Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Oct 16, 2023

Credit Rating Agency (CRA) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อนักลงทุน

การที่นักลงทุนจะตัดสินใจในการลงทุนในตราสารหนี้ซักอย่าง ก็จะต้องศึกษาข้อมูล รวมไปถึงตรวจสอบความเสี่ยงต่างๆ รวมไปจนถึงคุณภาพ และความน่าเชื่อถือขององค์กรที่ออกตราสารหนี้นั้นๆ ว่าน่าเชื่อถือเพียงพอที่จะให้เราวางเงินลงทุนกับองค์กรนี้หรือไม่ โดยนักลงทุนสามารถศึกษาอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ เพื่อพิจารณาว่าเราควรจะลงทุนกับองค์กรนี้หรือไม่ และสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน กับ Credit Rating Agency (CRA) หรือ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ บทความในวันนี้จะมาอธิบายเรื่อง Credit Rating Agency (CRA) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อนักลงทุน

Credit Rating Agency (CRA) คืออะไร

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือ Credit Rating Agency (CRA) คือหน่วยงานที่จะจัดอันดับคุณภาพ และความเสี่ยงของตราสารหนี้ขององค์กร และบริษัทต่างๆ โดยจะทำการพิจารณาถึงระดับความสามารถขององค์กร และบริษัท ที่เป็นผู้ออกตราสารหนี้ในเรื่องของการชำระเงินคืน ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย ว่าสามารถดำเนินการชำระเงินคืนได้ตามกำหนดการ และตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ได้หรือไม่ และเงื่อนไขอื่นๆ โดย Credit Rating Agency (CRA) จะทำการประกาศผลจัดอันดับขององค์กรและบริษัทต่างๆ ให้บุคคลทั่วไป หรือนักลงทุนได้ทราบ ในการนำข้อมูลตรงนี้ไปใช้ในการตัดสินใจในการลงทุน โดยอันดับความน่าเชื่อถือของ Credit Rating Agency (CRA) จะถูกจัดอันดับด้วยสัญลักษณ์ตัวอักษรเช่น AAA คืออันดับสูงสุด และ D คืออันดับต่ำสุด

Credit Rating Agency (CRA) ทำหน้าที่ให้บริการจัดอันดับคุณภาพและความเสี่ยงของตราสารหนี้ ของบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ จะพิจารณาถึงระดับความสามารถของบริษัทผู้ออกตราสารที่จะชำระคืนเงินต้นและ ชำระดอกเบี้ยได้ตามเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ และมีการประกาศผลการจัดอันดับให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนหรือ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เป็นต้น

Credit Rating Agency (CRA) ในประเทศไทย

ในประเทศไทยมี Credit Rating Agency (CRA) อยู่ทั้งหมด 2 แห่งด้วยกัน ซึ่งก็คือ บริษัท Tris Rating TH (ทริสเรทติ้ง จำกัด) และ บริษัท Fitch Ratings (Thailand) หรือ ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งการที่จะจัดตั้ง Credit Rating Agency (CRA) ขึ้นมาได้จะต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ด้วยเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • บริษัทจะต้องไม่เป็นบริษัทเกี่ยวกับเงินทุน หรือหลักทรัพย์
  • มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่าที่ทาง คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด
  • เข้ารับอบรม หรือได้รับการถ่ายทอดวิชาในเรื่องของการจัดอันดับจากสถาบัน Credit Rating Agency (CRA) ของต่างประเทศ

เกณฑ์การจัดอันดับของ Credit Rating Agency (CRA)

การพิจารณาอันดับของ Credit Rating Agency (CRA) เพื่อที่จะได้รู้ว่าองค์กร หรือบริษัทนี้อยู่ที่ระดับเท่าไหร่ จะพิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • ผลกำไร และขาดทุนของกิจการ รวมไปถึงในเรื่องของโครงสร้างในการบริหารงาน และการจัดสรรงบประมาณภายในองค์กร
  • ความสามารถในการชำระคืนหนี้ ว่าตรงกำหนดการและเงื่อนไขหรือไม่
  • ฐานะทางการเงินโดยรวมขององค์กร และการหมุนเวียนของกระแสเงินสด เงินทุนสำรอง ต่างๆ
  • ขนาดของเงินทุนจดทะเบียน, สินทรัพย์โดยรวมขององค์กร รวมไปถึงการจ้างแรงงาน
  • ปัจจัยความเสี่ยงจากภายนอก เช่นสภาวะทางเศรษฐกิจโดยภาพรวม หรือสถานการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง เป็นต้น

อันดับของ Credit Rating Agency (CRA)

สำหรับการจัดอันดับของ Credit Rating Agency (CRA) จะมีตั้งแต่ระดับ D ไปจนถึง AAA จะแบ่งเป็น 2 จำพวกใหญ่ๆ ดังนี้

  • Investment Grade (กลุ่มระดับลงทุน) โดยจะเป็นองค์กร หรือบริษัท ที่ได้คะแนนตั้งแต่อันดับ BBB- ไปจนถึงอันดับ AAA ถือว่าเป็นองค์กร หรือบริษัทที่มั่นคง มีผลประกอบการที่ดี จัดอยู่ในอันดับที่น่าลงทุน เนื่องจากความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ต่ำ แต่นั่นก็หมายถึงว่าผลตอบแทนอาจไม่สูงมาก
  • Non-Investment Grade (กลุ่มอันดับต่ำกว่าระดับลงทุน) โดยจะเป็นองค์กร หรือบริษัท ที่ได้คะแนนตั้งแต่อันดับ D ไปจนถึงอันดับ BB+ เป็นตราสารหนี้ที่มีคุณภาพกลาง ถึงคุณภาพต่ำ เนื่องจากความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ค่อนข้างสูง แต่ก็แลกมากับผลตอบแทนที่สูงกว่าเช่นกัน

สำหรับมือใหม่ที่กำลังจะเริ่มลงทุน หรือนักลงทุนอาชีพที่ลงทุนกันอยู่เป็นประจำ ก็สามารถเข้าไปดู Credit Rating Agency (CRA) ทั้งของประเทศไทยเอง หรือของต่างประเทศก็สามารถเช็คได้ เพื่อตรวจสอบอันดับความน่าลงทุนของตราสารหนี้ต่างๆ หรืออัปเดตข้อมูลอันดับให้เป็นปัจจุบัน และนำข้อมูลตรงนี้ไปตัดสินใจในการลงทุน ทั้งนี้การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษา และพิจารณาข้อมูลต่างๆ รอบด้านก่อนการตัดสินใจลงทุนจริง

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

UOB Xpress สินเชื่อส่วนบุคคลUOB Xpress

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 9.99% ต่อปี ตลอดสัญญา
  • วงเงิน 2,000,000 บาท
  • รวมหนี้ บัตรเครดิต ผ่อน 60 เดือน
  • รายได้ 25,000 บาท อายุงาน 4 เดือนขึ้นไป
  • เจ้าของกิจการ 25,000 บาท อายุ 3 ปี
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ผ่อนถึง 60 ปี
สินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรีสินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรี

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 14.99% ปี, 6-12 เดือน พนักงาน 5 ปี+
  • ดอกเบี้ย 17.99% ปี, 6-12 เดือน เจ้าของธุรกิจ 10 ปี+
  • ผ่อน 60 เดือน แสนละ 2,2XX บาท/เดือน
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท, 5 เท่าของรายได้
  • สลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองบริษัท
  • รายได้พนักงาน 20,000 บาท, เจ้าของธุรกิจ 200,000 บาท
สินเชื่อส่วนบุคคล ทีทีบี แคชทูโกทีทีบี แคชทูโก

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 17%/ปี, ttb all free + Direct Debit 14%/ปี
  • สูงสุด 2 ล้าน หรือ 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 72 เดือน ไม่มีคนค้ำ
  • รวบหนี้รวม 4 รายการ ดอกเบี้ยลด
  • พนักงาน/ข้าราชการ เงินเดือน 20,000 บาท
  • ธุรกิจส่วนตัว รายได้ 30,000 บาท ดำเนิน 2 ปี
สินเชื่อส่วนบุคคลไทยเครดิตไทยเครดิต

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยเริ่มต้น 9.99% ต่อปี
  • อนุมัติสูงสุด 2 ล้านบาท
  • จ่ายคืนขั้นต่ำ 3% หรือ 500 บาท
  • อายุ 20-60 ปี ชาติไทย
  • รวบหนี้บัตรเครดิตและเงินสด
  • ไม่ต้องค้ำประกัน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา