม่หาย เป็นความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ ชอบความท้าทายเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ยังคงต้องการผลประโยชน์ความคุ้มครองชีวิตไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่

  • หัวหน้าครอบครัวที่มีผู้อยู่ในอุปการะที่ต้องดูแล เช่น พ่อแม่ ภรรยา สามี บุตร ต้องการสร้างหลักประกันชีวิตไปพร้อม ๆ กับโอกาสในการสร้างเงินออมเพิ่มมากขึ้นจากเงินปันผลประกันชีวิต

  • บุคคลที่ต้องการผลประโยชน์ด้านภาษี สามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร

หากต้องการสมัครทำประกันชีวิตแบบมีเงินปันผลกับแรบบิท แคร์ ต้องทำอย่างไร?

ถ้าหากคุณคือคนหนึ่งที่กำลังสนใจหรือกำลังวางแผนซื้อแบบประกันปันผล และต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาตัดสินใจสมัครทำประกัน คุณสามารถเข้ามาดูรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบมีเงินปันผลได้ที่เว็บไซต์ แรบบิท แคร์ โดยสามารถทำตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  1. คลิกเลือกแผนประกันชีวิตแบบมีเงินปันผลที่คุณสนใจ
  2. หากคุณต้องการทราบรายละเอียดของแผนประกันชีวิตแบบมีเงินปันผลจากบริษัทชั้นนำ แผนใด สามารถคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้
  3. เมื่อตัดสินใจเลือกทำประกันแผนใด ให้กดปุ่มปรึกษาฟรีในหน้าแผนประกันนั้น
  4. กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อีเมล เบอร์โทรศัพท์ อายุ จากนั้นส่งข้อมูลดังกล่าวมาที่แรบบิท แคร์
  5. รอรับการติดต่อกลับ จากผู้เชี่ยวชาญด้านแผนประกันปันผลของแรบบิท แคร์
  6. แถลงข้อมูลตามใบคำขอเอาประกัน กรอกข้อมูลผู้รับผลประโยชน์ และชำระค่าเบี้ยประกัน
  7. รับความคุ้มครองด้านประกันเมื่อผ่านการพิจารณาตามเงื่อนไขของบริษัทประกัน กรณีรับเอกสารกรมธรรม์ผ่านการส่งนำส่งจากบริษัทประกัน ผู้เอาประกันต้องเก็บรักษากรมธรรม์ให้ดี หากมีการสูญหายเกิดขึ้นจะต้องเข้าแจ้งความและขอทำใหม่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา