Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

รถโหลดเตี้ย แตกต่างจากโหลดรถสูงอย่างไร ผิดกฎหมายหรือไม่?

ในปัจจุบัน คนไทยหลายคนนิยมซื้อรถไปแล้วเกิดดัดแปลงบางอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การที่รถโหลดเตี้ย และการโหลดรถสูง เป็นอีกหนึ่งวิธีการดัดแปลง สภาพ รถเพราะเปลี่ยนรถทรงเตี้ย ให้กลายเป็นรถทรงสูง หรือรถโหลดเตี้ย ดังนั้นก่อนการตัดสินใจโหลดรถไม่ว่าจะสูงหรือเตี้ย อยากให้ลองอ่านบทความนี้ก่อน แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปรู้จักนิยาม ข้อดี ข้อเสียของรถโหลดเตี้ยว่ามีอะไรบ้าง รวมถึงบอกว่ามันผิดกฎหมายหรือไม่ ไปดูกันเลย!!

รถโหลดเตี้ย คืออะไร?

นิยมของคำว่า รถโหลดเตี้ย คือ การที่ช่วงล่างของรถยนต์ นับตั้งแต่ระยะห่างจากกึ่งกลางไฟหน้าไปจนถึงพื้นถนน ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ในขณะที่รถโหลดสูงหรือรถยกสูง มีระดับจากกึ่งกลางไฟหน้าไปจนถึงพื้นถนน สูงกว่า 135 เซนติเมตร ซึ่งฟังดูแล้วเป็นอะไรที่แตกต่างกันมาก ๆ เลย

รถโหลดเตี้ย มีวิธีการทำอย่างไร?

การดัดแปลง สภาพ รถให้เตี้ยลง หรือ รถโหลดเตี้ย สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้โช๊คอัพแบบสตรัทเกลียวซึ่งปรับความสูงต่ำได้ การตัดสปริง การใช้ชุดโหลดสำเร็จรูป รวมถึงการใช้ล้อและยางขนาดเล็ก

หนึ่งเหตุผลที่ทำไมคนนิยมรถโหลดเตี้ย ก็เพื่อการควบคุมรถยนต์ที่ดีมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถเร่ง เข้าโค้งได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพเพราะเป็นการลดแรงต้านลม ซึ่งลักษณะของรถโหลดเตี้ยก็จะดูมีความสปอร์ตและทันสมัยมากขึ้น

รถโหลดเตี้ย ส่งผลดี ผลเสียอย่างไรกับรถ?

รถโหลดเตี้ยส่งผลต่อระบบช่วงล่างของรถยนต์ ซึ่งรถโหลดเตี้ยไม่ต่างอะไรจากรถโหลดสูง ถือเป็นการดัดแปลง สภาพ รถจากเดิมที่เป็นพื้นฐานมาก่อน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการขับขี่ สมรรถนะของรถยนต์ รวมถึงความปลอดภัยในการขับขี่แตกต่างกันออกไปด้วย

ข้อดีของรถโหลดเตี้ย

  • รถโหลดเตี้ยจะช่วยในเรื่องการประหยัดน้ำมันมากขึ้น เนื่องจากแรงต้านลมลดลง
  • รถโหลดเตี้ยทำให้ศูนย์ถ่วงรถถูกโหลดให้ต่ำลง ทำให้รถมีความเกาะถนนมากขึ้นเมื่อขับขี่ ทำให้มีการเสถียรมากขึ้นเมื่อขับขี่ หากต้องเข้าโค้งด้วยความเร็ว เปลี่ยนเลน หรือแม้กระทั่งการเบรกกะทันหัน ก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้รถคว่ำยาก
  • รูปทรงของรถโหลดเตี้ย หากเป็นคนอื่นมองเข้ามาจะมีความแตกต่างจากรถคันอื่น ๆ ดูมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำใคร มีความสปอร์ตมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ขับขี่สามารถขับได้อย่างสนุกมากขึ้น

ข้อเสียของรถโหลดเตี้ย

  • เมื่อรถโหลดเตี้ย สิ่งที่เกิดขึ้นคือใต้ท้องรถจะเตี้ยผิดปกติ ทำให้มีโอกาสที่จะชนหรือกระแทกของสิ่งของหรือพื้นถนนได้ง่ายกว่ารถทั่วไปหรือรถโหลดสูง บางครั้งอาจไปขูดหรือเสียดสีกับลูกระนาดบริเวณพื้นถนน หรือบางพื้นที่มีถนนขรุขระ และหากเป็นช่วงน้ำท่วมก็จะทำให้น้ำสามารถเข้ามาในรถและเครื่องยนต์ได้ง่ายมากขึ้น
  • เมื่อรถโหลดเตี้ย บางครั้งผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารที่นั่งมาด้วยอาจเกิดอาการบาดเจ็บ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ ตำแหน่งที่จะได้รับแรงกระแทกหรือแรงปะทะ จะอยู่ที่ส่วนของกลางตัวรถ
  • การที่รถโหลดเตี้ยทำให้ผู้ขับขี่สามารถขับรถขึ้นลานจอดรถตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ยากมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นทางลาดชัน
  • หากรถโหลดเตี้ย ชิ้นส่วนอะไหล่ต่าง ๆ ทำงานหนักขึ้น ทำให้พังเร็วกว่าเดิม ผลลัพธ์ที่ตามมาคือคุณต้องเสียค่าซ่อมแซมและค่าบำรุงรักษาอะไหล่ช่วงล่างมากขึ้น

รถโหลดเตี้ย เกาะถนนไหม?

หากรถโหลดเตี้ยจนติดพื้นดินมากเกินไป จริงอยู่ที่อาจจะเกาะถนนได้ดี มีการทรงตัวที่ดี แต่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะรู้สึกนั่งไม่สบายเพราะกระเด้ง หัวเกิดความโยกคลอนไปมา แต่หากได้ช่างที่ชำนาญหรือมีความเก่ง อาจจะดูสวยแต่การทรงตัวและการเกาะถนนไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากโดยธรรมชาติของช่วงล่างรถยนต์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เตี้ยติดพื้นถนนเหมือนกับรถแข่ง

มากไปกว่านั้นรถโหลดเตี้ย จะมีการกระจายของลิ้นหน้าและชายล่างของสปอยเลอร์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีราคาที่สูง หรือบางคนอาจตกแต่งด้วยงานคาร์บอนไฟเบอร์ หากขับไปนาน ๆ อาจจะไปขูดกับพื้นถนน ทำให้หลุดหรือแตกหักได้

รถโหลดเตี้ย ผิดกฎหมายไหม?

อ้างอิงจากสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ระบุเรื่องรถยนต์ที่โหลดเตี้ยไว้ ว่า “รถยนต์ที่โหลดเตี้ยนั้นจะต่ำแค่ไหนก็ได้ โดยยึดหลักจากการวัดระยะ ถึงกลางไฟหน้ากับระดับพื้นถนนโดยที่จุดกึ่งกลางไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าหากต่ำกว่านี้ถือว่าผิดกฎหมาย” ในกรณีที่หากไฟหน้าสูงกว่าแต่มีการใส่สปอยเลอร์จนแทบลากพื้น จะพิจารณาตามกฎของเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพกรมการขนส่งทางบก และผู้วินิจฉัยผล ตรอ. ว่ารถโหลดเตี้ยของคุณเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ หรือมีโอกาสในการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้ใช้รถใช้ถนนท่านอื่นไหม หากเสี่ยงหรือสร้างความเดือดร้อนจะถือว่ามีความผิดทันที

ดัดแปลง สภาพ รถแบบไหนถึงเรียกว่าผิดกฎหมาย?

สำหรับใครที่เป็นสายซิ่ง การดัดแปลง สภาพ รถไม่ว่าจะเป็นภายใน หรือภายนอกรถ เช่นโหลดรถสูง รถโหลดเตี้ย เพิ่มเสียงท่อดัง เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นควรศึกษาและคิดให้ดีก่อนการตัดสินใจ เพราะไม่เพียงแต่ฝ่าฝืนกฎหมายแล้วคุณยังจะต้องเสียเงินในการซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการดัดแปลง สภาพ รถ แรบบิท แคร์ รวมมาให้แล้วว่าเปลี่ยนตรงไหนถึงเรียกว่าผิดกฎหมาย

1. ป้ายทะเบียนรถ

หากคุณนำป้ายทะเบียนรถที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบก มาดัดแปลง เช่น ตัดต่อ อัดกรอบให้ยาวหรือสั้นลง ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนเอกสารของทางราชการ โดยกรณีนี้มีค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท

2. รถโหลดสูงแบบ Big Foot

ในพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถสามารถโหลดหรือยกสูงได้ แต่เมื่อวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนจะต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร หากรถที่ยกสูงมากเพื่อใช้งานในเขตทุรกันดารจำเป็นจะต้องมีหนังสือจากวิศวกรรับรองการดัดแปลง สภาพ รถ และจะต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบก ดังนั้นไม่ว่าจะรถโหลดเตี้ยหรือสูงก็ผิดกฎหมายทั้งนั้น

3. ฝากระโปรงหน้า–หลัง

การเปลี่ยนฝากระโปรงทั้งหน้าและหลัง ถือเป็นการดัดแปลง สภาพ รถ โดยส่วนมากนิยมใช้คาร์บอนไฟเบอร์ เพื่อเพิ่มความสวยงาม ถ้าหากคุณทำสีเหมือนกับสีรถที่เคยจดทะเบียนไว้ จะถือว่าไม่มีความผิด แต่หากเปลี่ยนสีฝากระโปรงรถเป็นสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีรถ แต่ไม่เกิน 50% ของสีหลัก ถือว่าไม่มีความผิดเช่นกัน แต่ในกรณีที่มีการผิดกฎหมาย เป็นเพราะฝากระโปรงหน้าและหลังที่มีการเปลี่ยนไป เกิน 50% ของสี หลัก ในกรณีนี้เจ้าของรถจะต้องแจ้งเปลี่ยนสี แจ้งการดัดแปลง สภาพ รถ กับกรมการขนส่งทางบก หากไม่แจ้งถือว่ามีความผิด และมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

4. ท่อไอเสีย

สำหรับบางคนมีการดัดแปลง สภาพ รถคือการเพิ่มเสียงของท่อไอเสีย ซึ่งก่อให้เกิดความตกใจของผู้ใช้รถใช้ถนนท่านอื่น อีกทั้งเป็นการรบกวนสมาธิ ดังนั้น เมื่อตรวจวัดระดับเสียงของปลายท่อไอเสียแล้วด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล นอกจากนี้ควันของท่อไอเสียจะต้องออกทางท้ายรถเท่านั้น ห้ามออกทางข้างตัวถังรถเด็ดขาด

5. ระบบไฟนอกรถยนต์

หลายคนชอบนำรถมาเปลี่ยนสีของไฟ ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้ว ไฟหน้าต้องมีสีเพียงสองสีเท่านั้น ได้แก่ สีเหลืองอ่อนและสีขาว หากเป็นสีอื่น ๆ เช่น ฟ้า ชมพู จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 โดยจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท อย่างไรก็ตาม สำหรับไฟหยุดเบรก จะต้องเป็นสีแดงเท่านั้น และไฟเลี้ยวจะต้องเป็นสีเหลืองอำพัน และไฟส่องป้ายต้องเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร นอกจากนี้ไฟซีนอนจะต้องไม่ส่องแสงที่แรงเกินไป เพราะจะเป็นการรบกวนทัศนวิสัยของผู้ใช้รถใช้ถนนท่านอื่น

6. โหลดรถกระบะ

สำหรับการโหลดรถกระบะ ส่วนมากเจ้าของรถนิยมปรับแต่ง เช่น การเพิ่มแหนบรองรับน้ำหนัก การต่อเติมส่วนบนของกระบะเพื่อบรรทุกของให้มากขึ้น นอกจากนี้การโหลดรถกระบะยังรวมถึงการต่อเติมหลังคา เป็นต้น โดยการโหลดรถกระบะจำเป็นต้องแจ้งให้กับทางกรมการขนส่งทางบก และจะต้องมีใบรับรองจากวิศวกร ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้ในการโหลดรถกระบะจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จการติดตั้งด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับการโหลดรถกระบะเพื่อให้เป็นรถโรงเรียน รถรับจ้าง หรือแม้กระทั่งรถสองแถว ก็จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย โดยจุดประสงค์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุรถชน และป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารหรือนักเรียนตกออกจากรถ และผู้ขับขี่จำเป็นต้องได้รับการอบรมและมีใบขับขี่สาธารณะด้วย

แจ้งดัดแปลงสภาพรถ มีขั้นตอนอย่างไร?

สำหรับการดัดแปลง สภาพ รถ ไม่ว่าจะรถโหลดเตี้ย โหลดสูง โหลดรถกระบะ หรือแม้แต่การปรับเปลี่ยนสภาพรถตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ล้วนแล้วแต่จำเป็นที่จะต้องแจ้งดัดแปลงสภาพรถ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

กรณีแจ้งขออนุญาตก่อนแก้ไขดัดแปลงสภาพรถ

ในกรณีนี้จำเป็นต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบก เนื่องจากเป็นการดัดแปลงที่กระทบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น ปรับแปลงโครงแชสซีส์ ตัวถัง ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกันสะเทือน และช่วงล้อ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ยื่นคำขอ พร้อมแนบเอกสาร
  • ตรวจสอบเอกสาร รวมถึงการถ่ายภาพรถ และการคัดลอกเลขตัวถังเก็บไว้เป็นหลักฐาน
  • หากไม่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของรถยนต์ ให้ยื่นขออนุญาตใช้รถ โดยจะมีการตรวจสอบเอกสารและตรวจสภาพรถอีกครั้ง เพื่อยื่นขอแก้ไขรายละเอียดในการจดทะเบียน (ลงเล่ม) ในส่วนของงานทะเบียนต่อไป

กรณีแจ้งขออนุญาตหลังแก้ไขดัดแปลงสภาพรถ

  • ยื่นคำขอ พร้อมแนบเอกสาร
  • ตรวจสอบเอกสาร / ตรวจสภาพรถ
  • หากผ่านการตรวจสอบทั้งเอกสาร และตรวจสภาพรถ จะทำการบันทึกข้อมูลการตรวจสภาพรถ เพื่อยื่นขอแก้ไขรายละเอียดในการจดทะเบียน (ลงเล่ม) ในส่วนของงานทะเบียนต่อไป
  • หากไม่ผ่านการตรวจสอบจะมีการแจ้งข้อบกพร่องและคืนเรื่อง

ไม่ว่าคุณจะดัดแปลง สภาพ รถอย่างไร ไม่ว่าจะรถโหลดเตี้ย รถสูง โหลดรถกระบะก็ตาม ต้องอยู่ภายใต้พื้นฐานความปลอดภัยเป็นหลัก ส่วนเรื่องความสวยงามหรือความนิยมชมชอบให้เป็นเรื่องรอง และควรตระหนักไว้เสมอว่าอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะขับรถเก่งขนาดไหน ดังนั้น การซื้อประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ ก็จะเป็นหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้คุณอุ่นใจตลอดการเดินทาง เพราะเรามีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดเหตุวันและเวลาไหนก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา หากสนใจโทรเลย 1438

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา