Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Cash Conversion Cycle_MOBILE.png
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Sep 12, 2023

Cash Conversion Cycle วงจรเงินสด รู้จักก่อนเริ่มต้นธุรกิจของคุณ

หากจะตั้งบริษัท ตั้งกิจการของตนเองซักอย่างขึ้นมา ควรจะรู้อะไรบ้าง ? แน่นอนว่าอย่างแรก ๆ เลยคือต้องรู้จักผลิตภัณฑ์ บริการ หรือแผนการตลาดของตนเอง แต่สิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนชอบมองข้าม หรือไม่รู้จักเอาซะดื้อ ๆ คือ Cash Conversion Cycle หรือวงจรเงินสด สำหรับธุรกิจทุกรูปแบบโดยเฉพาะ SME ที่อยากดำเนินกิจการอย่างยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ

Cash Conversion Cycle คือ ?

Cash Conversion Cycle หรือตัวย่อ CCC คือวงจรเงินสด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่แสดงเวลาที่บริษัทใช้ในการแปลงการลงทุนในสินค้าคงคลังและทรัพยากรอื่น ๆ เป็นกระแสเงินสดจากการขาย นอกจากนี้ยังเรียกว่าวงจรปฏิบัติการสุทธิหรือเพียงวงจรเงินสด โดยมีเป้าหมายในการวัดเวลาที่เงินทุนของบริษัททุกดอลลาร์เข้าไปในกระบวนการผลิตและการขายก่อนที่จะแปลงเป็นเงินสดที่ได้รับ

Cash Conversion Cycle มีไว้เพื่ออะไร ?

หน้าที่หลักของ Cash Conversion Cycle คือใช้เพื่อคำนวณว่าเราจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ นับตั้งแต่ลงทุน สร้างผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ไปจนถึงขั้นตอนการขาย จนถึงขั้นตอนการคืนหนี้ Supplier ต่าง ๆ โดยยิ่ง Cash Conversion Cycle สั้น ก็จะหมายความว่าธุรกิจของคุณมีวงจรการผลิต และการซื้อขายที่สั้น สินค้าหรือบริการซื้อง่ายขายคล่อง (High Liquidity) ง่ายต่อการจัดการคลังสินค้า แต่หาก Cash Conversion Cycle ยาวนาน แสดงว่าสินค้าอาจต้องใช้เวลาในการขาย หรือเราอาจจ่ายคือเจ้าหนี้เร็วเกินไปก็เป็นได้

Cash Conversion Cycle สูตร และวิธีการคำนวณ


Cash Conversion Cycle = ระยะเวลาทำงาน (DIO) + ระยะเวลาเก็บเงินลูกหนี้ (DSO)- ระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินลูกหนี้ (DPO)

ระยะเวลาทำงาน (Days Inventory Outstanding หรือ DIO) - เป็นระยะเวลาที่สินค้าอยู่ในคลังสินค้าหรืออยู่ระหว่างกระบวนการผลิต ซึ่งบ่งบอกถึงเวลาที่บริษัทใช้ในการแปลงสินค้าเป็นเงินสด ระยะเวลาที่สั้นแสดงถึงความมีประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าของบริษัท
ระยะเวลาเก็บเงินลูกหนี้ (Days Sales Outstanding หรือ DSO) - เป็นระยะเวลาที่ใช้ในการเรียกเก็บเงินจากลูกค้าหลังจากที่มีการขายสินค้าหรือบริการ ระยะเวลาที่สั้นแสดงถึงการเก็บเงินที่รวดเร็วและมีความสามารถในการสร้างรายได้
ระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินลูกหนี้ (Days Payable Outstanding หรือ DPO) - เป็นตัวชี้วัดทางการเงินที่บ่งบอกถึงระยะเวลาที่บริษัทใช้ในการชำระเงินต่อผู้ขายหลังจากที่ได้รับสินค้าหรือบริการจากผู้ขายนั้น ๆ ในอีกนัยหนึ่งก็คือเวลาที่บริษัทอนุมัติให้จ่ายเงินแก่ผู้ขายตามสัญญาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้

ตัวอย่างการคำนวณ Cash Conversion Cycle


สมมุติ บริษัทคอมพิวเตอร์ Amazing IT

  • เริ่มสั่งชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์จาก Supplier โดยมี Credit Term ที่จะต้องคืนเงินประมาณ 45 วัน
  • ใช้ระยะเวลาในการขายของที่ผลิตออกมาในรอบการผลิต 1 รอบประมาณ 60 วัน
  • ใช้เวลาประมาณ 30 วัน ลูกค้าจึงจ่ายเงินคืนมาทั้งหมด

คำนวณออกมาตามสูตร
Cash Conversion Cycle = ระยะเวลาทำงาน (DIO) + ระยะเวลาเก็บเงินลูกหนี้ (DSO)- ระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินลูกหนี้
Cash Conversion Cycle = 60+30-45 = 45

ระยะเวลาในการผลิตสินค้า ไปจนถึงได้รับเงินจากลูกค้า เพื่อที่จะมาคืนเจ้าหนี้คือ 45 ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง โดยหากต้องการลดให้ Cash Conversion Cycle น้อยลง เพื่อเพิ่ม Liquidity ให้ธุรกิจของคุณ ก็สามารถไปลงระยะเวลาการผลิต และเร่งให้ได้เงินจากลูกค้าเร็วขึ้น

เช่นหากเปลี่ยน ระยะเวลาทำงาน เป็น 50 และ ระยะเวลาเก็บเงินลูกหนี้เป็น 20

Cash Conversion Cycle = 50+20-45 = 25

Cash Conversion Cycle ก็จะลดน้อยลง เพื่อทำให้ Cash Flow ของบริษัทดีขึ้น และมีความคล่องตัวทางการเนงินเพื่อที่จะนำเงินไปพัฒนาธุรกิจได้ต่อเนื่องมากขึ้น

ค่า Cash Conversion Cycle ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจของคุณ คือเท่าไหร่ ?

ควรจะมีค่า Cash Conversion Cycle ที่เหมาะสม ไม่มาก หรือน้อยจนเกินไป อยู่ในช่วงประมาณ 1-10 หรือเป็นตัวเลขติดลบ ก็จะถือว่าดี แต่ก็แล้วแต่ธุรกิจของคุณด้วย หากคุณเป็นธุรกิจขายของชิ้นใหญ่ ราคาแพง เช่นเครื่องจักรโรงงานต่าง ๆ อาจใช้เวลาผลิตที่ยาวนาน และจ่ายเป็นลักษณะหลายงวดกว่าจะชำระหมด จึงทำให้ Cash Conversion Cycle เยอะ ฉะนั้นจึงยากมากที่จะสรูปว่าค่า CCC ที่เหมาะสมควรจะอยู่ในช่วงไหน

แต่หาก Cash Conversion Cycle มีค่าที่ไม่สมดุลอย่างเห็นได้ชัด ก็ควรจะแก้ไข เช่นค่า CCC ต่ำเกินไป ติดลบมากไป อาจหมายความว่าสินค้าขายออกเร็วเกินไปจนผลิตไม่ทัน ไปจนถึงค่าที่เป็นบวกสูงจนเกินไป จะสะท้อนให้เห็นว่าเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจของคุณถูกผูกไว้กี่วันในขณะที่คุณกำลังรอการชำระบัญชีลูกหนี้ของคุณ คุณอาจมี CCC สูงหากคุณขายสินค้าด้วยเครดิตและมีลูกค้าที่มักใช้เวลา 30, 60 หรือ 90 วันในการจ่ายเงินให้คุณ

หาก Cash Conversion Cycle เยอะ เจ้าของธุรกิจจะต้องทำอย่างไร ?


ต้องเผื่อเงินสดสำรองสำหรับธุรกิจให้เพียงพอ


ในกรณีที่ตัวเลข Cash conversion cycle ของกิจการคุณนั้นสูงด้วยธรรมชาติของธุรกิจ และไม่อาจจะปรับเปลี่ยนได้มากขนาดนั้น เจ้าของกิจการจำเป็นต้องเตรียมเงินสดสำรอง เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ถ้าหากเป็นจำนวนเงินที่สูงหรือมีระยะเวลาที่นานอาจจะมองหาแหล่งเงินทุนสำรอง อย่างสินเชื่อเพื่อธุรกิจ หรือ สินเชื่อ Overdraft

ลดระยะเวลาจ่ายคืนหนี้ที่ให้กับลูกค้า


หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการลด Cash Conversion Cycle ได้อย่างง่ายที่สุดคือการลดระยะเวลาคืนหนี้ หรือลดระยะเวลา Credit term ที่ให้กับลูกค้า เช่นจาก 10 วันเป็นจ่ายเงินภายใน 3 วันหลังรับสินค้า ถ้าหากว่าธุรกิจของคุณนั้นมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีและสามารถเจรจาต่อรองเรื่อง Credit term กับคู่ค้าได้ วิธีนี้ก็จะสามารถช่วยร่นระยะเวลาของ Cash conversion cycle ให้อยู่ในขอบเขตได้

เพิ่ม Credit Term จาก Supplier


การขอเพิ่ม Credit Term จาก Supplier สามารถทำได้ทั้ง เจรจาโดยการเปลี่ยนจาก ที่เคยต้องชำระเงินล่วงหน้าในการสั่งซื้อวัตถุดิบ เป็นขอยืดระยะเวลาในการจ่ายเงินเป็น 30 วันหลังจากรับของ หรือ อาจจะขอยืดระยะเวลาในการจ่ายเงินจากเดิม 30 เป็น 45 หรืออีกหนึ่งวิธีในการเจรจาก็คือจ่ายมัดจำเพียงครึ่งหนึ่งของราคาสินค้า วิธีนี้ก็สามารถช่วยให้สภาพคล่องทางการเงินของคุณนั้นดีขึ้นได้เช่นกัน

เร่งการผลิตของโรงงานให้เร็วขึ้น


แน่นอนว่าการพัฒนากระบวนการผลิตนั้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจทั้งหลายต้องดูแลและควบคุมการดำเนินการอย่างใกล้ชิด และถ้าหากว่าระยะเวลาในการดำเนินการนั้นนานเกินไปจนทำให้เกิดอุปสรรคในด้านของการบริหารจัดการการเงินอยู่บ่อยครั้ง การพัฒนาการผลิตหรือเร่งให้ระยะเวลาในการผลิตนั้นสามารถจบได้เร็วขึ้นโดนมีคุณภาพของสินค้าหรือบริหารที่คงเดิมได้ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินให้กับคุณได้เช่นกัน

ขอระยะเวลา Credit Term กับเจ้าหนี้


ในกรณีของ โรงงาน P อาจจะติดต่อกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อขอยืดระยะเวลาการจ่ายเงิน สำหรับกิจการที่มีการกู้เงินมาจากแหล่งสินเชื่อต่างๆและมีกำหนดระยะเวลาในการคืนเงินที่ชัดเจน วิธีนี้อาจจะเป็นวิธีที่สามารถทำได้ยาก มีหลายขั้นตอน หรืออาจจะต้องมีต้นทุนในการดำเนินการเพิ่มเติม แต่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจของคุณในครั้งนี้สามารถดำเนินต่อไปได้

ความสัมพันธุ์ระหว่าง Cash Conversion Cycle และการบริหารการเงินของบริษัท

เมื่อบริษัทหรือผู้บริหารของบริษัทใช้เวลานานในการเรียกเก็บบัญชีลูกหนี้ค้างชำระ มีสินค้าคงคลังมากเกินไป หรือจ่ายค่าใช้จ่ายเร็วเกินไป จะทำให้ระยะเวลา Cash Conversion Cycle ยาวขึ้น (ค่าเป็นบวก และมีจำนวนที่เยอะ) ระยะเวลาในการสร้างเงินสดจะนานขึ้นซึ่งอาจหมายถึงการล้มละลายสำหรับบริษัทขนาดเล็ก

เมื่อบริษัทเรียกเก็บเงินค้างชำระได้เร็วถูกต้อง ทำการคาดการณ์ความต้องการสินค้าคงคลังได้อย่างถูกต้อง หรือจ่ายเงินค่าใช้จ่ายช้า จะทำให้ระยะเวลา Cash Conversion Cycle (ค่าน้อย หรือเป็นลบ) สั้นลง บริษัทจะมีสภาพการเงินที่แข็งแรงมากขึ้น จะสามารถใช้เงินเพิ่มเติมในการซื้อสินค้าเพิ่มเติมหรือชำระหนี้ค้างอยู่ได้

เมื่อผู้จัดการต้องจ่ายเงินให้กับซัพพลายเออร์โดยรวดเร็ว จะเรียกว่าการใช้สภาพคล่องลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับบริษัท ในกรณีที่ผู้จัดการไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้อย่างรวดเร็วเพียงพอ จะเรียกว่าการลากสภาพคล่องลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีเช่นกันสำหรับบริษัท


จะเห็นว่า Cash Conversion Cycle มีผลโดยตรงกับสภาพคล่องของการเงินในบริษัท ซึ่งสำหรับบริษัทขนาดเล็ก ไปจนถึงกลางที่เพิ่งก่อร่างสร้างตัว การจัดการ Cash Conversion Cycle หรือ Cash Flow ก็อาจเป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ แต่ก็อย่าเพิ่งถอดใจไป แรบบิท แคร์ ขอเป็นแรงผลักดันให้กับธุรกิจทุกรูปแบบด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล ของ่าย วงเงินเยอะ สามารถนำเงินมาหมุน ต่อยอดธุรกิจของคุณง่าย ๆ คลิกอ่านรายละเอียดเลย

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

สินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรีสินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรี

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 12.99% ปี, อาชีพพิเศษ 5 ปี+
  • ดอกเบี้ย 15.99% ปี, เจ้าของธุรกิจพิเศษ
  • ผ่อน 60 เดือน แสนละ 2,2XX บาท
  • วงเงิน 2 ล้าน หรือ 5 เท่าของรายได้
  • สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองจากบริษัทปัจจุบัน
  • รายได้พนักงาน 20,000 บาท, เจ้าของกิจการ 200,000 บาท
สินเชื่อส่วนบุคคล ทีทีบี แคชทูโกทีทีบี แคชทูโก

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยเริ่ม 17%/ปี, ใช้ Direct Debit 14%/ปี
  • สูงสุด 2 ล้านบาท หรือ 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 72 เดือน ไม่ต้องค้ำประกัน
  • รวมหนี้ 4 รายการ ดอกเบี้ยต่ำ
  • พนักงาน/ข้าราชการ เงินเดือน 20,000 บาท ทำงาน 4 เดือน
  • ธุรกิจส่วนตัว รายได้ 30,000 บาท ดำเนิน 2 ปี
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • วงเงินหลักล้าน
  • อนุมัติไวใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ย 2.08% ต่อเดือน
  • วงเงินหมุนเวียน ผ่อนเริ่มต้น 200 บาท/เดือน
  • เงินก้อนเดียว ผ่อนสบายนานถึง 60 เดือน
  • ไม่มีหลักทรัพย์และไม่ต้องค้ำ
สินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสพรอมิส

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท อนุมัติสูงสุด 1.5 เท่า
  • อนุมัติสูงสุด 5 เท่าของรายได้
  • อัตราดอกเบี้ย 15-25% ต่อปี, ค่าธรรมเนียม 0-10%
  • อนุมัติใน 1 ชั่วโมง* ถ้าครบเอกสาร
  • รายได้เริ่มต้น 8,000 บาท ก็สมัครได้
  • ชำระขั้นต่ำ 3% ของยอดคงเหลือ หรือ 300 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา