Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

รถยนต์ไฮบริดกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบไหนประหยัดพลังงานกว่ากัน

ในยุคปัจจุบันที่ราคาน้ำมันขยับขึ้นเรื่อย ๆ รถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ที่ต้องการยานพาหนะประหยัดพลังงาน แต่ระหว่างรถ 2 ประเภทนี้ รถยนต์แบบไหนช่วยประหยัดพลังงานเซฟค่าใช้จ่าให้ได้มากกว่ากัน? นอกจากนั้นรถทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร? แรบบิท แคร์ จะพาคุณมาไขทุกข้อข้องใจกัน!

รถยนต์ไฮบริดคืออะไร?

รถยนต์ไฮบริด คือ รถยนต์ที่ประกอบด้วยเครื่องยนต์เหมือนกับรถปกติที่มีการสันดาปภายในใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง เสริมด้วยกับมอเตอร์ไฟฟ้าที่ช่วยขับเคลื่อนและสนับสนุนการเบรกแบบผันกลับ (Regenerative Braking) หรือก็คือสามารถเก็บสำรองพลังงานในรูปแบบพลังงานไฟฟ้าได้ และสามารถสลับใช้แหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนได้ ซึ่งเหมาะกับการขับรถบนท้องถนนเมืองไทยที่รถติดบ่อยเป็นอย่างมาก รถยนต์ไฮบริดจะปรับให้ใช้น้ำมันเป็นพลังงานเมื่อเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง แต่ถ้าหากเราใช้ความเร็วต่ำในช่วงเวลาที่การจราจรเริ่มติดขัด ก็จะปรับเป็นระบบไฟฟ้าดึงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้แทนทันที ช่วยให้ประหยัดน้ำมันมากกว่ารถที่ใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียวและต้องสิ้นเปลืองพลังงานไปกับการเดี๋ยววิ่งเดี๋ยวจอดบนถนนบ้านเรา


เครื่องยนต์ไฮบริดทำงานอย่างไร?


ระบบไฮบริดในรถยนต์ไฮบริดจะใช้งานเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าประสานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เชื้อเพลิงให้คุ้มค่าที่สุด โดยจะแบ่งสถานะการทำงานได้เป็น 6 ช่วง ดังนี้

  1. สถานะขณะเริ่มต้นขับเคลื่อน ระบบไฮบริดจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น เนื่องจากมีแรงบิดต่ำทำให้ออกตัวได้นุ่มนวลกว่า
  2. สถานะขณะขับขี่ด้วยความเร็วต่ำ ระบบจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวเช่นกัน เพราะสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 100% เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ธรรมดาที่ไม่สามารถใช้พลังงานได้ดีในความเร็วต่ำทำให้ยิ่งสิ้นเปลืองน้ำมัน
  3. สถานะขณะขับขี่ด้วยความเร็วปกติ หากใช้ความเร็วที่ประมาณ 60 – 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถจะปรับมาใช้พลังงานจากเครื่องยนต์สันดาปปกติ เพราะพลังานที่ถูกผลิตจากน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกนำไปใช้ขับเคลื่อนล้อทั้งสี่ได้โดยตรง และเมื่อเครื่องยนต์ผลิตพลังงานออกมามากเกินความจำเป็น พลังงานส่วนเกินจะถูกแปลงไปเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อช่วยเสริมการทำงานของเครื่องยนต์อีกที
  4. สถานะขณะเร่งเครื่องยนต์ เมื่อมีการเหยียบคันเร่งจนเครื่องยนต์เร่งเต็มกำลัง หรือ เร่งความเร็วแบบกะทันหัน เช่น ในขณะขับขี่ทางลาดชันหรือจังหวะที่ต้องเร่ง แซงมอเตอร์ไฟฟ้าจะดึงพลังงานเพิ่มจากแบตเตอรี่มาช่วยให้เครื่องยนต์มีกำลังสูงสุดและสามารถเร่งความเร็วได้ตามความต้องการ
  5. สถานะขณะเบรก หรือ ลดความเร็ว มอเตอร์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนไปทำหน้าที่เป็นไดนาโมและแปลงพลังงานจลที่เกิดขึ้นจากการเบรกรวมถึงพลังงานความร้อนจากแรงเสียดทานเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยจะถูกแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่เมื่อรถลดความเร็วลง
  6. สถานะขณะหยุดนิ่ง เมื่อรถหยุดอยู่กับที่ในขณะที่ยังติดเครื่องอยู่ ในช่วงที่รถติดหรือจอดรอ เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าจะหยุดทำงานอัตโนมัติ จึงไม่สูญเสียพลังงานใดๆ เลยทั้งไฟฟ้าและน้ำมันมอเตอร์ไฟฟ้า และลดการปล่อยควันพิษอีกด้วย


ระบบไฮบริดมีกี่ประเภท?


ระบบการไฮบริดจะแตกต่างกันไปตามการออกแบบของรถยนต์ไฮบริดแต่ละยี่ห้อเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละชนิด เช่น เครื่องยนต์ขนาดเล็กจะใช้มอเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อช่วยให้ออกตัวกะทันหันได้นุ่มนวลขึ้น และไม่สิ้นเปลืองน้ำมันในเครื่องยนต์เกินไป โดยระบบไฮบริดในปัจจุบันจะแบ่งหลัก ๆ ได้ 3 แบบ ดังนี้


1.Mild Hybrid เป็นระบบที่มีชิ้นส่วนไม่ซับซ้อน ติดตั้งง่ายง่าย ซ่อมแซมง่าย ราคาถูก มีสัดส่วนกำลังขับของเครื่องยนต์ไม่เกิน 40% ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าพละกำลังไม่เกิน 20 แรงม้า และแบตเตอร์รี่ขนาดไม่เกิน 20 กิโลวัตต์ ทำงานโดยนำมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ในจังหวะที่ใช้คันเร่งมาก ช่วยเสริมสมรรถะในการขับขี่และประหยัดกว่าการใช้เครื่องยนต์ปกติถึง 15% รวมผู้ใช้ไม่ต้องปรับพฤติกรรมในการขับขี่จากรถยนต์ปกติมาก เพียงแต่มอเตอร์ไฟฟ้าจะไม่สามารถขับเคลื่อนรถด้วยระบบไฟฟ้าล้วนได้ เป็นเพียงมอเตอร์เสริมแรงเครื่องยนต์เท่านั้น


2.Full Hybrid เป็นระบบไฮบริดฉบับเต็มที่สามารถมีกำลังขับทางไฟฟ้าได้ถึง 100% มีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ สามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากกว่าร้อยละ 25 ขึ้นไป ปัจจุบันระบบนี้จะเปลี่ยนวิธีการทำงานจากไฮบริดดั้งเดิม ไปสู่ Atkinson Cycle ที่เครื่องยนต์จะมีกำลังแรงม้าน้อยลง เพื่อนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อทำงานในการใช้ความเร็วสูงขึ้น ส่วนในความเร็วต่ำจะใช้การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าทดแทน และอาจจะมีการใช้วัสดุน้ำหนักเบาร่วมด้วยเพื่อลดความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจากน้ำหนักอีกต่อหนึ่ง แต่ระบบนี้จะมีราคาสูง นอกจากนี้วิธีการติดตั้งระบบ Full Hybrid ก็จะแบ่งได้อีกเป็น 2 แบบ คือ


  • Parallel Hybrid หรือระบบไฮบริดคู่ขนาน ที่ทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าจะขับเคลื่อนคู่ขนานกันไปพร้อมกับการหมุนล้อ โดยจะติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า ตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป เพื่อสั่งให้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานคู่ขนานไปกับเครื่องยนต์หรือทำงานแยกอิสระก็ได้ โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่ให้กำลังขับเคลื่อนโดยตรงทดแทนเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันได้ในช่วงความเร็วต่ำไปจนถึงความเร็วปานกลางระดับ 120-130 ก.ม./ช.ม. แต่จะไม่สามารถส่งกำลังไปขับเคลื่อนล้อได้ขณะที่ทำการชาร์จไฟฟ้าในคราวเดียวกันเพราะว่าระบบนี้มีมอเตอร์เพียงตัวเดียวในการทำงาน 2 หน้าที่


  • Series Hybrid หรือระบบไฮบริดอนุกรม ที่ใช้เครื่องยนต์ไปช่วยหมุนไดนาโมผลิตพลังงานไฟฟ้า จากนั้นก็จะถูกดึงให้มอเตอร์ส่งกำลังไปขับเคลื่อนล้อให้ตอบสนองการขับขี่ได้ตามต้องการทั้งยังช่วยชาร์จไฟแบตเตอรี่ไปด้วยในตัว ซึ่งจะมีประโยชน์มากในการทำให้เครื่องยนต์กำลังต่ำทำงานมีประสิทธิภาพและทำงานต่อเนื่องขึ้น รถยนต์ไฮบริดประเภทนี้จะมีคุณสมบัติการตอบสนองเหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้าเลย เพียงแต่ยังใช้วิธีการเติมน้ำมันแบบเดิมจึงไม่ต้องปรับพฤติกรรมมาก


3.Plug in Hybrid (PHEV) หรือระบบไฮบริดแบบเสียบปลั๊ก ที่นอกจากจะใช้ทั้งเครื่องยนต์มอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อให้ได้ระยะทางในการขับขี่มากขึ้น แต่ยังสามารถชาร์จไฟแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดจากภายนอกได้โดยการเสียบปลั๊กอีกด้วย เลยทำให้มีทั้งช่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงในคันเดียว แต่ก็ยังไม่สามารถใช้พลังงานจากไฟฟ้าอย่างเดียวในการวิ่งระยะทางไกลได้ จะต้องอาศัยเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนอยู่ด้วย

รถยนต์ไฮบริดกับรถยนต์ไฟฟ้าเลือกซื้อแบบไหนประหยัดได้มากกว่ากัน?

ด้านการใช้พลังงาน และ ค่าเชื้อเพลิง


รถยนต์ไฮบริดเมื่อเทียบกับรถยนต์ธรรมดาเพราะใช้พลังงานไฟฟ้ามาช่วยลดภาระของเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน จึงสามารถประหยัดน้ำมันได้เกือบครึ่งหรืออาจจะเกินครึ่งขึ้นอยู่กับระบบไฮบริดประเภทที่ใช้ ในขณะที่ระยนต์ไฟฟ้าไม่มีเครื่องยนต์จึงใช้พลังงานขับเคลื่อนจากแบตเตอรี่ล้วน ๆ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเติมน้ำมัน

ถ้าหากจะลองเปรียบเทียบรถ 2 คันที่มีสมรรถนะใกล้เคียงกัน วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 100- 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปัจจุบันขณะที่เขียนบทความนี้อยู่น้ำมันแก๊สโซลฮอลมีราคาอยู่ที่ลิตรละ 95 อยู่ที่ 35.95 บาท รถยนต์ไฮบริดเมื่อเติมน้ำมันเต็มถังจะเป็นจำนวนเงิน 1,500 - 2,000 บาท วิ่งได้ประมาณ 500-600 กิโลเมตร (ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร) ส่วนไฟฟ้าราคา On Peak ตามแหล่งให้บริการชาร์จไฟรถจะอยู่ที่ 7.5-7.9 บาท/กิโลวัตต์ รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่ 50 กิโลวัตต์ ชาร์จไฟให้เต็มจากสถานบริการจะเป็นจำนวนเงิน 375 บาท วิ่งได้ประมาณ 250-350 กิโลเมตร

สรุปแล้วรถไฟฟ้าช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลิงมากกว่ารถยนต์ไฮบริดได้ประมาณ 15-30% และยิ่งถ้าชาร์จไฟจากที่บ้านด้วยระบบ TOU ก็จะยิ่งประหยัดขึ้นไปอีก เพียงแต่อย่าลืมว่ารถยนต์ไฟฟ้าใช้เวลาประมาณ 7-9 ชั่วโมงในการชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม ซึ่งค่อนข้างนานเมื่อเที่ยบกับรถยนต์ไฮบริดที่ใช้ไม่กี่นาทีในการเติมน้ำมัน รวมถึงจุดชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถ EV ในปัจจุบันก็ยังไม่ได้หาง่ายมากนัก จึงอาจจะเป็นจุดที่ผู้สนใจรถยนต์ไฟฟ้าต้องทบทวนให้ดี


ด้านการบำรุงรักษา


ในกรณีที่มอเตอร์ไฟฟ้าของรถยนต์ไฮบริดพังหรือแบตเสื่อมก็จะยังสามารถนำมาใช้ขับขี่ได้อยู่ เนื่องจากระบบไฮบริดเป็นการทำงานของมอเตอร์คู่กับเครื่องยนต์ ดังนั้นแม้ไม่มีพลังงานไฟฟ้ามาช่วยก็ยังแล่นได้ ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้ารวมถึงรถยนต์ไฮบริดที่ใช้ระบบไฮบริดอนุกรมที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเป็นหลักและใช้เครื่องยนต์ในการปั่นไฟเท่านั้น หากเกิดปัญหาเดียวกันจะไม่สามารถนำมาขับขี่ได้เลยเพราะไม่ได้มีระบบเครื่องยนต์ดีเซลสำรองไว้ ดังนั้นในส่วนนี้จึงทำให้รถยนต์ไฮบริดได้เปรียบในแง่ของการใช้งาน

แต่ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือ ประหยัดค่าการบำรุงรักษาเครื่องยนต์กับเกียร์ ไม่ต้องคอยเปลี่ยนน้ำเครื่องและน้ำมันเกียร์ รวมถึงชิ้นส่วนของรถยนต์ก็น้อยลงลดขั้นตอนในการบำรุงรักษาได้หลายส่วนเลยทีเดียว ส่วนรถยนต์ไฮบริดต้องดูแลสองระบบ ทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งถือเป็นเรื่องยุ่งยากมาก

ขณะเดียวกันปัญหาที่เหมือนกันในรถทั้ง 2 ประเภทนี้ คือ หากพบความเสียหายจะต้องรอคิวซ่อมนานเพราะอู่ที่ชำนาญตอนนี้ยังมีน้อยหรืออาจต้องเข้าศูนย์ของยี่ห้อนั้นสถานเดียวซึ่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงก็จะสูงตามไปด้วย นอกจากนี้แบตเตอรี่เมื่อมีความจุไฟฟ้าเยอะขึ้นกว่ารถธรรมดาก็จะมีราคาแพงขึ้นหลายเท่าตัวเลยทีเดียว

ประกันรถยนต์ไฮบริด แตกต่างจากประรถยนต์ทั่วไปหรือไม่?

จากข้อมูลด้านบนเชื่อว่าทุกคนคงเข้าใจข้อมูลของรถไฮบริดกันครบถ้วนแล้ว เหลือเพียงแต่การตัดสินใจเลือกซื้อประกันสำหรับรถยนต์ไฮบริดเพิ่มเติม ว่าหากเราถอยรถไฮบริดคันใหม่ออกมาแล้ว จะสามารถเลือกทำประกันภัยรถยนต์อย่างไรได้บ้าง ซึ่งต้องตอบกันตามตรงว่ารถไฮบริดสามารถทำประกันได้ไม่ต่างจากรถยนต์ทั่วไปเลย เช่น

  • ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกจากกรณีรถชนคน
  • ความรับผิดชอบความเสียหายต่อตัวรถในกรณีรถชนรถ รถหาย หรือรถไฟไหม้
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติม ทั้งประกันอุบัติเหตุ หรือค่ารักษาพยาบาล
  • เลือกใช้บริการได้จากทั้งแบบซ่อมห้างและซ่อมอู่

แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมา การทำประกันกับรถไฮบริดอาจมีค่าเบี้ยประกันที่สูงกว่ารถยนต์ทั่วไปเล็กน้อย เนื่องด้วยระบบการทำงานที่มีไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้อะไหล่ หรือการรับบริการต่าง ๆ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนั่นเอง

รถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าต่างก็มีข้อดีและข้อจำกัดต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้จะสะดวกใช้แบบไหนให้เหมาะกับลักษณะการใช้ชีวิต รถยนต์ไฮบริดอาจจะมีราคาขายถูกกว่าในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าราคาแพงแต่ประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ดี เช่นเดียวกันกับประกันรถยนต์ที่มีหลากหลายแบบจากหลายบริษัทให้เลือกละลานตา แต่ถ้าหากอยากได้ประกันที่เข้าตา โดนใจ ตรงกับไลฟ์ไตล์การใช้รถมากที่สุด สามารถปรึกษาได้ทันทีกับ แรบบิท แคร์ โบรกเกอร์ที่แคร์คุณในทุกการเดินทาง

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา