การโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ โอนลอย คืออะไร?
การโอนรถยนต์คือการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของรถ ซึ่งผู้ที่ทำการซื้อ-ขาย รถยนต์ทั้งคู่ จะต้องมาแจ้งกับนายทะเบียนที่กรมขนส่งเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของรถยนต์ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายรถยนต์มือหนึ่ง การซื้อขายรถยนต์มือสอง หรือการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์เจ้าของรถตามมรดก ก็จะมาแจ้งโอนรถยนต์ทั้งสิ้น เพราะถ้าไม่มีการโอนเจ้าของรถคนใหม่ก็จะขาดสิทธิ์ในการครอบครองรถอย่างสมบูรณ์ โดยการโอนรถยนต์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. การโอนตรง คือการโอนรถยนต์แบบปกติที่ผู้ซื้อรถยนต์ และผู้ขายรถยนต์ เข้าไปขอทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์รถโดยตรงกับนายทะเบียนที่กรมขนส่ง ทั้งนี้ผู้ขายสามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือผู้ซื้อไปดำเนินการแทนได้ แต่ผู้ซื้อต้องไปด้วยตัวเอง
2. การโอนลอย เป็นการโอนรถตามสัญญาซื้อขาย แต่กรรมสิทธิ์จะยังไม่เป็นของผู้ซื้ออย่างสมบูรณ์ ยังไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับโอน และยังไม่ได้ไปทำเรื่องโอนรถยนต์อย่างสมบูรณ์ต่อนายทะเบียนที่กรมขนส่ง โดยส่วนมากแล้วการโอนลอยมักเกิดจากการขายรถยนต์มือสองให้กับเต็นท์รถ เอกสารการโอนจะมีเพียงชื่อผู้โอนเท่านั้น แต่ยังไม่ระบุชื่อผู้รับโอนเพราะยังไม่ทราบชื่อของเจ้าของเต็นท์รถหรือโชว์รูมรถนั่นเอง
ข้อดีของการโอนลอยคือง่าย สะดวก ผู้ซื้อรับเงินได้ทันทีจากการขายรถ แต่การโอนลอยก็มีความเสี่ยงคือความรับผิดชอบยังเป็นของเจ้าของรถยนต์คนเก่าอยู่ หากมีการทำผิดกฎหมาย โดนใบสั่ง มีคดีความเกี่ยวกับรถ การไม่ต่อภาษีรถประจำปี จะเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของรถเดิมก่อนทันที ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือเมื่อโอนรถลอยแล้ว ก็ให้ไปดำเนินเรื่องให้ถูกต้องที่กรมขนส่งด้วย
หากใครที่มีลูกหลานหรือเครือญาติ และต้องการทำเรื่องโอนรถยนต์เป็นมรดก แบบนี้ก็จะง่ายหน่อยเพราะไม่ต้องมีสัญญาซื้อขาย ก็สามารถไปทำเรื่องที่สำนักงานขนส่งทางบกได้เลยเช่นกัน
การโอนรถยนต์ เปลี่ยนเจ้าของข้ามจังหวัดโดยใช้ทะเบียนเดิม ต้องทำอย่างไร?
เป็นเรื่องปกติทั่วไปที่จะมีการซื้อ-ขายรถยนต์ข้ามจังหวัดกัน ทางกรมขนส่งจึงอนุญาตให้โอนรถยนต์ข้ามจังหวัดกันได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ทะเบียนรถยนต์เดิมได้ด้วย ซึ่งก็ทำได้ไม่ยากคือ ให้คุณแจ้งไปกับนายทะเบียนตอนทำเรื่องโอนรถเลยว่าขอใช้ทะเบียนเดิม แล้วนายทะเบียนก็จะให้กรอกคำขอว่าให้เจ้าของรถเดิมอนุญาตให้ใช้รถยนต์ข้ามจังหวัดได้
โอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง?
ไม่ว่าจะในกรณีซื้อ-ขายรถ หรือโอนให้ญาติตนเอง ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม ขั้นตอนการเดินเรื่องจะได้ไม่ติดขัด หากใครสงสัยว่าโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง เรามีคำตอบให้ โดยให้คุณเตรียมเอกสารดังนี้
- แบบคำขอโอนรถ โดยกรอกข้อมูลในเอกสารให้เรียบร้อย พร้อมรายเซ็นต์ของผู้โอนและผู้รับโอน
- สำเนาบัตรประชาชน ของผู้โอนและผู้รับโอน
- สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้โอนและผู้รับโอน
- เล่มทะเบียนรถยนต์ตัวจริง
- สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีการโอนรถลอย) รวมถึงสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาใบมรณะเจ้าของรถ หรือสำเนาพินัยกรรม (กรณีการสืบทอดเป็นมรดก)
เมื่อเตรียมเอกสารพร้อมแล้วให้ไปทำการโอนรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งประจำจังหวัดได้เลย โดยมีค่าธรรมเนียม 100 บาท และเสียค่าอากรแสตมป์ 500 บาท ต่อราคาประเมินรถทุก ๆ 100,000 บาท (เช่น หากรถมีมูลค่า 1 ล้านบาท ก็ต้องเสียค่าอากรสแตมป์ 5,000 บาท)
การโอนรถยนต์ เปลี่ยนเจ้าของ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
ในยุคปัจจุบันนี้การทำเรื่องโอนนั้นทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เตรียมเอกสารและหลักฐานให้ครบ ตามที่แจ้งไว้ในข้อด้านบน ซึ่งแบบคำขอรถยนต์สามารถไปซื้อเอาที่สำนักงานขนส่งทางบกได้โดยมีราคาฉบับละ 5 บาท
- เดินทางไปยังสำนักงานขนส่งทางบกประจำจังหวัดเพื่อนำรถยนต์ไปตรวจสภาพ
- ทำเรื่องขอโอนรถต่อนายทะเบียน หากผู้ซื้อ-ขาย ตัวจริงไม่ว่าง สามารถทำหนังสือมอบอำนาจตัวแทนไปได้
- รอเจ้าหน้าที่ดำเนินการ พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียม โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงหากคนไม่เยอะ หรือนานที่สุดก็ไม่เกิน 15 วัน ทำการ เพียงแค่นี้ก็ได้เล่มทะเบียน เครื่องหมายเสียภาษีประจำปี และแผ่นป้ายทะเบียนมาใช้งาน
เมื่อโอนรถยนต์เปลี่ยนกรรมสิทธิ์การครอบครองกันไปเรียบร้อยแล้ว สิ่งสุดท้ายที่น้องแคร์อยากเตือนให้คุณอย่าลืม นั่นก็คือการทำประกันรถยนต์นั่นเอง เพราะประกันจะช่วยให้ค่าซ่อมเมื่อรถยนต์ของคุณประสบอุบัติเหตุ โดยใครที่เพิ่งออกรถรถยนต์คันใหม่ป้ายแดงก็ต้องซื้อประกันชั้น 1 ที่คุ้มครองครบแบบครอบจักรวาลเท่านั้น แต่จะซื้อประกันแบบไหน เช็คประกันรถยนต์ อย่างไรให้ถูกใจปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแรบบิท แคร์ ช่วยเหลือประกันให้คุณเอง